ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปนาสมาธิ ที่ชาวพุทธต้องศึกษาทำความเข้าใจ?

ขณิกสมาธิ  อุปจารสมาธิ  อัปนาสมาธิ
       มาจากไหน มีปรากฏในพระไตรปิฏกส่วนใหน
        ขณิกสมาธิ  อุปจารสมาธิ   ถ้าศึกษาเรื่อง  ไตรสิกขาอันประกอบด้วย  ศีล   สมาธิ   ปัญญา     กล่าวคือ อธิจิต เป็นเรื่องที่ว่าด้วยเรื่องของ
        สมาธิ เช่น 1.  http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=4099&Z=4207
        เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทำสมาธิ มี อาการต่างๆลำดับของ สภาวะสมาธิ แต่ ไม่มี กล่าวถึง องค์ธรรม ของ ฌาณคือ  วิตก วิจารณ์  ปิติ  สุข เอกัตตารมณ์
        ในความหมายของ ฌาณ คือการอธิบาย ในเรื่องของฌาณ
      
        เป็นลำดับ ของ อารมณ์ ที่มี   ทั้ง อกุศลกรรม   มีสภาวะอารมณ์วิตก  ในขณะนั้น  แต่โดย ธรรม กล่าวถึง อธิจิต ซึ่งเป็น เรื่องสมาธิ
        โดยตรง  โดยส่วนตัวกระผมเข้าใจว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านบัญญัติธรรม อรรถ และ ตั้งบัญญัติ เป็นบทธรรมว่า ธรรมวิตักกสัณฐานสูตร
        ซึ่งเป็น เรื่องอธิจิต ว่าด้วย เรื่อง สมาธิโดยตรง

        โดยลิ๊งที่ 1 กระผมเข้าใจว่า เป็น ธรรมบัญญัติ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านบัญญัติขึ้น   พระอรหันต์ขีณาสพ ผู้แตกฉาน ในปฏิสัมภิทาญาณ ท่านแสดง
        ธรรมบัญญัติ โดย นิรุตติปฏิสัมภิทา เป็นภาษาให้เราเข้าใจ คือ  ขนิกสมาธิ  และ อุปจารสมาธิ   ดังนั้นจะกล่าว หาว่า พระอรหันต์ขีณาสพ ท่านบัญญัติขึ้น  เองไม่ได้
      
        2.  http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=6647&Z=6732
                                 [๕๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องเศร้าหมองอย่างหยาบของทอง คือ
ดินร่วน ทราย ก้อนกรวด และกระเบื้องมีอยู่ คนล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น
เรี่ยรายทองนั้นเทลงไปในรางน้ำแล้วล้าง ล้างแล้วล้างอีก ล้างจนหมด เมื่อล้าง
เครื่องเศร้าหมองอย่างหยาบหมดแล้ว ทำมันให้สุดสิ้นแล้ว ทองยังคงมีเครื่อง
เศร้าหมองอย่างกลาง คือ ก้อนกรวดอย่างละเอียด ทรายอย่างหยาบ คนล้างฝุ่น
หรือลูกมือคนล้างฝุ่นย่อมล้างทองนั้น ล้างแล้วล้างอีก ล้างจนหมด เมื่อล้าง
เครื่องเศร้าหมองอย่างกลางหมดแล้ว ทำมันให้สุดสิ้นแล้ว ทองยังคงมีเครื่อง
เศร้าหมองอย่างละเอียด คือ ทรายอย่างละเอียด และสะเก็ดกระลำพัก คน
ล้างฝุ่นหรือลูกมือของคนล้างฝุ่น ย่อมล้างทองนั้น ล้างแล้วล้างอีก ล้างจนหมด
เมื่อล้างเครื่องเศร้าหมองอย่างละเอียดจนหมดแล้ว ทำมันให้สิ้นสุดแล้ว คราว
นี้ยังคงเหลือกองทรายทอง ช่างทองหรือลูกมือของช่างทอง ใส่ทองลงในเบ้าหลอม
แล้วเป่าทองนั้น เป่าแล้วเป่าเล่า เป่าจนได้ที่ ยังไม่ติดสนิทแนบเป็นเนื้อ

