หมื่นแสนฟุตเตจถูกเรียงร้อยเล่าเรื่องราวชีวิตร้าวรานของ Amy Winehouse นักร้องแจ๊สสาว ‘เจ้าปัญหา’ ที่ฟ้าประทานมามอบความสุขแด่ชาวโลกก่อนจะลาลับไปด้วยวัยเพียง 27 ปี
หนังพาเราไปรู้จักเธอในหลายด้านผ่านวิดีโอคลิปไก่กาบ้าบอถ่ายเล่นผสมเข้ากับเบื้องหลังการทำงาน บทสัมภาษณ์ การแสดงสด จนถึงขั้นขุดข้อความเสียงที่เธอฝากไว้ในโทรศัพท์เพื่อนซี้ กราบใจผกก. Asif Kapadia ที่คัดสรรจัดเรียงเรื่องจนเป็นสารคดีทรงพลังกว่าที่หนังไบโอพิคจะทำได้ (คือไม่ต้องสร้างแล้วนะ เวอร์ชั่นคนแสดงหนะ พีคละ)
เราได้พบกับเอมี่ตั้งแต่วัยใสจนกลายเป็นซูเปอร์สตาร์ และเหตุการณ์ที่นำพาเธอสู่การทำร้ายตัวเองด้วยเหล้า ยา และกาฝาก อยากให้ใช้เป็นสื่อการสอนในวิชาสุขศึกษา สภาวะต่ำสุดของคนติดยาเป็นอย่างไรเห็นได้ในเรื่องนี้ น่ากลัวกว่าหนังผีทั้งหลายทั้งปวง
จิจ้าในฐานะแฟนเพลงก็ปลื้มปริ่มกับการใช้หนังแทน Exclusive Jazz Session กับเสียงสวรรค์ของเอมี่ ชอบที่หลายครั้งหนังเล่าเกร็ดเหตุการณ์ที่ดูแล้วรู้ปุ๊บว่าเป็นที่มาของเพลงอะไร สร้างมิติให้กับเพลงโปรดได้ทันที แต่หนังเลือกที่จะกั๊กเพลงนั้นไว้ใช้ในช่วงอื่นแทนทำให้หนังดูไม่ซื่อบื้อ ชอบมอนทาจเพลงที่มีภาพประกอบเป็นลายมือนางจรดลงในกระดาษซึ่งเป็นเนื้อเวอร์ชั่นที่ยังไม่ไฟน่อล บ้างก็เป็นการร้องสดในห้องอัดที่ยังไม่สมบูรณ์ เป็นวิธีการนำเสนอ Creative Process ที่น่าสนใจและหาดูได้ยาก
คำนับให้ความเซียนของผกก. ในการหาจุดเชื่อมโยงของคนที่มีอิทธิพลทางดนตรีต่อเอมี่จากทางอ้อมในอดีตสู่การร่วมงานในเวลาต่อมา เช่น Mos Def (aka Yasiin Bey) หรือตำนานเพลงแจ๊ส Tony Bennett ไอดอลของเอมี่ที่มีบทบาทสำคัญในฉากอิ่มเอมใจช่วงท้ายของหนัง
หนังไม่ได้โยนบาปจุดจบของเธอว่าเป็นความผิดใคร แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าพฤติกรรมของผู้ชายบางคนในชีวิตเธอมันช่างเลวร้ายจนอยากร้องกรี๊ดว่า อิHaaaอิกาฝากกกกกกก! ดังมากใส่จอ รวมถึงช่วงนึงที่เธอเป็นตัวโจ๊กของสังคม ถูกล้อเลียนเหยียบย่ำในการกระทำที่ดูแปลกแยก เมื่อตัดสลับกับเหตุการณ์อีกด้านของเธอที่เจ็บปวดแต่ไม่มีใครรู้ การ ‘แซะ’ จากสื่อและคนดูไร้พิษภัยก็กลายเป็นความใจร้ายเหลือเกิน นึกถึงเคสนักแสดงบ้านเราเมื่อเร็ว ๆ นี้เลย
เสียงกรนเป็นดนตรีแจ๊ซจากคนดูด้านหลังบอกจิจ้าว่าหนังเรื่องนี้ก็เหมือนแนวเพลงของเอมี่ที่อาจไม่ใช่สำหรับทุกคน แต่ถ้าลองเปิดใจก็อาจได้พบสิ่งดีมีคุณค่า อย่ากลัวว่าสารคดีจะดูยากหรือน่าเบื่อเพราะ Amy มีความเป็น ‘หนัง’ สูงมากเบย
โทนี่ เบนเนตกล่าวไว้ว่า ‘ชีวิตจะสอนเราเองว่าควรใช้ชีวิตอย่างไร’ น่าเสียดายที่เอมี่ไม่มีโอกาสได้ยินคำแนะนำนี้จากขวัญใจของเธอ จึงฝากไว้เพียงบทเพลงที่เป็นกวีชีวิตกลั่นจากใจของผู้หญิงและศิลปินมากความสามารถคนนี้ ‘เอมี่ ไวน์เฮาส์’
------
*Amy ฉายรอบปกติตั้งแต่วันที่ 27 ส.ค. ในเครือ SF (บางโรง) จ้ะ เช็ครอบฉายที่เวบไซท์ก่อนชม*
