วันเสาร์ที่ 29 ส.ค. 58 ผมขับรถไปจังหวัดอุดรธานีครั้งแรกในรอบ 10 ปี มีการตั้งด่านจับปรับตรงสามแยกไฟแดงปากซอยจินตคาม ถนนทหาร ใกล้ มรภ.อุดร และบางจังหวะก็มีการดักรถให้หยุดริมฟุตบาทสีแดงขาวกีดขวางการจราจร
ผมได้กลับรถในจังหวะที่เริ่มมีไฟแดงของทางตรงและเลี้ยวขวาเข้าซอย ในขณะที่ปล่อยรถให้เลี้ยวขวาออกจากซอย (ด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าการออกแบบจราจรจะเป็นเหมือนซอยรามอินทรา 40 "นวลจันทร์" ที่ผมใช้เส้นทางประจำ) เจ้าหน้าที่ตำรวจได้โบกรถยึดใบขับขี่และให้ผมไปเปรียบเทียบปรับที่โต๊ะในข้อหาฝ่าไฟแดง ผมก็ยอมรับข้อหาและปฏิบัติตามเป็นที่เรียบร้อย โดยผู้มาเสียค่าปรับส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาวัยรุ่น
แต่เมื่อถือใบสั่งมารับใบขับขี่คืนแล้ว ผมก็ได้บอกเจ้าหน้าที่ให้สั่งรถไปหยุดไกลๆจากจุดกลับรถ เพราะมันกีดขวางการจราจร แต่กลับมีอาการไม่พอใจว่าผมมาสอน ผมสังเกตเห็นว่าเจ้าหน้าที่จะดักจับเฉพาะรถมอเตอร์ไซค์และรถบ้านๆ และในจังหวะการโบกรถที่ฝ่าไฟแดง ถ้ามีรถแพงๆหรือรถสองแถวฝ่าฝืนกฎ จะเงื้อมือโบกช้าและได้รถคันหลังที่เป็นรถต่างถิ่นหรือรถที่ไม่แพง ผมจึงถามว่า "จังหวะไฟแดงเค้าก็กลับรถกันได้นี่ครับ แล้วทำไมผมโดนดักอยู่คนเดียวล่ะ?"
แค่ถามเท่านั้นล่ะครับ เจ้าหน้าที่ที่สวมหมวกหมายเลข 640 ที่เป็นคนดักรถก็โวยวายหมิ่นประมาทว่าผมก่อกวนการปฏิบัติงานของตำรวจ ซ้ำยังวิทยุเรียกพวกมาข่มขู่หาว่าผมเก่งนักใช่มั้ย ไม่ต่างจากพวกนักเลงอันธพาลเลยครับ เจ้าหน้าที่อีกฝั่งหมายเลข 618 มุ่งตรงมาที่ผมแล้วพูดข่มขู่ด้วยเสียงดังพลางขยับปืน ในเชิงว่า "มีปัญหาหรือไง ถ้าคุยไม่รู้เรื่องให้ไปพบร้อยเวร" พร้อมทั้งพยายามฉุดผมไปหาร้อยเวร ผมเดาเจตนาไม่ออกว่าจะมาหาเรื่องหรือมีปัญหาอะไร เลยปัดมือออกและตอบไปว่า "อย่ามาแตะต้องตัวผม ผมถามคุณด้วยคำถามธรรมดา แต่พวกคุณหาว่าผมกีดขวางการทำงาน แล้วยังตะโกนโวยวายใส่ผม ทั้งที่ยืนคุยกันอยู่ตรงหน้าแค่นี้ ผมรับพฤติกรรมไม่ได้ อยากไปคุยกันต่อในศาลมั้ย?" ตำรวจคนนั้นจึงเดินกลับไปที่ฝั่งตัวเองเหมือนเดิม และผมก็ได้รายงานพฤติกรรมอยาบคายของเจ้าหน้าที่ที่กระทำกับประชาชนซึ่งจ่ายรายได้ให้รัฐและพวกเขาต่อร้อยเวรเช่นกัน ร้อยเวรน้อมรับอย่างสุภาพครับ ผมขอชมเชย ณ ที่นี้
