“สนใจไปเรียนญี่ปุ่นกับลุงX ไหม” อาจารย์ที่ปรึกษาถามขึ้น
ก่อนจะตัดสินใจไป รุ่นพี่หลายคนก็เตือนด้วยความหวังดีว่า “มันเหนื่อยนะ เป็นพี่ พี่เรียนที่ไทย คิดดีๆ” “มันเหนื่อยนะ แต่ก็ได้เรียนรู้เยอะ” แต่…ของแบบนี้ต้องเจอกับตัวถึงจะเชื่อ ไม่ลองไม่รู้
ตอนนั้นเรียนภาษาญี่ปุ่นมินนะโนะ ไป 10 บท พอดี ไม่ขาดไม่เกิน เพื่อนบอกว่า เดี๋ยวค่อยไปเรียนที่ญี่ปุ่นได้ ซึ่งไม่ควรเชื่อเพื่อนเลย
และแล้ววันเดินทางไปญี่ปุ่นก็มาถึง เป็นการไปญี่ปุ่นครั้งแรกในชีวิต กับมินนะโนะนิฮงโกะ 10 บทแรก ในหัว ลุง (ขอเรียก อจ ที่ปรึกษาว่าลุง จะได้ดูสนิทสนมคุ้นเคย) มารับที่สนามบิน พาไปดูมหาวิทยาลัย และหอพัก
มหาลัยที่ไปเรียน เป็นมหาลัยที่ออกดีกรีให้ดีกรีเดียว คือ วิศวะ การแบ่งภาควิชาของมหาลัย จะไม่เหมือนของไทย ที่แบ่งเป็นภาควิชา ที่ญี่ปุ่นจะแบ่งเป็นแลป ซึ่งมี professor หลักๆ 1 คน professor แต่ละคน ก็จะมี associate prof และ assist prof และมีโพสดอค ที่ช่วยดูแลเด็กนักเรียนในแลป ซึ่งมีทั้ง ตรี โท เอก
“เรียนแคลคูลัสมาหรือป่าว?” คือคำถามกึ่งดูถูก เรียนมาเฟ้ย หลักสูตรที่ไทยให้เรียน แต่ไม่ได้ใช้มา 5-6 ปีแล้วป่าวว๊า
“สัญลักษณ์เดลต้า (Kronecker delta) ไม่รู้จักหรอ เรียนตั้งแต่ปีหนึ่งนะ?”
คำถามพวกนี้ทำอะไรเราไม่ได้ ฮ่าๆๆ ก็คือไม่รู้จริงๆอะ ทำไงได้ ก็ก้มหน้าก้มตาอ่านหนังสือไป
เชื่อว่า นร ป เอก ทั่วโลกต้องผ่านช่วงเวลาสะเทือนใจ กลายร่างเป็นซอมบี้ รู้สึกหน้าตาแก่ขึ้นด้วยความเร็วสูง แต่ละแลป แต่ละที่ ต่างสภาวะแวดล้อม ที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นแค่ช่วงเวลาโหดๆ ที่จำได้ไม่ลืมเลย
You are not woman, you are scientist
ช่วงแรกๆที่ไปอยู่ จะหยิบอุปกรณ์เครื่องมืออะไรก็ลำบาก ติดป้ายหน้าตู้เป็นภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด คือไม่ต้องอ่านเลย เปิดดูทุกลิ้นชักนั่นแหละ และวันนั้นลุงสั่ง ไปหยิบไขควงมาซิ เราก็เดินไปหยิบไขควงมาให้ พอลุงเห็นไขควงที่หยิบมา ก็อึ้งไป คือ.....ผิดแบบจ้า ไขควงที่ลุงต้องการคือ ประแจ 6 เหลี่ยม โง่เลย ไม่ดูตาม้าตาเรือ (เผาตัวเองทำไม เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย) ลุงก็เลยสอนว่า เราเป็นนักวิทยาศาสตร์นะ เราต้องทำพวกนี้เป็นด้วย เป็นคำสอนที่ดีมาก และจำจนถึงทุกวันนี้
หลายคนคงคิดว่าไปเรียนวิศวะ ก็ควรทำเป็น ไม่ใช่นะคะ ไปเรียนพอลิเมอร์ แต่ลุงเก่งมาก ซ่อมเครื่องมือเอง ประดิษฐ์เครื่องมือเอง นักเรียนเลยต้องทำได้ไปด้วย
