หนังเล่าเรื่องวัยเด็กของ 'โอ๊ต' (ริว-อิงครัต ดำรงค์ศักดิ์กุล) หลังจากได้รู้ว่า 'เอก' (ธีระ ชุติกุล) พี่ชายซึ่งเป็นต้นแบบของตัวเองต้องไปจับใบดำใบแดงเกณฑ์ทหาร โอ๊ตจึงพยายามหาทางที่ทำให้พี่ชายตัวเองไม่ต้องไปรับใช้ชาติ แต่ว่าผลลัพธ์กลับไม่เป็นดั่งที่ต้องการ
ความชอบอย่างแรกเลยคือมันเป็น coming of age (ก้าวพ้นวัย/เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่) ที่มองโลกตามความจริง ไม่ได้มามัวโลกสวยสดใสอุดมคติจอมปลอมหรือเพ้อฝันต่อสู้กับกลไกที่ไม่อาจเอาชนะ แต่มันเอาเรื่องจริงในสังคมมาทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะยอมรับและอยู่กับสิ่งที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ในที่นี้ก็คือการเกณฑ์ทหาร
เราไม่ปฏิเสธว่ามีคนจำนวนหนึ่งยินดีสมัครเป็นทหารเกณฑ์เพื่อโอกาสชีวิตที่ดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันมันยังมีคนจำนวนมากในสังคมที่ไม่ยินดีเอาชีวิตไปทิ้งกับคำกล่าวอ้างว่ารับใช้ชาติ ซึ่งเป็นมายาคติจอมปลอมอีกประเภทหนึ่ง เพราะคำว่ารับใช้ชาติสำหรับผมไม่ได้หมายความว่าคุณต้องไปเป็นทหารอย่างเดียว การที่คุณทำหน้าที่เป็นพลเรือนที่ดี ประกอบวิชาชีพของตัวเองตามความถนัด มันก็คือการรับใช้ชาติรูปแบบหนึ่งเพียงแต่มันไม่ใช่อาชีพที่เอาชีวิตไปเสี่ยงอันตราย
ถ้าคุณไม่ได้โลกสวยจนเกินไป เราต่างก็รู้ดีว่าการคัดเลือกทหารเกณฑ์มีทั้งการวิ่งเต้นรับสินบนเพื่อให้รอดพ้นการเกณฑ์ทหาร และถึงไปเป็นทหาร คุณก็จะเห็นนายทหารยศสูงเอาพลทหารไปรับใช้ส่วนตัว (ไม่เชื่อลองไปดูหนังเรื่องหย่าเพราะมีชู้ ที่เอาพลทหารไปรับใช้ส่วนตัวเป็นเรื่องปกติในหนังเลย)
ถ้ามองโลกตามจริงก็อาจจะมองได้ว่าระบบกลไกของการคัดเลือกทหารเกณฑ์มันเปิดช่องให้มีการทุจริต ในเมื่อคนจำนวนหนึ่งต้องมาตัดสินชะตาชีวิตที่การจับใบดำใบแดง ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นมันจึงเปิดช่องให้คนมีฐานะมีโอกาสหลบเลี่ยงด้วยวิธีทุจริต ไม่ต่างอะไรกับการที่บางคนมีเงินแต่ไม่มีเวลา คนกลุ่มนี้ยินดีจะจ่ายเงินเพื่อประหยัดเวลาอันมีค่าของเขาอยู่แล้ว เช่นเดียวกับการไปเป็นทหาร แน่นอนว่าพวกเขาไม่ได้สนใจวิธีการ นั่นคือสิ่งที่เราต้องยอมรับและเผชิญหน้ากับความเป็นจริง
การที่โอ๊ตในวัยเด็กได้เห็นผลลัพธ์ระหว่างการทุจริตเพื่อเอาตัวรอดกับการเล่นตามกติกา มันจึงทำให้เขาได้ตระหนักและเติบโตทางความคิดอันเกี่ยวเนื่องไปถึงตอนจบของหนัง
Director: Josh Kim
book: Rattawut Lapcharoensap
screenplay: Josh Kim
Genre: drama
7/10
หนังโปรดของข้าพเจ้า
ติดตามรีวิวหนังเรื่องอื่น ๆ ได้ที่ http://on.fb.me/1JCUlre
