โดยส่วนตัวผมว่าเรื่องนี้จัดได้ว่าเป็นละครที่แสดงพลังของ "คนไม่หล่อ/ไม่สวย" ได้ออกมากอย่างน่าชื่นชม
เพราะถ้าไม่นับตัวพระเอกแล้ว ตัวละครสำคัญของเรื่องส่วนมากก็จะเป็นคนหน้าตาธรรมดาๆ หรือไม่ก็เป็นนักแสดงอาวุโสทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นนางเอก นางเอกฝรั่ง พี่พระเอก หัวหน้าเก่าพระเอก แต่กลับแสดงได้ออกมาอย่างดีเยี่ยม ส่วนคนที่พอหน้าตาดีๆหน่อย ก็จะออกมาเป็นตัวตลกแทนซะงั้น
โตชิโกะ ตัวนางเอกของละครเรื่องนี้ เป็นอะไรที่ชวนให้ทึ่งและประทับใจมาก โดยปกติ ตามขนบละครไทยนั้น ผู้หญิงที่หน้าตาไม่สวยนั้น มักจะได้บทที่ไม่สำคัญ หากอยากได้บทสำคัญก็ต้องออกมาเป็นตัวตลก แต่นางเอกเรื่องนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ตอนเปิดตัวเธอ ผมเองก็นึกไปว่าเธอคงจะออกมาเป็นแค่มุขตลกที่พระเอกเข้าใจผิดเท่านั้น แต่หลังจากเรื่องดำเนินไปไม่นานถึงค่อยทราบว่าเธอเป็นนางเอก และก็เล่นได้อย่างประทับใจและชวนให้หลงรัก ยิ่งดูไปๆก็รู้สึกเหมือนเธอสวยขึ้นเรื่อยๆ ถึงจะดูเป็นเพียงช้างเท้าหลัง แต่ก็เป็นเท้าหลังที่รู้จักคุณค่าในตัวเอง (ตอนหนึ่งละครพยายามหลอกว่าเธอไปขายตัวในย่านโคมแดง แต่ความจริงแล้วเธอทำงานเป็นหมอตำแยให้ชาวบ้าน) และช่วยให้เท้าหน้าก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
อีกเรื่องที่ผมชอบเกี่ยวกับละครเรื่องนี้ ก็คือการนำเสนอตัวละครผู้ดี ที่ดูสมศักดิ์ศรีผู้ดีจริงๆ ไม่ได้เป็นแค่คนนิสัยยะโสที่บังเอิญรวยกว่าชาวบ้าน
- หัวหน้าเก่าพระเอก ผมจำหน้านักแสดงอาวุโสคนนี้ได้จากเรื่อง Woman ที่เล่นเป็นตาแก่ที่ดูไม่เอาไหน แต่มีจิตใจดีงาม
พอมาเรื่องนี้เป็นเชฟใหญ่ที่ดูดุ น่าเกรงขาม แต่มีหลักการเรื่อง "จิตใจที่ซื่อตรง" ต่อผู้ทานอาหาร
- อาจารย์พี่พระเอก ตอนแรกนึกว่าจะเป็นพวกที่ใช้งานลูกศิษษ์หนัก แต่พอดูไปๆแล้วเป็นอาจารย์ที่เมตตาและเป็นห่วงเป็นใยศิษย์
- ท่านทูตประจำกรุงปาริส ช่วยดูแลผลประโยชน์ให้พระเอกอย่างเต็มที่ ทั้งๆที่มาเป็นกุ๊กฝึกหัดในโรงแรมเท่านี่น
- รองหัวหน้าต้นเครื่อง ตอนแรกชวนให้เข้าใจผิดว่าเป็นคนที่ต้องการเลื่อยขาเก้าอี้พระเอก ตอนที่กุ้งหายไปจากครัว ผมก็แอบนึกในใจว่า "นี่งานระดับบ้านเมืองนะ ยังจะมาแกล้งกันอะไรตอนนี้" แต่ที่ไหนได้สิ่งที่รองหัวหน้าต้นเครื่องทำไป ก็เป็นเพราะเขาทำงานละเอียดไปหน่อย ไม่ต้องการให้น้ำไหลส่งเสียงดังรบกวน"พระที่บน" (ความหมายของตัวคันจิในคำว่า"โอคามิ"ที่ใช้เรียกจักรพรรดินั้น แปลว่าข้างบน)
- จักรพรรดิโชวะ ในประวัติศาสตร์มีข้อถกเถียงเกี่ยวกับจักรพรรดิองค์นี้มากมาย บางสำนักเห็นว่าท่านเป็นจอมมารที่เส้นใหญ่เอาตัวรอดไปได้ แต่บางสำนักก็เห็นว่าท่านเป็นคนดีที่โดนกลุ่มคนบ้าอำนาจเอามาเป็นเครื่องมือเท่านั้น ละครเรื่องนี้สนับสนุนความเห็นสำนักหลัง และนำเสนอความเป็นขัตติยะของจักรพรรดิโชวะได้แบบ"น้อยแต่มาก" ว่า จริงๆท่านเป็นคนที่ยอมทนลำบาก แต่ไม่อยากเอาเปรียบคนอื่นหรือทำให้คนอื่นเดือดร้อน
