กระทู้แรก TAG ผิดอย่าโกรธกันนะครับ tag ปัญหาชีวิตด้วยเพราะเรื่องรายได้เสริม น่าจะช่วยเป็นทางออกให้เพื่อน ๆ ได้
23/08/2558
ขอออกตัวไว้ก่อนนะครับ ที่มาที่ไปของกระทู้นี้เริ่มต้นมาจากกระผมเองก็เป็นฟรีแลนซ์อยู่ถึงจะไม่เต็มตัวก็ตาม ปัจจุบันวน ๆ เวียนอยู่กับการทำ Content Marketing, Digital Marketing หลาย ๆ คนเข้าใจว่าอาชีพนี้รายได้ดี อันนี้ผมไม่เถียงครับ แต่ด้วยความที่หนังสือเอย กระทู้ต่าง ๆ เอย กระแสสังคมในปัจจุบันที่ใคร ๆ ก็อยากที่จะเป็นนายตัวเองนั้น มันช่างรู้สึกง่ายดายและหอมหวานยิ่งนัก จนหลายคนวาดฝันไปไกลไม่ครุ่นคิดวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในสายอาชีพและรีบออกจากงานประจำ ซึ่งจะเกิดอะไรขึ้นสำหรับคนที่ไปไม่ถึงฝันครับ... ใช่แล้วครับไม่ต้องเรียนสูงก็คิดได้ว่าจะเป็นไง อีกหนึ่งเหตุผลต่อเนื่องจากกระแสนิยมนี้ที่ทำให้ผมคิดที่จะเปิดเพจขึ้นมาเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ และหนทางการสร้างรายได้ด้วยวิธีต่าง ๆ บนโลกออนไลน์นั้น คือ ผมอยากจะพูดถึงงานต่าง ๆ ออกมาทั้งข้อดี และข้อเสีย เพื่อให้ผู้อ่านได้ไตร่ตรองด้วยตนเอง ไม่ใช่อวยจนหาความเหมาะสมไม่เจอ หรือจะอวยเพื่อหวังผลทางอื่นอันนี้ก็อีกเรื่องหนึง
เอาละครับเรามาเริ่มกันเลย
ยาวหน่อยแต่ผมจะมาอัพเดทให้จนจบนะครับ ข้อความอ่านแล้วอาจจะแปลก ๆ เพราะผมจะไม่พิมพ์ใหม่นะครับ Coppy จากเพจแล้ว Past อย่างเดียว
1
อาชีพเสริม นักเขียนบทความออนไลน์
บทนำ
ก่อนที่เราจะเริ่มขีด ๆ เขียน ๆ บทความกัน ผมขอบอกเพื่อน ๆ เบื้องต้นก่อนว่าการเขียนบทความนั้นสามารถสร้างรายได้ให้เราได้จริง แต่ก็ไม่ได้มากมายนักหลอกครับหากเราแค่รับจ้างเขียนตามหัวข้อไปวัน ๆ แต่ก็ถือว่ารายได้ดีกว่างานงานพาร์ทไทม์เยอะครับ แถมต้นทุนต่ำมากแค่มี Internet กับ Computer ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องมีกันอยู่แล้ว อีกทั้งแค่นั่งทำอยู่ในห้องใช้ที่พักเป็นออฟฟิตไม่จำเป็นต้องออกไปไหน เป็นไงละครับงานสะบายแบบนี้หาได้ที่ไหน
เข้าเรื่องกันเลย เนื่องจากในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นสินค้า หรือสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ล้วนมีบทความเป็นส่วนประกอบสำคัญ ยิ่งในยุคที่ Google เข้ามามีบทบาทเป็นสื่อกลางในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ ซึ่งจากการรวบรวมสถิติของ Comscore นั้น Google มีส่วนส่วนแบ่งการตลาดมากถึง 66% ลองลงมาเป็น Yahoo กับ Bing ตามลำดับ แล้วทุกคนที่มีเว็บไซต์มีสินค้าเป็นของตัวเอง ก็ล้วนอยากนำเสนอตัวเองสู่โลกภาพนอก อยากนำเสนอสินค้าให้ผู้ที่มีความต้องการซื้อเข้าถึงได้ง่ายเพื่อเพิ่มยอดขาย หรือสร้างแบรนด์อะไรก็ว่ากันไป แต่ด้วยการแข่งขันทางการตลาดออนไลน์ที่สูง จึงเป็นที่มาของการทำ search engine Marketing(SEM) เมื่อทุกคนเริ่มหันมาทำการตลาดออนไลน์กันมากขึ้น จึงเริ่มมีกระบวนการทำ search engine optimization(SEO) ดังนั้นการทำ SEO จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญมากในปัจจุบันเพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับดี ๆ บน Google และในกระบวนการทำ SEO นั้นเครื่องมือของเราก็คือ Digital Content ซึ่งบทความก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้นเช่นกันและเป็นส่วนประกอบในหลายกระบวนการ และหลาย ๆ เทคนิคในการทำ SEO แต่ที่สำคัญมากกว่านั้นคือบทความสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายบางครั้งเราเองก็ไม่จำเป็นต้องรับจ้างเขียนบทความอย่างเดียวเสมอไปครับ ขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนเองว่าจะให้บทความมันทำอะไรให้กับเรา ผลตอบแทนบางครั้งก็อาจจะไม่ใช่ตัวเงินเสมอไป
2
อาชีพเสริม นักเขียนบทความออนไลน์
ประเภทของบทความ PART 1
ผมจะแยกประเภทของบทความตามแบบและประสบการณ์นะครับอาจจะไม่ตรงตามตำลาซะทีเดียวนะครับ อีกอย่างก็ไม่รู้จะไปหาตำราเล่มไหนมาอ้างอิงดี(ฮา...)
เริ่มกันเลย
1.บทความรีวิว
ในปัจจุบันเราเริ่มเห็นบทความประเภทนี้กันมากขึ้นโดยเฉพาะการรีวิวจากคนชอบเที่ยว ชอบกิน ชอบของใช้บางอย่างจนเข้าขันหลงไหล โดยหลายคนผันตัวมาเป็น Blogger สายรีวิวเต็มตัวจนต่อยอดสร้างรายกันไปไม่ใช่น้อย บทความรีวิวนั้น เราสามารถที่รีวิวได้ตั้งแต่ รีวิวอาหาร ที่พัก โรงแรม แหล่งท่องเที่ยว แอป โปรแกรม เกมส์ เครื่องประดับ gadget ต่าง ๆ แล้วอะไรอีกมากมายที่ผมนึกไม่ออก สุดแล้วแต่ความถนัด ความชอบกันไปเลย โดยบทความประเภทนี้หากรับจ้างเขียนก็ถือว่าราคาดีในระดับหนึงเลยทีเดียวครับ แต่หากเราชอบและรักที่จะเขียนรีวิวแล้วผมแนะนำว่าอย่าไปขายมันเลยครับเขียนเองเป็น Blogger สายรีวิวไปเลยครับ
*** สอบถามเพิ่มเติมทาง inbox ได้นะครับ เนื่องจากผมไม่ได้ขยายความการเป็นนักรีวิวไว้เดี๊ยวมันจะยาว แต่ในอนาคตจะเขียนมาให้อ่านกันแน่นอนครับ
3
อาชีพเสริม นักเขียนบทความออนไลน์
ประเภทของบทความ PART 2
บทความประเภทที่ให้ความรู้
