ภญ.ปิยพร พยัฆพรมา รับผิดชอบกลุ่มวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม(อภ.) กล่าวว่า ปัจจุบันประชาชนมีการหันมาใช้ยาสมุนไพรเป็นทางเลือกในการรักษาโรคมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ อภ.จึงมีการพัฒนายาตำรับจันทน์ลีลาที่เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติในรูปแบบยาเม็ดขนาด 500 มิลลิกรัม มีสรรพคุณ ช่วยลดอาการไข้ตัวร้อน และไข้เปลี่ยนฤดู
สำหรับยาตำรับจันทน์ลีลา มีการพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เป็นทางเลือกทดแทนการใช้ยาพาราเซตามอล เนื่องจากขณะนี้เวลาประชาชนมีอาการไข้ก็มักจะเลือกใช้ยาพาราเซตามอล ในการรักษา แต่การใช้ยาพาราเซตามอล ในขนาดที่สูงเกินไป ก็จะทำให้กลูตาไทโอนซึ่งเป็นกลไกกำจัดพิษในตับหมดไปด้วย ส่งผลให้พาราเซตามอลส่วนเกินไปทำลายเนื้อในตับ
จากการสำรวจในสหรัฐอเมริกาพบว่าการใช้พาราเซตามอลในขนาดที่มากเกินไปเป็นสาเหตุของภาวะตับวายเฉียบพลัน หรือยาแอสไพรินก็จะกัดกระเพาะ แต่สมุนไพรร่างกายจะมีกระบวนการขับออกไปได้เองไม่เป็นพิษต่อตับ จันทน์ลีลาจึงถือว่าเป็นอีกทางเลือกที่ใช้ทดแทนการใช้ยาพาราเซตามอลและไม่เป็นอันตรายกับร่างกาย
ภญ.ปิยพร กล่าวอีกว่า ในตำรับยาจันทน์ลีลานั้น มีตัวยาทั้งสิ้น 11 ชนิด ได้แก่ แก่นจันทร์แดง แก่นจันทร์ขาว รากปลาไหลเผือก บอระเพ็ด โกฐสอ โกฐเขมา และโกฐจุฬาลัมพา เป็นต้น ส่วนการรับประทานในผู้ใหญ่จะรับประทาน 2-4 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง หรือเมื่อมีอาการ
ส่วนในเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-12 ปี จะรับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด และแนะนำให้ใช้ยาในหญิงที่มีไข้ทับระดูหรือไข้ระหว่างมีประจำเดือน แต่ไม่แนะนำให้ผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกรับประทาน เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก และหากรับประทานยาเป็นเวลา 3 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้นก็ควรรีบไปพบแพทย์
“ฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณลดไข้เช่นกันแต่เป็นสมุนเดี่ยวตัวเดียวส่วนจันทน์ลีลาเป็นยาตำรับที่มีสมุนไพรหลายตัวรวมกันทำให้มีการสร้างสมดุลระหว่างความเป็นพิษและประโยชน์ถือเป็นทางเลือกที่ดีในการใช้ลดไข้โดยเฉพาะในผู้ที่แพ้ยาลดไข้ที่เป็นยาแผนปัจจุบัน ในอนาคต อภ.จะมีการนำยาตำรับสมุนไพรที่มีการบรรจุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติมาพัฒนาเป็นสารสกัดจำหน่ายมากขึ้น เนื่องจากการ ผลิตเป็นสารสกัดจะทำให้สามารถคงคุณภาพสรรพคุณได้ หากผลิตเป็นแบบทั่วไปจะมีปัญหาในเรื่องการควบคุมคุณภาพ เพราะปัญหาของการผลิตภัณฑ์สมุนไพร คือวัตถุดิบสมุนไพรที่มาจากแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน แต่หากผลิตเป็นสารสกัดยังไม่มีปัญหาตรงจุดนี้”
ข่าวจาก : มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1441607366
