มีคนจ้างรีวิวแลกกับกาแฟแก้วนึง รับงานเค้าแล้วก็ต้องทำให้เสร็จปะวะ
ด่ากันขรมเพราะถูกตัวอย่างหลอกอย่างถ้วนทั่ว มันก็มีประเด็นอยู่นะ แม้ไม่ปฏิเสธว่าการโฆษณาก็เพื่อจะขายของ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะชวนเชื่อกันยังไงก็ได้โดยไม่มีขอบเขต ไม่งั้นเค้าจะมี สคบ. เรอะ
กับเคสนี้ใช้คำว่า "ผิดหวัง" ก็มีส่วนถูก แต่ไม่ถูกทั้งหมด ชัดเจนว่านี่ไม่ใช่การหลอกขายของไร้คุณภาพด้วยโฆษณาสวยหรู ตรงข้ามด้วยซ้ำ เพราะเนื้อหนังจริงๆ มันเลอค่ากว่าโฆษณาซะอีก เพียงแค่ตัวอย่างมันทำให้เข้าใจว่านี่คือหนังรักกุ๊กกิ๊กก๊ากกระจายตามสไตล์ GTH ( เช่น รถไฟฟ้าฯ หรือไอฟายฯ เป็นต้น) แล้วไหงมันดันจริงจังกับชีวิตขนาดเน้ กูสั่งไส้กรอกเจี๊ยวหมา ดันเสริฟอาหารมังสวิรัติ 555
ในมุมนายทุนเค้าก็เสี่ยงอยู่นะ แต่บวกลบคูณหารแล้วถือว่ากำไร (รับได้กับการถูกด่านิดหน่อย) แถมตัวหนังเองก็ยังได้รับเสียงชื่นชมหนาหู สุดท้ายแล้วความดีงามยังเหลือเผื่อแผ่ไปถึง GTH อีกตะหาก กลายเป็นกลไกหนึ่งในการสร้างความเข้มแข็งให้กับวงการหนังไทยไปโน้น ทุนนิยมนี่มันดีจริงๆ โฆษณาเบี่ยงเบนความจริงแล้วได้กำไร แถมยังส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรให้ดูดีมีคุณธรรม
ผมว่า มองตัวอย่างเป็นส่วนหนึ่งของตัวหนังก็ work นะครับ ถือเป็น installation art ในชุดเดียวกัน (ไม่เกี่ยวกับว่าผู้สร้างจะตั้งใจหรือไม่) ล้อเล่นกับความรู้สึกผิดหวังหรือการสำคัญผิดของสังคม ด้วยหนังเองก็มีประเด็นหลักว่าด้วยการสร้างภาพเกินจริง สวนทางกับสภาพความจริงอันสามัญ
หนังอนุญาตให้เราอยู่ในหัวของยุ่น (ซันนี่) ได้ยินได้ฟัง "ความคิด" ของเค้าตลอดทั้งเรื่อง คล้ายเรื่อง inside out (แต่นั่นมันโฟกัสไปที่อารมณ์มนุษย์) หรือเสียงบรรยายความรู้สึกตัวละครแบบที่เห็นในหนังหรือละครไทย (แต่ในละครไทยนี่ไม่ work นะ คิดไปปั้นหน้าจริงจังตามไปด้วย มันมีคนทำแบบนั้นจริงๆ เหรอวะ)
ผู้กำกับที่ผมชอบอย่าง Terrence Malick (The Thin Red Line, The Tree of Life) ก็ชอบเล่าด้วยวิธีนี้บ่อยๆ เปิดโลกทัศน์ให้เราไม่พิพากษาคนอื่นแค่จากสิ่งที่เราเห็น แต่ให้เรามองทะลุมาจากหัวเค้าเลย ว่าเค้ามีวิธีหรือกระบวนการในการเห็นโลกอย่างไร ทำไมเค้าถึงคิดและทำเช่นนั้น
ผมว่าวิธีนี้ช่วยให้เรารู้จักการเอาใจเขามาใส่ใจเรา พยายามทำความเข้าใจมุมมองของคนอื่นบ้าง น่าเชื่อว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาความขัดแย้งในสังคม ส่วนใหญ่ก็เกิดขึ้นเพราะความไม่เข้าใจ หลงยึดถือความคิดหรืออัตตาตัวเองเป็นยุติ
