คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ที่พักสงฆ์ สำนักสงฆ์ และวัด (๑)
นายอุดมศักดิ์ ชูโตชนะ
นักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ
สถาบันพระสังฆาธิการ
ชาวพุทธโดยทั่วไปมักได้ยินและคุ้นเคยคำว่า ที่พักสงฆ์ สำนักสงฆ์ และวัด โดยส่วนใหญ่เข้าใจความหมายที่ไม่ตรงกับกฏหมาย และผลที่จะเกิดในทางกฎหมาย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓๑ กำหนดให้วัดมี ๒ อย่างคือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอย่างหนึ่ง และสำนักสงฆ์ อีกอย่างหนึ่ง สำหรับสำนักสงฆ์นั้นไม่ปรากฎว่าพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้บัญญัติความหมายไว้ว่าหมายถึงอะไร แต่ย้อนกลับไปดูพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการปกครองคณะสงฆ์ฉบับแรก ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๕ กำหนดว่า วัดมี ๓ อย่าง คือ พระอารามหลวง อารามราษฎร์ และ ที่สำนักสงฆ์ และกำหนดให้ความหมายของคำว่า “ที่สำนักสงฆ์” คือวัดซึ่งยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
ต่อมาเมื่อมีการยกเลิกพระราชบัญญัติลักษณปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ และตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ขึ้นใช้บังคับแทน มาตรา ๓๘ กำหนดให้วัดมี ๒ อย่าง คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา อย่างหนึ่ง และสำนักสงฆ์ อีกอย่างหนึ่ง ต่อมาได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ และตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันขึ้นใช้บังคับแทน โดยมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ กำหนดให้วัดมี ๒ อย่าง คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอย่างหนึ่ง และสำนักสงฆ์ อีกอย่างหนึ่ง โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ที่ตราขึ้นในภายหลังมิได้มีบทบัญญัติให้เห็นว่ามีความประสงค์จะให้ลักษณะของสำนักสงฆ์มีความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ จึงต้องถือว่าสำนักสงฆ์ หมายถึง วัดที่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
จากที่อ้างถึงพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน จึงพอสรุปได้ว่า ที่พักสงฆ์ หมายถึงสถานที่พำนักพักพิงชั่วคราวของพระภิกษุสามเณร ซึ่งยังมิได้เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย ที่พักสงฆ์ จึงไม่มีสิทธิใช้คำว่า สำนักสงฆ์ หรือ วัด นำหน้าชื่อสถานที่ แต่หากดำเนินการขอสร้างวัด และตั้งวัดตามระเบียบของทางราชการ เมื่อได้รับอนุญาตให้สร้างวัด และตั้งวัดโดยถูกต้องตามกฎหมาย จึงจะถือว่าเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ที่มาจาก : http://sta.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=337&Itemid=348
นายอุดมศักดิ์ ชูโตชนะ
นักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ
สถาบันพระสังฆาธิการ
ชาวพุทธโดยทั่วไปมักได้ยินและคุ้นเคยคำว่า ที่พักสงฆ์ สำนักสงฆ์ และวัด โดยส่วนใหญ่เข้าใจความหมายที่ไม่ตรงกับกฏหมาย และผลที่จะเกิดในทางกฎหมาย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓๑ กำหนดให้วัดมี ๒ อย่างคือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอย่างหนึ่ง และสำนักสงฆ์ อีกอย่างหนึ่ง สำหรับสำนักสงฆ์นั้นไม่ปรากฎว่าพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้บัญญัติความหมายไว้ว่าหมายถึงอะไร แต่ย้อนกลับไปดูพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการปกครองคณะสงฆ์ฉบับแรก ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๕ กำหนดว่า วัดมี ๓ อย่าง คือ พระอารามหลวง อารามราษฎร์ และ ที่สำนักสงฆ์ และกำหนดให้ความหมายของคำว่า “ที่สำนักสงฆ์” คือวัดซึ่งยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
ต่อมาเมื่อมีการยกเลิกพระราชบัญญัติลักษณปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ และตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ขึ้นใช้บังคับแทน มาตรา ๓๘ กำหนดให้วัดมี ๒ อย่าง คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา อย่างหนึ่ง และสำนักสงฆ์ อีกอย่างหนึ่ง ต่อมาได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ และตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันขึ้นใช้บังคับแทน โดยมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ กำหนดให้วัดมี ๒ อย่าง คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอย่างหนึ่ง และสำนักสงฆ์ อีกอย่างหนึ่ง โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ที่ตราขึ้นในภายหลังมิได้มีบทบัญญัติให้เห็นว่ามีความประสงค์จะให้ลักษณะของสำนักสงฆ์มีความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ จึงต้องถือว่าสำนักสงฆ์ หมายถึง วัดที่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
จากที่อ้างถึงพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน จึงพอสรุปได้ว่า ที่พักสงฆ์ หมายถึงสถานที่พำนักพักพิงชั่วคราวของพระภิกษุสามเณร ซึ่งยังมิได้เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย ที่พักสงฆ์ จึงไม่มีสิทธิใช้คำว่า สำนักสงฆ์ หรือ วัด นำหน้าชื่อสถานที่ แต่หากดำเนินการขอสร้างวัด และตั้งวัดตามระเบียบของทางราชการ เมื่อได้รับอนุญาตให้สร้างวัด และตั้งวัดโดยถูกต้องตามกฎหมาย จึงจะถือว่าเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ที่มาจาก : http://sta.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=337&Itemid=348
แสดงความคิดเห็น
ในทางกฎหมาย วัด กับ สำนักสงฆ์ ต่างกันยังไงคะ
สงสัยมากๆ อยากทราบจริงๆค่ะ