[CR] คนธรรมดาๆกลายเป็นตำนานได้ใน2วัน1คืนที่ "เขาช้างเผือก" จ.กาญจนบุรี

สวัสดีค่าาาาาาาาาา เพื่อนรักนักเดินทางทุกคน หลายคนอาจจะเคยเห็นกระทู้นี้มาแล้วว ต้องบอกก่อนว่าเราเอามาทำใหม่ค่ะ ตอนแรกใช้แอคเคาท์พันทิปของเพื่อน แต่ตอนนี้ใช้ของตัวเองแล้ว จะได้ตอบคอมเม้นต์ได้สะดวกขึ้นเนอะะะ นี่เป็นกระทู้แรกของเราค่ะ หวังว่าจะโดนใจใครหลายๆคน ฝากด้วยนะคะ :-3



“เขาช้างเผือกแมร่ง…โคตรน่า(ไป)อ่ะ” เราเปิดหัวข้อสนทนากับเพื่อนระหว่างอยู่บนรถจากเชียงใหม่ไปอุดรเพื่อจะต่อไปวังเวียง(ลาว)
“เห็นในกระทู้ช่ะ กูอยากไปมากกกกกก ต้องไปอ่ะ”
“ไปกะกูป่ะล่ะ” “เออออออ เอาป่ะล่ะ!”
“สองคนป่ะล่ะ!!(จะเสียงดังใส่กันทำไม)”
“เชี่ยยยยย แต่มันเปิดให้ขึ้นเป็นช่วงอ่ะ น่าจะถึงกุมภา”
“เออไว้ว่ากัน แต่ไปกับกูนะ สองคนก็ไปนะ”
“เออออออออไปปปปปปป” จากนั้นก็จบบทสนทนาด้วยการจับมือจับไม้สัญญากัน เหมือนจะคูลนะ แต่ไม่ …เป็นการสร้างข้อตกลงสุดมึน โดยที่ไม่ได้มีข้อมูลอะไรเล้ยยยยยยยย นอกจากการเห็นรูปในรีวิว555555555 เราว่าหลายคนก็คงเป็นแบบเราแหละ เคยอ่านรีวิวหรือเคยเห็นรูปพีคๆบนเขาช้างเผือกแล้วรู้สึกว่าต้องไปโดนให้ได้ จำไว้พวกนาย ไม่มีรูปไหนสวยเท่าของจริงที่เราได้เห็นด้วยตาของตัวเองเพราะฉะนั้น ไปโดนเขาช้างเผือกซะ แล้วนายจะกลายเป็นตำนาน



แล้วหายนะก็เกิดขึ้น เมื่อเราและเพื่อน เมื่อรู้ว่าเหลืออีกแค่ 3อาทิตย์เขาก็จะปิดไม่ให้ขึ้นแล้ว
อันนี้เป็นสิ่งที่ถ้าใครอยากจะไปเขาช้างเผือกต้องเช็คก่อนเลยว่าแต่ละปีเขาเปิดให้ขึ้นเดือนไหนบ้าง ไม่ใช่ไปเมื่อไหร่ก็น้า ไม่ใช่เซเว่นน้า รู้ป่าว ปกติแล้วเขาจะเปิดช่วงสิ้นปีถึงต้นปีของปีถัดไป อย่างปีที่เราไปเขาเปิดให้ขึ้นต้นเดือนพฤศจิกายน(2557)ถึงปลายมกราคม(2558)
และถ้าจะไปต้องโทรไปจองล่วงหน้า7วันพอดี ไม่ขาดไม่เกิน ที่ต้องโทรจองเพราะว่าที่นี่เขาจำกัดจำนวนให้คนขึ้นไปได้วันละไม่เกิน60คน
ยิ่งช่วงที่เราไปเป็นช่วงโค้งสุดท้ายแล้วด้วย คนยิ่งแย่งกันเข้าไปใหญ่ พอตกลงกับเพื่อนเรื่องวันอะไรเสร็จเราก็โทรเลย มีสามเบอร์โทรสามเบอร์ค่ะ (03-453-2114, 03-451-0979, 081-382-0359) พอโทรติด เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าเต็มแล้ว วันต่อไปโทรไปอีกเกือบสองร้อยสาย ไม่ติดเลยค่ะ คือคนอยากไปเยอะมาก เราเลยเปลี่ยนใจไปสัปดาห์ถัดไปแต่ก็ยังโทรไม่ติดเหมือนเดิม สุดท้ายได้ไปวันที่30มกรา เป็นวันรองสุดท้ายที่เขาเปิดให้ขึ้นค่ะ