ดูกวางตอนตีสอง
มีโอกาสได้ไปทำแลปที่ศูนย์ซินโครตรอนของญี่ปุ่น ใหญ่มากกกก สวยมาก อากาศดีมาก การเข้าไปใช้งานที่ศูนย์ซินโครตรอนค่อนข้างยาก คิวแน่นมาก เนื่องจากเช่าเครื่องมือเป็นวัน เวลาไปใช้ต้องทำทั้งวันทั้งคืน มีเวลานอนวันละ 3-4 ชั่วโมง ได้เลิกแลปตอนตี 2-3 เป็นปกติ วันนั้นเลิกแลปประมาณตีสอง และลุงได้กล่าวขึ้นว่า ที่นี่มีกวางด้วยนะ เคยดูยัง และพาทัวร์ตอนตีสอง เอิ่มมมมมมมม ไปนอนดีกว่าไม๊
การสอบของเด็ก ป เอก ที่มหาลัยนี้
การสอบของเด็ก ป เอก ที่มหาลัยนี้ค่อนข้างพิเศษ (1) เดือนที่ 6 สอบ proposal กับคณะกรรมการของมหาลัย (2) จบปีที่สอง present progress กับคณะกรรมการของมหาลัย (3) ปีที่ 3 เดือนที่ 6 สอบ prelim กับคณะกรรมการมหาลัย (4) หลังจากผ่าน ก็สอบกับอาจารย์ใน field ที่เลือกมา คือในมหาลัย 3 คน นอกมหาลัย 1 คน (5) พอผ่าน ก็จะสอบกับคณะกรรมการมหาลัยอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก่อนสอบนี้ จะต้องมี paper ที่มีเลข DOI ครบ 3 ฉบับ (6) เมื่อผ่านแล้วก็จะมี public presentation ให้กับคนในมหาลัยที่สนใจเข้าฟัง
ครั้งแรกที่สอบ proposal คณะกรรมการของมหาลัยมี 10-20 คน จากหลายหลายแขนงวิชา เกือบหมดมหาลัย อจ จากแลป computer program แลป mechanic และอื่นๆ คำถามก็หลายหลายแนวถามกันเอาให้ตายกันไปข้าง ให้ไป derive สมการบนกระดาน บางคำถามก็ทฤษฎีสุดโต่ง คือแบบ หลังจากการสอบก็จิตใจหดหู่กันไปเลย ถ้ามีคะแนนก็คงตก แต่สุดท้าย ด้วยความถึก อดทน พยายาม เราก็ได้ผ่านมาได้ทั้ง 6 presentations แม้จะทุลักทุเลบ้าง สอบไม่ผ่านต้องสอบใหม่บ้าง หมดน้ำตาเป็นถัง สร้างความแข็งแกร่งทั้งทางกายและทางใจ
ทำอะไรต้องรู้ลึก รู้จริง
เด็กวิทยาศาสตร์เคมีทุกคนต้องรู้จักเครื่อง FTIR เป็นเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์โครงสร้างเคมี ซึ่งก็เรียนมาตั้งแต่ ป ตรี ใช้ยัน ป โท
วันนั้นเป็นเวลาหัวค่ำ ยังจำเหตุการณ์ได้ดี รุ่นน้องแลกเปลี่ยนคนหนึ่ง ต้องการใช้เครื่องนี้ ลุงก็ไปสอนวิธีการใช้ ระหว่างนั้นลุงก็ให้อธิบายกลไกการทำงานของเครื่อง!!!!! (Michelson interferrogram) รุ่นน้องอธิบายไม่ได้ ความซวยเริ่มมาเยือน ลุงให้มาเรียกเราเข้าไปอธิบาย ถ้าอธิบายไม่ได้ ไม่ให้ใช้!!! ถามว่าตอนนี้จำได้ไม๊ ถึงแม้จะไม่ได้ใช้ แต่จำจนตายฮะ
กวาดหมดโต๊ะ
