ทำไมนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกหลายคนถึงมุ่งมั่นในเรื่องที่ซับซ้อนอย่างเอาเป็นเอาตาย?

ยกตัวอย่างนะคะ อย่าง ไอแซค นิวตัน ยอมสละความสุขส่วนตัวเพื่อมานั่งศึกษา คิดมากมาย มุ่งมุ่นศึกษา อย่างกับเด็กติดเกมส์ ไม่กินไม่นอนในบางครั้ง เก็บตัว ค้นพบอะไรได้ก็เก็บไว้คนเดียว จนตัวตายไปหลายร้อยปีผลงานถึงได้ตีพิมพ์ แล้วเค้าได้อะไร ตัวอย่างที่สอง อาร์คิมีดิส ลืมแม้กระทั่งจะกินอาหาร เพราะมัวแต่วาดรูปเรขาคณิต จนถึงก่อนที่ทหารโรมันจะฆ่าเขาตาย เขาก็นั่งวาดราขาคณิตวงกลมใจจดใจจ่อ อย่างกับคนตกอยู่ในภวังค์ อลัน ทัวริงด้วยค่ะ ที่ถอดรหัสอินิกม่าได้ มุ่งมั่นหมกมุ่นกับงานมาก แต่ละท่านห้ามใจไม่ได้ที่จะศึกษาเรื่องที่ซับซ้อนสำหรับคนส่วนใหญ่พวกนี้ เขารักทั้งที่มันเป็นเรื่องน่าเบื่อสำหรับคนส่วนใหญ่ อยากรู้ค่ะ
>>เขารู้สึกยังไงกันเวลาที่เป็นแบบนั้น เขาทำได้อย่างไร ที่ไม่ยอมเบื่อเลย เขาคิดอะไรอยู่ขณะที่ทำ บางครั้งทำไปโดยไม่ต้องการให้ใครรู้ เขาคิดว่าเขาได้อะไร   อัจฉริยะจริงๆ<<
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
ใครทำสิ่งใดได้นาน ๆ โดยไม่ต้องมีใครมาสั่ง  แปลว่าเขาทำสิ่งนั้น ถ้าไม่ด้วยความสุข ก็ด้วยความชอบครับ  

ที่จริงทุกสิ่งทุกอย่างถ้าทำไปด้วยเวลานาน ๆ ซ้ำ ๆ ในบางคน มันจะเกิดสภาพคล้าย ๆ การทำสมาธิครับ   สมาธิมันจะทำให้เกิดความสุขได้  อย่างน้อยมันช่วยตัดสถานการณ์อันวุ่นวาย หรือความทุกข์กังวลใจในใจ  พอทำไปเรื่อยๆ  อันที่จริงมันอยากได้ความสุขจากสมาธิ แต่วิธีการทำให้เกิดมัน  มันเกิดจากกิจกรรมบางอย่างที่เขาเคยทำ เขาก็เลยเลือกทำกิจกรรมนั้น ๆ  ได้เรื่อย ๆ  และนาน ๆ  

ทั้งพวกนักกีฬา หรือนักศิลปะ หรือนักอะไรสารพัด หลายคนก็จะเป็นไปในทำนองนี้  ซึ่งหลายครั้งสภาพทางสมาธินั่นแหละ มันทำให้เกิดความสามารถอะไรที่ล้ำ ๆ ออกมาได้อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น เกิดปิ้งคิดอะไรบางอย่างที่พลิกโลกขึ้นมาเฉย นักกีฬาทำสถิติใหม่ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ นักดนตรีหรือศิลปิน สร้างผลงานอมตะอย่งไม่น่าเชื่อว่าจะทำได้ สารพัดกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งอันที่จริงเกิดมาจากวงจรทางสมาธิ นั่นเอง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่