ตามเอกสารการปรับแก้แบบเรือสำหรับโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูงของกองทัพเรือไทย
ซึ่งโครงการเรือฟริเกตระยะที่๑ เป็นการสั่งต่อเรือฟริเกตแบบ DW3000H ลำแรกของชุดโดยอู่บริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering (DSME) สาธารณรัฐเกาหลี
(โครงการเรือฟริเกตระยะที่๒ จะเป็นการถ่ายทอด Technology เพื่อต่อเรือลำที่สองเองภายในประเทศไทย)
จากการแก้ระยะเวลาการส่งมอบเรือจาก ๑,๘๐๐วัน เป็น ๑,๘๖๐วันนั้น การยืดระยะเวลาการส่งมอบเรือไปอีก ๖๐วัน หรือราว ๒เดือนก็ไม่ถือว่าล่าช้ามากนักครับ
โดยรายละเอียดการแก้ไขตัวเรือฟริเกตใหม่นี้หลักๆคือการยืดความยาวตัวเรือส่วนดาดฟ้าท้ายเรือให้ยาวขึ้น
ตรงนี้ก็มีข้อสังเกตุครับว่าเรือฟริเกตใหม่นี้อาจจะรองรับเฮลิคอปเตอร์ขนาด ฮ.ปด.๑ S-70B ได้ ซึ่งก็มีกระแสข่าวออกมาว่ากองทัพเรืออาจจะมีแผนจัดหาเฮลิคอปเตอร์ MH-60R ใหม่เป็น ฮ.ประจำเรือฟริเกตใหม่ชุดนี้ราว ๒ลำ
ถ้าจะมีการจัดหา MH-60R มาเป็น ฮ.ประจำเรือฟริเกตใหม่นี้จริง ก็เข้าใจว่าน่าจะอยู่ในโครงการจัดหา ฮ.ประจำเรือฟริเกตที่เดิมมีความต้องการจัดหา ๔เครื่อง เพื่อเสริม ฮ.ตผ.๑ Super Lynx 300
ที่ถูกพักโครงการไว้เพราะต้องนำงบประมาณมาใช้ในโครงการจัดหาหลักๆที่สำคัญกว่าก่อน (ก็เคยมีข่าวออกมาก่อนว่าจีนเสนอ ฮ.Z-9EC รุ่นใช้งานทางทะเล ๔เครื่องให้กองทัพเรือ โดยมีราคาที่ถูกกว่า ฮ.ตะวันตก)
แต่มีสงสัยอยู่ว่าถ้ากองทัพเรือต้องการจะจัดหา MH-60R ใหม่จริงจะตั้งโครงการได้ในเร็วๆนี้หรือไม่
เพราะถ้าไม่นับโครงการจัดหา ฮ.EC645 T2 ๕เครื่องแล้ว กองทัพเรือยังมีโครงการจัดยุทโธปกรณ์ที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากอีกหลายโครงการ เช่นโครงการจัดหารเรือดำน้ำเป็นต้นครับ
อีกส่วนคือ
การย้ายและปรับปรุงตำแหน่งอาวุธรองและอุปกรณ์ประจำตัวเรือ
โดยระบบหลักคือ Phalanx CIWS นั้นจะย้ายจากหัวเรือตำแหน่งดาดฟ้ายกหน้าสะพานตัวเรือหลังปืนใหญ่เรือ 76/62 ที่มีการวิเคราะห์จากแบบจำลองสามมิติว่าตำแหน่งไม่ค่อยเหมาะนัก
ไปอยู่หลังคาโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ระหว่างปืนใหญ่กล MSI DS30MR ท้ายเรือ
และย้ายระบบเสาอากาศดาวเทียม VSAT จากท้ายเรือช่วงหลังคาโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ ไปกลางเรือหลังปล่องปล่องท่อไอเสีย
นอกนั้นคือการปรับความสูงของปล่องท่อไอเสีย ความสูงฐาน Radar ตรวจการณ์ SAAB AMB-ER, ระบบ Radar ควบคุมการยิง CEROS 200 ระบบควบคุมการยิง EO EOS 500 (ที่ระบุว่า CEROS 500 น่าจะพิมพ์ผิด)
ตำแหน่งปืนใหญ่กล MSI DS30MR, ปืนกลหนัก .50 และเป้าลวงมีการปรับย้ายเล็กน้อยครับ
อย่างไรก็ตามส่วนตัวไม่มั่นใจนักครับว่าการปรับแบบเรือฟริเกตใหม่จะมีการเพิ่มแท่นยิง VLS จากแบบจำลองเรือเดิมที่มี Mk41 8-cell หนึ่งระบบหรือไม่