อจ ที่มหาลัยนี้ก็จะมีหลายรุ่น ลุงเรา เป็น professor ที่ติดอันดับโหด หนึ่งในสามของมหาลัย ตอนนี้ก็ 60 กว่าแล้ว ค่อนข้างเป็นคนญี่ปุ่นโบราณ เข้มงวดมาก เวลาไปแลป ควรไปก่อนลุง และกลับทีหลัง แต่กลับทีหลังเนี่ย ทำได้ยากนิดนึง เพราะลุงกลับหลังเที่ยงคืนตลอด จะอยู่รอได้เฉพาะช่วงงานเยอะ หรือมีอะไรที่ต้องการปรึกษาลุง
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ต้องเตรียมบทคัดย่อเพื่อส่งไปงานสัมมนาวิชาการ และวันนั้นก็เป็นวันสุดท้ายที่จะส่งบทคัดย่อ นักเรียนในแลปก็มีหลายคน ลุงก็ต้องตรวจของทุกคน ซึ่งแน่นอนว่าเครียดและเหนื่อย เราก็ไปเคาะประตูห้อง ถามว่ามีไรให้ช่วยไหม ลุงก็กวักมือไล่ บอกว่า ไม่ต้องๆ เราก็เลยกลับไปนั่งที่โต๊ะตัวเอง และอ่านหนังสือกับเพื่อนอีกคนหนึ่งในเรื่องที่จะต้องพรีเซนต์ในการประชุมของแลป ซักพักไม่นานหลังจากนั้น ลุงก็เดินมาที่โต๊ะ แล้วถามด้วยเสียงดังก้องกังวานว่า “ทำอะไรกัน ชั้นทำงานให้พวกเธออยู่ นี่พวกเธอกำลังทำอะไรกัน!!!!!” แล้วก็ปล่อยพลัง กวาดของทุกอย่างที่อยู่บนโต๊ะลงที่พื้นกระจาย และเดินจากไป……………….เพื่อนๆก็เข้ามาช่วยเก็บของ ปลอบใจ ให้สู้ๆ และมีเพื่อนต่างชาติคนหนึ่งบอกว่า นี่เป็น power harassment นะ ไปฟ้อง office ของมหาลัยเลย เอิ่มมมม สุดท้าย ทำได้แค่ร้องไห้ กลับไทย และกลับไปเรียนต่อ
เด็ก ป ตรี ที่ไปทำแลปกับลุง ส่วนมากคือ ไม่มีทางเลือก คนเกรดดีๆ ได้เลือกแลปก่อน คนที่เหลือก็…แลปนี้แหละ ถึงแม้ลุงจะโหดมาก (ได้ยินว่านี่ใจดีขึ้นแล้ว) แต่การไปเรียนกับลุง ก็ทำให้ได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างที่ไม่สามารถหาได้ที่ไทย
- ลุงเก่งมาก เก่ง basic science คิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือ เป็นยอดมนุษย์ที่อุทิศตัวเองให้กับงานวิจัย
- มีความเป็นอาจารย์สูงมาก คือ สอนจริงจัง สอนดีมาก จากเรื่องยากๆ ให้กลายเป็นเรื่องง่ายๆ อยากให้นักเรียนได้ดี อยากให้นักเรียนสืบทอดวิชาของตัวเอง
- เป็นห่วงนักเรียน เสียเวลาพาไปโรงพยาบาลด้วยตัวเอง
- 3 ปี คือจบ แม้หลังๆ จะเริ่มมาเป็น 3.5 ปี 4 ปี กว่าจะจบเอก เนื่องจากมาตรฐานสูง เปเปอร์ที่ตีพิมพ์ต้องมี impact factor ระดับหนึ่ง
- หลังจากเรียนจบจากลุง ได้มาเริ่มทำงาน ทุกสิ่งทุกอย่างดูสบายมาก งานหนัก งานกดดัน สบ๊ายยยยย
- ท่ามกลางความเข้มงวดของลุง ทำให้เราเจอเพื่อนต่างชาติที่ดีๆ มากมาย
ใครอ่านแล้วสนใจอยากไปเรียนต่อแลปนี้ อาจจะต้องขอแสดงความเสียใจด้วย เนื่องจากได้ข่าวมาว่าลุงจะเกษียณแล้ว….