การสนทนากับตัวเองของยุ่นยังคล้ายกับพระเอกในเรื่อง Birdman หนังโน้มน้าวให้เราดึง Birdman เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น การเลือกใช้ดนตรีประกอบ (เสียงรัวกลอง) วิธีปรากฏตัวอักษรชื่อเรื่อง การขึ้นข้อความคำคม การเน้นถ่ายภาพแบบ long take แม้แต่ประเด็นว่าด้วยความจริงของชีวิตและโลกมายาอันหลอกลวง
ใน Birdman พระเอกเค้าต่อล้อต่อเถียงกับความสำเร็จของตัวเองในอดีต เป็นเสียงของ superhero ที่คอยตามถากถาง ดูแคลน ให้พระเอกรู้สึกต่ำต้อยด้อยค่ากับทางเลือกที่กำลังเดินอยู่ในปัจจุบัน แต่กับยุ่น "ความคิด" คือตัวละครอีกตัวหนึ่งที่ถูกแยกออกมาอย่างเอกเทศ สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกอื่นๆ ของชีวิต ได้แก่ ร่างกาย ความรู้สึก จิตวิญญาณ แต่จุดนึงที่เหมือนกัน ทั้งพระเอก Birdman และยุ่น ล้วนแต่เป็นพวกที่ "หมกมุ่น" อยู่กับตัวเองจนเกินไป
ปัญหามันเริ่มจาก "ความคิด" ของยุ่นที่ริอาจตั้งตนเป็นผู้นำเผด็จการ ไม่ยอมฟังเสียงขององคาพยพส่วนอื่นๆ เปิดเรื่องมายุ่นก็ท้าทายกับข้อแนะนำเชยๆ เกี่ยวกับการพักผ่อนของกระทรวงสาธารณสุข (ด้วยท่าทีขำๆ และคนดูก็พร้อมจะเออออ)
ยุ่นปฏิบัติกับร่างกายเหมือนใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า (มีพักเครื่องให้เย็นก่อนทำงานต่อ) อวัยวะต้องทนทำตามคำสั่งของความคิด อดหลับอดนอนเป็นเวลาหลายวัน จังหวะชีวิตถูกกำกับด้วยเข็มนาฬิกา
ยุ่นจริงจังกับความสำเร็จของงาน (ที่ไม่ใช่แค่เสร็จ) ชัดเจนว่ามันไม่เกี่ยวกับเงิน (ความล่าช้าในการรับเช็คค่าจ้างและเหมือนยุ่นไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะเอาเงินไปทำอะไร) หากแต่เป็นรางวัลในรูปของคำชื่มชมจากคนที่เค้าแคร์ (เท่าที่เห็นก็มีเจ๊ที่อยากให้งานดูแพงกับพี่เป้งผู้เป็นไอดอลของยุ่น)
เค้าละเอียดและประณีตมากๆ กับงานที่ทำ แต่กลับใช้ชีวิตอย่างหยาบๆ ลวกๆ สุกเอาเผากิน ผมว่าฉากที่ร้านสุกี้สรุปภาพรวมชีวิตส่วนตัวของยุ่นได้ดีทีเดียว (เทผักทั้งถาดลงหม้อต้ม เสร็จ)
หลายคนอาจเข้าใจวิธีคิดของยุ่นเพราะเคยมองโลกจากประสบการณ์เดียวกัน แต่บางคนก็ไม่เก็ท เสียงความคิดของยุ่นก็ไม่ได้สารภาพอะไรออกมาตรงๆ (ซึ่งดีแล้ว ไม่งั้นกลายเป็นละครทีวี) ความคิดมันแค่จ้อเรื่อยเปื่อยไปตามสถานการณ์ บางทีก็ซื่อ ทึ่ม ไม่รู้กาลเทศะ บางทีความคิดก็รกหัวน่ารำคาญเหมือนขยะ (อีน้องเล็บหักเนี้ยเป็นญาติกับเพลงหมากฝรั่งใน inside out ใช่มะ) อีกอย่าง ความคิดมันไม่มานั่งรำพึงรำพันชีวิตตัวเองให้ตัวเองฟังหรอก
ว่าถึงความเลอะเทอะและไร้แก่นสารของความคิด จุดนี้คล้ายๆ หนังเรื่อง Mary is happy, Mary is happy ผลงานเก่าของผู้กำกับอยู่เหมือนกัน ที่เค้านำขัอความอันเปะปะในทวิสเตอร์ (ความคิดในแต่ละช่วง) มาพัฒนาขึ้นเป็นบทหนัง
ถ้าไม่นับเจ๋ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงาน (จริงๆ ก็เป็นมิตรแท้ด้วยแหละ) เพื่อนของยุ่นก็มีพงศธร (เรียกชื่อจริงกันนี่มันห่างเหินมากนะ) เยื่อใยในอดีตคลายความเหนียวแน่นกลายเป็นเพียงคบหากันตามมารยาท ถ้าต้องการคำปรึกษาในชีวิต ยุ่นจะคุยกับไก่ซึ่งเป็นพนักงานร้านเซเว่น (นี่เข้าเซเว่นบ่อยจนสนิทกับพนักงานกะดึกเลยเรอะ) ความสัมพันธ์กับแม่ก็แสนจะบางเบา การ์ดอวยพรปีใหม่ดูห่างไกลและห่างเหิน น่าเศร้านะถ้าคิดว่าเพราะไม่ได้กลับบ้านซะนาน ยุ่นอาจจำหน้าแม่แบบเป๊ะๆ ในปัจจุบันไม่ได้แล้ว
ยุ่นปลีกตัวเองจากกิจกรรมสังคม ไม่เฮฮาปาร์ตี้กับใคร ออกจะ-ดันหรือสบประมาทรสนิยมของชาวบ้านชาวช่องเค้าด้วยซ้ำ (การเซอร์ไพรซ์ขอแต่งงาน, การแต่งรูปพรีเว็ดดิ้งเป็นสีขาวดำ) ไม่ถนัดกับการต้องรับมือกับความสัมพันธ์ใหม่ๆ ไม่เข้าใจวิถีของการมีชีวิตคู่ (ดูจากที่ซักไซ้เจ๋เรื่องแต่งงาน) หนังไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรเกี่ยวกับพ่อ แต่พออนุมานได้ว่า ยุ่นอาจไม่มีโอกาสได้เรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้จากครอบครัวนัก หรือความสัมพันธ์ของพ่อกับแม่อาจจะไม่ได้สวยงามน่าประทับใจ
เพื่อให้ชีวิตมีจุดยึดเหนี่ยว ไม่เลื่อนลอยเคว้งคว้าง "งาน" จึงกลายเป็นศาสนาของยุ่น (พี่เป้งอาจเป็นศาสดา) เพราะเป็นสิ่งเดียวที่เค้าสามารถมองตัวเองแล้วเห็นคุณค่า ได้เติมเต็มความขาดพร่องบางอย่างในชีวิต ได้สำเร็จความสุข (ฟิน) อย่างอบอุ่นโรแมนติกตามสไตล์มนุษย์ที่เน้นทำงานเอาโล่
ชื่อ "ยุ่น" อาจมีนัยยะถึงคนญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเรื่องความจริงจังและบ้างาน (adidas ญี่ปุ่นก็เป็นชิ้นงานในฝันของยุ่นซะด้วย) ฉากที่ยุ่นใส่เสื้อคอเต่าเหมือน "สตีฟ จ๊อบ" มองอีกมุมก็คล้ายจะล้อเลียนต้นฉบับของคนที่ลุ่มหลงในการทำงานแบบสุดโต่ง (ส่วนเรื่องครอบครัวของจ๊อบก็อย่างที่รู้กัน)
คำเตือนจากร่างกายสื่อสารถึงยุ่นผ่านเม็ดผื่นที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ตามผิวหนัง ในฐานะของคนที่เน้นง่ายและเร็ว ยุ่นไปหาหมอโรงบาลเอกชน ตรวจไปคุยงานไปโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับอาการป่วยของตน และแล้วความสะดวกสบายและรอยยิ้มสดใสของเจ้าหน้าที่ก็ถูกคำนวณรวมอยู่ในบิลอย่างแพงระยับ
