✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋ความน่าอัศจรรย์ของพระศาสดาในความเมตตาต่อผู้หลงบรรลุธรรม✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน เขต
พระนครเวสาลี ก็สมัยนั้นแล มีภิกษุมากรูปด้วยกันทูลพยากรณ์อรหัตผลในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
พระสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ได้ทราบข่าวว่า มีภิกษุมากรูปด้วยกันได้
ทูลพยากรณ์อรหัตผล ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระ
ผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ทราบข่าวดังนี้ว่า มีภิกษุมาก
ด้วยกันได้ทูลพยากรณ์อรหัตผลในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า พวกข้าพระองค์รู้
ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกภิกษุที่ทูลพยากรณ์อรหัตผล
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคดังนั้น ได้ทูลพยากรณ์อรหัตผลโดยชอบหรือ หรือว่า
ภิกษุบางเหล่าในพวกนี้ได้ทูลพยากรณ์อรหัตผล ด้วยความสำคัญว่าตนได้บรรลุ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสุนักขัตตะ พวกภิกษุที่พยากรณ์
อรหัตผลในสำนักของเราว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่
จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี นั้น มี
บางเหล่าในพวกนี้ได้พยากรณ์อรหัตผลโดยชอบแท้ แต่ก็มีภิกษุบางเหล่าในที่นี้
ได้พยากรณ์อรหัตผล ด้วยความสำคัญว่า ตนได้บรรลุบ้าง ดูกรสุนักขัตตะ ใน
ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุพวกที่พยากรณ์อรหัตผลโดยชอบแท้นั้น ย่อมมีอรหัตผล
จริงทีเดียว ส่วนในภิกษุพวกที่พยากรณ์อรหัตผลด้วยความสำคัญว่าตนได้บรรลุนั้น
ตถาคตมีความดำริอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่เธอ ดูกรสุนักขัตตะ ในเรื่องนี้
ตถาคตมีความดำริว่า จักแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ แต่ถ้าธรรม
วินัยนี้มีโมฆบุรุษบางพวกคิดแต่งปัญหาเข้ามาถามตถาคต ข้อที่ตถาคตมีความดำริ
ในภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่เธอนั้น ก็จะเป็นอย่างอื่นไป ฯ
พระสุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ขณะนี้เป็นกาลสมควร
แล้วๆ ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงธรรม ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาค
แล้ว จักทรงจำไว้ ฯ
พ. ดูกรสุนักขัตตะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ต่อไป ฯ
พระสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรสุนักขัตตะ กามคุณนี้มี ๕
อย่างแล ๕ อย่างเป็นไฉน คือ
รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ดูกรสุนักขัตตะ นี้แลกามคุณ ๕ อย่าง ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อม
ใจไปในโลกามิส นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส
ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรมอันควรแก่
โลกามิส คบแต่คนชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใคร
พูดเรื่องเกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้
ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนคนที่จากบ้าน
หรือนิคมของตนไปนาน พบบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้จากบ้านหรือนิคมนั้นไปใหม่ๆ
ต้องถามบุรุษนั้นถึงเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความเกษม ทำมาหากินดี และมี
โรคภัยไข้เจ็บน้อย บุรุษนั้นพึงบอกเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความเกษม ทำมาหา-
*กินดี และมีโรคภัยไข้เจ็บน้อยแก่เขา ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน เขาจะพึงสนใจฟังบุรุษนั้น เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ คบบุรุษนั้น
และถึงความใฝ่ใจกับบุรุษนั้นบ้างไหมหนอ ฯ
สุ. แน่นอน พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนใน
โลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไปในโลกามิส นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล ปุริสบุคคลผู้น้อม
ใจไปในโลกามิส ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรอง
ธรรมอันควรแก่โลกามิส คบแต่คนชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น
แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ
ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น บุคคลที่
เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่า เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อม
ใจไปในอาเนญชสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปใน
อาเนญชสมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่อาเนญชสมาบัติเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อม
ตรองธรรมอันควรแก่อาเนญชสมาบัติ คบแต่คนชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจ
กับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับโลกามิส ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ย
โสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น
เปรียบเหมือนใบไม้เหลือง หลุดจากขั้วแล้ว ไม่อาจเป็นของเขียวสดได้ ฉันใด
ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในโลกามิสของปุริส-
*บุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติหลุดไปแล้ว บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบ
เถิดว่า เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ พรากแล้วจากความเกี่ยว-
*ข้องในโลกามิส ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อม
ใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไป
ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติ