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็มีข้อเสียอยู่พอสมควรครับ ปัญหาสำคัญก็คือการเกลี่ย timeline ของเรื่องที่ไม่สมดุลนัก เพราะเนื้อเรื่องเกินครึ่งจะเป็นเรื่องตอนที่พระเอกยังไม่ใหญ่โตนัก แต่พอมาในช่วงที่พระเอกได้ดีแล้วไม่ว่าจะเป็นในช่วงที่ตัวเองเป็นเชฟในโรงแรม Ritz ในปารีส หรือตอนได้เป็นหัวหน้าต้นเครื่องวังหลวงนั้น เนื้อหากลับกระโดดไปอย่างรวดเร็วมาก ผมเองตอนดูได้ยินชื่อและเรื่องย่อ ก็คาดหวังว่าจะได้รับทราบเรื่องราวในวังและบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ ที่พระเอกต้องเข้าไปเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย แต่เนื้อหาในส่วนนี้ของละครนั้นจัดว่าน้อยมาก ตอบโจทย์ไม่ได้มากเท่าที่ควร
ข้อเสียอีกเรืองที่อยากบ่นเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือตอนสุดท้าย ที่นำเสนอออกมาแบบค่อนข้างชี้นำ และทำให้ฝรั่งดูเป็นตัวร้ายราคาถูกเกินไป
ฉากที่หัวหน้าเก่าพระเอกอธิบายเรื่องความสำคัญของจักรพรรดิให้นายพลแมคอาเธอร์ฟังก็ยังดูไม่สุดอย่างไรก็ไม่รู้
อย่างไรก็ดี หากนับโดยรวมๆแล้วก็ถือว่าเป็นละครน้ำดีเรื่องหนึ่งครับ ถ้าผมมีโอกาสก็จะลองซื้อฉบับนิยายภาษาญี่ปุ่นมาอ่านดูเหมือนกัน
Tenno no Ryoriban: ถึงจะน่าประทับใจ แต่ก็ยังไม่สุด
เพราะถ้าไม่นับตัวพระเอกแล้ว ตัวละครสำคัญของเรื่องส่วนมากก็จะเป็นคนหน้าตาธรรมดาๆ หรือไม่ก็เป็นนักแสดงอาวุโสทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นนางเอก นางเอกฝรั่ง พี่พระเอก หัวหน้าเก่าพระเอก แต่กลับแสดงได้ออกมาอย่างดีเยี่ยม ส่วนคนที่พอหน้าตาดีๆหน่อย ก็จะออกมาเป็นตัวตลกแทนซะงั้น
โตชิโกะ ตัวนางเอกของละครเรื่องนี้ เป็นอะไรที่ชวนให้ทึ่งและประทับใจมาก โดยปกติ ตามขนบละครไทยนั้น ผู้หญิงที่หน้าตาไม่สวยนั้น มักจะได้บทที่ไม่สำคัญ หากอยากได้บทสำคัญก็ต้องออกมาเป็นตัวตลก แต่นางเอกเรื่องนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ตอนเปิดตัวเธอ ผมเองก็นึกไปว่าเธอคงจะออกมาเป็นแค่มุขตลกที่พระเอกเข้าใจผิดเท่านั้น แต่หลังจากเรื่องดำเนินไปไม่นานถึงค่อยทราบว่าเธอเป็นนางเอก และก็เล่นได้อย่างประทับใจและชวนให้หลงรัก ยิ่งดูไปๆก็รู้สึกเหมือนเธอสวยขึ้นเรื่อยๆ ถึงจะดูเป็นเพียงช้างเท้าหลัง แต่ก็เป็นเท้าหลังที่รู้จักคุณค่าในตัวเอง (ตอนหนึ่งละครพยายามหลอกว่าเธอไปขายตัวในย่านโคมแดง แต่ความจริงแล้วเธอทำงานเป็นหมอตำแยให้ชาวบ้าน) และช่วยให้เท้าหน้าก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