รีวิว พี่ชาย My Hero (2015) | coming of age ของเด็กที่ต้องเผชิญโลกจริง
หนังเล่าเรื่องวัยเด็กของ 'โอ๊ต' (ริว-อิงครัต ดำรงค์ศักดิ์กุล) หลังจากได้รู้ว่า 'เอก' (ธีระ ชุติกุล) พี่ชายซึ่งเป็นต้นแบบของตัวเองต้องไปจับใบดำใบแดงเกณฑ์ทหาร โอ๊ตจึงพยายามหาทางที่ทำให้พี่ชายตัวเองไม่ต้องไปรับใช้ชาติ แต่ว่าผลลัพธ์กลับไม่เป็นดั่งที่ต้องการ
ความชอบอย่างแรกเลยคือมันเป็น coming of age (ก้าวพ้นวัย/เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่) ที่มองโลกตามความจริง ไม่ได้มามัวโลกสวยสดใสอุดมคติจอมปลอมหรือเพ้อฝันต่อสู้กับกลไกที่ไม่อาจเอาชนะ แต่มันเอาเรื่องจริงในสังคมมาทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะยอมรับและอยู่กับสิ่งที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ในที่นี้ก็คือการเกณฑ์ทหาร
เราไม่ปฏิเสธว่ามีคนจำนวนหนึ่งยินดีสมัครเป็นทหารเกณฑ์เพื่อโอกาสชีวิตที่ดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันมันยังมีคนจำนวนมากในสังคมที่ไม่ยินดีเอาชีวิตไปทิ้งกับคำกล่าวอ้างว่ารับใช้ชาติ ซึ่งเป็นมายาคติจอมปลอมอีกประเภทหนึ่ง เพราะคำว่ารับใช้ชาติสำหรับผมไม่ได้หมายความว่าคุณต้องไปเป็นทหารอย่างเดียว การที่คุณทำหน้าที่เป็นพลเรือนที่ดี ประกอบวิชาชีพของตัวเองตามความถนัด มันก็คือการรับใช้ชาติรูปแบบหนึ่งเพียงแต่มันไม่ใช่อาชีพที่เอาชีวิตไปเสี่ยงอันตราย
ถ้าคุณไม่ได้โลกสวยจนเกินไป เราต่างก็รู้ดีว่าการคัดเลือกทหารเกณฑ์มีทั้งการวิ่งเต้นรับสินบนเพื่อให้รอดพ้นการเกณฑ์ทหาร และถึงไปเป็นทหาร คุณก็จะเห็นนายทหารยศสูงเอาพลทหารไปรับใช้ส่วนตัว (ไม่เชื่อลองไปดูหนังเรื่องหย่าเพราะมีชู้ ที่เอาพลทหารไปรับใช้ส่วนตัวเป็นเรื่องปกติในหนังเลย)
ถ้ามองโลกตามจริงก็อาจจะมองได้ว่าระบบกลไกของการคัดเลือกทหารเกณฑ์มันเปิดช่องให้มีการทุจริต ในเมื่อคนจำนวนหนึ่งต้องมาตัดสินชะตาชีวิตที่การจับใบดำใบแดง ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นมันจึงเปิดช่องให้คนมีฐานะมีโอกาสหลบเลี่ยงด้วยวิธีทุจริต ไม่ต่างอะไรกับการที่บางคนมีเงินแต่ไม่มีเวลา คนกลุ่มนี้ยินดีจะจ่ายเงินเพื่อประหยัดเวลาอันมีค่าของเขาอยู่แล้ว เช่นเดียวกับการไปเป็นทหาร แน่นอนว่าพวกเขาไม่ได้สนใจวิธีการ นั่นคือสิ่งที่เราต้องยอมรับและเผชิญหน้ากับความเป็นจริง
การที่โอ๊ตในวัยเด็กได้เห็นผลลัพธ์ระหว่างการทุจริตเพื่อเอาตัวรอดกับการเล่นตามกติกา มันจึงทำให้เขาได้ตระหนักและเติบโตทางความคิดอันเกี่ยวเนื่องไปถึงตอนจบของหนัง
Director: Josh Kim
book: Rattawut Lapcharoensap
screenplay: Josh Kim
Genre: drama
7/10
หนังโปรดของข้าพเจ้า
ติดตามรีวิวหนังเรื่องอื่น ๆ ได้ที่ http://on.fb.me/1JCUlre