.
.
.
.
.
.
เข้าหน้าฝนแล้ว ทุกข์อย่างหนึ่งของการอยู่อาศัยภายในบ้านก็คือสร้างบ้านแล้วหลังคารั่ว
.
จุดเสี่ยงของการรั่วของหลังคามีหลายจุด แต่วันนี้จะมาพูดถึง.. “ สันหลังคา “...ก่อนนะครับ
.
รูปแบบของหลังคาที่เมื่อก่อสร้างแล้วจะต้องมีส่วนที่เรียกว่า สันหลังคา, ( ตะเฆ่สัน ) สันตะเฆ่ ก็คือ หลังคาทรงจั่ว , หลังคาทรงปั้นหยา
.
คราวนี้มาดูกันที่กลุ่มหลังคาที่แยกออกได้อีกเป็นกลุ่ม 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มที่ใช้ครอบสันหลังคาครอบลงได้เลย กับ กลุ่มที่ต้องใช้วัสดุอุด – ปิด ประกอบในการติดตั้งครอบสันหลังคา
.
กลุ่มหลังคาที่สามารถติดตั้งครอบได้เลยโดยไม่ต้องใช้วัสดุอุด – ปิด ประกอบ ที่ชินตามากที่สุดเห็นจะเป็นกระเบื้องลอนคู่, พรีม่า, เคิฟลอน, ไตรลอน มากมายหลายชื่อตามแต่ละบริษัทจะตั้งชื่อ กระเบื้องกลุ่มนี้ผมเรียกว่ากลุ่มกระเบื้องแผ่นใหญ่ โดยแต่ละแผ่นจะมีขนาดกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาว 1.20 เมตร การติดตั้งครอบสันของหลังคากลุ่มนี้สามารถใช้สกรูขันยึดทับลงบนกระเบื้องแผ่นบนสุดได้เลย ( มีบางแบรนด์ออกแบบให้สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์ครอบระบบแห้งได้ด้วย )
.
อีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นเนื้อหาหลักของกระทู้นี้ ก็คือกลุ่มหลังคาที่ต้องใช้อุปกรณ์...”ครอบสันหลังคาแบบเปียก หรือ ครอบสันหลังคาแบบแห้ง “ ...ประกอบด้วย จึงจะสมบูรณ์และป้องกันปัญหาการรั่วซึม กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มหลังคาคอนกรีต, หลังคาเซรามิก ซึ่งขนาดจะอยู่ประมาณ 30 x 30 เซนติเมตร ชื่อเรียกกระเบื้องกลุ่มนี้ที่ติดหูกันก็มี ซีแพคโมเนีย , เพรสทีจ , นิวสไตล์ , เอ๊กเซลลาร์ , อันดามัส ตามแต่ละบริษัทจะตั้งตามวัสดุที่ใช้ผลิตและชื่อเรียกตามการตลาด
.
ถามว่าทำไมจะต้องใช้ระบบครอบเปียก – ครอบแห้ง มาใช้กับหลังคากลุ่มนี้ด้วย กลุ่มหลังกลุ่มนี้เป็นกลุ่มหลังคาที่ผมเรียกว่ากลุ่มแผ่นเล็ก ด้วยกรรมวิธีผลิตก็ดี , รูปแบบของลอนก็ดี ทำให้การออกแบบครอบสันให้วางลงบนสันหลังคาให้สนิทลงตัวเลยยาก พูดง่ายๆ ก็คือ..ตีลังกาวางยังไงๆ จะจะเกิด.... “ รู “ ... พอมันมีรู... สิ่งต่างๆ ก็สามารถเข้าไปในรูนั้นได้ และพอมันเป็นส่วนที่เจอน้ำเจอฝนเจอลม...น้ำก็จะไหลลงรู ซึ่ง...เป็นที่มาของคำว่า...” หลังคารั่ว “ ..
.