เพราะพื้นฐานต้นแบบของแบบเรือ DSME DW3000H นั้นคือเรือพิฆาต KDX-I ชั้น Gwanggaeto the Great กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี ก็ติดตั้งแท่นยิง Mk48 VLS สำหรับ RIM-7 Sea Sparrow ระบบเดียวเท่านั้น
ตรงนี้จึงไม่ค่อยแน่ใจว่าพื้นที่ดาดฟ้ายกหน้าสะพานเดินเรือจะมีพื้นที่เพียงพอสำหรับแท่นยิง VLS เพิ่มเติมอีกระบบหรือไม่ เพราะอาจจะมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ภายในของแบบตัวเรือ
แต่ถ้าสามารถติดตั้ง Mk41 8-cell ได้เพิ่มเป็นสองระบบจริงก็น่าจะเป็นเรื่องดีครับ หรือถ้าเป็น K-VLS อีกระบบคู่กับ Mk41 ก็ไม่ทราบว่าเกาหลีใต้จะส่งออกระบบ VLS ที่ตนพัฒนาเองนี้ให้ต่างประเทศด้วยหรือไม่ครับ
(แตเท่าที่ดูจากภาพส่วนตัวเข้าใจว่าแท่นยิง Mk41 VLS น่าจะมีเพียงหนึ่งระบบ 8-Cell เท่าเดิม)
แต่น่าเสียดายที่ว่าภาพถ่ายแบบจำลองเรือฟริเกตใหม่ที่มีการปรับปรุงแก้แบบเรือที่มีภาพเผยแพร่ออกมาล่าสุดนั้น
ภาพถูกถ่ายในสภาพแสงน้อยทำให้มี Noise ในภาพสูง รายละเอียดของภาพจึงลดลงไปมากจนมองรายละเอียดย่อยๆได้ไม่ชัดเจนนัก
ไม่ใจว่าในงาน Defense & Security 2015 ที่จะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ ทาง DSME จะนำแบบจำลองเรือฟริเกตของไทยที่ปรับแก้แบบเรือใหม่แล้วมาแสดงหรือไม่
ซึ่งถ้ามีการนำแบบจำลองเรือใหม่มาจัดแสดงในงานก็คงจะมีภาพถ่ายที่เจาะมุมมองและมีความคมชัดมากกว่านี้ครับ
แบบจำลองเรือที่ปรับปรุงใหม่ของโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูงกองทัพเรือไทย
ซึ่งโครงการเรือฟริเกตระยะที่๑ เป็นการสั่งต่อเรือฟริเกตแบบ DW3000H ลำแรกของชุดโดยอู่บริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering (DSME) สาธารณรัฐเกาหลี
(โครงการเรือฟริเกตระยะที่๒ จะเป็นการถ่ายทอด Technology เพื่อต่อเรือลำที่สองเองภายในประเทศไทย)
จากการแก้ระยะเวลาการส่งมอบเรือจาก ๑,๘๐๐วัน เป็น ๑,๘๖๐วันนั้น การยืดระยะเวลาการส่งมอบเรือไปอีก ๖๐วัน หรือราว ๒เดือนก็ไม่ถือว่าล่าช้ามากนักครับ
โดยรายละเอียดการแก้ไขตัวเรือฟริเกตใหม่นี้หลักๆคือการยืดความยาวตัวเรือส่วนดาดฟ้าท้ายเรือให้ยาวขึ้น
ตรงนี้ก็มีข้อสังเกตุครับว่าเรือฟริเกตใหม่นี้อาจจะรองรับเฮลิคอปเตอร์ขนาด ฮ.ปด.๑ S-70B ได้ ซึ่งก็มีกระแสข่าวออกมาว่ากองทัพเรืออาจจะมีแผนจัดหาเฮลิคอปเตอร์ MH-60R ใหม่เป็น ฮ.ประจำเรือฟริเกตใหม่ชุดนี้ราว ๒ลำ
ถ้าจะมีการจัดหา MH-60R มาเป็น ฮ.ประจำเรือฟริเกตใหม่นี้จริง ก็เข้าใจว่าน่าจะอยู่ในโครงการจัดหา ฮ.ประจำเรือฟริเกตที่เดิมมีความต้องการจัดหา ๔เครื่อง เพื่อเสริม ฮ.ตผ.๑ Super Lynx 300
ที่ถูกพักโครงการไว้เพราะต้องนำงบประมาณมาใช้ในโครงการจัดหาหลักๆที่สำคัญกว่าก่อน (ก็เคยมีข่าวออกมาก่อนว่าจีนเสนอ ฮ.Z-9EC รุ่นใช้งานทางทะเล ๔เครื่องให้กองทัพเรือ โดยมีราคาที่ถูกกว่า ฮ.ตะวันตก)
