ครั้งแรกในกระทู้พันทิป หากผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับ
ผมได้มีโอกาสชมภาพยนตร์ไทยเรื่อง อนธการ (The Blue Hour) เมื่อวันเสาร์ที่ 8 ส.ค. 58 จากการที่เพื่อนแนะนำมา
ทราบเพียงว่าเป็นหนังเกย์ของไทย ที่เคยฉายในงานเทศกาลหนังนานาชาติเบอร์ลิน และเรื่องนี้กำลังฉายในไทยในวงจำกัด
ดูจากใบปิดหนัง เห็นชื่อหนังที่อ่านยากและไม่รู้ความหมาย ตอนซื้อตั๋วเลยตัดปัญหาเรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษ The Blue Hour ไป
ส่วนภาพเป็นเด็กหนุ่มวัยรุ่นคู่หนึ่งหันหน้าเข้าหากัน ที่ให้อารมณ์คู่จิ้นใสๆ มีชื่อนักแสดง ผู้กำกับ และโลโก้ของงานเทศกาลภาพยนตร์
ต่างประเทศ เสมือนคอยแบ็คอัพ การันตีหนังเรื่องนี้
พอได้ดูหนังรู้สึกว่าคนที่โปรโมทหนังเรื่องนี้กำลังปกปิด และเบี่ยงประเด็นหลักของหนังเรื่องนี้ อาจจะมาจากข้อกำหนดบางอย่าง หรือ
ต้องการให้เป็นหนังตลาดก็ไม่ทราบได้ จาก หนังฆาตกรรมอันโหดร้าย กลายเป็น หนังเกย์ หนังลึกลับที่โยงความเชื่อเรื่องผีเข้ามาเกี่ยวข้อง
เรื่องนี้มีการผสมผสานอารมณ์หนังหลายอย่างรวมด้วยกัน พร้อมๆ กับเล่นกับความคิดคนดูให้คิดไปต่างๆ นานา
จากคำว่ากลมกล่ม จนเกินเลยคำว่าพอดี
จุดเด่นของหนัง คือด้านภาพที่ทำออกมาได้สวย ทั้งแสง การย้อมสี มุมกล้อง และองค์ประกอบถูกจัดวางอย่างมีมิติ รวมถึงงาน production
สถานที่ถ่ายทำก็ทำออกมาได้ดี ไม่ได้ตะขวิดตะขวางใจ ซีนอารมณ์ที่ต้องการหลอนคนดูทำได้ดีเยี่ยม
จุดด้อยของหนัง คือบทที่ยังขาดปมที่น่าเชื่อถืออันเป็นแรงจูงใจสุดท้าย ผมขอไม่ลงรายละเอียดแล้วกัน บางซีนขาดความสมจริง
หากตัวละครตกอยู่ในสถานการณ์นั้นๆ เช่น ฉากจูบกันในบ่อขยะที่มีซากศพอยู่ด้วย ซึ่งในความเป็นจริงคงจะเหม็นมากจนหมดอารมณ์
หรือ ฉากที่คนไล่ยิงเด็กและเด็กเอาเหล็กเส้นฟาดชายคนนั้นดับในบ่อขยะ ซึ่งถ้าอยู่ในเหตุการณ์นั้นคงสติแตก และคงไม่สามารถ
กลับเข้าบ้านอย่างเป็นปกติเหมือนในหนัง หรือ ฉากสระน้ำร้างที่ทั้งคู่จับมือกันแล้วนอนลืมตาค้างในน้ำเพื่อดูท้องฟ้า ในความเป็นจริง
แค่ลงไปเล่นในสระที่สกปรกก็แย่แล้ว แถมให้ลืมตาเอาเชื้อโรคเข้าไปอีกคงไม่ไหว หรือ ฉากที่มีการเอาสุนัขที่บ้านที่เหมือนใกล้ตาย
มัดปากถุงไปทิ้งที่บ่อขยะ และฆ่าให้ตาย ในความเป็นจริงคิดว่าไม่ต้องฆ่าขนาดนั้นก็ได้ หรือ บทที่พยายามจะบอกว่าฆ่าคนเลวพวกนี้
ที่โกงที่ดินไป จะได้ที่ดินเรากลับคืนมา เอาที่ดินไปขายแล้วจะได้มีเงินใช้อยู่ด้วยกัน ในความเป็นจริงกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ
ต้องมีโฉนดซื้อขายทางกฎหมาย ไม่ใช่ว่าฆ่าคนที่โกงแล้วจะได้ที่ดินคืน เป็นต้น
