TUF เดินเกมชิงอาหารกุ้ง "ซีพีเอฟ" ผูกเงื่อน "ประกันราคา" ทำตลาด 2 หมื่นล.สะเทือน
ทียูเอฟ" เดินแผนเหนือเมฆ เล่นเกมการตลาด เปิดฉากถล่มอาหารกุ้งยักษ์ "ซีพีเอฟ" สะเทือน เล่นยิงปืนนัดเดียวได้ผลประโยชน์หลายเด้ง ประกาศโครงการประกันราคารับซื้อกุ้ง แต่ออก 2 เงื่อนไขบีบเกษตรกรอยากเข้าโครงการต้องเป็นลูกค้าใช้อาหารกุ้งทียูเอฟ ถ้าเกษตรกรที่ยังไม่เป็นลูกค้าต้องกินอาหารกุ้งของทียูเอฟอย่างน้อย 30 วันก่อนจับ หวังชิงมาร์เก็ตแชร์ทลายเงื่อนไขขายลูกกุ้งพ่วงอาหาร
กรณีที่บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ทียูเอฟ ได้เปิดโครงการประกันราคากุ้ง โดยกำหนดเงื่อนไขหลัก ได้แก่ 1.ต้องเป็นลูกค้าที่ใช้อาหารกุ้งของทียูเอฟ 2.ถ้าเกษตรกรที่ไม่ได้เป็นลูกค้าของทียูเอฟ ต้องกินอาหารกุ้งของทียูเอฟอย่างน้อย 30 วันก่อนจับถึงสามารถเข้าโครงการได้ 3.จะมีการจำกัดปริมาณการจับกุ้งต่อฟาร์มเพียง 50% ของปริมาณกุ้งทั้งหมดของแต่ละฟาร์มที่จับขาย
4.ลักษณะการประกันราคาขั้นต่ำ ไม่ใช่ Contract Farming หากราคาตลาดสูงกว่าราคาประกัน เกษตรกรมีสิทธิ์จะขายกุ้งให้กับผู้ซื้อรายใดก็ได้ แต่หากราคากุ้งในตลาดต่ำกว่าราคาประกัน ทียูเอฟจะรับซื้อกุ้งตามที่ประกันราคาขั้นต่ำไว้ 5.ฟาร์มใดผ่านการตรวจสอบ และได้ใบรับรอง Aquaculture Certification Council หรือ ACC จะบวกราคาเพิ่มให้อีก 3 บาทต่อกิโลกรัม และ 6.จะจ่ายให้เกษตรกร หลังจากจับกุ้งไม่เกิน 7 วัน
แหล่งข่าวจากวงการผู้เลี้ยงกุ้งเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า โครงการประกันราคากุ้งของทียูเอฟครั้งนี้ถือเป็นการเดิมเกมทางการตลาดในการผลักดันยอดขายอาหารกุ้งที่เหนือชั้นทีเดียวเพราะได้ผลประโยชน์กลับมาหลายทอด ได้แก่ 1.สามารถรักษาฐานลูกค้าเก่าที่ซื้ออาหารกุ้งของทียูเอฟไว้ได้แล้ว 2.เป็นการขยายฐานลูกค้าอาหารกุ้งรายใหม่ และช่วงชิงมาร์เก็ตแชร์ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ผู้ผลิตและขายอาหารกุ้งรายใหญ่เบอร์ 1 ของตลาด 3.มีกุ้งคุณภาพที่มีใบรับรองมาตรฐานขายให้กับลูกค้าในตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดหลัก
"ในวงการผู้เลี้ยงกุ้งวิพากษ์วิจารณ์กันว่า ทียูเอฟคิดโครงการนี้ออกมาได้อย่างชาญฉลาดแบบเซียนเหยียบเมฆเลยทีเดียว เท่ากับทียูเอฟยิงปืนนัดเดียว ได้นกหลายตัวทีเดียว นอกจากรักษาฐานลูกค้าเก่าไว้ได้ ยังไปช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดในการขายอาหารกุ้งของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ซึ่งถือเป็นยักษ์ใหญ่ครองมาร์เก็ตแชร์สูงสุดในตลาด 60-70% ในตลาด โดยปัจจุบันทียูเอฟถือเป็นเบอร์ 2 แต่มีมาร์เก็ตแชร์ประมาณ 15-17% ซึ่งถือว่าห่างจากซีพีเอฟหลายช่วงตัวมาก"