ที่อยากบอกน้องๆที่จะไปเรียนต่อ ก็คือ การเลือก อจ ที่ปรึกษาสำคัญมาก นอกจากหัวข้อวิจัยที่อยากจะไปทำแล้ว ควรดูลักษณะการทำงาน นิสัยของอาจารย์ที่ปรึกษาด้วย เพื่อความสุขในการเรียน
สุดท้าย คนที่อ่านอาจจะคิดว่าลุงโหดแล้วทำไมยังอดทนเรียนต่อ --> “No pain no gain” และพ่อบอกว่า ตอนเลือกไปเรียนก็เลือกเอง จบนะ
และคำของอาจารย์คนหนึ่ง ที่บอกว่า "เรียนได้เพราะมีโอกาส จบได้เพราะอดทน" ยังคงใช้ได้ในทุกรุ่น ไม่ว่าจะผ่านไปกี่รุ่น
ประสบการณ์นักเรียนทุนญี่ปุ่นกับแลปโหดๆ
ก่อนจะตัดสินใจไป รุ่นพี่หลายคนก็เตือนด้วยความหวังดีว่า “มันเหนื่อยนะ เป็นพี่ พี่เรียนที่ไทย คิดดีๆ” “มันเหนื่อยนะ แต่ก็ได้เรียนรู้เยอะ” แต่…ของแบบนี้ต้องเจอกับตัวถึงจะเชื่อ ไม่ลองไม่รู้
ตอนนั้นเรียนภาษาญี่ปุ่นมินนะโนะ ไป 10 บท พอดี ไม่ขาดไม่เกิน เพื่อนบอกว่า เดี๋ยวค่อยไปเรียนที่ญี่ปุ่นได้ ซึ่งไม่ควรเชื่อเพื่อนเลย
และแล้ววันเดินทางไปญี่ปุ่นก็มาถึง เป็นการไปญี่ปุ่นครั้งแรกในชีวิต กับมินนะโนะนิฮงโกะ 10 บทแรก ในหัว ลุง (ขอเรียก อจ ที่ปรึกษาว่าลุง จะได้ดูสนิทสนมคุ้นเคย) มารับที่สนามบิน พาไปดูมหาวิทยาลัย และหอพัก
มหาลัยที่ไปเรียน เป็นมหาลัยที่ออกดีกรีให้ดีกรีเดียว คือ วิศวะ การแบ่งภาควิชาของมหาลัย จะไม่เหมือนของไทย ที่แบ่งเป็นภาควิชา ที่ญี่ปุ่นจะแบ่งเป็นแลป ซึ่งมี professor หลักๆ 1 คน professor แต่ละคน ก็จะมี associate prof และ assist prof และมีโพสดอค ที่ช่วยดูแลเด็กนักเรียนในแลป ซึ่งมีทั้ง ตรี โท เอก
“เรียนแคลคูลัสมาหรือป่าว?” คือคำถามกึ่งดูถูก เรียนมาเฟ้ย หลักสูตรที่ไทยให้เรียน แต่ไม่ได้ใช้มา 5-6 ปีแล้วป่าวว๊า
“สัญลักษณ์เดลต้า (Kronecker delta) ไม่รู้จักหรอ เรียนตั้งแต่ปีหนึ่งนะ?”
คำถามพวกนี้ทำอะไรเราไม่ได้ ฮ่าๆๆ ก็คือไม่รู้จริงๆอะ ทำไงได้ ก็ก้มหน้าก้มตาอ่านหนังสือไป
เชื่อว่า นร ป เอก ทั่วโลกต้องผ่านช่วงเวลาสะเทือนใจ กลายร่างเป็นซอมบี้ รู้สึกหน้าตาแก่ขึ้นด้วยความเร็วสูง แต่ละแลป แต่ละที่ ต่างสภาวะแวดล้อม ที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นแค่ช่วงเวลาโหดๆ ที่จำได้ไม่ลืมเลย
You are not woman, you are scientist
ช่วงแรกๆที่ไปอยู่ จะหยิบอุปกรณ์เครื่องมืออะไรก็ลำบาก ติดป้ายหน้าตู้เป็นภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด คือไม่ต้องอ่านเลย เปิดดูทุกลิ้นชักนั่นแหละ และวันนั้นลุงสั่ง ไปหยิบไขควงมาซิ เราก็เดินไปหยิบไขควงมาให้ พอลุงเห็นไขควงที่หยิบมา ก็อึ้งไป คือ.....ผิดแบบจ้า ไขควงที่ลุงต้องการคือ ประแจ 6 เหลี่ยม โง่เลย ไม่ดูตาม้าตาเรือ (เผาตัวเองทำไม เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย) ลุงก็เลยสอนว่า เราเป็นนักวิทยาศาสตร์นะ เราต้องทำพวกนี้เป็นด้วย เป็นคำสอนที่ดีมาก และจำจนถึงทุกวันนี้