แต่มีสงสัยอยู่ว่าถ้ากองทัพเรือต้องการจะจัดหา MH-60R ใหม่จริงจะตั้งโครงการได้ในเร็วๆนี้หรือไม่
เพราะถ้าไม่นับโครงการจัดหา ฮ.EC645 T2 ๕เครื่องแล้ว กองทัพเรือยังมีโครงการจัดยุทโธปกรณ์ที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากอีกหลายโครงการ เช่นโครงการจัดหารเรือดำน้ำเป็นต้นครับ
อีกส่วนคือการย้ายและปรับปรุงตำแหน่งอาวุธรองและอุปกรณ์ประจำตัวเรือ
โดยระบบหลักคือ Phalanx CIWS นั้นจะย้ายจากหัวเรือตำแหน่งดาดฟ้ายกหน้าสะพานตัวเรือหลังปืนใหญ่เรือ 76/62 ที่มีการวิเคราะห์จากแบบจำลองสามมิติว่าตำแหน่งไม่ค่อยเหมาะนัก
ไปอยู่หลังคาโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ระหว่างปืนใหญ่กล MSI DS30MR ท้ายเรือ
และย้ายระบบเสาอากาศดาวเทียม VSAT จากท้ายเรือช่วงหลังคาโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ ไปกลางเรือหลังปล่องปล่องท่อไอเสีย
นอกนั้นคือการปรับความสูงของปล่องท่อไอเสีย ความสูงฐาน Radar ตรวจการณ์ SAAB AMB-ER, ระบบ Radar ควบคุมการยิง CEROS 200 ระบบควบคุมการยิง EO EOS 500 (ที่ระบุว่า CEROS 500 น่าจะพิมพ์ผิด)
ตำแหน่งปืนใหญ่กล MSI DS30MR, ปืนกลหนัก .50 และเป้าลวงมีการปรับย้ายเล็กน้อยครับ
อย่างไรก็ตามส่วนตัวไม่มั่นใจนักครับว่าการปรับแบบเรือฟริเกตใหม่จะมีการเพิ่มแท่นยิง VLS จากแบบจำลองเรือเดิมที่มี Mk41 8-cell หนึ่งระบบหรือไม่
เพราะพื้นฐานต้นแบบของแบบเรือ DSME DW3000H นั้นคือเรือพิฆาต KDX-I ชั้น Gwanggaeto the Great กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี ก็ติดตั้งแท่นยิง Mk48 VLS สำหรับ RIM-7 Sea Sparrow ระบบเดียวเท่านั้น
ตรงนี้จึงไม่ค่อยแน่ใจว่าพื้นที่ดาดฟ้ายกหน้าสะพานเดินเรือจะมีพื้นที่เพียงพอสำหรับแท่นยิง VLS เพิ่มเติมอีกระบบหรือไม่ เพราะอาจจะมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ภายในของแบบตัวเรือ
แต่ถ้าสามารถติดตั้ง Mk41 8-cell ได้เพิ่มเป็นสองระบบจริงก็น่าจะเป็นเรื่องดีครับ หรือถ้าเป็น K-VLS อีกระบบคู่กับ Mk41 ก็ไม่ทราบว่าเกาหลีใต้จะส่งออกระบบ VLS ที่ตนพัฒนาเองนี้ให้ต่างประเทศด้วยหรือไม่ครับ
(แตเท่าที่ดูจากภาพส่วนตัวเข้าใจว่าแท่นยิง Mk41 VLS น่าจะมีเพียงหนึ่งระบบ 8-Cell เท่าเดิม)
แต่น่าเสียดายที่ว่าภาพถ่ายแบบจำลองเรือฟริเกตใหม่ที่มีการปรับปรุงแก้แบบเรือที่มีภาพเผยแพร่ออกมาล่าสุดนั้น
ภาพถูกถ่ายในสภาพแสงน้อยทำให้มี Noise ในภาพสูง รายละเอียดของภาพจึงลดลงไปมากจนมองรายละเอียดย่อยๆได้ไม่ชัดเจนนัก
ไม่ใจว่าในงาน Defense & Security 2015 ที่จะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ ทาง DSME จะนำแบบจำลองเรือฟริเกตของไทยที่ปรับแก้แบบเรือใหม่แล้วมาแสดงหรือไม่
ซึ่งถ้ามีการนำแบบจำลองเรือใหม่มาจัดแสดงในงานก็คงจะมีภาพถ่ายที่เจาะมุมมองและมีความคมชัดมากกว่านี้ครับ