เพราะปกติในวงการผู้เลี้ยงกุ้งทราบกันดีว่า หลายบริษัทที่ขายทั้งลูกกุ้ง และอาหารกุ้ง มีเงื่อนไขต้องซื้อลูกกุ้งพ่วงการซื้ออาหารกุ้งจนกระทั่งกุ้งโต และจับขาย ไม่เป็นเช่นนั้นจะไม่ได้ลูกกุ้งไปเลี้ยง ช่วงหลายปีที่ผ่านมาทียูเอฟมีการลงทุนพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อทำตลาดลูกกุ้ง และขายลูกกุ้งพ่วงอาหารสัตว์ แต่ลูกกุ้งของทียูเอฟโตช้า ไม่เป็นที่นิยม ทำให้สูญเสียลูกค้าในส่วนนี้ไปให้ซีพีเอฟพอสมควรทีเดียว ขณะที่ซีพีเอฟหลังจากประสบมรสุมลูกกุ้งโตเร็ว แต่อ่อนแอ ทำให้เลี้ยงไม่รอดในช่วงวิกฤตโรคกุ้งตายด่วน (EMS) เมื่อ 2 ปีผ่านมา แต่ปัจจุบันซีพีเอฟพัฒนาสายพันธุ์ได้ลูกกุ้งที่แข็งแรง และโตเร็ว ทำให้ได้รับความนิยมในตลาด วันนี้ตลาดลูกกุ้งและอาหารกุ้งน่าจะขึ้นไปถึง 80% ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2558 เป็นต้นมา
ดังนั้น เมื่อทียูเอฟกำหนดเงื่อนไขว่าเกษตรกรจะเข้าโครงการประกันราคาได้ต้องเป็นลูกค้าที่ใช้อาหารกุ้งของทียูเอฟแต่ถ้ายังไม่ได้เป็นลูกค้ากุ้งที่จะนำมาประกันราคา ต้องกินอาหารกุ้งของทียูเอฟอย่างน้อย 30 วันก่อนจับ เท่ากับเกษตรกรจะไปซื้อลูกกุ้งของบริษัทใดก็ได้ จะกินอาหารของบริษัทใดก็ได้ในการเลี้ยงช่วงเริ่มต้น แต่ 30 วันสุดท้ายก่อนจับขายต้องซื้ออาหารของทียูเอฟ ซึ่งทุกคนทราบดีว่า ช่วงสุดท้ายก่อนจับ 30 วันถือเป็นช่วงที่กุ้งกินอาหารมากเป็น 2 เท่าของลูกกุ้งในวัยเด็ก ยกตัวอย่าง กุ้งขนาด 50 ตัวต่อ กก. ใช้เวลาเลี้ยง 60 วัน ช่วง 30 วันแรกกุ้งกินอาหาร 300 กก. แต่ 30 วันหลัง กุ้งกินอาหารถึง 1,000 กก. ซึ่งเกษตรกรต้องไปเจรจากับบริษัทที่ขายลูกกุ้งว่า จะใช้อาหารกุ้งของบริษัทนั้น ๆ เพียง 30 วัน เพราะ 30 วันสุดท้ายต้องไปซื้ออาหารกุ้งของทียูเอฟ เพื่อจะได้เข้าโครงการประกันราคา ทำให้ทียูเอฟได้ส่วนแบ่งตลาดอาหารกุ้งเพิ่มขึ้นมาก ขณะที่ซีพีเอฟซึ่งเป็นผู้ขายลูกกุ้งรายใหญ่ อาจสูญเสียลูกค้าอาหารกุ้งในส่วนนี้ไป ขณะที่ทียูเอฟลอยลำมีแต่ได้กับได้
อนึ่ง ปัจจุบันตลาดอาหารกุ้งมีปริมาณเฉลี่ย 6 แสนตันต่อปี ราคากิโลกรัมละประมาณ 30-35 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมตลาดอาหารกุ้ง ประมาณ 20,000 ล้านบาท
ปี′59 ยอดเลี้ยงพุ่ง 3-4 แสนตัน