หลังจากการจองทางโทรศัพท์แล้วก็ต้องส่งข้อมูลส่วนตัว อย่างชื่อ-นามสกุล รหัสบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่ ให้กับทางอุทยานฯผ่านทางอีเมลค่ะ จากนั้นทางอุทยานฯจะให้ข้อมูลที่เราควรรู้เกี่ยวกับการไปช้างเผือก แต่เราก็ต้องศึกษาหาข้อมูลเองด้วยนะวัยรุ่น เตรียมตัวให้พร้อม ขึ้นเขานี่ไม่ง่ายเลย ให้เขาขึ้นอ่ะง่ายกว่า…หลอกกกกกกกกกกก ตื่นเต้นๆๆๆๆๆ จะได้ไปแล้ววววววววว



สิ่งแรกที่ต้องรู้เลยคือ เขาช้างเผือกอยู่ไหน และจะไปเขาช้างเผือกยังไง…
เขาช้างเผือกเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
ระยะทางจากกรุงเทพไปประมาณ400กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง5-6ชั่วโมง
ถ้าใครมีใจรักความเร็วหน่อยก็สัก4ชั่วโมงได้ แนะนำให้ไปโดยรถส่วนตัวจะสะดวกที่สุดโดยระยะทางจากอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรีไป อำเภอทองผาภูมิ ประมาณ175กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินสาย323 และระยะทางจากอำเภอทองผาภูมิไปหมู่บ้านปิล๊อกอีกแค่60กิโลเมตรค่ะ หมู่บ้านปิล๊อกหรือหมู่บ้านอิต่องจะเป็นจุดstartของการพิชิตยอดเขาครั้งนี้ แต่ก่อนจะถึงหมู่บ้าน เราต้องแวะที่อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิก่อน เพื่อรับรู้เงื่อนไขและค่าใช้จ่ายต่างๆค่ะ

ค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียแน่ๆเลย คือ
- ค่าขึ้นเขาช้างเผือกคนละ30บาท
- ค่าเช่าเต็นท์กับถุงนอน30บาท
- ค่าเอารถเข้าอุทยาน40บาท
- ค่าเจ้าหน้าที่นำทาง1,200บาท (เจ้าหน้าที่1คนนำทางได้มากสุด10คน)
- ค่าอาหาร (แล้วแต่เรา) และ
- ค่าจ้างลูกหาบ ให้แบกสัมภาระให้เรา(2วัน1คืน) ราคา 1,100บาท (ลูกหาบหนึ่งคนแบกได้20-30กิโลกรัม) คนที่ร่างกายแข็งแรงแบกของเองได้ก็ไม่ต้องจ้างลูกหาบก็ได้ค่ะ ประหยัดไปได้เยอะอยู่ แต่เรางี้ไม่ไหว555555555 พูดตรงๆ ให้เขาหาบแหละดีแล้ว เราขอพกติดตัวแค่ของจำเป็น อย่างน้ำ อาหารกลางวัน กล้อง และโทรศัพท์ค่ะ... ความจริงก่อนจะไปเราก็อ่านหลายรีวิว บางคนก็ใช้เงินไปแค่800บาท บางคน1,000บาท บางคน1,200บาท เอาเป็นว่ามันรวมๆแล้วประมาณนี้ แต่ยิ่งไปกันหลายคนจะยิ่งประหยัดค่าใช้จ่ายได้



แนะนำว่าก่อนออกเดินทางให้กินข้าวอะไรให้อิ่ม ในหมู่บ้านปิล๊อกเนี่ยแหละมีทั้งร้านข้าว ร้านกาแฟ จัดการซื้อเสบียงให้เรียบร้อย เพราะขึ้นไปแล้วต้องใช้พลังงานเยอะมากจริงๆ เหงื่อนี่ชุ่มค่ะ แต่งตัวคูลไปยังไงสุดท้ายก็ชุ่มค่ะ เพราะฉะนั้นใส่สิ่งที่สบายที่สุดเพื่อความแห้งของร่างกายตัวเองค่ะ เชื่อเรา หลังจากนั้นเราจะไปพบกับพี่ๆเจ้าหน้าที่และแก๊งลูกหาบได้ที่ร้านขายของขนาดใหญ่ มีอยู่ร้านเดียวค่ะ เพราะร้านอื่นจะขนาดเล็ก เหมือนจะตลก แต่มันคือเรื่องจริง55555555 ร้านนี้ไม่มีชื่อร้านค่ะแต่ทุกคนจะมารวมพลกันตรงนี้ ขาดเหลืออะไรก็ซื้อได้ที่ร้านนี้ได้เลย ลูกหาบจะขึ้นไปบนเขาตั้งแต่ได้สัมภาระของเราครบ เขาจะนำไปก่อนเลย แล้วเราก็จะไปพร้อมกับเจ้าหน้าที่นำทางตอน8โมงเช้า(บางกลุ่มสายหน่อยก็9โมง)




ทางจากหมู่บ้านไปจุดพักแรก ยังไม่มีอะไรมากค่ะ ยังชิลอยู่ พื้นราบปกติ มีร่องบ้างมีนูนบ้างเป็นธรรมดาของพื้นในป่า แต่สิ่งที่เรารับรู้ได้ตั้งแต่ช่วงแรกเลยคือแดดค่ะ แดดมันเป็นแดดจริงๆ คือร้อนมาก... เขาช้างเผือกถ้าไปต้นฤดูอากาศจะหนาวและภูเขาก็จะเป็นสีเขียวขจี ส่วนช่วงปลายฤดูที่เราไปก็จะร้อนแบบนี้และภูเขาก็จะเป็นสีเหลืองทองอร่าม แต่ถึงจะร้อนยังไงเราก็ยังแนะนำให้ใส่ขายาว เพราะมันจะช่วยป้องกันรอยขีดข่วนได้ ยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆทางจะยากขึ้น แต่วิวก็จะสวยขึ้นเรื่อยๆด้วยค่ะ ตอนเดินก็จะเจอคนที่ขึ้นเขาเมื่อวานกำลังลงจากเขาค่ะ เดินสวนปุ๊ป “สู้ๆนะน้อง” “ไปให้ถึงนะคะ” “นี่ยังสวยไม่ถึง5%ของข้างบนเลยครับ” แหมะ พวกนายจะคูลกันไปไหน เดี๋ยวพรุ่งนี้จะขอพูดอะไรคูลๆแบบนี้มั่งคอยดู… หลังจากผ่านจุดแรกที่ต้องใช้เชือกพยุงตัวขึ้นมาได้ เราก็จะถึง “จุดพักต้นส้าน”ค่ะ สวยงามใช้ได้ มองลงไปเห็นหมู่บ้านปิล๊อกล้อมด้วยหุบเขา นั่งพักกันสักหน่อยแล้วเดี๋ยวลุยกันต่อ





ทุ่งหญ้า พุ่มไม้ ต้นไม้ ดอกหญ้า ทุกอย่างลงตัวอย่างกับมีคนสร้างที่นี่ไว้ ตลอดเส้นทางคือสวยมากกกกกกกกกกกก และมันจะสวยขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะช่วง 1.5กิโลเมตรสุดท้ายค่ะ เพราะฉะนั้นระหว่างทางอย่าถ่ายรูปเพลินจนแบตกล้องหรือแบตโทรศัทพ์หมด เดี๋ยวจะไม่มีเอาไว้ถ่ายตอนพีค อย่าลืมนะว่าข้างบนนั้นมีน้ำไม่มีไฟฟ้าใดๆทั้งสิ้น อยากชาร์ทแบตต้องเอาพาวเวอร์แบงค์ขึ้นไปค่ะ

หลังจากเดิน ปีน ไต่กันอยู่นาน พวกเราก็พักกินข้าวกลางวันกันที่ “จุดพักดงไผ่” ตอนประมาณ11โมงเกือบเที่ยง ทุกคนกินข้าวหมดเกลี้ยง ไม่แปลกใจเลยเพราะมันเหนื่อยเอาเรื่องอยู่ ยิ่งเดินยิ่งคิดว่าพวกลูกหาบนี่เป็นเขามหัศจรรย์จริงว่ะ เดินได้ไงทุกวันๆ ของที่แบกก็ใหญ่กว่าตัวคนแบกอีก “อย่างน้อยก็เหลืออีกแค่ครึ่งทางก่อนถึงจุดกางเต็นท์ เอาหน่อยเว่ยสาวน้อย สู้หน่อยเว่ย ดูดิ๊คนวัย30กว่า40เขาเดินเอาเดินเอา จะมานั่งหลบแดดนอนตีพุงไม่ได้หน่า อายเขาหน่า”

