จากเฟสบุ๊คที่ส่งต่อๆกันมาครับ
เนื่องจากมีชาวพุทธจำนวนมากเข้าใจว่า พระสงฆ์เมื่อรับอาหารบิณฑบาตแล้วก็ต้อง ให้พร พระรูปไหนไม่ให้พร เป็นอันใช้ไม่ได้ หรือ ไม่ทำหน้าที่ของพระสงฆ์ และเชื่อกันจนคิดว่า "ถ้าพระไม่ให้พร เราก็จะไม่ได้บุญ" จนเป็นเหตุตำหนิพระเลยก็ว่าได้
พระคุณเจ้าที่รู้สึกไม่สบายใจกับเรื่องนี้ ก็อยากจะฉลองศรัทธาญาติโยม ก็เลยให้พรตามที่ญาติโยมต้องการ จนบางทีก็เกินไป เช่น ให้พรเสียงดังบ้าง ให้พรจนยืดยาวบ้าง บางรูปให้ยถา - สัพพี แล้วต่อด้วย ภะวะตุสัพฯ เลยก็มี บางทีก็แทบจะกลายเป็นพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหารแบบย่อมๆ เลยทีเดียว
ความจริงแล้วการให้พรขณะบิณฑบาตนั้น ไม่ว่าพระท่านจะให้หรือไม่ก็ตาม บุญก็สำเร็จตั้งแต่เมื่อผู้มีศรัทธาได้ถวายอาหารนั้นไปแล้ว การให้พรของท่าน ก็เป็นเพียงการอนุโมทนาในทานที่ถวายเท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเรื่องว่าจะได้บุญหรือไม่ได้บุญ จากคำให้พรเหล่านั้นเลย
อีกอย่างหนึ่ง สาเหตุที่พระสงฆ์บางรูปท่านไม่ได้ให้พรหลังจากรับอาหารบิณฑบาต ท่านทำแต่เพียงยืนสงบนิ่งครู่หนึ่ง แล้วก็เดินต่อไป ก็เป็นเพราะท่านปฏิบัติตามพระวินัยว่า
"พระภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรายืนอยู่ จะไม่แสดงธรรมแก่ผู้ไม่เป็นไข้ นั่งอยู่"
พระวินัยข้อนี้ อยู่ในเสขิยวัตร ข้อปฏิบัติของพระ ว่าด้วยเรื่องการแสดงธรรม คือพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ ให้พระภิกษุ ที่ยืนอยู่ ไม่แสดงธรรมให้กับผู้ไม่เจ็บป่วย ที่นั่งอยู่
ถามว่าสิกขาบทข้อนี้เกี่ยวอะไรกับเรื่องการให้พร ก็เพราะการให้พรนั้น มักให้พรเป็นภาษาบาลี และเป็นเรื่องที่เนื่องด้วยธรรม คือการแสดงธรรมอยู่แล้ว และบทให้พรบางบท ก็เป็นการแสดงธรรมโดยตรงเลยทีเดียว เช่นบทที่เรียกกันว่า "สัพพีฯ" ในตอนท้ายเป็นคำแสดงธรรมแบบหนึ่ง ที่ว่า
"อภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมาวัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง"
ซึ่งแปลว่า
ธรรมะสี่ประการคือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญ บังเกิดขึ้นแก่ผู้มีปกติกราบไหว้ และอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิจ
เนื่องจากการให้พรนั้น เป็นการแสดงธรรมแบบหนึ่ง และชาวบ้านผู้มาใส่บาตร เมื่อใส่เสร็จแล้ว ก็นั่งยองๆ อยู่ ซึ่งถ้าหากท่านให้พรไป ก็จะเป็นการแสดงธรรมแก่ผู้นั่งอยู่ โดยที่ตัวท่านเองก็ยืนอยู่ การแสดงธรรม (ให้พร) ไปในลักษณะนั้น ก็เท่ากับเป็นการไม่เคารพพระธรรม ดังนั้นพระคุณเจ้าหลายๆรูปที่รู้พระวินัยดี จึงกระทำเพียง ยืนสงบนิ่ง ตั้งจิตเมตตาปรารถนาดี อนุโมทนาทาน ต่อผู้ถวายอาหารบิณฑบาต แล้วก็เดินต่อไป จนชาวบ้านที่ไม่เข้าใจ ก็นึกตำหนิว่า " พระอะไรใช้ไม่ได้ รับอาหารแล้วก็ยืนนิ่ง ไม่ยอมให้พร "