นายฤทธิรงค์ บุญมีโชติ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจกุ้งบริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือทียูเอฟกล่าวว่า มูลค่าการส่งออกกุ้งของทียูเอฟในช่วง 7 เดือนแรก (มกราคม-กรกฎาคม) ของปีนี้ เพิ่มขึ้น 15-20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนด้านปริมาณครองสัดส่วน 22% ของการส่งออกกุ้งของประเทศ โดยคาดการณ์ว่าจะซื้อกุ้งทั้งปี 40,000-50,000 ตัน ตามเป้าหมาย ในปีนี้คาดว่าจะมีปริมาณ 2.5-2.6 แสนตันเพิ่มขึ้น 20% และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากกว่า 3-4 แสนตันในปี 2559 ส่งผลให้ราคากุ้งปรับตัวลดลงต่อเนื่องในช่วง 1-2 เดือน และอาจจะลดลงต่อเนื่องถึงปี 2559
เนื่องจากไทยสามารถแก้ไขปัญหาโรคตายด่วน (EMS) ได้ โดยอัตราการลงกุ้งขาวในช่วง 8 เดือนแรก เพิ่มขึ้น 96.21% และมีผลผลิตต่อเดือนเพิ่มขึ้น 96.57%แต่หลัง EMS ไทยปรับลดกำลังการผลิตจากเคยผลิตได้ปีละ 600,000 ตันลดลง เมื่อฟื้นจาก EMS ปริมาณกุ้งเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มกำลังการผลิตไม่ทัน จึงทำให้ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยสูง
นายฤทธิรงค์กล่าวว่า เกษตรกรเกรงว่าจะขาดทุน จึงมาเสนอขอให้ทียูเอฟจัดทำโครงการประกันราคากุ้ง ซึ่งในระหว่างวันที่ 16 กันยายน-7 ตุลาคมนี้จะเปิดรับสมัครเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเข้าร่วมโครงการ โดยกำหนดราคาขั้นต่ำปริมาณ 12,000 ตัน โดยกำหนดขนาดตั้งแต่ 40 ตัว/กก. ราคา กก.ละ 180 บาทไปจนถึงขนาด 100 ตัว/กก. ราคา กก.ละ 120 บาท ในระยะเวลา 6 เดือน
เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงมีนาคม 2559 หรือเฉลี่ยเดือนละ 2,000-2,500 ตัน จากปกติที่ใช้เฉลี่ยเดือนละ 6,000 ตัน โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณเบื้องต้น 1,500-2,000 ล้านบาท
"โครงการประกันราคาขั้นต่ำ ไม่ใช่ Contract Farming เช่น กุ้ง ขนาด 70 ตัว/กก. ทียูเอฟกำหนดราคาประกันหน้าบ่อขั้นต่ำที่ 150 บาท/กก. หากราคาตลาดสูงกว่าราคาประกันเกษตรกรมีสิทธิ์จะขายกุ้งในราคาตลาดให้กับผู้ซื้อรายใดก็ได้ แต่หากราคากุ้งในตลาดต่ำกว่าราคาประกัน ทียูเอฟจะรับซื้อกุ้งไว้ที่ราคา 150 บาท/กก. เพื่อสร้างความมั่นใจในการเลี้ยง"
นอกจากนี้ โครงการนี้ยังช่วยผู้ประกอบการมั่นใจว่าจะมีวัตถุดิบเพียงพอสามารถส่งมอบ ทำให้ผู้ซื้อต่างประเทศมั่นใจในการสั่งซื้อสินค้าได้ตามคำสั่งซื้อและเป็นการรักษาเสถียรภาพราคากุ้งในตลาดโลกซึ่งจะใช้เป็นฐานราคาสำหรับขายให้กับตลาดค้าปลีก และร้านอาหารในต่างประเทศ ส่งผลดีกับการส่งออกกุ้งภาพรวมของประเทศ
ที่มา
http://m.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1442812989
