จุดเริ่มต้นและการเปลี่ยนแปลงของ Kamikaze

ในฐานะผู้ติดตาม (อดีตแฟนคลับ) ของ Kamikaze ขอมาทวนความทรงจำก็ Kamikaze ก่อนจะเปลี่ยนผ่านด้วยการเปิดตัวของ Kamikaze Next

ยุคที่ ๑ (๒๕๕๐ - ๒๕๕๓)

จำนวนแฟนคลับมีเยอะพอๆ กับแฟนขับ ยุคนี้ศิลปินต้องพิสูจน์ตัวเองให้ได้ว่าไม่ได้เลียนแบบ K-Pop แนวเพลงจะเป็นเพลงฟังสบาย ร้องตามได้ จนกลุ่มศิลปินยุคนั้น สามารถบัญญัติคำว่า T-Pop ขึ้นมาได้และลดกระแสแฟนขับ (แต่ K-Pop ก็ยังมีอยู่บ้างเพื่อความหลากหลาย) โดยมีคุณชมพู ฟรุตตี้ และพี่เอฟูเป็นหัวเรือใหญ่ ต่อมาเริ่มมี Zheza เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแฟนคลับกับศิลปิน ทำให้ทางค่ายสามารถเพิ่มฐานแฟนคลับได้กว้างมากๆ เด็กตามโรงเรียนเริ่มหันมาฟัง T-Pop มากขึ้น และกลายเป็นยุคที่รุ่งเรืองมากที่สุดของ Kamikaze โดยมีเริ่มมีเพลงรวมอย่าง เพลงรัก เพื่อนกัน...ฉันรักเธอ และ รักฉันเรียกว่าเธอ รวมทั้งเพลงขัดใจซึ่งกลายเป็นเพลงประจำรุ่น

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอคลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอคลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ยุคที่ ๒ (๒๕๕๔ - ๒๕๕๘)

ทางค่ายเริ่มมีการขยายค่ายโดยรับรุ่นใหม่เข้ามา บางคนก็เดินผ่าน MV ของศิลปินยุคที่ ๑ บ่อยๆ ศิลปินรุ่นนี้จึงเรียกว่ารุ่นที่ ๒ และรุ่นที่ ๓ รวมทั้งทางค่ายได้ปรับแนวและมาเน้นเป็น ETKP หรือ Electro Thai-Korea Pop ซึ่งทำให้กลุ่ม Target เปลี่ยนกลุ่ม รวมทั้งกลุ่มๆ เก่าก็หันมาตามศิลปินและผลงานของแต่ละคนแทนตามแบบค่าย สิ้นสุดยุดนี้ด้วยการลาออกของทีมแต่งเพลงและการย้ายค่ายหรือไม่ก็วงแตกของศิลปินจากยุคที่ ๑ และ ๒ นอกจากผลงานด้านเพลงแล้วยุคนี้ยังเริ่มมาทำงานด้าน TV และ Media มากขึ้นตามนโยบายของ RS ต้นสังกัดของค่าย รวมทั้งมีรายการที่ศิลปินในยุคนี้รวมทั้งรุ่นที่ ๑ เป็นพิธีกรหรือแขกรับเชิญเป็นประจำ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ยุคที่ ๓ (๒๕๕๘ – ปัจจุบัน)

ทางค่ายได้มีการปรับใหญ่โดยมีรุ่นที่ ๓ เป็น Product บุกเบิก และมีการ Audition ศิลปินเข้ามาใหม่จำนวนมาก ซึ่งพร้อมเปิดตัวเร็วๆ นี้ พร้อมทีมงานใหม่ ซึ่งต้องมาพิสูจน์ตัวเองเหมือนเริ่มนับหนึ่งใหม่กับ Kamikaze Next

ในฐานะที่เราเป็นผู้ติดตาม (อดีตแฟนคลับ) ของ Kamikaze ขอเป็นกำลังใจให้ทางค่ายประสบความสำเร็จ แม้ตอนนี้ผมจะโตมากแล้ว (หมดยุดวัยรุ่นของผมแล้ว และเริ่มไปตามฝั่ง RS กับ GMM มากขึ้น) ก็จะเฝ้าติดตามครอบครัวนี้ต่อไป

ป.ล. ๑ บทความนี้ไม่มีเจตนาในการโฆษณาหรือการต่อต้านใดๆ ทั้งสิ้น แต่เพื่อเป็นการย้อนความหลัง
ป.ล. ๒ บทความนี้ไม่สามารถนำไปอ้างอิงบทความอื่นใดๆ รวมทั้งไม่มีผลทางกฎหมายใดๆ ทั้งสิ้น
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่