นั่งๆ นอนๆ เล่นมือถือท่องโลกออนไลน์เพลินๆ ก็ไปเจอะเจอข่าวที่น่าสนใจ เกี่ยวกับมาตรการ ที่ทางสอศ.รับนโยบายมาจากนายกรัฐมนตรีเพื่อลดปัญหาเด็กอาชีวะตีกัน แค่เห็นหัวข้อแล้วก็รีบจิ้มไปดูรัวๆ แต่ก็ไม่พบรายละเอียดที่ชี้ชัดถึงวิธีดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เท่าไร ก็เลยลุกจากที่นอนไปเปิดคอมหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก Web สอศ. ดูเสร็จเลยเอามาขยายความต่อ เล่าสู่กันฟังสักเล็กน้อย
ลอง “มาดู 16 วิธีแก้ปัญหาเด็กอาชีวะ "ตีกัน" ของไทย (เริ่มใช้ทุก ร.ร.ปีนี้)” แบบละเอียดๆ ยิบๆ กันดีกว่าเนอะ
1. สถาบันการศึกษาต้องรับผิดชอบนักเรียน นักศึกษาสังกัดที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาท โดยให้ที่ประชุมพิจารณาตามกรณีไป
2. การแต่งเครื่องแบบนักเรียน และนักศึกษาให้เหมือนกันทุกสถาบันทั่วประเทศ หรือยกเลิกเครื่องแบบ โดยที่ประชุมให้ยึดตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
3. ส่งเสริมการจัดโครงการเตรียมอาชีวะศึกษา เพื่อปลูกฝังด้านต่างๆ
4. จัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ความรักความสามัคคีในชาติและความตระหนักและความภาคภูมิในใจอาชีวศึกษาสร้างชาติ
5. จัดหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหารให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาร้อยเปอร์เซ็น
6. การจัดเวลาเรียนของแต่ละสถาบันในพื้นที่ให้เหลื่อม
7. ส่งเสริมให้เข้าเรียนระบบทวิภาคีเพื่อปลูกฝังความรับผิดชอบในหน้าที่
8. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเชิงบวก ด้านจิตอาสา ด้านกีฬา และด้านดนตรี
9. การดูแลความปลอดภัยให้กับนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา ระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และสถาบันการศึกษาร่วมกัน
10. ทุกสถาบันต้องมีข้อมูลนักเรียน นักศึกษาที่สุ่มเสี่ยงที่กำลังศึกษา สำเร็จการศึกษา และพ้นสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษาของแต่ละสถาบัน โดยต้องอัพเดตข้อมูลอยู่เสมอ
11. ทั้งในและนอกสถานศึกษาต้องปลอดอาวุธ
12. ใช้หลักสหวิชาชีพเข้ามาช่วยในการดูแลนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา
13. เจ้าหน้าที่ตำรวจจัดชุดพิเศษ เพื่อป้องกันเหตุและเป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วเมื่อเกิดเหตุทะเลาะวิวาท
14. สร้างความเข้มแข็งและสัมพันธภาพของสถานศึกษาที่อยู่ใกล้เคียง
15. มาตรการจำกัดเสรีกับศิษย์เก่าของแต่ละสถาบัน ทั้งที่สำเร็จการศึกษา และพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา
16. ห้ามทำกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมทั้งในและนอกสถานศึกษา
พออ่านจบก็รู้สึกดีแหะ ที่ครั้งนี้หน่วยงานภาครัฐเขาเอาจริง วางแผนแก้ปัญหาอย่างมีกลยุทธ์ ตั้งแต่ความรับผิดชอบของสถาบัน เครื่องแบบก็ใช้ให้เหมือนกันทั่วประเทศ ส่งเสริมในหลายๆ ด้าน ทั้งหลักสูตร นศท.แบบ 100% การเรียนระบบทวิภาคี การอัพเดทข้อมูลของศิษย์เก่า และกลุ่มเสี่ยงอยู่เสมอ และที่น่าสนใจอีกอย่าง คือ การที่จัดชุดเจ้าหน้าที่พิเศษเพื่อการระงับเหตุได้ทันที ซึ่งหลายมาตรการตอบสนองความต้องการทั่วไปของหลายครอบครัว รวมทั้งประชาชนทั่วไป และเพิ่มความมั่นใจกับการที่เด็กๆ อาชีวะเหล่านี้ไม่ถูกมองในด้านที่ไม่ดี
ถ้าสามารถทำได้จริงจะช่วยได้มากในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่เรียนสายอาชีวะ และจะเพิ่มให้เกิดความไว้วางใจให้ผู้ปกครองให้การสนับสนุนลูกหลานให้มาเรียนสายอาชีวะมีเยอะขึ้นจริงๆ ถ้าเริ่มแล้วแบบนี้ความปลอดภัยของเด็กอาชีวะ แล้วก็คนทั่วไปก็จะปลอดภัยขึ้น ทั้งด้านการเรียน การฝึกความอดทนในการทำงานอนาคตจะสดใสแน่นอน
ข้อมูลจาก : สอศ.