หลายคนคงคิดว่าไปเรียนวิศวะ ก็ควรทำเป็น ไม่ใช่นะคะ ไปเรียนพอลิเมอร์ แต่ลุงเก่งมาก ซ่อมเครื่องมือเอง ประดิษฐ์เครื่องมือเอง นักเรียนเลยต้องทำได้ไปด้วย
ดูกวางตอนตีสอง
มีโอกาสได้ไปทำแลปที่ศูนย์ซินโครตรอนของญี่ปุ่น ใหญ่มากกกก สวยมาก อากาศดีมาก การเข้าไปใช้งานที่ศูนย์ซินโครตรอนค่อนข้างยาก คิวแน่นมาก เนื่องจากเช่าเครื่องมือเป็นวัน เวลาไปใช้ต้องทำทั้งวันทั้งคืน มีเวลานอนวันละ 3-4 ชั่วโมง ได้เลิกแลปตอนตี 2-3 เป็นปกติ วันนั้นเลิกแลปประมาณตีสอง และลุงได้กล่าวขึ้นว่า ที่นี่มีกวางด้วยนะ เคยดูยัง และพาทัวร์ตอนตีสอง เอิ่มมมมมมมม ไปนอนดีกว่าไม๊
การสอบของเด็ก ป เอก ที่มหาลัยนี้
การสอบของเด็ก ป เอก ที่มหาลัยนี้ค่อนข้างพิเศษ (1) เดือนที่ 6 สอบ proposal กับคณะกรรมการของมหาลัย (2) จบปีที่สอง present progress กับคณะกรรมการของมหาลัย (3) ปีที่ 3 เดือนที่ 6 สอบ prelim กับคณะกรรมการมหาลัย (4) หลังจากผ่าน ก็สอบกับอาจารย์ใน field ที่เลือกมา คือในมหาลัย 3 คน นอกมหาลัย 1 คน (5) พอผ่าน ก็จะสอบกับคณะกรรมการมหาลัยอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก่อนสอบนี้ จะต้องมี paper ที่มีเลข DOI ครบ 3 ฉบับ (6) เมื่อผ่านแล้วก็จะมี public presentation ให้กับคนในมหาลัยที่สนใจเข้าฟัง
ครั้งแรกที่สอบ proposal คณะกรรมการของมหาลัยมี 10-20 คน จากหลายหลายแขนงวิชา เกือบหมดมหาลัย อจ จากแลป computer program แลป mechanic และอื่นๆ คำถามก็หลายหลายแนวถามกันเอาให้ตายกันไปข้าง ให้ไป derive สมการบนกระดาน บางคำถามก็ทฤษฎีสุดโต่ง คือแบบ หลังจากการสอบก็จิตใจหดหู่กันไปเลย ถ้ามีคะแนนก็คงตก แต่สุดท้าย ด้วยความถึก อดทน พยายาม เราก็ได้ผ่านมาได้ทั้ง 6 presentations แม้จะทุลักทุเลบ้าง สอบไม่ผ่านต้องสอบใหม่บ้าง หมดน้ำตาเป็นถัง สร้างความแข็งแกร่งทั้งทางกายและทางใจ
ทำอะไรต้องรู้ลึก รู้จริง
เด็กวิทยาศาสตร์เคมีทุกคนต้องรู้จักเครื่อง FTIR เป็นเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์โครงสร้างเคมี ซึ่งก็เรียนมาตั้งแต่ ป ตรี ใช้ยัน ป โท
วันนั้นเป็นเวลาหัวค่ำ ยังจำเหตุการณ์ได้ดี รุ่นน้องแลกเปลี่ยนคนหนึ่ง ต้องการใช้เครื่องนี้ ลุงก็ไปสอนวิธีการใช้ ระหว่างนั้นลุงก็ให้อธิบายกลไกการทำงานของเครื่อง!!!!! (Michelson interferrogram) รุ่นน้องอธิบายไม่ได้ ความซวยเริ่มมาเยือน ลุงให้มาเรียกเราเข้าไปอธิบาย ถ้าอธิบายไม่ได้ ไม่ให้ใช้!!! ถามว่าตอนนี้จำได้ไม๊ ถึงแม้จะไม่ได้ใช้ แต่จำจนตายฮะ
กวาดหมดโต๊ะ
อจ ที่มหาลัยนี้ก็จะมีหลายรุ่น ลุงเรา เป็น professor ที่ติดอันดับโหด หนึ่งในสามของมหาลัย ตอนนี้ก็ 60 กว่าแล้ว ค่อนข้างเป็นคนญี่ปุ่นโบราณ เข้มงวดมาก เวลาไปแลป ควรไปก่อนลุง และกลับทีหลัง แต่กลับทีหลังเนี่ย ทำได้ยากนิดนึง เพราะลุงกลับหลังเที่ยงคืนตลอด จะอยู่รอได้เฉพาะช่วงงานเยอะ หรือมีอะไรที่ต้องการปรึกษาลุง