บทที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของคู่รักเกย์ยังไม่สอดประสานกัน ยังคงรู้สึกว่าเป็นความสัมพันธ์แบบเพื่อนกันปกติธรรมดา เพียงแต่ผู้กำกับ
สั่งให้จูบ กอด หรือให้จับมือกัน เพื่อให้ตัวละครมองเป็นเกย์ไป จุดสังเกตุคือบทภาษาพูดระหว่างกัน และบทที่มีการท้าทายกันไปมา
นอกจากนี้บทและซีนอารมณ์ระหว่างแม่กับเด็กยังดูคลุมเครือ การแสดงดูแข็งไป ส่วนการตัดต่อภาพไปมาสลับเหตุการณ์ย้อนหลังกับปัจจุบัน
คนดูต้องประติดประต่อให้ดีๆ ว่าเป็นเหตุการณ์ไหน อยู่จุดไหน ส่วนนักแสดงหลัก 2 คนถือว่าพอเอาอยู่ ประคองหนังไปจนจบเรื่องได้
ดูหนังเรื่องนี้จบก็อดไม่ได้ที่จะนึกถึงข่าวฆาตกรรมจริงในหน้าหนังสือพิมพ์ นึกถึงหนังฮอลีวู๊ดที่มีบางฉากที่ให้อารณ์คล้ายๆ กัน เช่น
ฉากที่สั่นประสาทคนดูที่เชื่อมโยงถึงความเชื่อโบราณ จะนึกถึงหนังเรื่อง The Village หรือ ฉากที่เล่าเรื่องคนที่หายไป แล้วมีภาพ
เป็นเหมือนคราบตะไคร่น้ำเป็นดวงๆ จะนึกไปถึงหนังเรื่อง Kairo ผีอินเตอร์เน็ต หรือในชื่อ Pulse ที่เอามารีเมค เป็นต้น นอกจากนี้
ยังมีหลายคำถามที่ผุดขึ้นมา เช่น เราได้อะไรจากหนังเรื่องนี้? ... หนังกำลังส่งเสริมความรุนแรงหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอยู่หรือเปล่า?
เรื่องนี้ได้สอนอะไรบ้าง? คนดูจะถูกหลอกจากการโปรโมทหนังที่ดูเหมือนหนังเกย์ หนังเขย่าขวัญปกติธรรมดาเรื่องหนึ่งอยู่หรือเปล่า?
หนังมีการจัด Rating ไหม? ทำไมถึงเข้าฉายในเมืองไทยได้?
โดยสรุปแล้ว ผมว่าหนังเรื่องนี้หนักไป และถูกจัดจานวางใส่เยอะไป ควรเลือกประเด็นหลัก ประเด็นรอง และทำให้หนักแน่น ตัดทอนบางอย่าง
อาจจะลงตัว แล้วถ่ายทอดมุมนั้นออกมาได้ชัดเจนมากขึ้น เช่นในด้านของความขัดแย้งของครอบครัว ความสัมพันธ์ของคนรัก ความหมายแฝง
ในเชิงปรัชญา การฆาตกรรม ความเชื่อ ผี การฉ้อโกง ปมชีวิตของตัวละครหลักทั้ง 2 คน เป็นต้น ฉากฆาตกรรมท้ายเรื่องที่รุนแรงเกินไป
ถ้าปรับบทน่าจะช่วยให้หนังดูสมูทมากขึ้น ฉากเลิฟซีนยังรู้สึกเก้ๆกังๆ ความพยายามดีแต่เหมือนยังไม่สุด น่าจะมีฉากที่เลยเถิดกว่านี้
ไปอีกสักนิดเพื่อให้คนดูไปเติมเต็มจินตนาการต่อเอง สิ่งที่ชอบในหนังเรื่องนี้ คือ ซีนอารมณ์ลึกลับ น่ากลัว โดยเฉพาะฉากศพในห้องน้ำ
ทำได้ลุ้นมาก ส่วนงานด้านภาพ และ Sound effect นั้นก็ได้ใจไปเต็มๆ
สุดท้ายนี้รู้สึกดีใจที่ได้เห็นหนังไทย ที่มีการยกมาตรฐาน มีแนวคิด มีแนวทางในการเล่าเรื่องใหม่ๆ จนออกไปฉายในเทศกาลหนังนานาชาติได้
ขอชื่นชมในความตั้งใจของผู้กำกับ และจะคอยติดตามผลงานต่อๆ ไปครับ