ดังนั้นถ้าหากผู้มีศรัทธา มีจิตเป็นบุญกุศล ถวายอาหารบิณฑบาตแล้ว ก็ควรเอื้อเฟื้อพระคุณเจ้าตามพระวินัยของท่านด้วย ไม่ควรให้ท่านต้องฝ่าฝืนพระวินัย แม้จะเป็นข้อเล็กน้อยก็ตาม การที่เราได้ถวายอาหารบิณฑบาต บุญกุศลก็เกิดขึ้นแก่เราอยู่แล้ว จะได้รับพรหรือไม่ ก็ไม่ต่างกัน อนึ่ง โดยปกติพระภิกษุท่านมารับอาหารบิณฑบาต ท่านก็ต้องตั้งจิตเมตตาปรารถนาดีเป็นเบื้องหน้ากับทุกผู้คนอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องเอ่ยปากให้พรเสียยืดยาว
สำหรับท่านที่ยังต้องการจะรับพรอยู่ (อาจเพื่อความสบายใจ หรือเพื่อเจริญศรัทธามากขึ้น) ก็ควรกระทำให้ถูกต้อง เพื่อรักษาพระวินัยของพระสงฆ์ โดยเมื่อถวายอาหารเสร็จแล้ว ก็ควรถอดรองเท้า (บางท่านถอดรองเท้าตั้งแต่ก่อนใส่บาตรแล้ว) หุบร่ม ถอดหมวก (ถ้ามี) แล้วยืนพนมมือ กล่าวกับพระคุณเจ้าว่า "ขอนิมนต์พระคุณเจ้าได้โปรดอนุโมทนา ให้พร แก่กระผม / ดิฉัน หรือ ให้พรแก่โยม ด้วย" แล้วก็ยืนพนมมือรับพร หรือถ้าจะรับในท่านั่ง ก็หาเก้าอี้มาให้พระคุณเจ้าได้นั่ง แล้วผู้จะรับพรก็นั่งคุกเข่า หรือนั่งกระโหย่ง พนมมือรับพร การทำแบบนี้ นอกจากจะเป็นการเคารพในพระธรรม ในพรที่ท่านให้มาแล้ว ก็ยังเป็นการช่วยเอื้อเฟื้อให้พระสงฆ์ไม่ต้องผิดพระวินัยอีกด้วย
พระบิณฑบาตยืนให้พร...ต้องอาบัติทุกกฏ
เนื่องจากมีชาวพุทธจำนวนมากเข้าใจว่า พระสงฆ์เมื่อรับอาหารบิณฑบาตแล้วก็ต้อง ให้พร พระรูปไหนไม่ให้พร เป็นอันใช้ไม่ได้ หรือ ไม่ทำหน้าที่ของพระสงฆ์ และเชื่อกันจนคิดว่า "ถ้าพระไม่ให้พร เราก็จะไม่ได้บุญ" จนเป็นเหตุตำหนิพระเลยก็ว่าได้
พระคุณเจ้าที่รู้สึกไม่สบายใจกับเรื่องนี้ ก็อยากจะฉลองศรัทธาญาติโยม ก็เลยให้พรตามที่ญาติโยมต้องการ จนบางทีก็เกินไป เช่น ให้พรเสียงดังบ้าง ให้พรจนยืดยาวบ้าง บางรูปให้ยถา - สัพพี แล้วต่อด้วย ภะวะตุสัพฯ เลยก็มี บางทีก็แทบจะกลายเป็นพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหารแบบย่อมๆ เลยทีเดียว
ความจริงแล้วการให้พรขณะบิณฑบาตนั้น ไม่ว่าพระท่านจะให้หรือไม่ก็ตาม บุญก็สำเร็จตั้งแต่เมื่อผู้มีศรัทธาได้ถวายอาหารนั้นไปแล้ว การให้พรของท่าน ก็เป็นเพียงการอนุโมทนาในทานที่ถวายเท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเรื่องว่าจะได้บุญหรือไม่ได้บุญ จากคำให้พรเหล่านั้นเลย
อีกอย่างหนึ่ง สาเหตุที่พระสงฆ์บางรูปท่านไม่ได้ให้พรหลังจากรับอาหารบิณฑบาต ท่านทำแต่เพียงยืนสงบนิ่งครู่หนึ่ง แล้วก็เดินต่อไป ก็เป็นเพราะท่านปฏิบัติตามพระวินัยว่า
"พระภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรายืนอยู่ จะไม่แสดงธรรมแก่ผู้ไม่เป็นไข้ นั่งอยู่"
