สวัสดีค่ะ ขอแนะนำตัวก่อนนะคะ พอดีว่าตอนนี้กำลังคิดว่าจะไปเรียนต่อปริญญาเอกที่ต่างประเทศอยู่ค่ะ เลยได้ไปค้นหากระทู้ข้อมูลเก่าๆ ใน smart search แล้วพบกระทู้นี้
http://ppantip.com/topic/31599692 ที่คุณ gpvtu2009 ตอบ comment ที่ 8 ไว้
จึงอยากสอบถามค่ะ ข้อความที่ว่า "มีคนอยู่ 3 ประเภท
ไม่รู้ว่าตัวเองโง่
รู้ว่าตัวเองโง่
รู้ว่าตัวเองฉลาด
คนไหน สมควรเป็นนักศึกษาปริญญาเอก เพราะอะไร"
เนื่องจากหนูเกิดความสงสัยว่า คนแต่ละประเภท มีความหมาย / หมายถึงคนลักษณะอย่างไร
ส่วนความคิดเห็นของหนูนั้น ขออนุญาตออกตัวก่อนนะคะ ความรู้และประสบการณ์หนูยังอ่อนด้อย เด๋วจะลองอธิบายดูนะคะ เพราะไม่แน่ใจว่าจะตีความถูกผิดอย่างไร รบกวนชี้แนะ / แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้นะคะ
ตามที่ได้แบ่งกลุ่มคนออกเป็น 3 ประเภท นั้น
คนกลุ่มแรก น่าจะหมายถึง คนที่ไม่รู้ว่าตัวเองโง่ โดยเค้าไม่รู้จักยอมรับในสิ่งที่เค้าไม่รู้และปิดกั้นรับความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติม เปรียบเสมือน "แก้วน้ำที่คว่ำอยู่" เข้าใจว่าเค้าอาจจะมีอัตตาอยู่มาก
คนกลุ่มที่สอง น่าจะหมายถึง คนที่รู้ว่าตัวเองโง่ โดยเค้าได้ประเมินตัวเองแล้ว พบว่าตัวเองยังขาดความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จึงจำเป็นต้องเพิ่มเติมความรู้ใหม่ๆ รู้จักการยอมรับ ประมาณตนเอง และพยายามฝึกฝนตัวเอง เปรียบเสมือน "แก้วเปล่า / แก้วน้ำที่มีน้ำอยู่ครึ่งแก้ว"
คนกลุ่มที่สาม น่าจะหมายถึง คนที่รู้ว่าตัวเองฉลาด น่าจะคล้ายๆ กับคนกลุ่มแรก แต่แตกต่างกันตรงที่ เค้าอาจจะมีความรู้ เปรียบเสมือน "แก้วน้ำเต็มแก้ว" ก็อาจจะเป็นได้ และเค้าก็มีอัตตามากเช่นกัน เพราะเมื่อคนเรารู้ตัวเองว่าเก่งแล้ว ก็อาจจะไม่ค่อยยอมรับความคิดเห็น / ข้อเสนอแนะของผู้อื่น
เพิ่มเติม >> จริงๆ แล้ว อยากให้มีกลุ่มคนอีกประเภท คือ คนที่ไม่รู้ว่าตัวเองฉลาด น่าจะหมายถึง คนที่มีความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้งแล้ว เพียงแต่ยังขาดความมั่นใจ / เชื่อมั่นในตัวเองที่จะนำความรู้นั้นมาใช้
ส่วนคนที่น่าจะสมควรเป็นนักศึกษาปริญญาเอก เพราะอะไร
หนูขอตอบ กลุ่มคนที่ 2 นะคะ เพราะเค้ารู้ว่าเค้าขาด lack of knowledge จึงต้องไปศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องนั้นอย่างถ่องแท้ / เชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งค่ะ
จากนั้นหนูก็เกิดความสงสัยต่ออีกว่า
1. คนประเภทที่ 3 (คนที่รู้ว่าตัวเองฉลาด) ในสังคมมีอยู่จริงมั๊ยคะ เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด วันนึงเค้าอาจจะเปลี่ยน status ไปอยู่กลุ่มคนที่ 1 ก็ได้
2. มีเครื่องมือ / กลไก / ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ช่วยในการ classified หรือ ประเมินคนแต่ละประเภทแยกออกจากกันคะ
