ที่มา
http://www.tnamcot.com/content/285170
อาเซ่มาเจอ หรือกลุ่มดาวหมีใหญ่ ซึ่งคนไทยรู้จักกันดีในชื่อของกลุ่มดาวจระเข้ กลุ่มดาวดวงนี้กำลังเป็นที่สนใจของนักดาราศาสตร์ ด้วยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) ประกาศให้ประเทศสมาชิกเสนอชื่อสามัญของชุดดาวฤกษ์ 20 ดวง
สมาคมดาราศาสตร์ไทยได้เลือกชุดดาวฤกษ์ 47 Ursae Majoris ตำแหน่งอยู่เยื้องลงมาทางด้านล่างของกลุ่มดาวจระเข้ โดยเสนอให้ดาวนี้ชื่อ ชาละวัน พญาจระเข้หนึ่งในตัวละครจากจากวรรณคดีไทย มีเรื่องราวที่มาน่าสนใจและสอดคล้องกับชื่อกลุ่มดาวจระเข้
นายกสมาคมดาราศาสตร์บอกว่า ดาว 47 อาซ่ มาเจอริส มีความสว่างกว่าดวงอาทิตย์เล็กน้อย ระยะห่างจากโลกประมาณ 46 ปีแสง ทำให้นักดูดาวสามารถเห็นดาวดวงนี้ด้วยตาเปล่า หากฟ้าใสและมืดเพียงพอ
ดาวฤกษ์ดวงนี้ยังมีดาวเคราะห์แก๊สเป็นบริวารอีก 2 ดวง เสนอชื่อไปพร้อมกัน โดยดาว47 อาเซ่มาเจอริสบี ชื่อตะเภาทอง มีมวล 2.5 เท่าของดาวพฤหัสบดี ส่วนดาว 47 อาเซ่มาเจอริสซี ชื่อตะเภาแก้ว มีมวลครึ่งหนึ่งของดาวพฤหัสบดี
ทั้งนี้ สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้เปิดให้ประชาชนร่วมโหวตชื่อผ่านเว็บไซต์ สามารถเลือกชุดดาว 47 อาซ่ มาเจอริส จากนั้นกดโหวตชื่อ ชาละวัน โดยคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องสามารถโหวตได้ 1 เสียง
ขณะนี้มีคู่แข่งอีก 14 ประเทศ โดยมีญี่ปุ่นและอังกฤษเป็นคู่แข่งสำคัญ ทั้งนี้จะเปิดรับโหวตถึงวันที่ 31 ตุลาคมนี้ ซึ่งหากชาละวันได้รับการโหวตสูงสุด จะเป็นหน้าประวัติศาสตร์ที่สำคัญของวงการดาราศาสตร์ไทย. – สำนักข่าวไทย
ไทยเสนอชื่อ "ชาละวัน" ตั้งชื่อดาวในกลุ่มหมีใหญ่ หากชนะโหวตจะเป็นดวงดวงแรกที่มีชื่อเป็นภาษาไทย
อาเซ่มาเจอ หรือกลุ่มดาวหมีใหญ่ ซึ่งคนไทยรู้จักกันดีในชื่อของกลุ่มดาวจระเข้ กลุ่มดาวดวงนี้กำลังเป็นที่สนใจของนักดาราศาสตร์ ด้วยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) ประกาศให้ประเทศสมาชิกเสนอชื่อสามัญของชุดดาวฤกษ์ 20 ดวง
สมาคมดาราศาสตร์ไทยได้เลือกชุดดาวฤกษ์ 47 Ursae Majoris ตำแหน่งอยู่เยื้องลงมาทางด้านล่างของกลุ่มดาวจระเข้ โดยเสนอให้ดาวนี้ชื่อ ชาละวัน พญาจระเข้หนึ่งในตัวละครจากจากวรรณคดีไทย มีเรื่องราวที่มาน่าสนใจและสอดคล้องกับชื่อกลุ่มดาวจระเข้
นายกสมาคมดาราศาสตร์บอกว่า ดาว 47 อาซ่ มาเจอริส มีความสว่างกว่าดวงอาทิตย์เล็กน้อย ระยะห่างจากโลกประมาณ 46 ปีแสง ทำให้นักดูดาวสามารถเห็นดาวดวงนี้ด้วยตาเปล่า หากฟ้าใสและมืดเพียงพอ
ดาวฤกษ์ดวงนี้ยังมีดาวเคราะห์แก๊สเป็นบริวารอีก 2 ดวง เสนอชื่อไปพร้อมกัน โดยดาว47 อาเซ่มาเจอริสบี ชื่อตะเภาทอง มีมวล 2.5 เท่าของดาวพฤหัสบดี ส่วนดาว 47 อาเซ่มาเจอริสซี ชื่อตะเภาแก้ว มีมวลครึ่งหนึ่งของดาวพฤหัสบดี
ทั้งนี้ สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้เปิดให้ประชาชนร่วมโหวตชื่อผ่านเว็บไซต์ สามารถเลือกชุดดาว 47 อาซ่ มาเจอริส จากนั้นกดโหวตชื่อ ชาละวัน โดยคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องสามารถโหวตได้ 1 เสียง
ขณะนี้มีคู่แข่งอีก 14 ประเทศ โดยมีญี่ปุ่นและอังกฤษเป็นคู่แข่งสำคัญ ทั้งนี้จะเปิดรับโหวตถึงวันที่ 31 ตุลาคมนี้ ซึ่งหากชาละวันได้รับการโหวตสูงสุด จะเป็นหน้าประวัติศาสตร์ที่สำคัญของวงการดาราศาสตร์ไทย. – สำนักข่าวไทย