อีกเรื่องที่ผมชอบเกี่ยวกับละครเรื่องนี้ ก็คือการนำเสนอตัวละครผู้ดี ที่ดูสมศักดิ์ศรีผู้ดีจริงๆ ไม่ได้เป็นแค่คนนิสัยยะโสที่บังเอิญรวยกว่าชาวบ้าน
- หัวหน้าเก่าพระเอก ผมจำหน้านักแสดงอาวุโสคนนี้ได้จากเรื่อง Woman ที่เล่นเป็นตาแก่ที่ดูไม่เอาไหน แต่มีจิตใจดีงาม
พอมาเรื่องนี้เป็นเชฟใหญ่ที่ดูดุ น่าเกรงขาม แต่มีหลักการเรื่อง "จิตใจที่ซื่อตรง" ต่อผู้ทานอาหาร
- อาจารย์พี่พระเอก ตอนแรกนึกว่าจะเป็นพวกที่ใช้งานลูกศิษษ์หนัก แต่พอดูไปๆแล้วเป็นอาจารย์ที่เมตตาและเป็นห่วงเป็นใยศิษย์
- ท่านทูตประจำกรุงปาริส ช่วยดูแลผลประโยชน์ให้พระเอกอย่างเต็มที่ ทั้งๆที่มาเป็นกุ๊กฝึกหัดในโรงแรมเท่านี่น
- รองหัวหน้าต้นเครื่อง ตอนแรกชวนให้เข้าใจผิดว่าเป็นคนที่ต้องการเลื่อยขาเก้าอี้พระเอก ตอนที่กุ้งหายไปจากครัว ผมก็แอบนึกในใจว่า "นี่งานระดับบ้านเมืองนะ ยังจะมาแกล้งกันอะไรตอนนี้" แต่ที่ไหนได้สิ่งที่รองหัวหน้าต้นเครื่องทำไป ก็เป็นเพราะเขาทำงานละเอียดไปหน่อย ไม่ต้องการให้น้ำไหลส่งเสียงดังรบกวน"พระที่บน" (ความหมายของตัวคันจิในคำว่า"โอคามิ"ที่ใช้เรียกจักรพรรดินั้น แปลว่าข้างบน)
- จักรพรรดิโชวะ ในประวัติศาสตร์มีข้อถกเถียงเกี่ยวกับจักรพรรดิองค์นี้มากมาย บางสำนักเห็นว่าท่านเป็นจอมมารที่เส้นใหญ่เอาตัวรอดไปได้ แต่บางสำนักก็เห็นว่าท่านเป็นคนดีที่โดนกลุ่มคนบ้าอำนาจเอามาเป็นเครื่องมือเท่านั้น ละครเรื่องนี้สนับสนุนความเห็นสำนักหลัง และนำเสนอความเป็นขัตติยะของจักรพรรดิโชวะได้แบบ"น้อยแต่มาก" ว่า จริงๆท่านเป็นคนที่ยอมทนลำบาก แต่ไม่อยากเอาเปรียบคนอื่นหรือทำให้คนอื่นเดือดร้อน
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็มีข้อเสียอยู่พอสมควรครับ ปัญหาสำคัญก็คือการเกลี่ย timeline ของเรื่องที่ไม่สมดุลนัก เพราะเนื้อเรื่องเกินครึ่งจะเป็นเรื่องตอนที่พระเอกยังไม่ใหญ่โตนัก แต่พอมาในช่วงที่พระเอกได้ดีแล้วไม่ว่าจะเป็นในช่วงที่ตัวเองเป็นเชฟในโรงแรม Ritz ในปารีส หรือตอนได้เป็นหัวหน้าต้นเครื่องวังหลวงนั้น เนื้อหากลับกระโดดไปอย่างรวดเร็วมาก ผมเองตอนดูได้ยินชื่อและเรื่องย่อ ก็คาดหวังว่าจะได้รับทราบเรื่องราวในวังและบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ ที่พระเอกต้องเข้าไปเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย แต่เนื้อหาในส่วนนี้ของละครนั้นจัดว่าน้อยมาก ตอบโจทย์ไม่ได้มากเท่าที่ควร
ข้อเสียอีกเรืองที่อยากบ่นเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือตอนสุดท้าย ที่นำเสนอออกมาแบบค่อนข้างชี้นำ และทำให้ฝรั่งดูเป็นตัวร้ายราคาถูกเกินไป
ฉากที่หัวหน้าเก่าพระเอกอธิบายเรื่องความสำคัญของจักรพรรดิให้นายพลแมคอาเธอร์ฟังก็ยังดูไม่สุดอย่างไรก็ไม่รู้
อย่างไรก็ดี หากนับโดยรวมๆแล้วก็ถือว่าเป็นละครน้ำดีเรื่องหนึ่งครับ ถ้าผมมีโอกาสก็จะลองซื้อฉบับนิยายภาษาญี่ปุ่นมาอ่านดูเหมือนกัน