[CR] ...เจื้อยแจ้ววันจันทร์.... ครอบสันหลังคาแบบเปียก และ ครอบสันหลังคาแบบแห้ง ( ดรายเทค )
.
.
.
.
.
เข้าหน้าฝนแล้ว ทุกข์อย่างหนึ่งของการอยู่อาศัยภายในบ้านก็คือสร้างบ้านแล้วหลังคารั่ว
.
จุดเสี่ยงของการรั่วของหลังคามีหลายจุด แต่วันนี้จะมาพูดถึง.. “ สันหลังคา “...ก่อนนะครับ
.
รูปแบบของหลังคาที่เมื่อก่อสร้างแล้วจะต้องมีส่วนที่เรียกว่า สันหลังคา, ( ตะเฆ่สัน ) สันตะเฆ่ ก็คือ หลังคาทรงจั่ว , หลังคาทรงปั้นหยา
.
คราวนี้มาดูกันที่กลุ่มหลังคาที่แยกออกได้อีกเป็นกลุ่ม 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มที่ใช้ครอบสันหลังคาครอบลงได้เลย กับ กลุ่มที่ต้องใช้วัสดุอุด – ปิด ประกอบในการติดตั้งครอบสันหลังคา
.
กลุ่มหลังคาที่สามารถติดตั้งครอบได้เลยโดยไม่ต้องใช้วัสดุอุด – ปิด ประกอบ ที่ชินตามากที่สุดเห็นจะเป็นกระเบื้องลอนคู่, พรีม่า, เคิฟลอน, ไตรลอน มากมายหลายชื่อตามแต่ละบริษัทจะตั้งชื่อ กระเบื้องกลุ่มนี้ผมเรียกว่ากลุ่มกระเบื้องแผ่นใหญ่ โดยแต่ละแผ่นจะมีขนาดกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาว 1.20 เมตร การติดตั้งครอบสันของหลังคากลุ่มนี้สามารถใช้สกรูขันยึดทับลงบนกระเบื้องแผ่นบนสุดได้เลย ( มีบางแบรนด์ออกแบบให้สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์ครอบระบบแห้งได้ด้วย )
.
อีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นเนื้อหาหลักของกระทู้นี้ ก็คือกลุ่มหลังคาที่ต้องใช้อุปกรณ์...”ครอบสันหลังคาแบบเปียก หรือ ครอบสันหลังคาแบบแห้ง “ ...ประกอบด้วย จึงจะสมบูรณ์และป้องกันปัญหาการรั่วซึม กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มหลังคาคอนกรีต, หลังคาเซรามิก ซึ่งขนาดจะอยู่ประมาณ 30 x 30 เซนติเมตร ชื่อเรียกกระเบื้องกลุ่มนี้ที่ติดหูกันก็มี ซีแพคโมเนีย , เพรสทีจ , นิวสไตล์ , เอ๊กเซลลาร์ , อันดามัส ตามแต่ละบริษัทจะตั้งตามวัสดุที่ใช้ผลิตและชื่อเรียกตามการตลาด
.
ถามว่าทำไมจะต้องใช้ระบบครอบเปียก – ครอบแห้ง มาใช้กับหลังคากลุ่มนี้ด้วย กลุ่มหลังกลุ่มนี้เป็นกลุ่มหลังคาที่ผมเรียกว่ากลุ่มแผ่นเล็ก ด้วยกรรมวิธีผลิตก็ดี , รูปแบบของลอนก็ดี ทำให้การออกแบบครอบสันให้วางลงบนสันหลังคาให้สนิทลงตัวเลยยาก พูดง่ายๆ ก็คือ..ตีลังกาวางยังไงๆ จะจะเกิด.... “ รู “ ... พอมันมีรู... สิ่งต่างๆ ก็สามารถเข้าไปในรูนั้นได้ และพอมันเป็นส่วนที่เจอน้ำเจอฝนเจอลม...น้ำก็จะไหลลงรู ซึ่ง...เป็นที่มาของคำว่า...” หลังคารั่ว “ ..
.