พ่อของผมมักเล่าเรื่องราวในชีวิตให้ผมฟังเสมอ โดยเฉพาะเรื่องเล่าในวัยเด็กที่แฝงไปด้วยคุณธรรม เรื่องปักกำก็เป็นอีกเรื่องที่พ่อเคยเล่าให้ฟังครับ และพ่อได้พิมพ์ไว้ด้วย พอดีกับที่ผมยืม external hard disks ของพ่อมาใช้แล้วเห็นเรื่องนี้พี่พ่อพิมพ์ไว้พอดีเลยขอเอามาแบ่งปันให้ทุกคนได้อ่านกันครับ
เดี๋ยวจะยอน(เชียร์)ให้พ่อเขียนเรื่องอื่นๆไว้อีกครับ
===========================================================================
เรื่องปักกำ
ตั้งแต่พ่อจำความได้ก็ได้ยินคำอบรมสั่งสอนจากพ่อเฒ่าแม่เฒ่าซึ่งเป็นคนเลี้ยงพ่อตอนเป็นเด็ก ทั้งสองคนคอยตักเตือนให้พ่อทำความดี รู้จักเสียสละ ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ไม่ให้ลักขโมย ไม่ให้ฉ้อโกง ให้เคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ วันพระก็พาพ่อไปวัด สิ่งเหล่านี้ถูกตอกย้ำทบทวนอยู่บ่อย ๆ จนพ่อรู้สึกว่ามันมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของพ่อมาจนถึงทุกวันนี้ การอบรมสั่งสอนความดีแก่ลูกหลานของพ่อเฒ่าแม่เฒ่าไม่ใช่พูดกันเพียงลมปาก แต่ท่านยังทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
อีกมากมาย โดยเฉพาะการทำความดีในการดำรงชีพประจำวัน เรื่องปักกำที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งในหลาย ๆ เรื่องของการทำความดี
ปักกำ คือการนำไม้ขนาดเท่าด้ามมีดพร้ายาวประมาณเมตรครึ่งถึงสองเมตรมาบักลงในที่ดินโล่งมองเห็นได้ชัดแล้วผ่าปลายนำกิ่งไม้ใบไม้ประมาณกำมือหนึ่งยาวประมาณหนึ่งฟุตหนีบไว้ในรอยผ่านั้น เพื่อให้คนมองเห็นได้ง่าย การปักกำเป็นการทำเครื่องหมายจองสิ่งของที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติซึ่งยังไม่มีใครเป็นเจ้าของให้ผู้อื่นรู้ว่ามีผู้ต้องการเก็บเกี่ยวสิ่งเหล่านั้นแล้ว
สิ่งที่มักมีการปักกำจับจองเมื่อไปพบในช่วงที่ยังไม่ถึงกำหนดเก็บเกี่ยวและต้องการเก็บเกี่ยวในวันหน้าเมื่อถึงช่วงที่เหมาะสม เช่น ต้นไม้ ผลไม้ รังผึ้ง เป็นต้น
วันหนึ่ง พ่อเฒ่าพาพ่อไปทำไร่ ระยะทางจากบ้านไปถึงไร่ประมาณห้าถึงเจ็ดกิโลเมตร ต้องเดินกันไปในป่า ทางเดินเป็นดินล้วน ๆ วัว ควาย ช้าง ที่ลากไม้จากป่าไปยังหมู่บ้านก็ใช้ทางเดียวกันนี้ ทางจึงเป็นร่องลึกลงไปจากผิวดินปกติ ช่วงที่ดินแข็งลึกน้อยหน่อยแต่ช่วงที่ดินอ่อนจะลึกมาก โดยเฉพาะตอนใกล้ลำธารร่องลึกมากจนมองตัวควายไม่เห็น ตั้งแต่ออกจากบ้านไปถึงไร่ มีไม่กี่ช่วงที่ต้องเดินตากแดดเพราะส่วนใหญ่สองข้างทางร่มครึ้มด้วยพุ่มไม้ของป่าแก่ที่ยังไม่เคยถูกแผ้วถางมาก่อนจึงเดินกันสบาย ๆ พวกเด็ก ๆ สนุกสนานกับการชมนกชมไม้ไปตลอดทางเมื่อเดินถึงลำธารตรงไหนก็มีน้ำใส ๆ ไหลอยู่ตามร่องหินมากน้อยตามขนาดของลำธารและฤดูกาล น้ำในลำธารทุกแห่งดื่มได้ จึงไม่ต้องนำภาชนะใส่น้ำไปกินระหว่างทาง บางครั้งก็พบผลไม้ป่าข้างทางให้เก็บกินอีกด้วย วันหนึ่งเมื่อเดินผ่านใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่เป็นทางลาดขึ้นจากห้วย ชื่อห้วยไฟกา พ่อได้กลิ่นลูกระกำสุกจึงบอกให้พ่อเฒ่าหยุดเดินแล้วเข้าไปหาเพื่อจะได้เก็บเอามากินเล่นระหว่างเดินทาง ถ้าได้มากเอาไปใส่แกงส้มกับปลาด้วยก็อร่อยดี พ่อเฒ่าเข้าไปครู่หนึ่งกลับออกมาบอกว่าพบลูกระกำสุกแล้วแต่เอาไม่ได้เพราะมีคนมาปักกำจองไว้แล้ว เป็นอันว่าพ่อไม่ได้กินลูกระกำ พวกเราจึงออกเดินทางกันต่อไปจนถึงไร่และอยู่กันที่ไร่ปลูกพืชผักต่าง ๆ และเก็บพืชผลที่ให้ผลผลิตแล้วกลับไปบ้าน เราออกจากไร่เดินกลับบ้านตอนเย็นเมื่อนกสาลิการ้องบอกเวลาครั้งที่สาม ระหว่างทางพ่อเฒ่ากับพ่อแวะลงอาบน้ำในคลองเก็บก้อนหินที่สากแต่ไม่คม
จากท้องคลองขึ้นมาถูขี้ไคลจนร่างกายสะอาด เมื่อถึงบ้านก็ไม่ต้องไปอาบน้ำที่บ่ออีก
เราถึงบ้านยังไม่ทันมืด
เรื่องที่พ่อเล่ามานี้พ่ออยากให้ลูกเห็นความแตกต่างของคนสมัยก่อนกับสมัยนี้ ครั้งนั้นต้นระกำขึ้นเองในป่าไม่มีใครเป็นเจ้าของที่ดิน ไม่มีใครเอาเม็ดไปปลูก เมื่อต้นระกำออกลูกมีคนไปพบก่อนทำไม้ปักกำจองเอาไว้ คนที่พบทีหลังก็เคารพสิทธิ์ของคนแรกไม่ตัดเก็บเอาไป ทั้ง ๆ ที่ไม่ทราบเลยว่าคนที่ปักกำไว้นั้นเป็นใคร ความรู้สึกแบบนี้เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของท้องถิ่น
ไม่ต้องเขียนกฎหมายขึ้นมาใช้บังคับ ไม่ต้องมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ ไม่ต้องมีตำรวจ ไม่ต้องมีอัยการ ไม่ต้องมีศาลมีผู้พิพากษามาตัดสินคดี ทุกคนมีวัฒนธรรมบนพื้นฐานของศีลธรรม ใครฝ่าฝืนสังคมลงโทษด้วยการไม่เข้าใกล้ ไม่ให้เกียรติ ไม่ร่วมมือ จนคนนั้นอยู่ร่วมในสังคมกับคนอื่นไม่ได้ คนต่อไปก็ไม่กล้าทำอีก
ความเปลี่ยนแปลงเข้ามาเมื่อเราจัดการศึกษาตามแบบโลกตะวันตก(ฝรั่ง) มีการปรับเปลี่ยนการศึกษาที่ไม่มีรูปแบบให้มีรูปแบบเป็นชั้นเรียน รัฐบังคับให้เด็กทุกคนเข้าเรียนตามหลักสูตรที่รัฐกำหนด ใครไม่เรียนตามนี้จัดเป็นพวกไม่มีการศึกษา การปกครองก็ปรับเปลี่ยน
ให้ทันสมัยตามฝรั่ง ที่ดินถูกออกเอกสารสิทธิ์ให้มีเจ้าของห้ามไม่ให้คนอื่นเข้ามาใช้ พันธุ์พืชและสัตว์ป่าที่อยู่มาแต่เดิมถูกขจัดออกไปด้วยการแผ้วถางโค่นล้มต้นไม้ แล้วเอาพืชและสัตว์พันธุ์ใหม่ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องการเข้ามาอยู่แทน พื้นดิน ต้นไม้ สัตว์ป่า และลำธารซึ่งเคยเป็นทรัพย์สินสวนรวมของสรรพชีวิตมาแต่ดั้งเดิมนับล้านปีก็จบลงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