ยุ่นเปลี่ยนมารักษาที่โรงบาลรัฐ เค้าต้องเผชิญชะตากรรมเดียวกันกับผู้ป่วยรายอื่นที่ต่อแถวรอหมออย่างยืดยาวและเนิ่นนาน และที่นี่เค้าก็ได้รู้จักกับหมออิม หมอสาวแสนสวยที่กระตุ้นให้หัวใจตายซากของเค้าเริ่มเต้นด้วยจังหวะของมนุษย์อีกครั้ง
อาชีพฟรีแลนซ์ของยุ่นกับงานประจำของหมออิม (ใหม่ ดาวิกา) มีธรรมชาติแตกต่างกันคนละขั้ว ทั้งสองคล้ายมาจากคนละโลก พูดจากันคนละภาษา ชำนาญและอ่อนด้อยกันคนละด้าน หมออิมพูดถึงความยากในการใช้โปรแกรม photoshop ส่วนยุ่นก็พูดถึงความยากในการสละเวลางานเพื่อการนอนที่เพียงพอ
หมออิมทำหน้าที่คล้ายกระบอกเสียง (หรือทนายความ) ให้กับร่างกายของยุ่น ร่างกายซึ่งความคิดของยุ่นไม่เคยรับฟัง ไม่เคยเข้าใจข้อเรียกร้องและคำเตือนที่มันพยายามจะบอก (รอยคล้ำใต้ตา, ผื่นตามผิวหนัง) การได้พูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะกับหมออิม ซึ่งบ่อยครั้งก็ขัดแย้งกัน ไม่ต่างอะไรกับการสนทนาเพื่อปรับความเข้าใจระหว่าง "ความคิด" และ "ร่างกาย"
ยุ่นพบว่าการกินยาทำให้งานเสีย (หลับยาว) การออกกำลังกายก็เหนื่อยหนักไป ทั้งยังตบะแตกกับอาหารต้องห้าม การรักษาในช่วงแรกจึงไม่เห็นผล เม็ดผื่นเพิ่มจำนวน หมออิมเลยถอดภาพลักษณ์ของแพทย์มาคุยเปิดใจอย่างเพื่อน ขอความร่วมมือจากยุ่นในการรักษา และนั่นเป็นครั้งแรกที่ทั้งสองคนได้จับมือกัน
(ต่อครับ)
ฟรีแลนซ์ฯ (เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ)
มีคนจ้างรีวิวแลกกับกาแฟแก้วนึง รับงานเค้าแล้วก็ต้องทำให้เสร็จปะวะ
ด่ากันขรมเพราะถูกตัวอย่างหลอกอย่างถ้วนทั่ว มันก็มีประเด็นอยู่นะ แม้ไม่ปฏิเสธว่าการโฆษณาก็เพื่อจะขายของ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะชวนเชื่อกันยังไงก็ได้โดยไม่มีขอบเขต ไม่งั้นเค้าจะมี สคบ. เรอะ
กับเคสนี้ใช้คำว่า "ผิดหวัง" ก็มีส่วนถูก แต่ไม่ถูกทั้งหมด ชัดเจนว่านี่ไม่ใช่การหลอกขายของไร้คุณภาพด้วยโฆษณาสวยหรู ตรงข้ามด้วยซ้ำ เพราะเนื้อหนังจริงๆ มันเลอค่ากว่าโฆษณาซะอีก เพียงแค่ตัวอย่างมันทำให้เข้าใจว่านี่คือหนังรักกุ๊กกิ๊กก๊ากกระจายตามสไตล์ GTH ( เช่น รถไฟฟ้าฯ หรือไอฟายฯ เป็นต้น) แล้วไหงมันดันจริงจังกับชีวิตขนาดเน้ กูสั่งไส้กรอกเจี๊ยวหมา ดันเสริฟอาหารมังสวิรัติ 555
ในมุมนายทุนเค้าก็เสี่ยงอยู่นะ แต่บวกลบคูณหารแล้วถือว่ากำไร (รับได้กับการถูกด่านิดหน่อย) แถมตัวหนังเองก็ยังได้รับเสียงชื่นชมหนาหู สุดท้ายแล้วความดีงามยังเหลือเผื่อแผ่ไปถึง GTH อีกตะหาก กลายเป็นกลไกหนึ่งในการสร้างความเข้มแข็งให้กับวงการหนังไทยไปโน้น ทุนนิยมนี่มันดีจริงๆ โฆษณาเบี่ยงเบนความจริงแล้วได้กำไร แถมยังส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรให้ดูดีมีคุณธรรม
