กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า การขยายตัวของบริการบรอดแบนด์และบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4G จะทำให้จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศเพิ่มสูงขึ้นมาก ส่งผลให้ความต้องการใช้หมายเลขที่ใช้ระบุตัวตนบนอุปกรณ์ที่จะเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (IP Address) เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับอุปกรณ์ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการเข้าสู่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ (Internet of Things) ที่กำลังมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2563 อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้จะมีจำนวนสูงถึง 50,000 ล้านอุปกรณ์ ส่งผลให้ต้องใช้ IP Address เป็นจำนวนมหาศาล
กระทรวงไอซีที ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2556) ให้เป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลและบริหารจัดการตามแผนปฏิบัติการ เพื่อผลักดัน ส่งเสริม เร่งรัด และติดตามผลการดำเนินงานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 6 (Internet Protocol version 6 : IPv6) ในประเทศไทยให้เป็นวาระแห่งชาติ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของประเทศ ในการเพิ่มจำนวน IP Address เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจาก IPv4 ไปสู่ IPv6 โดยไม่เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้มีการกำหนดเป้าหมายระยะยาวภายในปี 2563 เครือข่ายหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานจะสามารถใช้งาน IPv6 และมีระบบสารสนเทศที่ให้บริการบุคคลภายนอกผ่าน IPv6 ได้ รวมทั้งโครงข่ายการศึกษาของรัฐทุกระดับและทุกสถาบันสามารถใช้งาน IPv6 และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่งรวมถึงผู้ให้บริการในระบบใช้สายและไร้สายทุกรายสามารถให้บริการ IPv6 ได้
ทั้งนี้ที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้ดำเนินนโยบายการขับเคลื่อน IPv6 ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องตามแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 1 (2556-2558) ซึ่งกำหนดเป้าหมายให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการ IPv6 เพื่อให้คำปรึกษา อบรม ทดสอบ และตรวจประเมินด้าน IPv6 ของประเทศไทยภายในปี 2556 ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกรายครอบคลุมผู้ให้บริการในระบบใช้งานและไร้สายเปิดให้บริการเชื่อมต่อและใช้งานที่รองรับ IPv6 ได้ภายในปี 2557 และภายในปี 2558 นี้ หน่วยงานภาครัฐระดับกรมขึ้นไปทุกหน่วยงานมีการเชื่อมต่อสู่อินเทอร์เน็ตที่รองรับ IPv6 ได้ รวมทั้งโครงข่ายสถาบันการศึกษาของรัฐทุกระดับสามารถใช้งาน IPv6 ได้อย่างน้อย 10,000 สถาบัน ซึ่งขณะนี้การดำเนินงานมีความคืบหน้าตามลำดับ
ส่วนแผนปฏิบัติการ IPv6 ระยะที่ 2 (2559-2561) ได้กำหนดเป้าหมายภายในปี 2561 หน่วยงานภาครัฐมีเว็บไซต์หลัก บริการอีเมล และบริการดีเอ็นเอส ที่รองรับการเข้าถึงผ่าน IPv6 อย่างน้อย 75% ของบริการทั้งหมด และประเทศไทยมีอัตราการใช้งาน IPv6 (IPv6 Deployment) เพิ่มขึ้น 25% โดยกิจกรรมที่จะดำเนินการ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร ส่งเสริมการให้บริการ สร้างความตระหนักและส่งเสริมการใช้งาน IPv6 อย่างต่อเนื่อง รวมถึงกิจกรรมสำคัญเร่งด่วน ซึ่งแผนปฏิบัติการฯ IPv6 เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ตามนโยบายรัฐบาล
ที่มา
http://www.flashfly.net/wp/?p=127431
ไอซีทีเร่งขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ IPv6 รองรับระบบ 4G และเทคโนโลยี Internet of Things สนองนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า การขยายตัวของบริการบรอดแบนด์และบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4G จะทำให้จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศเพิ่มสูงขึ้นมาก ส่งผลให้ความต้องการใช้หมายเลขที่ใช้ระบุตัวตนบนอุปกรณ์ที่จะเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (IP Address) เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับอุปกรณ์ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการเข้าสู่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ (Internet of Things) ที่กำลังมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2563 อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้จะมีจำนวนสูงถึง 50,000 ล้านอุปกรณ์ ส่งผลให้ต้องใช้ IP Address เป็นจำนวนมหาศาล
กระทรวงไอซีที ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2556) ให้เป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลและบริหารจัดการตามแผนปฏิบัติการ เพื่อผลักดัน ส่งเสริม เร่งรัด และติดตามผลการดำเนินงานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 6 (Internet Protocol version 6 : IPv6) ในประเทศไทยให้เป็นวาระแห่งชาติ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของประเทศ ในการเพิ่มจำนวน IP Address เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจาก IPv4 ไปสู่ IPv6 โดยไม่เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้มีการกำหนดเป้าหมายระยะยาวภายในปี 2563 เครือข่ายหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานจะสามารถใช้งาน IPv6 และมีระบบสารสนเทศที่ให้บริการบุคคลภายนอกผ่าน IPv6 ได้ รวมทั้งโครงข่ายการศึกษาของรัฐทุกระดับและทุกสถาบันสามารถใช้งาน IPv6 และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่งรวมถึงผู้ให้บริการในระบบใช้สายและไร้สายทุกรายสามารถให้บริการ IPv6 ได้
ทั้งนี้ที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้ดำเนินนโยบายการขับเคลื่อน IPv6 ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องตามแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 1 (2556-2558) ซึ่งกำหนดเป้าหมายให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการ IPv6 เพื่อให้คำปรึกษา อบรม ทดสอบ และตรวจประเมินด้าน IPv6 ของประเทศไทยภายในปี 2556 ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกรายครอบคลุมผู้ให้บริการในระบบใช้งานและไร้สายเปิดให้บริการเชื่อมต่อและใช้งานที่รองรับ IPv6 ได้ภายในปี 2557 และภายในปี 2558 นี้ หน่วยงานภาครัฐระดับกรมขึ้นไปทุกหน่วยงานมีการเชื่อมต่อสู่อินเทอร์เน็ตที่รองรับ IPv6 ได้ รวมทั้งโครงข่ายสถาบันการศึกษาของรัฐทุกระดับสามารถใช้งาน IPv6 ได้อย่างน้อย 10,000 สถาบัน ซึ่งขณะนี้การดำเนินงานมีความคืบหน้าตามลำดับ
ส่วนแผนปฏิบัติการ IPv6 ระยะที่ 2 (2559-2561) ได้กำหนดเป้าหมายภายในปี 2561 หน่วยงานภาครัฐมีเว็บไซต์หลัก บริการอีเมล และบริการดีเอ็นเอส ที่รองรับการเข้าถึงผ่าน IPv6 อย่างน้อย 75% ของบริการทั้งหมด และประเทศไทยมีอัตราการใช้งาน IPv6 (IPv6 Deployment) เพิ่มขึ้น 25% โดยกิจกรรมที่จะดำเนินการ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร ส่งเสริมการให้บริการ สร้างความตระหนักและส่งเสริมการใช้งาน IPv6 อย่างต่อเนื่อง รวมถึงกิจกรรมสำคัญเร่งด่วน ซึ่งแผนปฏิบัติการฯ IPv6 เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ตามนโยบายรัฐบาล
ที่มา http://www.flashfly.net/wp/?p=127431