พาราเซตามอลถอยไป ′อภ.′ พัฒนายาตำรับ ′จันทร์ลีลา′ ใช้แทน ลดไข้ชะงัด ไม่ทำลายตับ
ภญ.ปิยพร พยัฆพรมา รับผิดชอบกลุ่มวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม(อภ.) กล่าวว่า ปัจจุบันประชาชนมีการหันมาใช้ยาสมุนไพรเป็นทางเลือกในการรักษาโรคมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ อภ.จึงมีการพัฒนายาตำรับจันทน์ลีลาที่เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติในรูปแบบยาเม็ดขนาด 500 มิลลิกรัม มีสรรพคุณ ช่วยลดอาการไข้ตัวร้อน และไข้เปลี่ยนฤดู
สำหรับยาตำรับจันทน์ลีลา มีการพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เป็นทางเลือกทดแทนการใช้ยาพาราเซตามอล เนื่องจากขณะนี้เวลาประชาชนมีอาการไข้ก็มักจะเลือกใช้ยาพาราเซตามอล ในการรักษา แต่การใช้ยาพาราเซตามอล ในขนาดที่สูงเกินไป ก็จะทำให้กลูตาไทโอนซึ่งเป็นกลไกกำจัดพิษในตับหมดไปด้วย ส่งผลให้พาราเซตามอลส่วนเกินไปทำลายเนื้อในตับ
จากการสำรวจในสหรัฐอเมริกาพบว่าการใช้พาราเซตามอลในขนาดที่มากเกินไปเป็นสาเหตุของภาวะตับวายเฉียบพลัน หรือยาแอสไพรินก็จะกัดกระเพาะ แต่สมุนไพรร่างกายจะมีกระบวนการขับออกไปได้เองไม่เป็นพิษต่อตับ จันทน์ลีลาจึงถือว่าเป็นอีกทางเลือกที่ใช้ทดแทนการใช้ยาพาราเซตามอลและไม่เป็นอันตรายกับร่างกาย
ภญ.ปิยพร กล่าวอีกว่า ในตำรับยาจันทน์ลีลานั้น มีตัวยาทั้งสิ้น 11 ชนิด ได้แก่ แก่นจันทร์แดง แก่นจันทร์ขาว รากปลาไหลเผือก บอระเพ็ด โกฐสอ โกฐเขมา และโกฐจุฬาลัมพา เป็นต้น ส่วนการรับประทานในผู้ใหญ่จะรับประทาน 2-4 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง หรือเมื่อมีอาการ
ส่วนในเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-12 ปี จะรับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด และแนะนำให้ใช้ยาในหญิงที่มีไข้ทับระดูหรือไข้ระหว่างมีประจำเดือน แต่ไม่แนะนำให้ผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกรับประทาน เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก และหากรับประทานยาเป็นเวลา 3 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้นก็ควรรีบไปพบแพทย์
“ฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณลดไข้เช่นกันแต่เป็นสมุนเดี่ยวตัวเดียวส่วนจันทน์ลีลาเป็นยาตำรับที่มีสมุนไพรหลายตัวรวมกันทำให้มีการสร้างสมดุลระหว่างความเป็นพิษและประโยชน์ถือเป็นทางเลือกที่ดีในการใช้ลดไข้โดยเฉพาะในผู้ที่แพ้ยาลดไข้ที่เป็นยาแผนปัจจุบัน ในอนาคต อภ.จะมีการนำยาตำรับสมุนไพรที่มีการบรรจุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติมาพัฒนาเป็นสารสกัดจำหน่ายมากขึ้น เนื่องจากการ ผลิตเป็นสารสกัดจะทำให้สามารถคงคุณภาพสรรพคุณได้ หากผลิตเป็นแบบทั่วไปจะมีปัญหาในเรื่องการควบคุมคุณภาพ เพราะปัญหาของการผลิตภัณฑ์สมุนไพร คือวัตถุดิบสมุนไพรที่มาจากแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน แต่หากผลิตเป็นสารสกัดยังไม่มีปัญหาตรงจุดนี้”
ข่าวจาก : มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1441607366