คุณคิดว่าไง ?
สันติสุขของจว.ชายแดนภาคใต้..คือ..สันติสุขของประเทศ
คอลัมนิสต์/โดย... วสิษฐ เดชกุญชร
ผมเป็นคนอีสานโดยกำเนิด แต่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นเคยไปเรียนหนังสือที่จัง หวัดยะลา อันเป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่สุดชายแดนใต้ติดกับมาเลเซีย โรงเรียน เก่าของผมคือโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง ซึ่งเป็นโรงเรียนชั้นนำของจังหวัด ในปัจจุบัน แม้ว่าต่อมาผมจะย้ายจากยะลาไปเรียนที่อื่น แต่ชีวิตในวัยเยาว์ ของผมก็เป็นสิ่งที่ประทับใจและผมลืมไม่ลง ผมยังรู้สึกผูกพันกับเพื่อนที่ ผมพบ และยังผูกพันกับภาคใต้อยู่ ยิ่งภายหลังได้กลับไปรับราชการตำรวจ (สันติบาล) อยู่ที่สงขลาชั่วระยะเวลาหนึ่ง และได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เวลาทรงแปรพระราชฐานไปประทับที่พระตำหนักทักษิณ ราชนิเวศน์ ที่นราธิวาสตลอดเวลาประมาณ 12 ปีที่ผมเป็นนายตำรวจราช สำนักประจำด้วยแล้ว ความรู้สึกผูกพันก็ยิ่งแน่นแฟ้นมากขึ้น ไม่เคยจืดจาง ลงเลย
ความพยายามของมุสลิมบางพวกที่จะแยกจังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกไปจากราชอาณาจักรไทยนั้น มีมานานหลายสิบปีแล้ว แต่เหตุร้ายที่ เกิดจากความพยายามนั้นมีน้อย ไม่รุนแรง และไม่กระทบกระเทือนกับ ชีวิตความเป็นอยู่ของไทยพุทธ ไทยพุทธและไทยมุสลิมใกล้ชิดสนิทสนม และไปมาหาสู่กันเหมือนพี่น้อง จนกระทั่งเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วมา ในสมัยที่ (พ.ต.ท.)ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี สถานการณ์จึงทรุด และรุนแรงขึ้น รัฐบาลได้ใช้วิธีปราบปรามผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย อย่างทารุณ มีผู้เสียชีวิตเพราะการปราบปรามของเจ้าหน้าที่เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่นั้นมาจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เหมือนกับ อยู่ในภาวะสงคราม ทหาร ตำรวจและอาสาสมัครเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บไปในการปราบปรามและต่อสู้เป็นจำนวนไม่น้อย ที่น่าเสียใจก็คือราษฎรชายหญิงและเด็กซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ปราบปรามตกเป็นเหยื่อและถูกสังหารหรือ ทำร้ายด้วย
พร้อมๆกับที่ใช้กำลังปราบปรามผู้ก่อการร้าย รัฐบาลได้พยายามจะนำ สันติสุขคืนมาสู่จังหวัดชายแดนด้วยการดำเนินโครงการหลายโครงการที่ไม่เกี่ยวกับการปราบปราม โครงการหนึ่งที่น่าสนใจคือ “โครงการสร้างคน สร้างงานสร้างสันติสุข” ของศูนย์อำนวยการบริหารงานจังหวัดชายแดน ภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่ว่าน่าสนใจก็เพราะว่าเป็นโครงการที่มิใช่ของรัฐฝ่ายเดียว แต่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน คือกลุ่มบริษัทในเครือซัมมิทซึ่งคน ไทย (ตระกูล “จุฬางกูร”) เป็นเจ้าของ กลุ่มบริษัทนี้ประกอบธุรกิจหลาย อย่าง เช่น ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อสังหาริมทรัพย์ โรงแรม อพาร์ทเมนต์ โกดัง โรงงานให้เช่า ธุรกิจการเงิน พัฒนาการศึกษา เป็นต้น นอกจากนั้น เครือซัมมิทยังร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติเช่น ญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกา กว่า 30 บริษัท มีจำนวนพนักงานประมาณ 20,000 คน ที่สำคัญก็คือกลุ่มบริษัท เครือซัมมิทมีโรงเรียนนานาชาติ และศูนย์วิจัยและพัฒนา (Research and Development Centre) ซึ่งเน้นการพัฒนาแรงงานด้วย
