Mosquito เครื่องบินรบจากไม้อัด ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2


de Havilland Mosquito (ENGLAND)

สุดยอดเครื่องบินแหวกแนว แต่ประสิทธิภาพเหลือล้น

เครื่องบินรบในช่วงสงครามโลกครั้งที่2นั้น ล้วนแล้วแต่ทำจากโลหะ แต่เครื่อง Mosquito นั้นทำจากไม้อัด เนื่องจากอังกฤษขาดแคลนโลหะอย่างหนักในช่วงระหว่างสงคราม จึงมีแนวคิดแปลกใหม่  โดยการนำไม้อัดมาใช้แทนโลหะที่หายาก และผลิตไม่ทัน มาทำเครื่องบินรบ ที่มีนามว่า Mosquito ยุงอันาตราย  แต่ประสิทธิของมันดีเหลือเชื่อ เพราะไม้อัดมีน้ำหนักที่ค่อนข้างเบา จึงทำให้ Mosquito บินได้เร็วมาก และเงียบมาก มันสามารถ โฉกไปยิงใครก็ได้บนพื้นดินโดยกว่าที่ข้าศึกจะรู้ตัวหรือได้ยินเสียงของมัน  ก็สายเกินไปเสียแล้ว  ด้วย 2 เครื่องยนตร์แรงสูงความเร็วของมันอยู่ที่ 318 kn 366 ไมล์ต่อชั่วโมง ส  เครื่องามารถไล่ยิงจรวด V-1 Rocket สบายๆได้เลยทีเดียว และเมื่อเสียเปรียบในการรบไม่ว่าจะกระสุนหมดหรือเจอเครื่องบินขับไล่ของข้าศึกรุ่นต่างๆที่เป็นแบบใบพัด ก็เพียงเร่งเครื่องเต็มกำลังแล้วก็บินหนีหายไป   ถึงแม้ความเร็วของเครื่อง Mosquito ในสงครามโลกครั้งที่สองจะเป็นลองเครื่องบิน Jet ไอพ่น ของกองทัพนาซีเยอรมัน  แต่เครื่องบิน Jet ของนาซีเยอรมันก็มีจำนวนน้อยมากจนไม่มีผลอะไร   และ Mosquito ยังสามารถปฎิบัติการตอนกลางคืนได้ด้วย


ไมัอัดนี่ทำมาจากไมัมะฮ็อกกานีหรือเบิร์ชซึ่งเหนียวและเบาดัดได้ไม่หัก โดยเอาแผ่นไม้บาง ๆ เอามาซ้อนกันหลายชั้นโดยให้แนวเสี้ยนของแต่ละตั้งฉากกันแลัวใช้น้ำหนักกดทับให้โดยใช้กาวเป็นตัวยึด (กาวที่ใช้ต้องทนความร้อนและความชื้นได้สูงกว่าปรกติ) เมือเอามาอัดเป็นแผ่นไม้อัดแล้วจึงเอาไปอบอีกที  แล้วเอาไปต้มในน้ำเดือด 3 ชม. แล้วนำทดสอบแรงเฉือนแรงเชือดแรงเสียดตามกระบวนการควบคุมคุณภาพ ถ้าทนได้ตามเกณฑ์กำหนดจึงนำไปตัดเป็นชิ้นส่วนประกอบเครื่องบิน

ในปี 1934 บ.เดอ ฮาวิลแลนด์( de Havilland ) ได้สร้าง บ.ไม้อัดรุ่นแรก เพื่อนำเข้าแข่งขัน บินระยะทาง 11,000 ไมล์ จากอังกฤษถึงออสเตรเลียโดยตั้งขื่อว่า โคเม็ต (Comet) และในการแข่งขันครั้งนั้น  โคเม็ต ขนะเลิศเสียด้วยต่อมา ต่อมา บ.เดอ ฮาวิลแลนด์ได้สร้าง บ.ไม้อัดขนาด 4 เครื่องยนต์ขึ้นมาเป็นรุ่นที่ 2เพื่อใช้ในการรับส่งคนโดยสารใข้ชื่อรุ่นว่า อัลบาทรอส (Albatros ) ซึ่งได้สร้างขื่อเอาไว้เป็นอันมาก

ข้อเสียคือ มันมีเกราะที่บางเอามากๆ

Credit http://youknowwar.com/
          http://www.thaifighterclub.org
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่