บทความประเภทนี้โดยเนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไปที่เข้าใจไม่ยากส่วนใหญ่ก็เรื่องใกล้ ๆ ตัวนี่ละครับ ไม่เจาะจงเนื้อหาไปในทางวิชาการ จุดสำคัญอยู่ตรงที่การให้ข้อมูล และเนื้อหาสาระสำคัญที่ถูกต้องแก่ผู้อ่าน เพราะหากเขียนมาแบบมั่วนิ่มแล้ว คนจะไม่กลับมาอ่านอีกแน่นอนครับ และยิ่งหากใช้บทความในเชิง Content Marketing แล้ว มันจะส่งผลเสียมากว่าผลดีแน่นอน ดังนั้นอย่าเอาแต่ก้มหน้าก้มตาเขียนโดยใช้มโมของตัวเอง ควรที่จะหาข้อมูลอ้างอิงเปรียบเทียบความถูกต้องและอัพเดทเนื้อหาให้เหมาะสมกับยุคสมัยอีกด้วย จะมีอยู่อีกกรณีหากเราทำบทความเพื่อนำไปขึ้นเว็บปั่น(*) บทความจะถูกเขียนขึ้นอย่างหยาบ ๆ แต่จะเน้นเขียนให้ถูกหลัก SEO เพื่อเน้นผลในการติดอันดับดี ๆ บน Google เป็นหลัก เว็บลักษณะนี้มาไวไปไว โดนปิดไปก็เปิดเว็บใหม่ขึ้นมาแทน (สำหรับเว็บปั่น และบทความสำหรับเว็บประเภทนี้จะมาขยายความให้ได้ทำความเข้าใจกันในบทความต่อ ๆ ไปนะครับ) แต่โดยความเห็นส่วนตัวแล้วผมไม่แนะนำให้เน้นไปที่บทความปั่นเว็บสักเท่าไหร่ เพราะบทความพวกนี้จะขึ้นไปเป็นขยะบนโลกออนไลน์ บ่อยครั้งที่ให้ข้อมูลผิดจนสร้างความเข้าใจที่ผิดต่อผู้อ่านตามมา อีกทั้งราคาบทความปั่นมีราคาถูกถึงถูกมากแถมตัวผู้เขียนเองก็ไม่มีโอกาศพัฒนาทักษะการเขียนของตัวเอง ซึ่งในระยะยาวจะเป็นผลเสียในสายอาชีพนี้เลยก็ว่าได้ครับ
*เว็บปั่น เป็นเว็บประเภทที่ไม่เน้นคุณภาพของเนื้อหาแต่เน้นอันดับที่ดีบน search engine แล้วคุณภาพก็ไม่เน้นแล้วจะเอาอันดับดี ๆ ไปทำละ แน่นอนครับเมื่อก่อนผมก็สงสัย คือเว็บแนวนี้เค้าแข่งกันที่ Keyword ของสินค้า หรืออะไรก็ได้ที่เทรนกำลังมาแรง ๆ จึงต้องรีบสร้างเว็บให้ติดอันดับไว ๆ เพื่อที่จะนำเสนอสินค้าให้คนเข้ามาเลือกซื้อ หรือถ้าเป็น tag อะไรฮิต ๆ เค้าก็เอาไว้เพื่อให้เว็บได้ยอดวิวสูงเพื่อขายโฆษณาครับ
**ตอบคำถาม
จริง ๆ ยังไม่มีใครถามหลอกครับแต่คาดว่าคงมีคนเอะใจบ้างละน่า คำถามคือ เมื่อเว็บปั่นไม่เน้นคุณภาพ แต่ดันจะขายของ แล้วความน่าเชื่อถืออยู่ตรงไหนคนจะกล้าซื้อสินค้าได้ยังไง สำหรับคำถามนี้คำตอบก็จะไปเกี่ยวกับเรื่องของ Sale page ครับ ไว้โอกาสหน้าผมจะมาชี้แจงแถลงไข ให้ได้ทำความเข้าใจถึงแนวคิด กระบวนการ วิธีการ ในการทำ Sale page ให้เพื่อน ๆ อ่านกันนะครับ ผมโน๊ตไว้แล้วไม่ลืมแน่นอนครับ ^ ^
4
อาชีพเสริม นักเขียนบทความออนไลน์
ประเภทของบทความ PART 3
บทความทางเทคนิค และบทความที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะทาง
บทความประเภทนี้หานักเขียนยากครับ จำเป็นต้องใช้นักเขียนที่มีความรู้เฉพาะทางจริง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง แถมราคาต่อบทความถือว่าดีมาก ๆ ตัวอย่างบทความเฉพาะทางก็ เช่น เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล, เทคโนโลยีใยแก้วนำแสง, ระบบเซ็นเซอร์บันทึกภาพ, ระบบควบคุมการบิน, ระบบเครือข่ายไร้สาย เป็นต้น หากสำหรับบางคนที่มีความรู้รอบตัวเยอะอาจบอกว่า แค่นี้หาอ่านก่อนเขียนก็ได้นี่นา ผมบอกได้เลยครับ คุณจะได้บทความรีไรท์มาหนึ่งบทถ้วนเพราะมันแค่เปลี่ยนวิธีการนำเสนอ หากลูกค้าไม่คาดหวังมากก็ดีไปดังนั้นก่อนตกลงรับงานคุยกันให้เคลียนะครับ แต่สำหรับนักเขียนที่มีความรู้เฉพาะทางจริง ๆ เค้าจะได้บทความที่ตรงตามหลักการ รวมไปถึงการใส่ความเห็น ตัวอย่าง ข้อดี ข้อเสีย ที่มาที่ไปของสิ่งที่เค้าเขียน ดังนั้นผลลัพธ์ของบทความที่ได้ต่างกันมากนะครับ ประสบการณ์ส่วนตัวที่ผมเคยเจอคือ กำลังหาข้อมูลอ้างอิงเพื่อนำมาเขียนบทความเฉพาะทาง ผมก็ไปเจอบทความเรื่องเดียวกันกับที่ผมจะเขียนแต่พออ่านแล้วปรากฏว่า บทความนั้นได้สร้างความเข้าใจผิดต่อผู้อ่านอย่างไม่น่าให้อภัย ศัพท์ทางเทคนิคหลายคำถูกนำไปใช้ผิดประเด็น ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าผู้เขียนไม่ได้มีความรู้ในเรื่องที่เขียน หรืออีกประเด็นบทความนั้นอาจจะเป็นงานแปลซึ่งผู้แปลไม่ได้มีความรู้ในสิ่งที่แปลอีกเช่นกัน ดังนั้นนักแปลเองก็ต้องมีความเข้าใจในสิ่งที่แปลด้วยจะเป็นการดีนะครับ
*บ่อยครั้งที่ผมเองเจอนักเขียนบทความ หรือผู้มีความรู้เฉพาะทาง สร้างกลุ่มของตัวเอง สร้าง Content ของตัวเองจนประสบความสําเร็จ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางไหนก็ตามถ้าเพื่อน ๆ ทำได้ทำเลยครับ ดีกว่าไปรับจ้างเขียน เพราะนั่นไม่ใช่แค่การขายความรู้ที่เรามี แต่หมายถึงเราได้ขายลายเซ็นต์ของเราให้คนอื่นไปด้วย ความเป็น Unique ของเราก็จะหายไปเช่นกัน หากเพื่อน ๆ ท่านใดที่คิดว่าตัวเองมีของดีอยู่กับตัวแต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ผมยินดีเป็นที่ปรึกษาให้นะครับ เพราะเพจนี้ผมตั้งขึ้นมาเพื่อการนี้อยู่แล้ว ถ้าผมหวงความรู้และประสบการณ์ที่มีก็คงไม่มาเสียเวลานั่งทำอะไรแบบนี้เหมือนกัน ^ ^ แต่ครั้นจะมารอบทความจากผม ก็ไม่รู้เมื่อไหร่จะตรงประเด็นที่ต้องการ
DD/MM/YYYY
5
http://ppantip.com/topic/34104518 ฟรีแลนซ์ยุคใหม่ กับ อาชีพอิสระ ที่สร้างรายได้ได้จริง ตอนที่ 2
ที่มา PAGE "Freelance & Digital Marketing"
บทความอื่น ๆ
ฟรีแลนซ์ ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ!