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ต้องเตรียมบทคัดย่อเพื่อส่งไปงานสัมมนาวิชาการ และวันนั้นก็เป็นวันสุดท้ายที่จะส่งบทคัดย่อ นักเรียนในแลปก็มีหลายคน ลุงก็ต้องตรวจของทุกคน ซึ่งแน่นอนว่าเครียดและเหนื่อย เราก็ไปเคาะประตูห้อง ถามว่ามีไรให้ช่วยไหม ลุงก็กวักมือไล่ บอกว่า ไม่ต้องๆ เราก็เลยกลับไปนั่งที่โต๊ะตัวเอง และอ่านหนังสือกับเพื่อนอีกคนหนึ่งในเรื่องที่จะต้องพรีเซนต์ในการประชุมของแลป ซักพักไม่นานหลังจากนั้น ลุงก็เดินมาที่โต๊ะ แล้วถามด้วยเสียงดังก้องกังวานว่า “ทำอะไรกัน ชั้นทำงานให้พวกเธออยู่ นี่พวกเธอกำลังทำอะไรกัน!!!!!” แล้วก็ปล่อยพลัง กวาดของทุกอย่างที่อยู่บนโต๊ะลงที่พื้นกระจาย และเดินจากไป……………….เพื่อนๆก็เข้ามาช่วยเก็บของ ปลอบใจ ให้สู้ๆ และมีเพื่อนต่างชาติคนหนึ่งบอกว่า นี่เป็น power harassment นะ ไปฟ้อง office ของมหาลัยเลย เอิ่มมมม สุดท้าย ทำได้แค่ร้องไห้ กลับไทย และกลับไปเรียนต่อ
เด็ก ป ตรี ที่ไปทำแลปกับลุง ส่วนมากคือ ไม่มีทางเลือก คนเกรดดีๆ ได้เลือกแลปก่อน คนที่เหลือก็…แลปนี้แหละ ถึงแม้ลุงจะโหดมาก (ได้ยินว่านี่ใจดีขึ้นแล้ว) แต่การไปเรียนกับลุง ก็ทำให้ได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างที่ไม่สามารถหาได้ที่ไทย
- ลุงเก่งมาก เก่ง basic science คิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือ เป็นยอดมนุษย์ที่อุทิศตัวเองให้กับงานวิจัย
- มีความเป็นอาจารย์สูงมาก คือ สอนจริงจัง สอนดีมาก จากเรื่องยากๆ ให้กลายเป็นเรื่องง่ายๆ อยากให้นักเรียนได้ดี อยากให้นักเรียนสืบทอดวิชาของตัวเอง
- เป็นห่วงนักเรียน เสียเวลาพาไปโรงพยาบาลด้วยตัวเอง
- 3 ปี คือจบ แม้หลังๆ จะเริ่มมาเป็น 3.5 ปี 4 ปี กว่าจะจบเอก เนื่องจากมาตรฐานสูง เปเปอร์ที่ตีพิมพ์ต้องมี impact factor ระดับหนึ่ง
- หลังจากเรียนจบจากลุง ได้มาเริ่มทำงาน ทุกสิ่งทุกอย่างดูสบายมาก งานหนัก งานกดดัน สบ๊ายยยยย
- ท่ามกลางความเข้มงวดของลุง ทำให้เราเจอเพื่อนต่างชาติที่ดีๆ มากมาย
ใครอ่านแล้วสนใจอยากไปเรียนต่อแลปนี้ อาจจะต้องขอแสดงความเสียใจด้วย เนื่องจากได้ข่าวมาว่าลุงจะเกษียณแล้ว….
ที่อยากบอกน้องๆที่จะไปเรียนต่อ ก็คือ การเลือก อจ ที่ปรึกษาสำคัญมาก นอกจากหัวข้อวิจัยที่อยากจะไปทำแล้ว ควรดูลักษณะการทำงาน นิสัยของอาจารย์ที่ปรึกษาด้วย เพื่อความสุขในการเรียน
สุดท้าย คนที่อ่านอาจจะคิดว่าลุงโหดแล้วทำไมยังอดทนเรียนต่อ --> “No pain no gain” และพ่อบอกว่า ตอนเลือกไปเรียนก็เลือกเอง จบนะ
และคำของอาจารย์คนหนึ่ง ที่บอกว่า "เรียนได้เพราะมีโอกาส จบได้เพราะอดทน" ยังคงใช้ได้ในทุกรุ่น ไม่ว่าจะผ่านไปกี่รุ่น