โครงการสร้างคนสร้างงานสร้างสันติสุขที่บริษัทในเครือซัมมิทร่วม ดำเนินการกับ ศอ.บต.นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างอาชีพให้แก่นักศึกษาและ ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะปรากฏว่ามีคนว่างงานเป็น จำนวนมาก เนื่องจากผู้ประกอบการเลิกหรือหยุดการผลิตเพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัย ยังผลให้เศรษฐกิจของจังหวัดชายแดนภาคใต้ตกต่ำ ศอ.บต. และซัมมิทจึงมีแผนที่จะส่งนักศึกษาและประชาชนไปรับการอบรมหลัก สูตรอุตสาหกรรมยานยนต์ในแขนงวิชา (1) ช่างเชื่อม (2) ช่างกลึง (3) โปรแกรมเมอร์ โดยเฉพาะสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้โดยเฉพาะในการควบ คุมงานอุตสาหกรรม หรือที่เรียกว่า Programmable Logic Controller (PLC) (4) ช่างแม่พิมพ์ และ (5) วิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์
เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่แล้ว ศอ.บต.ได้ส่งคณะเจ้าหน้าที่ไปดูงาน ด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ของเครือซัมมิทที่จังหวัดระยอง โดยมีอาจารย์ โรงเรียนพระดาบศอันเป็นโรงเรียนฝึกอาชีพที่ตั้งขึ้นตามพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวร่วมไปด้วย คณะเจ้าหน้าที่ชุดนี้จะเป็นผู้ พัฒนาหลักสูตรการอบรมเพื่อให้ตรงกับความต้องการของภาคเอกชน และ ในชั้นต้นนี้เครือซัมมิทจะรับผู้ที่ ศอ.บต.คัดเลือกจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ 9 คนที่ผ่านการอบรมแล้วไว้ทำงานในบริษัทของเครือซัมมิท
การร่วมมือระหว่าง ศอ.บต.กับเครือซัมมิทนี้ เป็นตัวอย่างของการ ร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชนเพื่อแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะนำไปสู่การลดปัญหาความรุนแรง แก้ปัญหาเศรษฐกิจ และนำไปสู่สันติสุข ในที่สุด.
สันติสุขของพื้นที่ 3จ.ชายแดนภาคใต้..คือ..สันติสุขของประเทศไทยจริงหรือ ?
สันติสุขของจว.ชายแดนภาคใต้..คือ..สันติสุขของประเทศ
คอลัมนิสต์/โดย... วสิษฐ เดชกุญชร
ผมเป็นคนอีสานโดยกำเนิด แต่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นเคยไปเรียนหนังสือที่จัง หวัดยะลา อันเป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่สุดชายแดนใต้ติดกับมาเลเซีย โรงเรียน เก่าของผมคือโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง ซึ่งเป็นโรงเรียนชั้นนำของจังหวัด ในปัจจุบัน แม้ว่าต่อมาผมจะย้ายจากยะลาไปเรียนที่อื่น แต่ชีวิตในวัยเยาว์ ของผมก็เป็นสิ่งที่ประทับใจและผมลืมไม่ลง ผมยังรู้สึกผูกพันกับเพื่อนที่ ผมพบ และยังผูกพันกับภาคใต้อยู่ ยิ่งภายหลังได้กลับไปรับราชการตำรวจ (สันติบาล) อยู่ที่สงขลาชั่วระยะเวลาหนึ่ง และได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เวลาทรงแปรพระราชฐานไปประทับที่พระตำหนักทักษิณ ราชนิเวศน์ ที่นราธิวาสตลอดเวลาประมาณ 12 ปีที่ผมเป็นนายตำรวจราช สำนักประจำด้วยแล้ว ความรู้สึกผูกพันก็ยิ่งแน่นแฟ้นมากขึ้น ไม่เคยจืดจาง ลงเลย
ความพยายามของมุสลิมบางพวกที่จะแยกจังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกไปจากราชอาณาจักรไทยนั้น มีมานานหลายสิบปีแล้ว แต่เหตุร้ายที่ เกิดจากความพยายามนั้นมีน้อย ไม่รุนแรง และไม่กระทบกระเทือนกับ ชีวิตความเป็นอยู่ของไทยพุทธ ไทยพุทธและไทยมุสลิมใกล้ชิดสนิทสนม และไปมาหาสู่กันเหมือนพี่น้อง จนกระทั่งเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วมา ในสมัยที่ (พ.ต.ท.)ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี สถานการณ์จึงทรุด และรุนแรงขึ้น รัฐบาลได้ใช้วิธีปราบปรามผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย อย่างทารุณ มีผู้เสียชีวิตเพราะการปราบปรามของเจ้าหน้าที่เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่นั้นมาจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เหมือนกับ อยู่ในภาวะสงคราม ทหาร ตำรวจและอาสาสมัครเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บไปในการปราบปรามและต่อสู้เป็นจำนวนไม่น้อย ที่น่าเสียใจก็คือราษฎรชายหญิงและเด็กซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ปราบปรามตกเป็นเหยื่อและถูกสังหารหรือ ทำร้ายด้วย