[รีวิว] Amy (2015) โลกรวดร้าวของดาวดับแสง Amy Winehouse
หมื่นแสนฟุตเตจถูกเรียงร้อยเล่าเรื่องราวชีวิตร้าวรานของ Amy Winehouse นักร้องแจ๊สสาว ‘เจ้าปัญหา’ ที่ฟ้าประทานมามอบความสุขแด่ชาวโลกก่อนจะลาลับไปด้วยวัยเพียง 27 ปี
หนังพาเราไปรู้จักเธอในหลายด้านผ่านวิดีโอคลิปไก่กาบ้าบอถ่ายเล่นผสมเข้ากับเบื้องหลังการทำงาน บทสัมภาษณ์ การแสดงสด จนถึงขั้นขุดข้อความเสียงที่เธอฝากไว้ในโทรศัพท์เพื่อนซี้ กราบใจผกก. Asif Kapadia ที่คัดสรรจัดเรียงเรื่องจนเป็นสารคดีทรงพลังกว่าที่หนังไบโอพิคจะทำได้ (คือไม่ต้องสร้างแล้วนะ เวอร์ชั่นคนแสดงหนะ พีคละ)
เราได้พบกับเอมี่ตั้งแต่วัยใสจนกลายเป็นซูเปอร์สตาร์ และเหตุการณ์ที่นำพาเธอสู่การทำร้ายตัวเองด้วยเหล้า ยา และกาฝาก อยากให้ใช้เป็นสื่อการสอนในวิชาสุขศึกษา สภาวะต่ำสุดของคนติดยาเป็นอย่างไรเห็นได้ในเรื่องนี้ น่ากลัวกว่าหนังผีทั้งหลายทั้งปวง
จิจ้าในฐานะแฟนเพลงก็ปลื้มปริ่มกับการใช้หนังแทน Exclusive Jazz Session กับเสียงสวรรค์ของเอมี่ ชอบที่หลายครั้งหนังเล่าเกร็ดเหตุการณ์ที่ดูแล้วรู้ปุ๊บว่าเป็นที่มาของเพลงอะไร สร้างมิติให้กับเพลงโปรดได้ทันที แต่หนังเลือกที่จะกั๊กเพลงนั้นไว้ใช้ในช่วงอื่นแทนทำให้หนังดูไม่ซื่อบื้อ ชอบมอนทาจเพลงที่มีภาพประกอบเป็นลายมือนางจรดลงในกระดาษซึ่งเป็นเนื้อเวอร์ชั่นที่ยังไม่ไฟน่อล บ้างก็เป็นการร้องสดในห้องอัดที่ยังไม่สมบูรณ์ เป็นวิธีการนำเสนอ Creative Process ที่น่าสนใจและหาดูได้ยาก
คำนับให้ความเซียนของผกก. ในการหาจุดเชื่อมโยงของคนที่มีอิทธิพลทางดนตรีต่อเอมี่จากทางอ้อมในอดีตสู่การร่วมงานในเวลาต่อมา เช่น Mos Def (aka Yasiin Bey) หรือตำนานเพลงแจ๊ส Tony Bennett ไอดอลของเอมี่ที่มีบทบาทสำคัญในฉากอิ่มเอมใจช่วงท้ายของหนัง
หนังไม่ได้โยนบาปจุดจบของเธอว่าเป็นความผิดใคร แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าพฤติกรรมของผู้ชายบางคนในชีวิตเธอมันช่างเลวร้ายจนอยากร้องกรี๊ดว่า อิHaaaอิกาฝากกกกกกก! ดังมากใส่จอ รวมถึงช่วงนึงที่เธอเป็นตัวโจ๊กของสังคม ถูกล้อเลียนเหยียบย่ำในการกระทำที่ดูแปลกแยก เมื่อตัดสลับกับเหตุการณ์อีกด้านของเธอที่เจ็บปวดแต่ไม่มีใครรู้ การ ‘แซะ’ จากสื่อและคนดูไร้พิษภัยก็กลายเป็นความใจร้ายเหลือเกิน นึกถึงเคสนักแสดงบ้านเราเมื่อเร็ว ๆ นี้เลย
เสียงกรนเป็นดนตรีแจ๊ซจากคนดูด้านหลังบอกจิจ้าว่าหนังเรื่องนี้ก็เหมือนแนวเพลงของเอมี่ที่อาจไม่ใช่สำหรับทุกคน แต่ถ้าลองเปิดใจก็อาจได้พบสิ่งดีมีคุณค่า อย่ากลัวว่าสารคดีจะดูยากหรือน่าเบื่อเพราะ Amy มีความเป็น ‘หนัง’ สูงมากเบย
โทนี่ เบนเนตกล่าวไว้ว่า ‘ชีวิตจะสอนเราเองว่าควรใช้ชีวิตอย่างไร’ น่าเสียดายที่เอมี่ไม่มีโอกาสได้ยินคำแนะนำนี้จากขวัญใจของเธอ จึงฝากไว้เพียงบทเพลงที่เป็นกวีชีวิตกลั่นจากใจของผู้หญิงและศิลปินมากความสามารถคนนี้ ‘เอมี่ ไวน์เฮาส์’