เดียวกัน ยังไม่ถูกนำเอารสฝาดออก มันย่อมไม่อ่อน ไม่ควรแก่การงาน
ไม่ผุดผ่อง เป็นของแตกง่าย และเข้าไม่ถึงเพื่อกระทำโดยชอบ ช่างทอง
หรือลูกมือของช่างทองย่อมเป่าทองนั้น เป่าแล้วเป่าเล่า เป่าจนได้ที่ ในสมัย
ใด สมัยนั้นมีอยู่ ทองนั้นถูกเป่า ถูกเป่าแล้วเป่าเล่า ถูกเป่าจนได้ที่
ติดสนิทแนบเป็นเนื้อเดียวกัน ถูกนำเอารสฝาดออกหมด มันย่อมเป็นของอ่อน
ควรแก่การงาน ผุดผ่อง
ไม่แตกหัก เข้าถึงเพื่อทำโดยชอบ เขามุ่งหมายสำหรับ
เครื่องประดับชนิดใดๆ คือ แผ่นทอง ต่างหู เครื่องประดับคอ หรือดอกไม้
ทองก็ดี เครื่องประดับชนิดนั้นย่อมสมความประสงค์ของเขา ฉันใด ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล อุปกิเลสอย่างหยาบ คือ กายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ของภิกษุผู้ประกอบอธิจิต ยังมีอยู่ ภิกษุผู้มีสัญชาติเป็นคนฉลาด
ย่อมละทิ้ง บรรเทาอุปกิเลสอย่างหยาบของใจตนนั้นเสีย ทำให้สิ้นไป ให้
หมดไป เมื่อละมันได้เด็ดขาด ทำให้มันสิ้นไปแล้ว ภิกษุผู้ประกอบอธิจิตยังคง
มีอุปกิเลสอย่างกลาง คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ภิกษุผู้มีสัญชาติ
เป็นคนฉลาด ย่อมละทิ้ง บรรเทาอุปกิเลสอย่างกลางของใจตนนั้นเสีย ทำให้
สิ้นไป ให้หมดไป เมื่อละมันได้เด็ดขาด ทำให้มันสิ้นสุดแล้ว ภิกษุผู้
ประกอบอธิจิตยังคงมีอุปกิเลสอย่างละเอียด คือ ความวิตกถึงชาติ ความวิตก

จากบทนี้ แสดงถึง สภาวะของสมาธิ คือ  ขณิกสมาธิ  อุปจารสมาธิ  และ อัปนาสมาธิตรงที่ขีดเส้นใต้ข้อความว่า ( ทองนั้นถูกเป่า ถูกเป่าแล้วเป่าเล่า ถูกเป่าจนได้ที่ ติดสนิทแนบเป็นเนื้อเดียวกัน ถูกนำเอารสฝาดออกหมด มันย่อมเป็นของอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง)


   ดังนั้นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติธรรม  พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณท่าน แสดง ธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านบัญญัติแล้ว โดย นิรุตปฏิสัมภิทา

    โดย จากพระสูตรทั้งสอง  ทรงตรัสถึง อธิจิต ซึ่งเป็นเรื่องของสมาธิ  กระผมเข้าใจว่า  เพราะสภาวะสมาธิ ขณิกสมาธิ  อุปจารสมาธิ ก่อนที่จะถึง สัมมาสมาธิ  เป็น สมาธิที่ไม่มั่นคงไม่แน่นอน   ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติธรรม โดยทรงตรัสไว้ทั้งสองพระสูตรข้างต้น และปรากฏในพระสูตรอื่นๆเรื่องอธิจิต ของ พุทธศาสนาแบบปฏิบัติเถรวาท
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่