บิ๊กตู่ ปาฐกถาปฏิรูปการศึกษา ชี้การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ ทุกคนต้องได้รับเท่าเทียมกันอย่างตปท. งัดมาตรา 44 สั่งห้ามเรียก "รากหญ้า" เปลี่ยนเป็น "ประชาชนผู้มีรายได้น้อย" แทน...
เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 58 ที่สโมสรทหารบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ปฏิรูปการศึกษา...สร้างอนาคตประเทศไทย" ในงานสัมมนา เรื่อง “การปฏิรูปการศึกษาและพัฒนามนุษย์สู่อนาคต” จัดโดยคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยกล่าวว่า การศึกษาเป็นรากฐานของทุกอย่าง ถ้าคนไม่มีคุณภาพ ประเทศก็ไม่มีทางก้าวหน้าได้ เราต้องพัฒนาคนต่อไป อย่างน้อยก็ต้องเท่าเทียมกัน เอาหลายอย่างของต่างประเทศมาทำบ้านเรา แต่บางเรื่องยังทำไม่ได้ เพราะการศึกษายังมีการเรียนรู้ที่ยังไม่เท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปการศึกษาต้องเข้าใจระบบการศึกษาของโลก อาเซียนและของเรา เพราะมีความแตกต่างกัน
ทั้งนี้ การเมืองก็เช่นกัน ถ้าต่างคนต่างทะเลาะก็จะเป็นปัญหา แต่ถ้าต่างคนต่างยอมรับว่าเป็นผลประโยชน์ของชาติ แม้จะเห็นไม่ตรงกัน แต่เมื่อเป็นประโยชน์ส่วนรวม เราก็ต้องพร้อมที่จะร่วมมือเดินไปข้างหน้า โดยนักการเมือง หรืออะไรที่ขัดแย้ง เป็นปัญหาก็ค่อยๆ ทำกันไป ไม่ใช่จะเอาทุกอย่างเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ แล้วมันจะเดินไปตรงไหนได้ สิ่งสำคัญคือ เมื่อคนเหล่านี้มีความขัดแย้ง คนที่ถูกขับเคลื่อนก็จะเกิดความสับสน วุ่นวายต่อไปอีก
"วันนี้ผมขออนุญาตใช้มาตรา 44 ไม่ให้ใครในประเทศนี้ ห้ามเรียกคนเหล่านี้ว่า รากหญ้า ให้เรียกว่า ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเราต้องยกระดับพวกเขามาให้เท่าเทียม วันนี้บ้านเมืองเราไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นแล้ว"
http://www.thairath.co.th/content/520989
'บิ๊กตู่' งัด ม.44 ห้ามเรียก 'รากหญ้า' ให้ใช้ 'ผู้มีรายได้น้อย'
เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 58 ที่สโมสรทหารบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ปฏิรูปการศึกษา...สร้างอนาคตประเทศไทย" ในงานสัมมนา เรื่อง “การปฏิรูปการศึกษาและพัฒนามนุษย์สู่อนาคต” จัดโดยคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยกล่าวว่า การศึกษาเป็นรากฐานของทุกอย่าง ถ้าคนไม่มีคุณภาพ ประเทศก็ไม่มีทางก้าวหน้าได้ เราต้องพัฒนาคนต่อไป อย่างน้อยก็ต้องเท่าเทียมกัน เอาหลายอย่างของต่างประเทศมาทำบ้านเรา แต่บางเรื่องยังทำไม่ได้ เพราะการศึกษายังมีการเรียนรู้ที่ยังไม่เท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปการศึกษาต้องเข้าใจระบบการศึกษาของโลก อาเซียนและของเรา เพราะมีความแตกต่างกัน
ทั้งนี้ การเมืองก็เช่นกัน ถ้าต่างคนต่างทะเลาะก็จะเป็นปัญหา แต่ถ้าต่างคนต่างยอมรับว่าเป็นผลประโยชน์ของชาติ แม้จะเห็นไม่ตรงกัน แต่เมื่อเป็นประโยชน์ส่วนรวม เราก็ต้องพร้อมที่จะร่วมมือเดินไปข้างหน้า โดยนักการเมือง หรืออะไรที่ขัดแย้ง เป็นปัญหาก็ค่อยๆ ทำกันไป ไม่ใช่จะเอาทุกอย่างเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ แล้วมันจะเดินไปตรงไหนได้ สิ่งสำคัญคือ เมื่อคนเหล่านี้มีความขัดแย้ง คนที่ถูกขับเคลื่อนก็จะเกิดความสับสน วุ่นวายต่อไปอีก
"วันนี้ผมขออนุญาตใช้มาตรา 44 ไม่ให้ใครในประเทศนี้ ห้ามเรียกคนเหล่านี้ว่า รากหญ้า ให้เรียกว่า ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเราต้องยกระดับพวกเขามาให้เท่าเทียม วันนี้บ้านเมืองเราไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นแล้ว"
http://www.thairath.co.th/content/520989