ผมว่า มองตัวอย่างเป็นส่วนหนึ่งของตัวหนังก็ work นะครับ ถือเป็น installation art ในชุดเดียวกัน (ไม่เกี่ยวกับว่าผู้สร้างจะตั้งใจหรือไม่) ล้อเล่นกับความรู้สึกผิดหวังหรือการสำคัญผิดของสังคม ด้วยหนังเองก็มีประเด็นหลักว่าด้วยการสร้างภาพเกินจริง สวนทางกับสภาพความจริงอันสามัญ
หนังอนุญาตให้เราอยู่ในหัวของยุ่น (ซันนี่) ได้ยินได้ฟัง "ความคิด" ของเค้าตลอดทั้งเรื่อง คล้ายเรื่อง inside out (แต่นั่นมันโฟกัสไปที่อารมณ์มนุษย์) หรือเสียงบรรยายความรู้สึกตัวละครแบบที่เห็นในหนังหรือละครไทย (แต่ในละครไทยนี่ไม่ work นะ คิดไปปั้นหน้าจริงจังตามไปด้วย มันมีคนทำแบบนั้นจริงๆ เหรอวะ)
ผู้กำกับที่ผมชอบอย่าง Terrence Malick (The Thin Red Line, The Tree of Life) ก็ชอบเล่าด้วยวิธีนี้บ่อยๆ เปิดโลกทัศน์ให้เราไม่พิพากษาคนอื่นแค่จากสิ่งที่เราเห็น แต่ให้เรามองทะลุมาจากหัวเค้าเลย ว่าเค้ามีวิธีหรือกระบวนการในการเห็นโลกอย่างไร ทำไมเค้าถึงคิดและทำเช่นนั้น
ผมว่าวิธีนี้ช่วยให้เรารู้จักการเอาใจเขามาใส่ใจเรา พยายามทำความเข้าใจมุมมองของคนอื่นบ้าง น่าเชื่อว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาความขัดแย้งในสังคม ส่วนใหญ่ก็เกิดขึ้นเพราะความไม่เข้าใจ หลงยึดถือความคิดหรืออัตตาตัวเองเป็นยุติ
การสนทนากับตัวเองของยุ่นยังคล้ายกับพระเอกในเรื่อง Birdman หนังโน้มน้าวให้เราดึง Birdman เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น การเลือกใช้ดนตรีประกอบ (เสียงรัวกลอง) วิธีปรากฏตัวอักษรชื่อเรื่อง การขึ้นข้อความคำคม การเน้นถ่ายภาพแบบ long take แม้แต่ประเด็นว่าด้วยความจริงของชีวิตและโลกมายาอันหลอกลวง
ใน Birdman พระเอกเค้าต่อล้อต่อเถียงกับความสำเร็จของตัวเองในอดีต เป็นเสียงของ superhero ที่คอยตามถากถาง ดูแคลน ให้พระเอกรู้สึกต่ำต้อยด้อยค่ากับทางเลือกที่กำลังเดินอยู่ในปัจจุบัน แต่กับยุ่น "ความคิด" คือตัวละครอีกตัวหนึ่งที่ถูกแยกออกมาอย่างเอกเทศ สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกอื่นๆ ของชีวิต ได้แก่ ร่างกาย ความรู้สึก จิตวิญญาณ แต่จุดนึงที่เหมือนกัน ทั้งพระเอก Birdman และยุ่น ล้วนแต่เป็นพวกที่ "หมกมุ่น" อยู่กับตัวเองจนเกินไป
ปัญหามันเริ่มจาก "ความคิด" ของยุ่นที่ริอาจตั้งตนเป็นผู้นำเผด็จการ ไม่ยอมฟังเสียงขององคาพยพส่วนอื่นๆ เปิดเรื่องมายุ่นก็ท้าทายกับข้อแนะนำเชยๆ เกี่ยวกับการพักผ่อนของกระทรวงสาธารณสุข (ด้วยท่าทีขำๆ และคนดูก็พร้อมจะเออออ)