http://www.vec.go.th/portals/0/tabid/103/ArticleId/3677/3677.aspx
ภาพประกอบจาก : 4 kings อาชีวะยุค 90'S ตัวอย่างhttps://www.youtube.com/watch?v=ovoJnWKucA4
*แท็กปัญหาครอบครัว : เพราะอยากให้ทุกครอบครัวรู้ว่ามาตรการเค้าแน่นจริงๆ
มาดูกัน 16 แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาของเด็กอาชีวะ จะได้ผลหรือไม่
ลอง “มาดู 16 วิธีแก้ปัญหาเด็กอาชีวะ "ตีกัน" ของไทย (เริ่มใช้ทุก ร.ร.ปีนี้)” แบบละเอียดๆ ยิบๆ กันดีกว่าเนอะ
1. สถาบันการศึกษาต้องรับผิดชอบนักเรียน นักศึกษาสังกัดที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาท โดยให้ที่ประชุมพิจารณาตามกรณีไป
2. การแต่งเครื่องแบบนักเรียน และนักศึกษาให้เหมือนกันทุกสถาบันทั่วประเทศ หรือยกเลิกเครื่องแบบ โดยที่ประชุมให้ยึดตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
3. ส่งเสริมการจัดโครงการเตรียมอาชีวะศึกษา เพื่อปลูกฝังด้านต่างๆ
4. จัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ความรักความสามัคคีในชาติและความตระหนักและความภาคภูมิในใจอาชีวศึกษาสร้างชาติ
5. จัดหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหารให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาร้อยเปอร์เซ็น
6. การจัดเวลาเรียนของแต่ละสถาบันในพื้นที่ให้เหลื่อม
7. ส่งเสริมให้เข้าเรียนระบบทวิภาคีเพื่อปลูกฝังความรับผิดชอบในหน้าที่
8. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเชิงบวก ด้านจิตอาสา ด้านกีฬา และด้านดนตรี
9. การดูแลความปลอดภัยให้กับนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา ระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และสถาบันการศึกษาร่วมกัน
10. ทุกสถาบันต้องมีข้อมูลนักเรียน นักศึกษาที่สุ่มเสี่ยงที่กำลังศึกษา สำเร็จการศึกษา และพ้นสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษาของแต่ละสถาบัน โดยต้องอัพเดตข้อมูลอยู่เสมอ
11. ทั้งในและนอกสถานศึกษาต้องปลอดอาวุธ
12. ใช้หลักสหวิชาชีพเข้ามาช่วยในการดูแลนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา
13. เจ้าหน้าที่ตำรวจจัดชุดพิเศษ เพื่อป้องกันเหตุและเป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วเมื่อเกิดเหตุทะเลาะวิวาท
14. สร้างความเข้มแข็งและสัมพันธภาพของสถานศึกษาที่อยู่ใกล้เคียง
15. มาตรการจำกัดเสรีกับศิษย์เก่าของแต่ละสถาบัน ทั้งที่สำเร็จการศึกษา และพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา
16. ห้ามทำกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมทั้งในและนอกสถานศึกษา
พออ่านจบก็รู้สึกดีแหะ ที่ครั้งนี้หน่วยงานภาครัฐเขาเอาจริง วางแผนแก้ปัญหาอย่างมีกลยุทธ์ ตั้งแต่ความรับผิดชอบของสถาบัน เครื่องแบบก็ใช้ให้เหมือนกันทั่วประเทศ ส่งเสริมในหลายๆ ด้าน ทั้งหลักสูตร นศท.แบบ 100% การเรียนระบบทวิภาคี การอัพเดทข้อมูลของศิษย์เก่า และกลุ่มเสี่ยงอยู่เสมอ และที่น่าสนใจอีกอย่าง คือ การที่จัดชุดเจ้าหน้าที่พิเศษเพื่อการระงับเหตุได้ทันที ซึ่งหลายมาตรการตอบสนองความต้องการทั่วไปของหลายครอบครัว รวมทั้งประชาชนทั่วไป และเพิ่มความมั่นใจกับการที่เด็กๆ อาชีวะเหล่านี้ไม่ถูกมองในด้านที่ไม่ดี
ถ้าสามารถทำได้จริงจะช่วยได้มากในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่เรียนสายอาชีวะ และจะเพิ่มให้เกิดความไว้วางใจให้ผู้ปกครองให้การสนับสนุนลูกหลานให้มาเรียนสายอาชีวะมีเยอะขึ้นจริงๆ ถ้าเริ่มแล้วแบบนี้ความปลอดภัยของเด็กอาชีวะ แล้วก็คนทั่วไปก็จะปลอดภัยขึ้น ทั้งด้านการเรียน การฝึกความอดทนในการทำงานอนาคตจะสดใสแน่นอน
ข้อมูลจาก : สอศ.http://www.vec.go.th/portals/0/tabid/103/ArticleId/3677/3677.aspx
ภาพประกอบจาก : 4 kings อาชีวะยุค 90'S ตัวอย่างhttps://www.youtube.com/watch?v=ovoJnWKucA4
*แท็กปัญหาครอบครัว : เพราะอยากให้ทุกครอบครัวรู้ว่ามาตรการเค้าแน่นจริงๆ