รีวิวหนัง "อนธการ (The Blue Hour)" หนัง dark side ที่น่าดู ??? (Spoil)
ผมได้มีโอกาสชมภาพยนตร์ไทยเรื่อง อนธการ (The Blue Hour) เมื่อวันเสาร์ที่ 8 ส.ค. 58 จากการที่เพื่อนแนะนำมา
ทราบเพียงว่าเป็นหนังเกย์ของไทย ที่เคยฉายในงานเทศกาลหนังนานาชาติเบอร์ลิน และเรื่องนี้กำลังฉายในไทยในวงจำกัด
ดูจากใบปิดหนัง เห็นชื่อหนังที่อ่านยากและไม่รู้ความหมาย ตอนซื้อตั๋วเลยตัดปัญหาเรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษ The Blue Hour ไป
ส่วนภาพเป็นเด็กหนุ่มวัยรุ่นคู่หนึ่งหันหน้าเข้าหากัน ที่ให้อารมณ์คู่จิ้นใสๆ มีชื่อนักแสดง ผู้กำกับ และโลโก้ของงานเทศกาลภาพยนตร์
ต่างประเทศ เสมือนคอยแบ็คอัพ การันตีหนังเรื่องนี้
พอได้ดูหนังรู้สึกว่าคนที่โปรโมทหนังเรื่องนี้กำลังปกปิด และเบี่ยงประเด็นหลักของหนังเรื่องนี้ อาจจะมาจากข้อกำหนดบางอย่าง หรือ
ต้องการให้เป็นหนังตลาดก็ไม่ทราบได้ จาก หนังฆาตกรรมอันโหดร้าย กลายเป็น หนังเกย์ หนังลึกลับที่โยงความเชื่อเรื่องผีเข้ามาเกี่ยวข้อง
เรื่องนี้มีการผสมผสานอารมณ์หนังหลายอย่างรวมด้วยกัน พร้อมๆ กับเล่นกับความคิดคนดูให้คิดไปต่างๆ นานา
จากคำว่ากลมกล่ม จนเกินเลยคำว่าพอดี
จุดเด่นของหนัง คือด้านภาพที่ทำออกมาได้สวย ทั้งแสง การย้อมสี มุมกล้อง และองค์ประกอบถูกจัดวางอย่างมีมิติ รวมถึงงาน production
สถานที่ถ่ายทำก็ทำออกมาได้ดี ไม่ได้ตะขวิดตะขวางใจ ซีนอารมณ์ที่ต้องการหลอนคนดูทำได้ดีเยี่ยม
จุดด้อยของหนัง คือบทที่ยังขาดปมที่น่าเชื่อถืออันเป็นแรงจูงใจสุดท้าย ผมขอไม่ลงรายละเอียดแล้วกัน บางซีนขาดความสมจริง
หากตัวละครตกอยู่ในสถานการณ์นั้นๆ เช่น ฉากจูบกันในบ่อขยะที่มีซากศพอยู่ด้วย ซึ่งในความเป็นจริงคงจะเหม็นมากจนหมดอารมณ์
หรือ ฉากที่คนไล่ยิงเด็กและเด็กเอาเหล็กเส้นฟาดชายคนนั้นดับในบ่อขยะ ซึ่งถ้าอยู่ในเหตุการณ์นั้นคงสติแตก และคงไม่สามารถ
กลับเข้าบ้านอย่างเป็นปกติเหมือนในหนัง หรือ ฉากสระน้ำร้างที่ทั้งคู่จับมือกันแล้วนอนลืมตาค้างในน้ำเพื่อดูท้องฟ้า ในความเป็นจริง
แค่ลงไปเล่นในสระที่สกปรกก็แย่แล้ว แถมให้ลืมตาเอาเชื้อโรคเข้าไปอีกคงไม่ไหว หรือ ฉากที่มีการเอาสุนัขที่บ้านที่เหมือนใกล้ตาย
มัดปากถุงไปทิ้งที่บ่อขยะ และฆ่าให้ตาย ในความเป็นจริงคิดว่าไม่ต้องฆ่าขนาดนั้นก็ได้ หรือ บทที่พยายามจะบอกว่าฆ่าคนเลวพวกนี้
ที่โกงที่ดินไป จะได้ที่ดินเรากลับคืนมา เอาที่ดินไปขายแล้วจะได้มีเงินใช้อยู่ด้วยกัน ในความเป็นจริงกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ
ต้องมีโฉนดซื้อขายทางกฎหมาย ไม่ใช่ว่าฆ่าคนที่โกงแล้วจะได้ที่ดินคืน เป็นต้น