เท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติ คบแต่คน
ชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับ
อาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคน
ชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนศิลาก้อน แตกออก
เป็น ๒ ซีกแล้ว ย่อมเป็นของเชื่อมกันให้สนิทไม่ได้ ฉันใด ดูกรสุนักขัตตะ
ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติของปุริสบุคคลผู้น้อม
ใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติแตกไปแล้ว บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบ
เถิดว่า เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ พรากแล้วจากความ
เกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติ ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อม
ใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล ปุริสบุคคลผู้
น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่เนวสัญญา-
*นาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมตรึก ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่เนวสัญญานาสัญญา-
*ยตนสมาบัติ คบแต่คนเช่นเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใคร
พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ
ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบ
เหมือนคนบริโภคโภชนะที่ถูกใจอิ่มหนำแล้ว พึงทิ้งเสีย ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เขาจะพึงมีความปรารถนาในภัตนั้นบ้างไหมหนอ ฯ
สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. นั่นเพราะเหตุไร ฯ
สุ. เพราะว่าภัตโน้น ตนเองรู้สึกว่า เป็นของปฏิกูลเสียแล้ว ฯ
พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในอากิญ-
*จัญญายตนสมาบัติ อันปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
คายได้แล้ว บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่า เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไป
ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ พรากแล้วจากความเกี่ยวข้องในอากิญจัญ-
*ญายตนสมาบัติ ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้น้อมใจ
ไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพาน
โดยชอบ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่นิพพานโดยชอบเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรอง
ธรรมอันควรแก่นิพพานโดยชอบ คบแต่คนเช่นเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับ
คนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อม
ไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้นและไม่ถึงความ
ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนตาลยอดด้วนไม่อาจงอกงามได้อีก ฉันใด
ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในเนวสัญญานาสัญญา-
*ยตนสมาบัติ อันปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบตัดขาดแล้ว ถอนราก
ขึ้นแล้ว ไม่มีเหตุตั้งอยู่ได้ดังต้นตาล ถึงความเป็นไปไม่ได้แล้ว มีความไม่เกิด
ต่อไปเป็นธรรมดา บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่าเป็นปุริสบุคคลผู้น้อม
ใจไปในนิพพานโดยชอบ พรากแล้วจากความเกี่ยวข้องในเนวสัญญานาสัญญา-
*ยตนสมาบัติ ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความดำริ
อย่างนี้ว่า
พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล โทษอันเป็น
พิษคืออวิชชา ย่อม
งอกงามได้ด้วย
ฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัด
โทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่น
เป็นฐานะที่มีได้
.ดูกรสุนักขัตตะ เราอุปมาเปรียบเทียบดังนี้ เพื่อให้รู้เนื้อความ เนื้อความ
ในอุปมานี้ คำว่าแผล เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ โทษคือพิษ เป็นชื่อของ
อวิชชา ลูกศร เป็นชื่อของตัณหา เครื่องตรวจเป็นชื่อของสติ ศาตรา เป็นชื่อของ
ปัญญาของพระอริยะ หมอผ่าตัดเป็นชื่อของตถาคตผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้เองโดย
ชอบแล้ว ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในอายตนะอันที่เป็น
กระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ
พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่
ใช่ฐานะที่มีได้ เปรียบเหมือนภาชนะมีน้ำดื่มเต็มเปี่ยม ถึงพร้อมด้วยสี ด้วยกลิ่น
ด้วยรส แต่ระคนด้วยยาพิษ เมื่อบุรุษผู้รักชีวิต ยังไม่อยากตาย ปรารถนาสุข
เกลียดทุกข์ พึงมาถึงเข้า ดูกรสุนักขัตตะ เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษ
นั้นจะพึงดื่มน้ำที่เต็มเปี่ยมภาชนะนั้น ทั้งๆ ที่รู้ว่า ดื่มแล้วจะเข้าถึงความตาย
หรือทุกข์ปางตาย บ้างไหมหนอ ฯ
สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุนั้นทำความ
สำรวมในอายตนะอันเป็นที่กระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่าอุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ จึง
เป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อย
จิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ดูกรสุนักขัตตะ เปรียบเหมือนงูพิษ มีพิษ
ร้ายแรง เมื่อบุรุษผู้รักชีวิต ยังไม่อยากตาย ปรารถนาสุข เกลียดทุกข์ พึงมา
ถึงเข้า ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงยื่นมือหรือ
หัวแม่มือให้แก่งูพิษ ที่มีพิษร้ายแรงนั้น ทั้งๆ ที่รู้ว่า ถูกงูกัดแล้ว จะเข้าถึง
ความตาย หรือทุกข์ปางตาย บ้างไหมหนอ ฯ
สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุนั้นทำ
ความสำรวมในอายตนะเป็นที่กระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์
จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ
พุทธวจน ! ภิกษุที่พยากรณ์อรหัตผลด้วยความสำคัญผิดว่าตนได้บรรลุนั้น ตถาคตมีความดำริอย่างนี้ว่าจักแสดงธรรม
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน เขต
พระนครเวสาลี ก็สมัยนั้นแล มีภิกษุมากรูปด้วยกันทูลพยากรณ์อรหัตผลในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
พระสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ได้ทราบข่าวว่า มีภิกษุมากรูปด้วยกันได้
ทูลพยากรณ์อรหัตผล ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระ
ผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ทราบข่าวดังนี้ว่า มีภิกษุมาก
ด้วยกันได้ทูลพยากรณ์อรหัตผลในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า พวกข้าพระองค์รู้
ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกภิกษุที่ทูลพยากรณ์อรหัตผล
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคดังนั้น ได้ทูลพยากรณ์อรหัตผลโดยชอบหรือ หรือว่า
ภิกษุบางเหล่าในพวกนี้ได้ทูลพยากรณ์อรหัตผล ด้วยความสำคัญว่าตนได้บรรลุ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสุนักขัตตะ พวกภิกษุที่พยากรณ์
อรหัตผลในสำนักของเราว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่
จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี นั้น มี
บางเหล่าในพวกนี้ได้พยากรณ์อรหัตผลโดยชอบแท้ แต่ก็มีภิกษุบางเหล่าในที่นี้
ได้พยากรณ์อรหัตผล ด้วยความสำคัญว่า ตนได้บรรลุบ้าง ดูกรสุนักขัตตะ ใน
ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุพวกที่พยากรณ์อรหัตผลโดยชอบแท้นั้น ย่อมมีอรหัตผล
จริงทีเดียว ส่วนในภิกษุพวกที่พยากรณ์อรหัตผลด้วยความสำคัญว่าตนได้บรรลุนั้น
ตถาคตมีความดำริอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่เธอ ดูกรสุนักขัตตะ ในเรื่องนี้
ตถาคตมีความดำริว่า จักแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ แต่ถ้าธรรม
วินัยนี้มีโมฆบุรุษบางพวกคิดแต่งปัญหาเข้ามาถามตถาคต ข้อที่ตถาคตมีความดำริ
ในภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่เธอนั้น ก็จะเป็นอย่างอื่นไป ฯ
พระสุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ขณะนี้เป็นกาลสมควร
แล้วๆ ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงธรรม ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาค
แล้ว จักทรงจำไว้ ฯ
พ. ดูกรสุนักขัตตะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ต่อไป ฯ
พระสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรสุนักขัตตะ กามคุณนี้มี ๕
อย่างแล ๕ อย่างเป็นไฉน คือ
รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ดูกรสุนักขัตตะ นี้แลกามคุณ ๕ อย่าง ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อม
ใจไปในโลกามิส นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส
ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรมอันควรแก่
โลกามิส คบแต่คนชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใคร
พูดเรื่องเกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้
ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนคนที่จากบ้าน
หรือนิคมของตนไปนาน พบบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้จากบ้านหรือนิคมนั้นไปใหม่ๆ
ต้องถามบุรุษนั้นถึงเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความเกษม ทำมาหากินดี และมี
โรคภัยไข้เจ็บน้อย บุรุษนั้นพึงบอกเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความเกษม ทำมาหา-
*กินดี และมีโรคภัยไข้เจ็บน้อยแก่เขา ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน เขาจะพึงสนใจฟังบุรุษนั้น เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ คบบุรุษนั้น
และถึงความใฝ่ใจกับบุรุษนั้นบ้างไหมหนอ ฯ
สุ. แน่นอน พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนใน
โลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไปในโลกามิส นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล ปุริสบุคคลผู้น้อม
ใจไปในโลกามิส ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรอง
ธรรมอันควรแก่โลกามิส คบแต่คนชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น
แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ
ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น บุคคลที่
เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่า เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อม
ใจไปในอาเนญชสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปใน
อาเนญชสมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่อาเนญชสมาบัติเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อม
ตรองธรรมอันควรแก่อาเนญชสมาบัติ คบแต่คนชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจ
กับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับโลกามิส ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ย
โสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น
เปรียบเหมือนใบไม้เหลือง หลุดจากขั้วแล้ว ไม่อาจเป็นของเขียวสดได้ ฉันใด
ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในโลกามิสของปุริส-
*บุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติหลุดไปแล้ว บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบ
เถิดว่า เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ พรากแล้วจากความเกี่ยว-
*ข้องในโลกามิส ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อม
ใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไป
ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติ
เท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติ คบแต่คน
ชนิดเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับ
อาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคน
ชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนศิลาก้อน แตกออก
เป็น ๒ ซีกแล้ว ย่อมเป็นของเชื่อมกันให้สนิทไม่ได้ ฉันใด ดูกรสุนักขัตตะ
ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติของปุริสบุคคลผู้น้อม
ใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติแตกไปแล้ว บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบ
เถิดว่า เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ พรากแล้วจากความ
เกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติ ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อม
ใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล ปุริสบุคคลผู้
น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่เนวสัญญา-
*นาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมตรึก ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่เนวสัญญานาสัญญา-
*ยตนสมาบัติ คบแต่คนเช่นเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใคร
พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ
ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบ
เหมือนคนบริโภคโภชนะที่ถูกใจอิ่มหนำแล้ว พึงทิ้งเสีย ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เขาจะพึงมีความปรารถนาในภัตนั้นบ้างไหมหนอ ฯ
สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. นั่นเพราะเหตุไร ฯ
สุ. เพราะว่าภัตโน้น ตนเองรู้สึกว่า เป็นของปฏิกูลเสียแล้ว ฯ
พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในอากิญ-
*จัญญายตนสมาบัติ อันปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
คายได้แล้ว บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่า เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไป
ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ พรากแล้วจากความเกี่ยวข้องในอากิญจัญ-
*ญายตนสมาบัติ ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้น้อมใจ
ไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพาน
โดยชอบ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่นิพพานโดยชอบเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรอง
ธรรมอันควรแก่นิพพานโดยชอบ คบแต่คนเช่นเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับ
คนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อม
ไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้นและไม่ถึงความ
ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนตาลยอดด้วนไม่อาจงอกงามได้อีก ฉันใด
ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในเนวสัญญานาสัญญา-
*ยตนสมาบัติ อันปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบตัดขาดแล้ว ถอนราก
ขึ้นแล้ว ไม่มีเหตุตั้งอยู่ได้ดังต้นตาล ถึงความเป็นไปไม่ได้แล้ว มีความไม่เกิด
ต่อไปเป็นธรรมดา บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่าเป็นปุริสบุคคลผู้น้อม
ใจไปในนิพพานโดยชอบ พรากแล้วจากความเกี่ยวข้องในเนวสัญญานาสัญญา-
*ยตนสมาบัติ ฯ
ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความดำริ
อย่างนี้ว่า พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา ย่อม
งอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัด
โทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่น
เป็นฐานะที่มีได้
.ดูกรสุนักขัตตะ เราอุปมาเปรียบเทียบดังนี้ เพื่อให้รู้เนื้อความ เนื้อความ
ในอุปมานี้ คำว่าแผล เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ โทษคือพิษ เป็นชื่อของ
อวิชชา ลูกศร เป็นชื่อของตัณหา เครื่องตรวจเป็นชื่อของสติ ศาตรา เป็นชื่อของ
ปัญญาของพระอริยะ หมอผ่าตัดเป็นชื่อของตถาคตผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้เองโดย
ชอบแล้ว ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในอายตนะอันที่เป็น
กระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ
พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่
ใช่ฐานะที่มีได้ เปรียบเหมือนภาชนะมีน้ำดื่มเต็มเปี่ยม ถึงพร้อมด้วยสี ด้วยกลิ่น
ด้วยรส แต่ระคนด้วยยาพิษ เมื่อบุรุษผู้รักชีวิต ยังไม่อยากตาย ปรารถนาสุข
เกลียดทุกข์ พึงมาถึงเข้า ดูกรสุนักขัตตะ เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษ
นั้นจะพึงดื่มน้ำที่เต็มเปี่ยมภาชนะนั้น ทั้งๆ ที่รู้ว่า ดื่มแล้วจะเข้าถึงความตาย
หรือทุกข์ปางตาย บ้างไหมหนอ ฯ
สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุนั้นทำความ
สำรวมในอายตนะอันเป็นที่กระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่าอุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ จึง
เป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อย
จิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ดูกรสุนักขัตตะ เปรียบเหมือนงูพิษ มีพิษ
ร้ายแรง เมื่อบุรุษผู้รักชีวิต ยังไม่อยากตาย ปรารถนาสุข เกลียดทุกข์ พึงมา
ถึงเข้า ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงยื่นมือหรือ
หัวแม่มือให้แก่งูพิษ ที่มีพิษร้ายแรงนั้น ทั้งๆ ที่รู้ว่า ถูกงูกัดแล้ว จะเข้าถึง
ความตาย หรือทุกข์ปางตาย บ้างไหมหนอ ฯ
สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุนั้นทำ
ความสำรวมในอายตนะเป็นที่กระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์
จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