ขออนุญาตแลกเปลี่ยนมุมมองกันนะคะ
ขอบคุณมากค่ะ
ปริศนาธรรมกับนักศึกษาปริญญาเอก
จึงอยากสอบถามค่ะ ข้อความที่ว่า "มีคนอยู่ 3 ประเภท
ไม่รู้ว่าตัวเองโง่
รู้ว่าตัวเองโง่
รู้ว่าตัวเองฉลาด
คนไหน สมควรเป็นนักศึกษาปริญญาเอก เพราะอะไร"
เนื่องจากหนูเกิดความสงสัยว่า คนแต่ละประเภท มีความหมาย / หมายถึงคนลักษณะอย่างไร
ส่วนความคิดเห็นของหนูนั้น ขออนุญาตออกตัวก่อนนะคะ ความรู้และประสบการณ์หนูยังอ่อนด้อย เด๋วจะลองอธิบายดูนะคะ เพราะไม่แน่ใจว่าจะตีความถูกผิดอย่างไร รบกวนชี้แนะ / แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้นะคะ
ตามที่ได้แบ่งกลุ่มคนออกเป็น 3 ประเภท นั้น
คนกลุ่มแรก น่าจะหมายถึง คนที่ไม่รู้ว่าตัวเองโง่ โดยเค้าไม่รู้จักยอมรับในสิ่งที่เค้าไม่รู้และปิดกั้นรับความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติม เปรียบเสมือน "แก้วน้ำที่คว่ำอยู่" เข้าใจว่าเค้าอาจจะมีอัตตาอยู่มาก
คนกลุ่มที่สอง น่าจะหมายถึง คนที่รู้ว่าตัวเองโง่ โดยเค้าได้ประเมินตัวเองแล้ว พบว่าตัวเองยังขาดความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จึงจำเป็นต้องเพิ่มเติมความรู้ใหม่ๆ รู้จักการยอมรับ ประมาณตนเอง และพยายามฝึกฝนตัวเอง เปรียบเสมือน "แก้วเปล่า / แก้วน้ำที่มีน้ำอยู่ครึ่งแก้ว"
คนกลุ่มที่สาม น่าจะหมายถึง คนที่รู้ว่าตัวเองฉลาด น่าจะคล้ายๆ กับคนกลุ่มแรก แต่แตกต่างกันตรงที่ เค้าอาจจะมีความรู้ เปรียบเสมือน "แก้วน้ำเต็มแก้ว" ก็อาจจะเป็นได้ และเค้าก็มีอัตตามากเช่นกัน เพราะเมื่อคนเรารู้ตัวเองว่าเก่งแล้ว ก็อาจจะไม่ค่อยยอมรับความคิดเห็น / ข้อเสนอแนะของผู้อื่น
เพิ่มเติม >> จริงๆ แล้ว อยากให้มีกลุ่มคนอีกประเภท คือ คนที่ไม่รู้ว่าตัวเองฉลาด น่าจะหมายถึง คนที่มีความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้งแล้ว เพียงแต่ยังขาดความมั่นใจ / เชื่อมั่นในตัวเองที่จะนำความรู้นั้นมาใช้
ส่วนคนที่น่าจะสมควรเป็นนักศึกษาปริญญาเอก เพราะอะไร
หนูขอตอบ กลุ่มคนที่ 2 นะคะ เพราะเค้ารู้ว่าเค้าขาด lack of knowledge จึงต้องไปศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องนั้นอย่างถ่องแท้ / เชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งค่ะ
จากนั้นหนูก็เกิดความสงสัยต่ออีกว่า
1. คนประเภทที่ 3 (คนที่รู้ว่าตัวเองฉลาด) ในสังคมมีอยู่จริงมั๊ยคะ เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด วันนึงเค้าอาจจะเปลี่ยน status ไปอยู่กลุ่มคนที่ 1 ก็ได้
2. มีเครื่องมือ / กลไก / ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ช่วยในการ classified หรือ ประเมินคนแต่ละประเภทแยกออกจากกันคะ
ขออนุญาตแลกเปลี่ยนมุมมองกันนะคะ
ขอบคุณมากค่ะ