CPF - TUF - SPACK - กุ้ง *อาจฟื้น
TUF เดินเกมชิงอาหารกุ้ง "ซีพีเอฟ" ผูกเงื่อน "ประกันราคา" ทำตลาด 2 หมื่นล.สะเทือน
ทียูเอฟ" เดินแผนเหนือเมฆ เล่นเกมการตลาด เปิดฉากถล่มอาหารกุ้งยักษ์ "ซีพีเอฟ" สะเทือน เล่นยิงปืนนัดเดียวได้ผลประโยชน์หลายเด้ง ประกาศโครงการประกันราคารับซื้อกุ้ง แต่ออก 2 เงื่อนไขบีบเกษตรกรอยากเข้าโครงการต้องเป็นลูกค้าใช้อาหารกุ้งทียูเอฟ ถ้าเกษตรกรที่ยังไม่เป็นลูกค้าต้องกินอาหารกุ้งของทียูเอฟอย่างน้อย 30 วันก่อนจับ หวังชิงมาร์เก็ตแชร์ทลายเงื่อนไขขายลูกกุ้งพ่วงอาหาร
กรณีที่บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ทียูเอฟ ได้เปิดโครงการประกันราคากุ้ง โดยกำหนดเงื่อนไขหลัก ได้แก่ 1.ต้องเป็นลูกค้าที่ใช้อาหารกุ้งของทียูเอฟ 2.ถ้าเกษตรกรที่ไม่ได้เป็นลูกค้าของทียูเอฟ ต้องกินอาหารกุ้งของทียูเอฟอย่างน้อย 30 วันก่อนจับถึงสามารถเข้าโครงการได้ 3.จะมีการจำกัดปริมาณการจับกุ้งต่อฟาร์มเพียง 50% ของปริมาณกุ้งทั้งหมดของแต่ละฟาร์มที่จับขาย
4.ลักษณะการประกันราคาขั้นต่ำ ไม่ใช่ Contract Farming หากราคาตลาดสูงกว่าราคาประกัน เกษตรกรมีสิทธิ์จะขายกุ้งให้กับผู้ซื้อรายใดก็ได้ แต่หากราคากุ้งในตลาดต่ำกว่าราคาประกัน ทียูเอฟจะรับซื้อกุ้งตามที่ประกันราคาขั้นต่ำไว้ 5.ฟาร์มใดผ่านการตรวจสอบ และได้ใบรับรอง Aquaculture Certification Council หรือ ACC จะบวกราคาเพิ่มให้อีก 3 บาทต่อกิโลกรัม และ 6.จะจ่ายให้เกษตรกร หลังจากจับกุ้งไม่เกิน 7 วัน
แหล่งข่าวจากวงการผู้เลี้ยงกุ้งเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า โครงการประกันราคากุ้งของทียูเอฟครั้งนี้ถือเป็นการเดิมเกมทางการตลาดในการผลักดันยอดขายอาหารกุ้งที่เหนือชั้นทีเดียวเพราะได้ผลประโยชน์กลับมาหลายทอด ได้แก่ 1.สามารถรักษาฐานลูกค้าเก่าที่ซื้ออาหารกุ้งของทียูเอฟไว้ได้แล้ว 2.เป็นการขยายฐานลูกค้าอาหารกุ้งรายใหม่ และช่วงชิงมาร์เก็ตแชร์ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ผู้ผลิตและขายอาหารกุ้งรายใหญ่เบอร์ 1 ของตลาด 3.มีกุ้งคุณภาพที่มีใบรับรองมาตรฐานขายให้กับลูกค้าในตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดหลัก
"ในวงการผู้เลี้ยงกุ้งวิพากษ์วิจารณ์กันว่า ทียูเอฟคิดโครงการนี้ออกมาได้อย่างชาญฉลาดแบบเซียนเหยียบเมฆเลยทีเดียว เท่ากับทียูเอฟยิงปืนนัดเดียว ได้นกหลายตัวทีเดียว นอกจากรักษาฐานลูกค้าเก่าไว้ได้ ยังไปช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดในการขายอาหารกุ้งของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ซึ่งถือเป็นยักษ์ใหญ่ครองมาร์เก็ตแชร์สูงสุดในตลาด 60-70% ในตลาด โดยปัจจุบันทียูเอฟถือเป็นเบอร์ 2 แต่มีมาร์เก็ตแชร์ประมาณ 15-17% ซึ่งถือว่าห่างจากซีพีเอฟหลายช่วงตัวมาก"