ยุ่นปฏิบัติกับร่างกายเหมือนใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า (มีพักเครื่องให้เย็นก่อนทำงานต่อ) อวัยวะต้องทนทำตามคำสั่งของความคิด อดหลับอดนอนเป็นเวลาหลายวัน จังหวะชีวิตถูกกำกับด้วยเข็มนาฬิกา
ยุ่นจริงจังกับความสำเร็จของงาน (ที่ไม่ใช่แค่เสร็จ) ชัดเจนว่ามันไม่เกี่ยวกับเงิน (ความล่าช้าในการรับเช็คค่าจ้างและเหมือนยุ่นไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะเอาเงินไปทำอะไร) หากแต่เป็นรางวัลในรูปของคำชื่มชมจากคนที่เค้าแคร์ (เท่าที่เห็นก็มีเจ๊ที่อยากให้งานดูแพงกับพี่เป้งผู้เป็นไอดอลของยุ่น)
เค้าละเอียดและประณีตมากๆ กับงานที่ทำ แต่กลับใช้ชีวิตอย่างหยาบๆ ลวกๆ สุกเอาเผากิน ผมว่าฉากที่ร้านสุกี้สรุปภาพรวมชีวิตส่วนตัวของยุ่นได้ดีทีเดียว (เทผักทั้งถาดลงหม้อต้ม เสร็จ)
หลายคนอาจเข้าใจวิธีคิดของยุ่นเพราะเคยมองโลกจากประสบการณ์เดียวกัน แต่บางคนก็ไม่เก็ท เสียงความคิดของยุ่นก็ไม่ได้สารภาพอะไรออกมาตรงๆ (ซึ่งดีแล้ว ไม่งั้นกลายเป็นละครทีวี) ความคิดมันแค่จ้อเรื่อยเปื่อยไปตามสถานการณ์ บางทีก็ซื่อ ทึ่ม ไม่รู้กาลเทศะ บางทีความคิดก็รกหัวน่ารำคาญเหมือนขยะ (อีน้องเล็บหักเนี้ยเป็นญาติกับเพลงหมากฝรั่งใน inside out ใช่มะ) อีกอย่าง ความคิดมันไม่มานั่งรำพึงรำพันชีวิตตัวเองให้ตัวเองฟังหรอก
ว่าถึงความเลอะเทอะและไร้แก่นสารของความคิด จุดนี้คล้ายๆ หนังเรื่อง Mary is happy, Mary is happy ผลงานเก่าของผู้กำกับอยู่เหมือนกัน ที่เค้านำขัอความอันเปะปะในทวิสเตอร์ (ความคิดในแต่ละช่วง) มาพัฒนาขึ้นเป็นบทหนัง
ถ้าไม่นับเจ๋ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงาน (จริงๆ ก็เป็นมิตรแท้ด้วยแหละ) เพื่อนของยุ่นก็มีพงศธร (เรียกชื่อจริงกันนี่มันห่างเหินมากนะ) เยื่อใยในอดีตคลายความเหนียวแน่นกลายเป็นเพียงคบหากันตามมารยาท ถ้าต้องการคำปรึกษาในชีวิต ยุ่นจะคุยกับไก่ซึ่งเป็นพนักงานร้านเซเว่น (นี่เข้าเซเว่นบ่อยจนสนิทกับพนักงานกะดึกเลยเรอะ) ความสัมพันธ์กับแม่ก็แสนจะบางเบา การ์ดอวยพรปีใหม่ดูห่างไกลและห่างเหิน น่าเศร้านะถ้าคิดว่าเพราะไม่ได้กลับบ้านซะนาน ยุ่นอาจจำหน้าแม่แบบเป๊ะๆ ในปัจจุบันไม่ได้แล้ว
ยุ่นปลีกตัวเองจากกิจกรรมสังคม ไม่เฮฮาปาร์ตี้กับใคร ออกจะ-ดันหรือสบประมาทรสนิยมของชาวบ้านชาวช่องเค้าด้วยซ้ำ (การเซอร์ไพรซ์ขอแต่งงาน, การแต่งรูปพรีเว็ดดิ้งเป็นสีขาวดำ) ไม่ถนัดกับการต้องรับมือกับความสัมพันธ์ใหม่ๆ ไม่เข้าใจวิถีของการมีชีวิตคู่ (ดูจากที่ซักไซ้เจ๋เรื่องแต่งงาน) หนังไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรเกี่ยวกับพ่อ แต่พออนุมานได้ว่า ยุ่นอาจไม่มีโอกาสได้เรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้จากครอบครัวนัก หรือความสัมพันธ์ของพ่อกับแม่อาจจะไม่ได้สวยงามน่าประทับใจ