ระหว่างรอช่างมาแก้ไขปัญหาของตัวรถเล็กน้อย ผมเลยมีเวลาถ่ายคลิปประกอบ
เจ้าหน้าที่หมายเลข 640 ที่หมิ่นประมาทว่าผมกีดขวางการทำงานและ ว. เรียกพวกมาข่มขู่ผม (ถ่ายไว้ไม่ทัน)

อยากบอกน้าว่า ตั้งด่านมันเหนื่อยผมเข้าใจครับ เพราะผมเจอด่านกีดขวางการจราจรก็เหนื่อยเหมือนกัน ต้องโทษหูน้าที่หาเรื่องเอง
ฝากบอกพี่ 618 ด้วยนะครับ กล้องโดมวงจรปิดตรงสามแยกถ่ายพฤติกรรมพี่ไว้หมดแล้ว อย่ากร่าง และอย่าทำเป็นจับปืนขู่ใครที่ยืนห่างในระยะไม่กี่ก้าวครับ ถ้ายังไม่รู้จักกันดีพอ ควรจะสุภาพต่อกันก่อนดีกว่า
รถที่ขับยังไงก็ไม่ผิดกฎ สังเกตจังหวะไฟแดง ขอโทษที่ตั้งกล้องไม่ดีครับ
แต่สิ่งที่ผมข้องใจมากคือมาตรฐานการทำงานและกวดขันวินัยจราจร
1) เหตุใดจึงเลือกปฏิบัติ? การอ้างว่ารถมาเยอะดักจับไม่ทันนั้นไม่อยู่ในวิสัยของทีมเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเป็นระบบแบบแผน
2) การจัดสรรกำลังเจ้าหน้าที่ไปทำในสิ่งอื่นที่มีประโยชน์ต่อประชาชนจะดีกว่าไหม? เช่น อำนวยความสะดวกในการจราจรในจุดอื่นที่จำเป็น? (เห็นวงเวียนใกล้ๆกันมีรถเยอะกว่า ติดยาวเหยียด แต่มีตำรวจแค่ 2 นาย แต่ด่านรับเงินมีตำรวจเป็นสิบ และไม่ทำให้การสัญจรสะดวกปลอดภัยขึ้น)
3) นโยบายของตำรวจจราจรให้ความสำคัญกับอะไรมากกว่ากัน ระหว่างการหารายได้กับการอำนวยความสะดวกในการสัญจร?
4) การเน้นจับ-ปรับนักศึกษา จะส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจของครอบครัว? มรภ.อุดร มีแต่เด็กบ้านรวยใช่หรือไม่?
5) อะไรคือเหตุผลในการละเว้นคนขับรถราคาแพงที่ฝ่าฝืนกฎจราจร? รถพวกนี้ขับยังไงก็ไม่ผิดกฎ? แล่นทับใครก็ไม่ตาย? คนขับมักไม่มีเงินจ่าย?
6) เจ้าหน้าใช้กิริยาที่ไม่สุภาพต่อประชาชนผู้ให้รายได้แก่ตน มีพฤติกรรมข่มขู่เช่นนี้ สามารถฟ้องร้องต่อศาลโดยตรงได้หรือไม่อย่างไรครับ? (ผมเคยร้องแต่คดีแพ่ง คดีแบบนี้ยังไม่เคย แต่น่าสนใจทำให้เป็นเยี่ยงอย่าง เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานให้อยู่บนฐานของความเคารพในสิทธิของประชาชน)
7) มีแนวทางใดบ้างที่จะช่วยให้การจับปรับผู้กระทำผิดกฎจราจรมีความเท่าเทียม ถูกต้อง สร้างรายได้ที่คุ้มค่าการลงทุน ลดการใช้กำลังเจ้าหน้าที่ดักจับ และลดการกระทำผิดได้จริง?
8) อุปสรรคอะไรบ้างที่จะทำให้มาตรฐานตามข้อ 7 เกิดขึ้นได้ยาก?
อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมในการแก้ปัญหาจราจรมากกว่าการตั้งด่านแค่เพื่อหาเงินอย่างเดียวครับ ใครเห็นด้วยช่วยโหวตและเสนอความเห็นด้วยครับ
ทำไมด่านตรวจที่อุดรถึงชอบเอาเงินจากนักศึกษาและคนขับรถบ้านๆครับ จะทำอย่างไรให้การรักษากฎหมายมีมาตรฐาน?
ผมได้กลับรถในจังหวะที่เริ่มมีไฟแดงของทางตรงและเลี้ยวขวาเข้าซอย ในขณะที่ปล่อยรถให้เลี้ยวขวาออกจากซอย (ด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าการออกแบบจราจรจะเป็นเหมือนซอยรามอินทรา 40 "นวลจันทร์" ที่ผมใช้เส้นทางประจำ) เจ้าหน้าที่ตำรวจได้โบกรถยึดใบขับขี่และให้ผมไปเปรียบเทียบปรับที่โต๊ะในข้อหาฝ่าไฟแดง ผมก็ยอมรับข้อหาและปฏิบัติตามเป็นที่เรียบร้อย โดยผู้มาเสียค่าปรับส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาวัยรุ่น
แต่เมื่อถือใบสั่งมารับใบขับขี่คืนแล้ว ผมก็ได้บอกเจ้าหน้าที่ให้สั่งรถไปหยุดไกลๆจากจุดกลับรถ เพราะมันกีดขวางการจราจร แต่กลับมีอาการไม่พอใจว่าผมมาสอน ผมสังเกตเห็นว่าเจ้าหน้าที่จะดักจับเฉพาะรถมอเตอร์ไซค์และรถบ้านๆ และในจังหวะการโบกรถที่ฝ่าไฟแดง ถ้ามีรถแพงๆหรือรถสองแถวฝ่าฝืนกฎ จะเงื้อมือโบกช้าและได้รถคันหลังที่เป็นรถต่างถิ่นหรือรถที่ไม่แพง ผมจึงถามว่า "จังหวะไฟแดงเค้าก็กลับรถกันได้นี่ครับ แล้วทำไมผมโดนดักอยู่คนเดียวล่ะ?"
แค่ถามเท่านั้นล่ะครับ เจ้าหน้าที่ที่สวมหมวกหมายเลข 640 ที่เป็นคนดักรถก็โวยวายหมิ่นประมาทว่าผมก่อกวนการปฏิบัติงานของตำรวจ ซ้ำยังวิทยุเรียกพวกมาข่มขู่หาว่าผมเก่งนักใช่มั้ย ไม่ต่างจากพวกนักเลงอันธพาลเลยครับ เจ้าหน้าที่อีกฝั่งหมายเลข 618 มุ่งตรงมาที่ผมแล้วพูดข่มขู่ด้วยเสียงดังพลางขยับปืน ในเชิงว่า "มีปัญหาหรือไง ถ้าคุยไม่รู้เรื่องให้ไปพบร้อยเวร" พร้อมทั้งพยายามฉุดผมไปหาร้อยเวร ผมเดาเจตนาไม่ออกว่าจะมาหาเรื่องหรือมีปัญหาอะไร เลยปัดมือออกและตอบไปว่า "อย่ามาแตะต้องตัวผม ผมถามคุณด้วยคำถามธรรมดา แต่พวกคุณหาว่าผมกีดขวางการทำงาน แล้วยังตะโกนโวยวายใส่ผม ทั้งที่ยืนคุยกันอยู่ตรงหน้าแค่นี้ ผมรับพฤติกรรมไม่ได้ อยากไปคุยกันต่อในศาลมั้ย?" ตำรวจคนนั้นจึงเดินกลับไปที่ฝั่งตัวเองเหมือนเดิม และผมก็ได้รายงานพฤติกรรมอยาบคายของเจ้าหน้าที่ที่กระทำกับประชาชนซึ่งจ่ายรายได้ให้รัฐและพวกเขาต่อร้อยเวรเช่นกัน ร้อยเวรน้อมรับอย่างสุภาพครับ ผมขอชมเชย ณ ที่นี้
ระหว่างรอช่างมาแก้ไขปัญหาของตัวรถเล็กน้อย ผมเลยมีเวลาถ่ายคลิปประกอบ