พระวินัยข้อนี้ อยู่ในเสขิยวัตร ข้อปฏิบัติของพระ ว่าด้วยเรื่องการแสดงธรรม คือพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ ให้พระภิกษุ ที่ยืนอยู่ ไม่แสดงธรรมให้กับผู้ไม่เจ็บป่วย ที่นั่งอยู่
ถามว่าสิกขาบทข้อนี้เกี่ยวอะไรกับเรื่องการให้พร ก็เพราะการให้พรนั้น มักให้พรเป็นภาษาบาลี และเป็นเรื่องที่เนื่องด้วยธรรม คือการแสดงธรรมอยู่แล้ว และบทให้พรบางบท ก็เป็นการแสดงธรรมโดยตรงเลยทีเดียว เช่นบทที่เรียกกันว่า "สัพพีฯ" ในตอนท้ายเป็นคำแสดงธรรมแบบหนึ่ง ที่ว่า
"อภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมาวัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง"
ซึ่งแปลว่า
ธรรมะสี่ประการคือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญ บังเกิดขึ้นแก่ผู้มีปกติกราบไหว้ และอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิจ
เนื่องจากการให้พรนั้น เป็นการแสดงธรรมแบบหนึ่ง และชาวบ้านผู้มาใส่บาตร เมื่อใส่เสร็จแล้ว ก็นั่งยองๆ อยู่ ซึ่งถ้าหากท่านให้พรไป ก็จะเป็นการแสดงธรรมแก่ผู้นั่งอยู่ โดยที่ตัวท่านเองก็ยืนอยู่ การแสดงธรรม (ให้พร) ไปในลักษณะนั้น ก็เท่ากับเป็นการไม่เคารพพระธรรม ดังนั้นพระคุณเจ้าหลายๆรูปที่รู้พระวินัยดี จึงกระทำเพียง ยืนสงบนิ่ง ตั้งจิตเมตตาปรารถนาดี อนุโมทนาทาน ต่อผู้ถวายอาหารบิณฑบาต แล้วก็เดินต่อไป จนชาวบ้านที่ไม่เข้าใจ ก็นึกตำหนิว่า " พระอะไรใช้ไม่ได้ รับอาหารแล้วก็ยืนนิ่ง ไม่ยอมให้พร "
ดังนั้นถ้าหากผู้มีศรัทธา มีจิตเป็นบุญกุศล ถวายอาหารบิณฑบาตแล้ว ก็ควรเอื้อเฟื้อพระคุณเจ้าตามพระวินัยของท่านด้วย ไม่ควรให้ท่านต้องฝ่าฝืนพระวินัย แม้จะเป็นข้อเล็กน้อยก็ตาม การที่เราได้ถวายอาหารบิณฑบาต บุญกุศลก็เกิดขึ้นแก่เราอยู่แล้ว จะได้รับพรหรือไม่ ก็ไม่ต่างกัน อนึ่ง โดยปกติพระภิกษุท่านมารับอาหารบิณฑบาต ท่านก็ต้องตั้งจิตเมตตาปรารถนาดีเป็นเบื้องหน้ากับทุกผู้คนอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องเอ่ยปากให้พรเสียยืดยาว
สำหรับท่านที่ยังต้องการจะรับพรอยู่ (อาจเพื่อความสบายใจ หรือเพื่อเจริญศรัทธามากขึ้น) ก็ควรกระทำให้ถูกต้อง เพื่อรักษาพระวินัยของพระสงฆ์ โดยเมื่อถวายอาหารเสร็จแล้ว ก็ควรถอดรองเท้า (บางท่านถอดรองเท้าตั้งแต่ก่อนใส่บาตรแล้ว) หุบร่ม ถอดหมวก (ถ้ามี) แล้วยืนพนมมือ กล่าวกับพระคุณเจ้าว่า "ขอนิมนต์พระคุณเจ้าได้โปรดอนุโมทนา ให้พร แก่กระผม / ดิฉัน หรือ ให้พรแก่โยม ด้วย" แล้วก็ยืนพนมมือรับพร หรือถ้าจะรับในท่านั่ง ก็หาเก้าอี้มาให้พระคุณเจ้าได้นั่ง แล้วผู้จะรับพรก็นั่งคุกเข่า หรือนั่งกระโหย่ง พนมมือรับพร การทำแบบนี้ นอกจากจะเป็นการเคารพในพระธรรม ในพรที่ท่านให้มาแล้ว ก็ยังเป็นการช่วยเอื้อเฟื้อให้พระสงฆ์ไม่ต้องผิดพระวินัยอีกด้วย