เพราะปกติในวงการผู้เลี้ยงกุ้งทราบกันดีว่า หลายบริษัทที่ขายทั้งลูกกุ้ง และอาหารกุ้ง มีเงื่อนไขต้องซื้อลูกกุ้งพ่วงการซื้ออาหารกุ้งจนกระทั่งกุ้งโต และจับขาย ไม่เป็นเช่นนั้นจะไม่ได้ลูกกุ้งไปเลี้ยง ช่วงหลายปีที่ผ่านมาทียูเอฟมีการลงทุนพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อทำตลาดลูกกุ้ง และขายลูกกุ้งพ่วงอาหารสัตว์ แต่ลูกกุ้งของทียูเอฟโตช้า ไม่เป็นที่นิยม ทำให้สูญเสียลูกค้าในส่วนนี้ไปให้ซีพีเอฟพอสมควรทีเดียว ขณะที่ซีพีเอฟหลังจากประสบมรสุมลูกกุ้งโตเร็ว แต่อ่อนแอ ทำให้เลี้ยงไม่รอดในช่วงวิกฤตโรคกุ้งตายด่วน (EMS) เมื่อ 2 ปีผ่านมา แต่ปัจจุบันซีพีเอฟพัฒนาสายพันธุ์ได้ลูกกุ้งที่แข็งแรง และโตเร็ว ทำให้ได้รับความนิยมในตลาด วันนี้ตลาดลูกกุ้งและอาหารกุ้งน่าจะขึ้นไปถึง 80% ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2558 เป็นต้นมา
ดังนั้น เมื่อทียูเอฟกำหนดเงื่อนไขว่าเกษตรกรจะเข้าโครงการประกันราคาได้ต้องเป็นลูกค้าที่ใช้อาหารกุ้งของทียูเอฟแต่ถ้ายังไม่ได้เป็นลูกค้ากุ้งที่จะนำมาประกันราคา ต้องกินอาหารกุ้งของทียูเอฟอย่างน้อย 30 วันก่อนจับ เท่ากับเกษตรกรจะไปซื้อลูกกุ้งของบริษัทใดก็ได้ จะกินอาหารของบริษัทใดก็ได้ในการเลี้ยงช่วงเริ่มต้น แต่ 30 วันสุดท้ายก่อนจับขายต้องซื้ออาหารของทียูเอฟ ซึ่งทุกคนทราบดีว่า ช่วงสุดท้ายก่อนจับ 30 วันถือเป็นช่วงที่กุ้งกินอาหารมากเป็น 2 เท่าของลูกกุ้งในวัยเด็ก ยกตัวอย่าง กุ้งขนาด 50 ตัวต่อ กก. ใช้เวลาเลี้ยง 60 วัน ช่วง 30 วันแรกกุ้งกินอาหาร 300 กก. แต่ 30 วันหลัง กุ้งกินอาหารถึง 1,000 กก. ซึ่งเกษตรกรต้องไปเจรจากับบริษัทที่ขายลูกกุ้งว่า จะใช้อาหารกุ้งของบริษัทนั้น ๆ เพียง 30 วัน เพราะ 30 วันสุดท้ายต้องไปซื้ออาหารกุ้งของทียูเอฟ เพื่อจะได้เข้าโครงการประกันราคา ทำให้ทียูเอฟได้ส่วนแบ่งตลาดอาหารกุ้งเพิ่มขึ้นมาก ขณะที่ซีพีเอฟซึ่งเป็นผู้ขายลูกกุ้งรายใหญ่ อาจสูญเสียลูกค้าอาหารกุ้งในส่วนนี้ไป ขณะที่ทียูเอฟลอยลำมีแต่ได้กับได้
อนึ่ง ปัจจุบันตลาดอาหารกุ้งมีปริมาณเฉลี่ย 6 แสนตันต่อปี ราคากิโลกรัมละประมาณ 30-35 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมตลาดอาหารกุ้ง ประมาณ 20,000 ล้านบาท
ปี′59 ยอดเลี้ยงพุ่ง 3-4 แสนตัน