พร้อมๆกับที่ใช้กำลังปราบปรามผู้ก่อการร้าย รัฐบาลได้พยายามจะนำ สันติสุขคืนมาสู่จังหวัดชายแดนด้วยการดำเนินโครงการหลายโครงการที่ไม่เกี่ยวกับการปราบปราม โครงการหนึ่งที่น่าสนใจคือ “โครงการสร้างคน สร้างงานสร้างสันติสุข” ของศูนย์อำนวยการบริหารงานจังหวัดชายแดน ภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่ว่าน่าสนใจก็เพราะว่าเป็นโครงการที่มิใช่ของรัฐฝ่ายเดียว แต่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน คือกลุ่มบริษัทในเครือซัมมิทซึ่งคน ไทย (ตระกูล “จุฬางกูร”) เป็นเจ้าของ กลุ่มบริษัทนี้ประกอบธุรกิจหลาย อย่าง เช่น ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อสังหาริมทรัพย์ โรงแรม อพาร์ทเมนต์ โกดัง โรงงานให้เช่า ธุรกิจการเงิน พัฒนาการศึกษา เป็นต้น นอกจากนั้น เครือซัมมิทยังร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติเช่น ญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกา กว่า 30 บริษัท มีจำนวนพนักงานประมาณ 20,000 คน ที่สำคัญก็คือกลุ่มบริษัท เครือซัมมิทมีโรงเรียนนานาชาติ และศูนย์วิจัยและพัฒนา (Research and Development Centre) ซึ่งเน้นการพัฒนาแรงงานด้วย
โครงการสร้างคนสร้างงานสร้างสันติสุขที่บริษัทในเครือซัมมิทร่วม ดำเนินการกับ ศอ.บต.นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างอาชีพให้แก่นักศึกษาและ ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะปรากฏว่ามีคนว่างงานเป็น จำนวนมาก เนื่องจากผู้ประกอบการเลิกหรือหยุดการผลิตเพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัย ยังผลให้เศรษฐกิจของจังหวัดชายแดนภาคใต้ตกต่ำ ศอ.บต. และซัมมิทจึงมีแผนที่จะส่งนักศึกษาและประชาชนไปรับการอบรมหลัก สูตรอุตสาหกรรมยานยนต์ในแขนงวิชา (1) ช่างเชื่อม (2) ช่างกลึง (3) โปรแกรมเมอร์ โดยเฉพาะสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้โดยเฉพาะในการควบ คุมงานอุตสาหกรรม หรือที่เรียกว่า Programmable Logic Controller (PLC) (4) ช่างแม่พิมพ์ และ (5) วิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์
เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่แล้ว ศอ.บต.ได้ส่งคณะเจ้าหน้าที่ไปดูงาน ด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ของเครือซัมมิทที่จังหวัดระยอง โดยมีอาจารย์ โรงเรียนพระดาบศอันเป็นโรงเรียนฝึกอาชีพที่ตั้งขึ้นตามพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวร่วมไปด้วย คณะเจ้าหน้าที่ชุดนี้จะเป็นผู้ พัฒนาหลักสูตรการอบรมเพื่อให้ตรงกับความต้องการของภาคเอกชน และ ในชั้นต้นนี้เครือซัมมิทจะรับผู้ที่ ศอ.บต.คัดเลือกจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ 9 คนที่ผ่านการอบรมแล้วไว้ทำงานในบริษัทของเครือซัมมิท
การร่วมมือระหว่าง ศอ.บต.กับเครือซัมมิทนี้ เป็นตัวอย่างของการ ร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชนเพื่อแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะนำไปสู่การลดปัญหาความรุนแรง แก้ปัญหาเศรษฐกิจ และนำไปสู่สันติสุข ในที่สุด.