มีข่าวดีมาบอก ใครอยากมีเงินใช้หลังเกษียณทุกเดือนฟังทางนี้ค่ะ สำหรับคนที่ทำอาชีพอิสระทั่วไปและไม่ได้อยู่ในกองทุนตามกฎหมายอื่นที่ได้รับเงินสมทบจากรัฐหรือนายจ้าง รวมถึงไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญภาครัฐหรือเอกชนแล้วล่ะก็ รัฐบาลได้จัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันให้กับชีวิตในยามเกษียณ โดยสมาชิกกองทุนฯ จะได้รับบำนาญเป็นรายเดือนไว้ใช้ตอนเกษียณ ซึ่งรายละเอียดจะเป็นอย่างไร และกองทุนฯ ที่ว่านี้แตกต่างจากกองทุนประกันสังคมมาตรา 40 อย่างไรบ้างนั้น K-Expert ได้รวบรวมมาฝากดังนี้ค่ะ
กองทุนการออมแห่งชาติคืออะไร กองทุนการออมแห่งชาติเป็นกองทุนการออมเพื่อวัยเกษียณซึ่งส่งเสริมให้คนที่ไม่ได้อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญได้สร้างหลักประกันหลังเกษียณของตัวเองขึ้นมานั่นเอง
เราต้องจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนฯ เท่าไหร่ และรัฐบาลจ่ายเงินสมทบให้เท่าไหร่ สมาชิกกองทุนฯ จ่ายเงินสะสมไม่ต่ำกว่า 50 บาทต่อเดือนและไม่เกิน 13,200 บาทต่อปีค่ะ ขอบอกว่าเงื่อนไขการออมเงินมีความยืดหยุ่นมากเลยทีเดียว คือไม่จำเป็นต้องฝากเงินสะสมทุกเดือนและไม่จำเป็นต้องฝากเงินจำนวนเท่ากันทุกเดือนอีกด้วย ถ้าปีไหนเราส่งเงินสะสมไม่ไหว ก็จะไม่ได้รับเงินสมทบจากรัฐในปีนั้น แต่ยังคงสิทธิการเป็นสมาชิกและคงบัญชีรายบุคคลไว้เหมือนเดิม สำหรับการจ่ายเงินสมทบนั้น รัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบให้ตามระดับอายุของสมาชิกและเป็นอัตราส่วนกับจำนวนเงินสะสมค่ะ คือ
อายุ 15-30 ปี รัฐจ่ายให้ 50% ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 600 บาทต่อปี
อายุ 31-50 ปี รัฐจ่ายให้ 80% ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 960 บาทต่อปี
อายุ 51-60 ปี รัฐจ่ายให้ 100% ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 1,200 บาทต่อปี
แอบกระซิบนิดนึงว่า ถ้าเริ่มออมเร็ว เงินบำนาญที่จะได้รับก็จะสูงตามไปด้วยค่ะ
สมาชิกกองทุนฯ จะได้รับเงินเมื่อไหร่ ตอบให้เลยว่าเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ค่ะ โดยจะได้รับเป็นบำนาญรายเดือนตลอดชีวิต แต่หากทุพพลภาพก่อนอายุ 60 ปีล่ะก็ จะได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสม ส่วนเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจะได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปีแล้วค่ะ ถ้าลาออกจากกองทุนฯ จะได้รับเฉพาะเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมเท่านั้น และหากเสียชีวิต ผู้ที่สมาชิกแจ้งชื่อไว้กับกองทุนฯ หรือทายาทจะได้รับเงินก้อนเท่ากับจำนวนเงินในบัญชี
ใครสามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนฯ ได้บ้าง และสมัครอย่างไร ผู้สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนฯ ต้องมีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ค่ะ ซึ่งเฉพาะปีแรกที่ พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้จะให้สิทธิกับคนที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปสามารถสมัครเป็นสมาชิกได้ด้วยค่ะ นอกจากนี้ ผู้สมัครต้องไม่อยู่ในกองทุนตามกฎหมายอื่นที่ได้รับเงินสมทบจากรัฐหรือนายจ้างและไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญภาครัฐหรือเอกชนค่ะ ใครสนใจสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคมนี้เป็นต้นไป โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
http://www.fpo.go.th ได้เลยค่ะ
สำหรับคนที่ทำอาชีพอิสระทั่วไป และยังไม่มีหลักประกันใดๆ ให้กับชีวิตหลังจากเกษียณอายุไปแล้ว ลองพิจารณาแหล่งออมเงินเพื่อเกษียณตามที่แนะนำดูนะคะ นอกจากนี้ แนะนำให้เก็บออมเงินเพื่อเกษียณเพิ่มเติมจากแหล่งออมเงินของภาครัฐ และนำไปลงทุนสร้างผลตอบแทนตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีเงินพอใช้ในยามเกษียณ ไม่เป็นภาระของลูกหลาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ในช่วงบั้นปลายชีวิตของเราค่ะ
อ่านเพิ่มเติมเรื่องอยากเกษียณ ได้ที่
http://k-expert.askkbank.com/Pages/Need-based13.aspx