เพื่อให้ชีวิตมีจุดยึดเหนี่ยว ไม่เลื่อนลอยเคว้งคว้าง "งาน" จึงกลายเป็นศาสนาของยุ่น (พี่เป้งอาจเป็นศาสดา) เพราะเป็นสิ่งเดียวที่เค้าสามารถมองตัวเองแล้วเห็นคุณค่า ได้เติมเต็มความขาดพร่องบางอย่างในชีวิต ได้สำเร็จความสุข (ฟิน) อย่างอบอุ่นโรแมนติกตามสไตล์มนุษย์ที่เน้นทำงานเอาโล่
ชื่อ "ยุ่น" อาจมีนัยยะถึงคนญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเรื่องความจริงจังและบ้างาน (adidas ญี่ปุ่นก็เป็นชิ้นงานในฝันของยุ่นซะด้วย) ฉากที่ยุ่นใส่เสื้อคอเต่าเหมือน "สตีฟ จ๊อบ" มองอีกมุมก็คล้ายจะล้อเลียนต้นฉบับของคนที่ลุ่มหลงในการทำงานแบบสุดโต่ง (ส่วนเรื่องครอบครัวของจ๊อบก็อย่างที่รู้กัน)
คำเตือนจากร่างกายสื่อสารถึงยุ่นผ่านเม็ดผื่นที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ตามผิวหนัง ในฐานะของคนที่เน้นง่ายและเร็ว ยุ่นไปหาหมอโรงบาลเอกชน ตรวจไปคุยงานไปโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับอาการป่วยของตน และแล้วความสะดวกสบายและรอยยิ้มสดใสของเจ้าหน้าที่ก็ถูกคำนวณรวมอยู่ในบิลอย่างแพงระยับ
ยุ่นเปลี่ยนมารักษาที่โรงบาลรัฐ เค้าต้องเผชิญชะตากรรมเดียวกันกับผู้ป่วยรายอื่นที่ต่อแถวรอหมออย่างยืดยาวและเนิ่นนาน และที่นี่เค้าก็ได้รู้จักกับหมออิม หมอสาวแสนสวยที่กระตุ้นให้หัวใจตายซากของเค้าเริ่มเต้นด้วยจังหวะของมนุษย์อีกครั้ง
อาชีพฟรีแลนซ์ของยุ่นกับงานประจำของหมออิม (ใหม่ ดาวิกา) มีธรรมชาติแตกต่างกันคนละขั้ว ทั้งสองคล้ายมาจากคนละโลก พูดจากันคนละภาษา ชำนาญและอ่อนด้อยกันคนละด้าน หมออิมพูดถึงความยากในการใช้โปรแกรม photoshop ส่วนยุ่นก็พูดถึงความยากในการสละเวลางานเพื่อการนอนที่เพียงพอ
หมออิมทำหน้าที่คล้ายกระบอกเสียง (หรือทนายความ) ให้กับร่างกายของยุ่น ร่างกายซึ่งความคิดของยุ่นไม่เคยรับฟัง ไม่เคยเข้าใจข้อเรียกร้องและคำเตือนที่มันพยายามจะบอก (รอยคล้ำใต้ตา, ผื่นตามผิวหนัง) การได้พูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะกับหมออิม ซึ่งบ่อยครั้งก็ขัดแย้งกัน ไม่ต่างอะไรกับการสนทนาเพื่อปรับความเข้าใจระหว่าง "ความคิด" และ "ร่างกาย"
ยุ่นพบว่าการกินยาทำให้งานเสีย (หลับยาว) การออกกำลังกายก็เหนื่อยหนักไป ทั้งยังตบะแตกกับอาหารต้องห้าม การรักษาในช่วงแรกจึงไม่เห็นผล เม็ดผื่นเพิ่มจำนวน หมออิมเลยถอดภาพลักษณ์ของแพทย์มาคุยเปิดใจอย่างเพื่อน ขอความร่วมมือจากยุ่นในการรักษา และนั่นเป็นครั้งแรกที่ทั้งสองคนได้จับมือกัน
(ต่อครับ)