http://ppantip.com/topic/34139710
ฟรีแลนซ์ยุคใหม่ กับ อาชีพอิสระ ที่สร้างรายได้ได้จริง ตอนที่ 1 Article writer นักเขียนบทความออนไลน์
23/08/2558
ขอออกตัวไว้ก่อนนะครับ ที่มาที่ไปของกระทู้นี้เริ่มต้นมาจากกระผมเองก็เป็นฟรีแลนซ์อยู่ถึงจะไม่เต็มตัวก็ตาม ปัจจุบันวน ๆ เวียนอยู่กับการทำ Content Marketing, Digital Marketing หลาย ๆ คนเข้าใจว่าอาชีพนี้รายได้ดี อันนี้ผมไม่เถียงครับ แต่ด้วยความที่หนังสือเอย กระทู้ต่าง ๆ เอย กระแสสังคมในปัจจุบันที่ใคร ๆ ก็อยากที่จะเป็นนายตัวเองนั้น มันช่างรู้สึกง่ายดายและหอมหวานยิ่งนัก จนหลายคนวาดฝันไปไกลไม่ครุ่นคิดวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในสายอาชีพและรีบออกจากงานประจำ ซึ่งจะเกิดอะไรขึ้นสำหรับคนที่ไปไม่ถึงฝันครับ... ใช่แล้วครับไม่ต้องเรียนสูงก็คิดได้ว่าจะเป็นไง อีกหนึ่งเหตุผลต่อเนื่องจากกระแสนิยมนี้ที่ทำให้ผมคิดที่จะเปิดเพจขึ้นมาเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ และหนทางการสร้างรายได้ด้วยวิธีต่าง ๆ บนโลกออนไลน์นั้น คือ ผมอยากจะพูดถึงงานต่าง ๆ ออกมาทั้งข้อดี และข้อเสีย เพื่อให้ผู้อ่านได้ไตร่ตรองด้วยตนเอง ไม่ใช่อวยจนหาความเหมาะสมไม่เจอ หรือจะอวยเพื่อหวังผลทางอื่นอันนี้ก็อีกเรื่องหนึง
เอาละครับเรามาเริ่มกันเลย
ยาวหน่อยแต่ผมจะมาอัพเดทให้จนจบนะครับ ข้อความอ่านแล้วอาจจะแปลก ๆ เพราะผมจะไม่พิมพ์ใหม่นะครับ Coppy จากเพจแล้ว Past อย่างเดียว
1
อาชีพเสริม นักเขียนบทความออนไลน์
บทนำ
ก่อนที่เราจะเริ่มขีด ๆ เขียน ๆ บทความกัน ผมขอบอกเพื่อน ๆ เบื้องต้นก่อนว่าการเขียนบทความนั้นสามารถสร้างรายได้ให้เราได้จริง แต่ก็ไม่ได้มากมายนักหลอกครับหากเราแค่รับจ้างเขียนตามหัวข้อไปวัน ๆ แต่ก็ถือว่ารายได้ดีกว่างานงานพาร์ทไทม์เยอะครับ แถมต้นทุนต่ำมากแค่มี Internet กับ Computer ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องมีกันอยู่แล้ว อีกทั้งแค่นั่งทำอยู่ในห้องใช้ที่พักเป็นออฟฟิตไม่จำเป็นต้องออกไปไหน เป็นไงละครับงานสะบายแบบนี้หาได้ที่ไหน
เข้าเรื่องกันเลย เนื่องจากในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นสินค้า หรือสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ล้วนมีบทความเป็นส่วนประกอบสำคัญ ยิ่งในยุคที่ Google เข้ามามีบทบาทเป็นสื่อกลางในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ ซึ่งจากการรวบรวมสถิติของ Comscore นั้น Google มีส่วนส่วนแบ่งการตลาดมากถึง 66% ลองลงมาเป็น Yahoo กับ Bing ตามลำดับ แล้วทุกคนที่มีเว็บไซต์มีสินค้าเป็นของตัวเอง ก็ล้วนอยากนำเสนอตัวเองสู่โลกภาพนอก อยากนำเสนอสินค้าให้ผู้ที่มีความต้องการซื้อเข้าถึงได้ง่ายเพื่อเพิ่มยอดขาย หรือสร้างแบรนด์อะไรก็ว่ากันไป แต่ด้วยการแข่งขันทางการตลาดออนไลน์ที่สูง จึงเป็นที่มาของการทำ search engine Marketing(SEM) เมื่อทุกคนเริ่มหันมาทำการตลาดออนไลน์กันมากขึ้น จึงเริ่มมีกระบวนการทำ search engine optimization(SEO) ดังนั้นการทำ SEO จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญมากในปัจจุบันเพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับดี ๆ บน Google และในกระบวนการทำ SEO นั้นเครื่องมือของเราก็คือ Digital Content ซึ่งบทความก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้นเช่นกันและเป็นส่วนประกอบในหลายกระบวนการ และหลาย ๆ เทคนิคในการทำ SEO แต่ที่สำคัญมากกว่านั้นคือบทความสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายบางครั้งเราเองก็ไม่จำเป็นต้องรับจ้างเขียนบทความอย่างเดียวเสมอไปครับ ขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนเองว่าจะให้บทความมันทำอะไรให้กับเรา ผลตอบแทนบางครั้งก็อาจจะไม่ใช่ตัวเงินเสมอไป
2
อาชีพเสริม นักเขียนบทความออนไลน์
ประเภทของบทความ PART 1
ผมจะแยกประเภทของบทความตามแบบและประสบการณ์นะครับอาจจะไม่ตรงตามตำลาซะทีเดียวนะครับ อีกอย่างก็ไม่รู้จะไปหาตำราเล่มไหนมาอ้างอิงดี(ฮา...)
เริ่มกันเลย
1.บทความรีวิว
ในปัจจุบันเราเริ่มเห็นบทความประเภทนี้กันมากขึ้นโดยเฉพาะการรีวิวจากคนชอบเที่ยว ชอบกิน ชอบของใช้บางอย่างจนเข้าขันหลงไหล โดยหลายคนผันตัวมาเป็น Blogger สายรีวิวเต็มตัวจนต่อยอดสร้างรายกันไปไม่ใช่น้อย บทความรีวิวนั้น เราสามารถที่รีวิวได้ตั้งแต่ รีวิวอาหาร ที่พัก โรงแรม แหล่งท่องเที่ยว แอป โปรแกรม เกมส์ เครื่องประดับ gadget ต่าง ๆ แล้วอะไรอีกมากมายที่ผมนึกไม่ออก สุดแล้วแต่ความถนัด ความชอบกันไปเลย โดยบทความประเภทนี้หากรับจ้างเขียนก็ถือว่าราคาดีในระดับหนึงเลยทีเดียวครับ แต่หากเราชอบและรักที่จะเขียนรีวิวแล้วผมแนะนำว่าอย่าไปขายมันเลยครับเขียนเองเป็น Blogger สายรีวิวไปเลยครับ
*** สอบถามเพิ่มเติมทาง inbox ได้นะครับ เนื่องจากผมไม่ได้ขยายความการเป็นนักรีวิวไว้เดี๊ยวมันจะยาว แต่ในอนาคตจะเขียนมาให้อ่านกันแน่นอนครับ
3
อาชีพเสริม นักเขียนบทความออนไลน์
ประเภทของบทความ PART 2
บทความประเภทที่ให้ความรู้