เจ้าหน้าที่หมายเลข 640 ที่หมิ่นประมาทว่าผมกีดขวางการทำงานและ ว. เรียกพวกมาข่มขู่ผม (ถ่ายไว้ไม่ทัน)
อยากบอกน้าว่า ตั้งด่านมันเหนื่อยผมเข้าใจครับ เพราะผมเจอด่านกีดขวางการจราจรก็เหนื่อยเหมือนกัน ต้องโทษหูน้าที่หาเรื่องเอง
ฝากบอกพี่ 618 ด้วยนะครับ กล้องโดมวงจรปิดตรงสามแยกถ่ายพฤติกรรมพี่ไว้หมดแล้ว อย่ากร่าง และอย่าทำเป็นจับปืนขู่ใครที่ยืนห่างในระยะไม่กี่ก้าวครับ ถ้ายังไม่รู้จักกันดีพอ ควรจะสุภาพต่อกันก่อนดีกว่า
รถที่ขับยังไงก็ไม่ผิดกฎ สังเกตจังหวะไฟแดง ขอโทษที่ตั้งกล้องไม่ดีครับ
แต่สิ่งที่ผมข้องใจมากคือมาตรฐานการทำงานและกวดขันวินัยจราจร
1) เหตุใดจึงเลือกปฏิบัติ? การอ้างว่ารถมาเยอะดักจับไม่ทันนั้นไม่อยู่ในวิสัยของทีมเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเป็นระบบแบบแผน
2) การจัดสรรกำลังเจ้าหน้าที่ไปทำในสิ่งอื่นที่มีประโยชน์ต่อประชาชนจะดีกว่าไหม? เช่น อำนวยความสะดวกในการจราจรในจุดอื่นที่จำเป็น? (เห็นวงเวียนใกล้ๆกันมีรถเยอะกว่า ติดยาวเหยียด แต่มีตำรวจแค่ 2 นาย แต่ด่านรับเงินมีตำรวจเป็นสิบ และไม่ทำให้การสัญจรสะดวกปลอดภัยขึ้น)
3) นโยบายของตำรวจจราจรให้ความสำคัญกับอะไรมากกว่ากัน ระหว่างการหารายได้กับการอำนวยความสะดวกในการสัญจร?
4) การเน้นจับ-ปรับนักศึกษา จะส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจของครอบครัว? มรภ.อุดร มีแต่เด็กบ้านรวยใช่หรือไม่?
5) อะไรคือเหตุผลในการละเว้นคนขับรถราคาแพงที่ฝ่าฝืนกฎจราจร? รถพวกนี้ขับยังไงก็ไม่ผิดกฎ? แล่นทับใครก็ไม่ตาย? คนขับมักไม่มีเงินจ่าย?
6) เจ้าหน้าใช้กิริยาที่ไม่สุภาพต่อประชาชนผู้ให้รายได้แก่ตน มีพฤติกรรมข่มขู่เช่นนี้ สามารถฟ้องร้องต่อศาลโดยตรงได้หรือไม่อย่างไรครับ? (ผมเคยร้องแต่คดีแพ่ง คดีแบบนี้ยังไม่เคย แต่น่าสนใจทำให้เป็นเยี่ยงอย่าง เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานให้อยู่บนฐานของความเคารพในสิทธิของประชาชน)
7) มีแนวทางใดบ้างที่จะช่วยให้การจับปรับผู้กระทำผิดกฎจราจรมีความเท่าเทียม ถูกต้อง สร้างรายได้ที่คุ้มค่าการลงทุน ลดการใช้กำลังเจ้าหน้าที่ดักจับ และลดการกระทำผิดได้จริง?
8) อุปสรรคอะไรบ้างที่จะทำให้มาตรฐานตามข้อ 7 เกิดขึ้นได้ยาก?
อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมในการแก้ปัญหาจราจรมากกว่าการตั้งด่านแค่เพื่อหาเงินอย่างเดียวครับ ใครเห็นด้วยช่วยโหวตและเสนอความเห็นด้วยครับ