นายฤทธิรงค์ บุญมีโชติ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจกุ้งบริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือทียูเอฟกล่าวว่า มูลค่าการส่งออกกุ้งของทียูเอฟในช่วง 7 เดือนแรก (มกราคม-กรกฎาคม) ของปีนี้ เพิ่มขึ้น 15-20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนด้านปริมาณครองสัดส่วน 22% ของการส่งออกกุ้งของประเทศ โดยคาดการณ์ว่าจะซื้อกุ้งทั้งปี 40,000-50,000 ตัน ตามเป้าหมาย ในปีนี้คาดว่าจะมีปริมาณ 2.5-2.6 แสนตันเพิ่มขึ้น 20% และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากกว่า 3-4 แสนตันในปี 2559 ส่งผลให้ราคากุ้งปรับตัวลดลงต่อเนื่องในช่วง 1-2 เดือน และอาจจะลดลงต่อเนื่องถึงปี 2559
เนื่องจากไทยสามารถแก้ไขปัญหาโรคตายด่วน (EMS) ได้ โดยอัตราการลงกุ้งขาวในช่วง 8 เดือนแรก เพิ่มขึ้น 96.21% และมีผลผลิตต่อเดือนเพิ่มขึ้น 96.57%แต่หลัง EMS ไทยปรับลดกำลังการผลิตจากเคยผลิตได้ปีละ 600,000 ตันลดลง เมื่อฟื้นจาก EMS ปริมาณกุ้งเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มกำลังการผลิตไม่ทัน จึงทำให้ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยสูง
นายฤทธิรงค์กล่าวว่า เกษตรกรเกรงว่าจะขาดทุน จึงมาเสนอขอให้ทียูเอฟจัดทำโครงการประกันราคากุ้ง ซึ่งในระหว่างวันที่ 16 กันยายน-7 ตุลาคมนี้จะเปิดรับสมัครเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเข้าร่วมโครงการ โดยกำหนดราคาขั้นต่ำปริมาณ 12,000 ตัน โดยกำหนดขนาดตั้งแต่ 40 ตัว/กก. ราคา กก.ละ 180 บาทไปจนถึงขนาด 100 ตัว/กก. ราคา กก.ละ 120 บาท ในระยะเวลา 6 เดือน
เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงมีนาคม 2559 หรือเฉลี่ยเดือนละ 2,000-2,500 ตัน จากปกติที่ใช้เฉลี่ยเดือนละ 6,000 ตัน โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณเบื้องต้น 1,500-2,000 ล้านบาท
"โครงการประกันราคาขั้นต่ำ ไม่ใช่ Contract Farming เช่น กุ้ง ขนาด 70 ตัว/กก. ทียูเอฟกำหนดราคาประกันหน้าบ่อขั้นต่ำที่ 150 บาท/กก. หากราคาตลาดสูงกว่าราคาประกันเกษตรกรมีสิทธิ์จะขายกุ้งในราคาตลาดให้กับผู้ซื้อรายใดก็ได้ แต่หากราคากุ้งในตลาดต่ำกว่าราคาประกัน ทียูเอฟจะรับซื้อกุ้งไว้ที่ราคา 150 บาท/กก. เพื่อสร้างความมั่นใจในการเลี้ยง"
นอกจากนี้ โครงการนี้ยังช่วยผู้ประกอบการมั่นใจว่าจะมีวัตถุดิบเพียงพอสามารถส่งมอบ ทำให้ผู้ซื้อต่างประเทศมั่นใจในการสั่งซื้อสินค้าได้ตามคำสั่งซื้อและเป็นการรักษาเสถียรภาพราคากุ้งในตลาดโลกซึ่งจะใช้เป็นฐานราคาสำหรับขายให้กับตลาดค้าปลีก และร้านอาหารในต่างประเทศ ส่งผลดีกับการส่งออกกุ้งภาพรวมของประเทศ
ที่มา http://m.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1442812989