บทความประเภทนี้โดยเนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไปที่เข้าใจไม่ยากส่วนใหญ่ก็เรื่องใกล้ ๆ ตัวนี่ละครับ ไม่เจาะจงเนื้อหาไปในทางวิชาการ จุดสำคัญอยู่ตรงที่การให้ข้อมูล และเนื้อหาสาระสำคัญที่ถูกต้องแก่ผู้อ่าน เพราะหากเขียนมาแบบมั่วนิ่มแล้ว คนจะไม่กลับมาอ่านอีกแน่นอนครับ และยิ่งหากใช้บทความในเชิง Content Marketing แล้ว มันจะส่งผลเสียมากว่าผลดีแน่นอน ดังนั้นอย่าเอาแต่ก้มหน้าก้มตาเขียนโดยใช้มโมของตัวเอง ควรที่จะหาข้อมูลอ้างอิงเปรียบเทียบความถูกต้องและอัพเดทเนื้อหาให้เหมาะสมกับยุคสมัยอีกด้วย จะมีอยู่อีกกรณีหากเราทำบทความเพื่อนำไปขึ้นเว็บปั่น(*) บทความจะถูกเขียนขึ้นอย่างหยาบ ๆ แต่จะเน้นเขียนให้ถูกหลัก SEO เพื่อเน้นผลในการติดอันดับดี ๆ บน Google เป็นหลัก เว็บลักษณะนี้มาไวไปไว โดนปิดไปก็เปิดเว็บใหม่ขึ้นมาแทน (สำหรับเว็บปั่น และบทความสำหรับเว็บประเภทนี้จะมาขยายความให้ได้ทำความเข้าใจกันในบทความต่อ ๆ ไปนะครับ) แต่โดยความเห็นส่วนตัวแล้วผมไม่แนะนำให้เน้นไปที่บทความปั่นเว็บสักเท่าไหร่ เพราะบทความพวกนี้จะขึ้นไปเป็นขยะบนโลกออนไลน์ บ่อยครั้งที่ให้ข้อมูลผิดจนสร้างความเข้าใจที่ผิดต่อผู้อ่านตามมา อีกทั้งราคาบทความปั่นมีราคาถูกถึงถูกมากแถมตัวผู้เขียนเองก็ไม่มีโอกาศพัฒนาทักษะการเขียนของตัวเอง ซึ่งในระยะยาวจะเป็นผลเสียในสายอาชีพนี้เลยก็ว่าได้ครับ
*เว็บปั่น เป็นเว็บประเภทที่ไม่เน้นคุณภาพของเนื้อหาแต่เน้นอันดับที่ดีบน search engine แล้วคุณภาพก็ไม่เน้นแล้วจะเอาอันดับดี ๆ ไปทำละ แน่นอนครับเมื่อก่อนผมก็สงสัย คือเว็บแนวนี้เค้าแข่งกันที่ Keyword ของสินค้า หรืออะไรก็ได้ที่เทรนกำลังมาแรง ๆ จึงต้องรีบสร้างเว็บให้ติดอันดับไว ๆ เพื่อที่จะนำเสนอสินค้าให้คนเข้ามาเลือกซื้อ หรือถ้าเป็น tag อะไรฮิต ๆ เค้าก็เอาไว้เพื่อให้เว็บได้ยอดวิวสูงเพื่อขายโฆษณาครับ
**ตอบคำถาม
จริง ๆ ยังไม่มีใครถามหลอกครับแต่คาดว่าคงมีคนเอะใจบ้างละน่า คำถามคือ เมื่อเว็บปั่นไม่เน้นคุณภาพ แต่ดันจะขายของ แล้วความน่าเชื่อถืออยู่ตรงไหนคนจะกล้าซื้อสินค้าได้ยังไง สำหรับคำถามนี้คำตอบก็จะไปเกี่ยวกับเรื่องของ Sale page ครับ ไว้โอกาสหน้าผมจะมาชี้แจงแถลงไข ให้ได้ทำความเข้าใจถึงแนวคิด กระบวนการ วิธีการ ในการทำ Sale page ให้เพื่อน ๆ อ่านกันนะครับ ผมโน๊ตไว้แล้วไม่ลืมแน่นอนครับ ^ ^
4
อาชีพเสริม นักเขียนบทความออนไลน์
ประเภทของบทความ PART 3
บทความทางเทคนิค และบทความที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะทาง
บทความประเภทนี้หานักเขียนยากครับ จำเป็นต้องใช้นักเขียนที่มีความรู้เฉพาะทางจริง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง แถมราคาต่อบทความถือว่าดีมาก ๆ ตัวอย่างบทความเฉพาะทางก็ เช่น เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล, เทคโนโลยีใยแก้วนำแสง, ระบบเซ็นเซอร์บันทึกภาพ, ระบบควบคุมการบิน, ระบบเครือข่ายไร้สาย เป็นต้น หากสำหรับบางคนที่มีความรู้รอบตัวเยอะอาจบอกว่า แค่นี้หาอ่านก่อนเขียนก็ได้นี่นา ผมบอกได้เลยครับ คุณจะได้บทความรีไรท์มาหนึ่งบทถ้วนเพราะมันแค่เปลี่ยนวิธีการนำเสนอ หากลูกค้าไม่คาดหวังมากก็ดีไปดังนั้นก่อนตกลงรับงานคุยกันให้เคลียนะครับ แต่สำหรับนักเขียนที่มีความรู้เฉพาะทางจริง ๆ เค้าจะได้บทความที่ตรงตามหลักการ รวมไปถึงการใส่ความเห็น ตัวอย่าง ข้อดี ข้อเสีย ที่มาที่ไปของสิ่งที่เค้าเขียน ดังนั้นผลลัพธ์ของบทความที่ได้ต่างกันมากนะครับ ประสบการณ์ส่วนตัวที่ผมเคยเจอคือ กำลังหาข้อมูลอ้างอิงเพื่อนำมาเขียนบทความเฉพาะทาง ผมก็ไปเจอบทความเรื่องเดียวกันกับที่ผมจะเขียนแต่พออ่านแล้วปรากฏว่า บทความนั้นได้สร้างความเข้าใจผิดต่อผู้อ่านอย่างไม่น่าให้อภัย ศัพท์ทางเทคนิคหลายคำถูกนำไปใช้ผิดประเด็น ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าผู้เขียนไม่ได้มีความรู้ในเรื่องที่เขียน หรืออีกประเด็นบทความนั้นอาจจะเป็นงานแปลซึ่งผู้แปลไม่ได้มีความรู้ในสิ่งที่แปลอีกเช่นกัน ดังนั้นนักแปลเองก็ต้องมีความเข้าใจในสิ่งที่แปลด้วยจะเป็นการดีนะครับ
*บ่อยครั้งที่ผมเองเจอนักเขียนบทความ หรือผู้มีความรู้เฉพาะทาง สร้างกลุ่มของตัวเอง สร้าง Content ของตัวเองจนประสบความสําเร็จ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางไหนก็ตามถ้าเพื่อน ๆ ทำได้ทำเลยครับ ดีกว่าไปรับจ้างเขียน เพราะนั่นไม่ใช่แค่การขายความรู้ที่เรามี แต่หมายถึงเราได้ขายลายเซ็นต์ของเราให้คนอื่นไปด้วย ความเป็น Unique ของเราก็จะหายไปเช่นกัน หากเพื่อน ๆ ท่านใดที่คิดว่าตัวเองมีของดีอยู่กับตัวแต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ผมยินดีเป็นที่ปรึกษาให้นะครับ เพราะเพจนี้ผมตั้งขึ้นมาเพื่อการนี้อยู่แล้ว ถ้าผมหวงความรู้และประสบการณ์ที่มีก็คงไม่มาเสียเวลานั่งทำอะไรแบบนี้เหมือนกัน ^ ^ แต่ครั้นจะมารอบทความจากผม ก็ไม่รู้เมื่อไหร่จะตรงประเด็นที่ต้องการ
DD/MM/YYYY
5
http://ppantip.com/topic/34104518 ฟรีแลนซ์ยุคใหม่ กับ อาชีพอิสระ ที่สร้างรายได้ได้จริง ตอนที่ 2
ที่มา PAGE "Freelance & Digital Marketing"
บทความอื่น ๆ
ฟรีแลนซ์ ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ! http://ppantip.com/topic/34139710