จากพ่อ
เรื่องเล่าเคล้าคุณธรรมจากพ่อ "ปักกำ"
เดี๋ยวจะยอน(เชียร์)ให้พ่อเขียนเรื่องอื่นๆไว้อีกครับ
===========================================================================
เรื่องปักกำ
ตั้งแต่พ่อจำความได้ก็ได้ยินคำอบรมสั่งสอนจากพ่อเฒ่าแม่เฒ่าซึ่งเป็นคนเลี้ยงพ่อตอนเป็นเด็ก ทั้งสองคนคอยตักเตือนให้พ่อทำความดี รู้จักเสียสละ ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ไม่ให้ลักขโมย ไม่ให้ฉ้อโกง ให้เคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ วันพระก็พาพ่อไปวัด สิ่งเหล่านี้ถูกตอกย้ำทบทวนอยู่บ่อย ๆ จนพ่อรู้สึกว่ามันมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของพ่อมาจนถึงทุกวันนี้ การอบรมสั่งสอนความดีแก่ลูกหลานของพ่อเฒ่าแม่เฒ่าไม่ใช่พูดกันเพียงลมปาก แต่ท่านยังทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
อีกมากมาย โดยเฉพาะการทำความดีในการดำรงชีพประจำวัน เรื่องปักกำที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งในหลาย ๆ เรื่องของการทำความดี
ปักกำ คือการนำไม้ขนาดเท่าด้ามมีดพร้ายาวประมาณเมตรครึ่งถึงสองเมตรมาบักลงในที่ดินโล่งมองเห็นได้ชัดแล้วผ่าปลายนำกิ่งไม้ใบไม้ประมาณกำมือหนึ่งยาวประมาณหนึ่งฟุตหนีบไว้ในรอยผ่านั้น เพื่อให้คนมองเห็นได้ง่าย การปักกำเป็นการทำเครื่องหมายจองสิ่งของที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติซึ่งยังไม่มีใครเป็นเจ้าของให้ผู้อื่นรู้ว่ามีผู้ต้องการเก็บเกี่ยวสิ่งเหล่านั้นแล้ว
สิ่งที่มักมีการปักกำจับจองเมื่อไปพบในช่วงที่ยังไม่ถึงกำหนดเก็บเกี่ยวและต้องการเก็บเกี่ยวในวันหน้าเมื่อถึงช่วงที่เหมาะสม เช่น ต้นไม้ ผลไม้ รังผึ้ง เป็นต้น
วันหนึ่ง พ่อเฒ่าพาพ่อไปทำไร่ ระยะทางจากบ้านไปถึงไร่ประมาณห้าถึงเจ็ดกิโลเมตร ต้องเดินกันไปในป่า ทางเดินเป็นดินล้วน ๆ วัว ควาย ช้าง ที่ลากไม้จากป่าไปยังหมู่บ้านก็ใช้ทางเดียวกันนี้ ทางจึงเป็นร่องลึกลงไปจากผิวดินปกติ ช่วงที่ดินแข็งลึกน้อยหน่อยแต่ช่วงที่ดินอ่อนจะลึกมาก โดยเฉพาะตอนใกล้ลำธารร่องลึกมากจนมองตัวควายไม่เห็น ตั้งแต่ออกจากบ้านไปถึงไร่ มีไม่กี่ช่วงที่ต้องเดินตากแดดเพราะส่วนใหญ่สองข้างทางร่มครึ้มด้วยพุ่มไม้ของป่าแก่ที่ยังไม่เคยถูกแผ้วถางมาก่อนจึงเดินกันสบาย ๆ พวกเด็ก ๆ สนุกสนานกับการชมนกชมไม้ไปตลอดทางเมื่อเดินถึงลำธารตรงไหนก็มีน้ำใส ๆ ไหลอยู่ตามร่องหินมากน้อยตามขนาดของลำธารและฤดูกาล น้ำในลำธารทุกแห่งดื่มได้ จึงไม่ต้องนำภาชนะใส่น้ำไปกินระหว่างทาง บางครั้งก็พบผลไม้ป่าข้างทางให้เก็บกินอีกด้วย วันหนึ่งเมื่อเดินผ่านใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่เป็นทางลาดขึ้นจากห้วย ชื่อห้วยไฟกา พ่อได้กลิ่นลูกระกำสุกจึงบอกให้พ่อเฒ่าหยุดเดินแล้วเข้าไปหาเพื่อจะได้เก็บเอามากินเล่นระหว่างเดินทาง ถ้าได้มากเอาไปใส่แกงส้มกับปลาด้วยก็อร่อยดี พ่อเฒ่าเข้าไปครู่หนึ่งกลับออกมาบอกว่าพบลูกระกำสุกแล้วแต่เอาไม่ได้เพราะมีคนมาปักกำจองไว้แล้ว เป็นอันว่าพ่อไม่ได้กินลูกระกำ พวกเราจึงออกเดินทางกันต่อไปจนถึงไร่และอยู่กันที่ไร่ปลูกพืชผักต่าง ๆ และเก็บพืชผลที่ให้ผลผลิตแล้วกลับไปบ้าน เราออกจากไร่เดินกลับบ้านตอนเย็นเมื่อนกสาลิการ้องบอกเวลาครั้งที่สาม ระหว่างทางพ่อเฒ่ากับพ่อแวะลงอาบน้ำในคลองเก็บก้อนหินที่สากแต่ไม่คม
จากท้องคลองขึ้นมาถูขี้ไคลจนร่างกายสะอาด เมื่อถึงบ้านก็ไม่ต้องไปอาบน้ำที่บ่ออีก
เราถึงบ้านยังไม่ทันมืด
เรื่องที่พ่อเล่ามานี้พ่ออยากให้ลูกเห็นความแตกต่างของคนสมัยก่อนกับสมัยนี้ ครั้งนั้นต้นระกำขึ้นเองในป่าไม่มีใครเป็นเจ้าของที่ดิน ไม่มีใครเอาเม็ดไปปลูก เมื่อต้นระกำออกลูกมีคนไปพบก่อนทำไม้ปักกำจองเอาไว้ คนที่พบทีหลังก็เคารพสิทธิ์ของคนแรกไม่ตัดเก็บเอาไป ทั้ง ๆ ที่ไม่ทราบเลยว่าคนที่ปักกำไว้นั้นเป็นใคร ความรู้สึกแบบนี้เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของท้องถิ่น
ไม่ต้องเขียนกฎหมายขึ้นมาใช้บังคับ ไม่ต้องมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ ไม่ต้องมีตำรวจ ไม่ต้องมีอัยการ ไม่ต้องมีศาลมีผู้พิพากษามาตัดสินคดี ทุกคนมีวัฒนธรรมบนพื้นฐานของศีลธรรม ใครฝ่าฝืนสังคมลงโทษด้วยการไม่เข้าใกล้ ไม่ให้เกียรติ ไม่ร่วมมือ จนคนนั้นอยู่ร่วมในสังคมกับคนอื่นไม่ได้ คนต่อไปก็ไม่กล้าทำอีก
ความเปลี่ยนแปลงเข้ามาเมื่อเราจัดการศึกษาตามแบบโลกตะวันตก(ฝรั่ง) มีการปรับเปลี่ยนการศึกษาที่ไม่มีรูปแบบให้มีรูปแบบเป็นชั้นเรียน รัฐบังคับให้เด็กทุกคนเข้าเรียนตามหลักสูตรที่รัฐกำหนด ใครไม่เรียนตามนี้จัดเป็นพวกไม่มีการศึกษา การปกครองก็ปรับเปลี่ยน
ให้ทันสมัยตามฝรั่ง ที่ดินถูกออกเอกสารสิทธิ์ให้มีเจ้าของห้ามไม่ให้คนอื่นเข้ามาใช้ พันธุ์พืชและสัตว์ป่าที่อยู่มาแต่เดิมถูกขจัดออกไปด้วยการแผ้วถางโค่นล้มต้นไม้ แล้วเอาพืชและสัตว์พันธุ์ใหม่ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องการเข้ามาอยู่แทน พื้นดิน ต้นไม้ สัตว์ป่า และลำธารซึ่งเคยเป็นทรัพย์สินสวนรวมของสรรพชีวิตมาแต่ดั้งเดิมนับล้านปีก็จบลงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
จากพ่อ