เดินต่อกันอีกหน่อยก็จะถึง “เขาช้างน้อย” เขาลูกเล็กๆที่ปกคลุมไปด้วยหญ้าสีเหลืองทอง คือสวยจริงอ่ะจำได้ขึ้นตาขึ้นใจ สีเหลืองของหญ้ามันตัดกับสีฟ้าของท้องฟ้าและสีน้ำเงินของภูเขาลูกไกลๆได้แบบดีงามมาก อยากจะนอนทิ้งตัวลงไปบนหญ้า แต่เกรงว่าถ้าทิ้งลงไปมันจะไม่ลุกขึ้นมาแล้ว55555555 เอาเป็นว่าตั้งแต่เขาช้างน้อยไปเนี่ยเริ่มพีคขึ้นเรื่อยๆละ รอชมแล้วกันค่ะ






ข้ามเขาช้างน้อยมาอีกหน่อย ลงจากภูเขาสุดชันอีกลูก เท่านี้ก็มาถึงจุดกางเต็นท์กันแล้วววววววว ถึงประมาณบ่ายสามโมงค่ะ ระยะทางจากจุดเริ่มต้นมาตรงนี้ประมาณ7-8กิโลเมตร ใช้เวลา4-6ชั่วโมงแล้วแต่คนค่ะ แต่ย้ำว่าไม่ต้องรีบ เน้นความปลอดภัยกันดีกว่า เดี๋ยวเป็นไรมาจะไม่สนุกเอา พอมาถึงจุดกางเต็นท์ให้รีบจับจองทำเลที่ตั้งของเต๊นท์ตัวเองค่ะ ถ้าได้ที่ต่ำจะดีมากเพราะตอนกลางคืนจะมีลมเข้าเต๊นท์ทำให้ไม่ร้อน ส่วนห้องน้ำจะมีอยู่สองห้องค่ะ แต่คนไม่ค่อยใช้กันเนื่องจากกลิ่นอยู่ในเลเวลที่จมูกมนุษย์เกินจะรับไหว555555555555 เพราะเป็นห้องน้ำที่ไม่มีระบบประปาใดๆ เป็นหลุมที่ขุดลงไปบนพื้นดินค่ะถ้าคุณเป็นผู้หญิงเราแนะนำให้คุณสร้างห้องน้ำของตัวเองได้ โดยการให้เพื่อนๆของคุณช่วยกำบัง หลังจากนั้นต้องรอเวลา4โมงเย็น เจ้าหน้าที่จะนำทางคุณขึ้นไปพิชิตยอดเขาช้างเผือกใน 1.5กิโลเมตรสุดท้ายค่ะ ถึงจะเป็นระยะทางที่สั้น แต่เรามั่นใจมากๆว่าใครได้สัมผัส1.5กิโลเมตรนี้ก็คงพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า…“ไอเชี่ยยยยยยยย โคตรหวาดเสียวเลย ขอลงไปรอที่เต๊นท์ได้ป่าว”... จะบ้าหรอ!55555555555555



จากจุดกางเต็นท์ ไต่ขึ้นไปอีกหน่อย ก็จะถึง “สันคมมีด” จุดที่เป็นแลนมาร์คของเขาช้างเผือกค่ะทุกคน สันคมมีดเป็นส่วนของสันเขาที่เกิดจากกองหินแคบๆเรียงต่อกัน ปีนได้ทีละคน ใครก็หันมาช่วยใครไม่ได้ ไหนจะความชันประมาณ70กว่าองศา 2ข้างของสันคมมีดก็เป็นเหว มองลงไปแล้วหวาดเสียวจริงๆค่ะ เรานี่หายใจเข้า ทำใจก่อนปีนเหมือนกัน เพราะถึงจะมีพี่เจ้าหน้าที่คอยช่วยจับช่วยดู แต่คนที่ต้องปีนมันคือเราค่ะ ใจมันต้องได้ก่อน ตอนนี้แหละที่เราเข้าใจความหมายเพลงๆนึงของหินเหล็กไฟ…“ใจสู้รึเปล่า ไหวมั้ยบอกมา โอกาสของผู้กล้า ศรัทธาไม่มีท้อ”…เราเห็นหลายคนถอดใจกันตรงนี้ บอกเลยว่าถ้าใครจะไปอย่าถอดใจตรงนี้นะอีกนิดเดียวก็ถึงแล้ว เอาชนะใจตัวเองหน่อยๆๆๆ สิ่งที่จะได้เห็นข้างบนมันคุ้มค่าจริงๆค่ะ เชื่อเรา
ชื่อสินค้า:   เขาช้างเผือก อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่