บทที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของคู่รักเกย์ยังไม่สอดประสานกัน ยังคงรู้สึกว่าเป็นความสัมพันธ์แบบเพื่อนกันปกติธรรมดา เพียงแต่ผู้กำกับ
สั่งให้จูบ กอด หรือให้จับมือกัน เพื่อให้ตัวละครมองเป็นเกย์ไป จุดสังเกตุคือบทภาษาพูดระหว่างกัน และบทที่มีการท้าทายกันไปมา
นอกจากนี้บทและซีนอารมณ์ระหว่างแม่กับเด็กยังดูคลุมเครือ การแสดงดูแข็งไป ส่วนการตัดต่อภาพไปมาสลับเหตุการณ์ย้อนหลังกับปัจจุบัน
คนดูต้องประติดประต่อให้ดีๆ ว่าเป็นเหตุการณ์ไหน อยู่จุดไหน ส่วนนักแสดงหลัก 2 คนถือว่าพอเอาอยู่ ประคองหนังไปจนจบเรื่องได้
ดูหนังเรื่องนี้จบก็อดไม่ได้ที่จะนึกถึงข่าวฆาตกรรมจริงในหน้าหนังสือพิมพ์ นึกถึงหนังฮอลีวู๊ดที่มีบางฉากที่ให้อารณ์คล้ายๆ กัน เช่น
ฉากที่สั่นประสาทคนดูที่เชื่อมโยงถึงความเชื่อโบราณ จะนึกถึงหนังเรื่อง The Village หรือ ฉากที่เล่าเรื่องคนที่หายไป แล้วมีภาพ
เป็นเหมือนคราบตะไคร่น้ำเป็นดวงๆ จะนึกไปถึงหนังเรื่อง Kairo ผีอินเตอร์เน็ต หรือในชื่อ Pulse ที่เอามารีเมค เป็นต้น นอกจากนี้
ยังมีหลายคำถามที่ผุดขึ้นมา เช่น เราได้อะไรจากหนังเรื่องนี้? ... หนังกำลังส่งเสริมความรุนแรงหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอยู่หรือเปล่า?
เรื่องนี้ได้สอนอะไรบ้าง? คนดูจะถูกหลอกจากการโปรโมทหนังที่ดูเหมือนหนังเกย์ หนังเขย่าขวัญปกติธรรมดาเรื่องหนึ่งอยู่หรือเปล่า?
หนังมีการจัด Rating ไหม? ทำไมถึงเข้าฉายในเมืองไทยได้?
โดยสรุปแล้ว ผมว่าหนังเรื่องนี้หนักไป และถูกจัดจานวางใส่เยอะไป ควรเลือกประเด็นหลัก ประเด็นรอง และทำให้หนักแน่น ตัดทอนบางอย่าง
อาจจะลงตัว แล้วถ่ายทอดมุมนั้นออกมาได้ชัดเจนมากขึ้น เช่นในด้านของความขัดแย้งของครอบครัว ความสัมพันธ์ของคนรัก ความหมายแฝง
ในเชิงปรัชญา การฆาตกรรม ความเชื่อ ผี การฉ้อโกง ปมชีวิตของตัวละครหลักทั้ง 2 คน เป็นต้น ฉากฆาตกรรมท้ายเรื่องที่รุนแรงเกินไป
ถ้าปรับบทน่าจะช่วยให้หนังดูสมูทมากขึ้น ฉากเลิฟซีนยังรู้สึกเก้ๆกังๆ ความพยายามดีแต่เหมือนยังไม่สุด น่าจะมีฉากที่เลยเถิดกว่านี้
ไปอีกสักนิดเพื่อให้คนดูไปเติมเต็มจินตนาการต่อเอง สิ่งที่ชอบในหนังเรื่องนี้ คือ ซีนอารมณ์ลึกลับ น่ากลัว โดยเฉพาะฉากศพในห้องน้ำ
ทำได้ลุ้นมาก ส่วนงานด้านภาพ และ Sound effect นั้นก็ได้ใจไปเต็มๆ
สุดท้ายนี้รู้สึกดีใจที่ได้เห็นหนังไทย ที่มีการยกมาตรฐาน มีแนวคิด มีแนวทางในการเล่าเรื่องใหม่ๆ จนออกไปฉายในเทศกาลหนังนานาชาติได้
ขอชื่นชมในความตั้งใจของผู้กำกับ และจะคอยติดตามผลงานต่อๆ ไปครับ