กอช. แหล่งออมเงินเพื่อเกษียณของคนทำอาชีพอิสระ
มีข่าวดีมาบอก ใครอยากมีเงินใช้หลังเกษียณทุกเดือนฟังทางนี้ค่ะ สำหรับคนที่ทำอาชีพอิสระทั่วไปและไม่ได้อยู่ในกองทุนตามกฎหมายอื่นที่ได้รับเงินสมทบจากรัฐหรือนายจ้าง รวมถึงไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญภาครัฐหรือเอกชนแล้วล่ะก็ รัฐบาลได้จัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันให้กับชีวิตในยามเกษียณ โดยสมาชิกกองทุนฯ จะได้รับบำนาญเป็นรายเดือนไว้ใช้ตอนเกษียณ ซึ่งรายละเอียดจะเป็นอย่างไร และกองทุนฯ ที่ว่านี้แตกต่างจากกองทุนประกันสังคมมาตรา 40 อย่างไรบ้างนั้น K-Expert ได้รวบรวมมาฝากดังนี้ค่ะ
กองทุนการออมแห่งชาติคืออะไร กองทุนการออมแห่งชาติเป็นกองทุนการออมเพื่อวัยเกษียณซึ่งส่งเสริมให้คนที่ไม่ได้อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญได้สร้างหลักประกันหลังเกษียณของตัวเองขึ้นมานั่นเอง
เราต้องจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนฯ เท่าไหร่ และรัฐบาลจ่ายเงินสมทบให้เท่าไหร่ สมาชิกกองทุนฯ จ่ายเงินสะสมไม่ต่ำกว่า 50 บาทต่อเดือนและไม่เกิน 13,200 บาทต่อปีค่ะ ขอบอกว่าเงื่อนไขการออมเงินมีความยืดหยุ่นมากเลยทีเดียว คือไม่จำเป็นต้องฝากเงินสะสมทุกเดือนและไม่จำเป็นต้องฝากเงินจำนวนเท่ากันทุกเดือนอีกด้วย ถ้าปีไหนเราส่งเงินสะสมไม่ไหว ก็จะไม่ได้รับเงินสมทบจากรัฐในปีนั้น แต่ยังคงสิทธิการเป็นสมาชิกและคงบัญชีรายบุคคลไว้เหมือนเดิม สำหรับการจ่ายเงินสมทบนั้น รัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบให้ตามระดับอายุของสมาชิกและเป็นอัตราส่วนกับจำนวนเงินสะสมค่ะ คือ
อายุ 15-30 ปี รัฐจ่ายให้ 50% ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 600 บาทต่อปี
อายุ 31-50 ปี รัฐจ่ายให้ 80% ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 960 บาทต่อปี
อายุ 51-60 ปี รัฐจ่ายให้ 100% ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 1,200 บาทต่อปี
แอบกระซิบนิดนึงว่า ถ้าเริ่มออมเร็ว เงินบำนาญที่จะได้รับก็จะสูงตามไปด้วยค่ะ
สมาชิกกองทุนฯ จะได้รับเงินเมื่อไหร่ ตอบให้เลยว่าเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ค่ะ โดยจะได้รับเป็นบำนาญรายเดือนตลอดชีวิต แต่หากทุพพลภาพก่อนอายุ 60 ปีล่ะก็ จะได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสม ส่วนเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจะได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปีแล้วค่ะ ถ้าลาออกจากกองทุนฯ จะได้รับเฉพาะเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมเท่านั้น และหากเสียชีวิต ผู้ที่สมาชิกแจ้งชื่อไว้กับกองทุนฯ หรือทายาทจะได้รับเงินก้อนเท่ากับจำนวนเงินในบัญชี
ใครสามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนฯ ได้บ้าง และสมัครอย่างไร ผู้สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนฯ ต้องมีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ค่ะ ซึ่งเฉพาะปีแรกที่ พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้จะให้สิทธิกับคนที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปสามารถสมัครเป็นสมาชิกได้ด้วยค่ะ นอกจากนี้ ผู้สมัครต้องไม่อยู่ในกองทุนตามกฎหมายอื่นที่ได้รับเงินสมทบจากรัฐหรือนายจ้างและไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญภาครัฐหรือเอกชนค่ะ ใครสนใจสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคมนี้เป็นต้นไป โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง http://www.fpo.go.th ได้เลยค่ะ
สำหรับคนที่ทำอาชีพอิสระทั่วไป และยังไม่มีหลักประกันใดๆ ให้กับชีวิตหลังจากเกษียณอายุไปแล้ว ลองพิจารณาแหล่งออมเงินเพื่อเกษียณตามที่แนะนำดูนะคะ นอกจากนี้ แนะนำให้เก็บออมเงินเพื่อเกษียณเพิ่มเติมจากแหล่งออมเงินของภาครัฐ และนำไปลงทุนสร้างผลตอบแทนตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีเงินพอใช้ในยามเกษียณ ไม่เป็นภาระของลูกหลาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ในช่วงบั้นปลายชีวิตของเราค่ะ
อ่านเพิ่มเติมเรื่องอยากเกษียณ ได้ที่ http://k-expert.askkbank.com/Pages/Need-based13.aspx