ไม่เคลียร์ครับ ช่วงนี้เห็นบ่อยมาก คือคนที่มีบัตรเครดิตหลายใบแต่ไม่ค่อยมีหนี้ กับคนที่บัตรน้อยกว่าแต่หนี้มากกว่า
หากต้องการทำธุรกรรมการเงินต่างๆ แบงค์จะให้เครดิตสกอร์ใครมากกว่ากัน ในส่วนของเรื่อง "หนี้"
ไม่นับบัตรเครดิตประเภทเงินฝากค้ำประกันละกันนะครับ (เกี่ยวด้วยหรือไม่ผมก็ไม่รู้นะ)
** สมมตินะครับ **
A กับ B มีสถานภาพทางครอบครัว การงาน รายได้ เหมือนกันทุกอย่าง และหนี้อย่างเดียวที่มีคือบัตรเครดิต แต่...
A มีบัตรเครดิต 1 ใบ วงเงิน 100,000 จ่ายสม่ำเสมอตรงเวลา บ่อยครั้งจ่ายมากกว่าขั้นต่ำ หรือจ่ายเต็มก็มี
แต่ปัจจุบันมีหนี้บัตรคงเหลือ 40,000
B มีบัตรเครดิต 10ใบ (จาก 10 สถาบันการเงิน) วงเงินใบละ 100,000 ใช้หลักๆ 2-3 ใบ จ่ายสม่ำเสมอตรงเวลา บ่อยครั้งจ่ายมากกว่าขั้นต่ำ หรือจ่ายเต็มก็มี แต่ปัจจุบันมีหนี้บัตรอยู่ 1 ใบ 20,000
----
การประเมินคะแนนในส่วนของหนี้ ผมเห็นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
(1) บางคนว่า A จะถูกตัดแต้มมากกว่า เพราะเหตุผลว่า
ค่า ratio ระหว่างวงเงินเครดิตที่มีกับหนี้ ของ A สูงถึง 40% ในขณะที่ B มีเพียง 2% เท่านั้น
และถ้ามองเฉพาะยอดหนี้คงค้างกันจริงๆ A ก็ยังมีมากกว่า B อีกด้วย
(2) บางคนว่า B จะถูกตัดแต้มมากกว่า เพราะเหตุผลว่า
ในเรื่องของจำนวนบัตรที่มีมาก เพราะมีโอกาสเกิดหนี้จากบัตรเหล่านั้นได้ตลอดเวลา
จึงคิดหนี้ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ไว้ที่ 10% ทุกใบก่อนเลย B = 90,000 (10% ของ 9 ใบที่เหลือ)
+ 20,000 (หนี้คงค้างปัจจุบันของบัตร 1ใบ) = 110,000 ในขณะที่ A มีหนี้เพียง 40,000 เท่านั้น
และมีโอกาสสร้างหนี้สูงสุดแค่ 1แสน ต่างจาก B ที่มีโอกาสสร้างหนี้ได้ถึง 1ล้าน!
ทฤษฎีของ (1) ใครมีบัตรมากๆ แต่หนี้น้อยๆสิดี อัตราส่วนหนี้มันจะยิ่งน้อยลง
หรือก็มองเฉพาะหนี้คงค้างที่มีไปเลย ว่ามีเท่าไหร่ก็ว่ากันไป ใครมีมากคิดเทียบกับ
รายได้ที่มี ยิ่งสูงก็ยิ่งเสียคะแนนตรงนี้ไป
ทฤษฎีของ (2) บัตรไหนไม่ใช้ก็ปิดๆไปเถอะ ถือให้น้อยที่สุด เยอะแบบนี้โดนหักแต้มกระจายเลย
เพราะคุณจะมีโอกาสสร้างหนี้ได้สูงกว่าได้ตลอดเวลา
----
ตกลงคือยังไงกันแน่ครับ... หรือแต่ละแบงค์พิจารณาไม่เหมือนกัน...
แต่ผมว่าเรื่องนี้มันค่อนข้างน่าจะเป็นมาตรฐานในการประเมินเลยนะ
เอาแค่ในประเทศเราก็ได้ครับ แบงค์ในไทยนี่แหละ ไม่ต้องอ้างถึงแบงค์ต่างประเทศนะครับ
มีเรื่องประมาณนี้อีกเรื่องครับ
เห็นเพื่อนๆใน pantip บางคนว่า ตัวเองสมัครบัตรเครดิตเพิ่ม ไม่ผ่าน อาจจะเป็นเพราะ
วงเงินที่ได้ปัจจุบันสูงมากแล้ว พอคิดทุกใบออกมาที่ 10% มันเกิน 40%-50% ของรายได้แล้ว ตนจึงไม่ผ่าน...
ซึ่งผมว่าไม่น่าจะใช่นะครับ เพราะ ตัวผมเองก็มีบัตรหลายใบครับ ทั้งบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด แต่ถ้าคิดที่ 10% ของทุกใบรวมกัน
มันเท่ากับ 100%+ ของรายได้ผมแล้วครับ ต่อให้แยกชนิดบัตรออกเป็น 2 ประเภทด้วยครับ (บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด)
ยิ่งถ้าคิดรวมนี่ 200%+ ของรายได้แล้วครับ
มีใครรู้จริงเรื่องนี้บ้างครับ อยากได้ความคิดเห็น หรือคำตอบที่ชัดเจน
ถ้ามันมีหลายใบแล้วไม่ดีจริงๆ ผมจะได้ไปปิดบัตรบ้างครับ
------
edit1 : เพิ่มรายละเอียดนิดหน่อยครับ ให้ชัดเจนมากขึ้น
บัตรเครดิตมีหลายใบ ดีหรือไม่ อย่างไร?
หากต้องการทำธุรกรรมการเงินต่างๆ แบงค์จะให้เครดิตสกอร์ใครมากกว่ากัน ในส่วนของเรื่อง "หนี้"
ไม่นับบัตรเครดิตประเภทเงินฝากค้ำประกันละกันนะครับ (เกี่ยวด้วยหรือไม่ผมก็ไม่รู้นะ)
** สมมตินะครับ **
A กับ B มีสถานภาพทางครอบครัว การงาน รายได้ เหมือนกันทุกอย่าง และหนี้อย่างเดียวที่มีคือบัตรเครดิต แต่...
A มีบัตรเครดิต 1 ใบ วงเงิน 100,000 จ่ายสม่ำเสมอตรงเวลา บ่อยครั้งจ่ายมากกว่าขั้นต่ำ หรือจ่ายเต็มก็มี
แต่ปัจจุบันมีหนี้บัตรคงเหลือ 40,000
B มีบัตรเครดิต 10ใบ (จาก 10 สถาบันการเงิน) วงเงินใบละ 100,000 ใช้หลักๆ 2-3 ใบ จ่ายสม่ำเสมอตรงเวลา บ่อยครั้งจ่ายมากกว่าขั้นต่ำ หรือจ่ายเต็มก็มี แต่ปัจจุบันมีหนี้บัตรอยู่ 1 ใบ 20,000
----
การประเมินคะแนนในส่วนของหนี้ ผมเห็นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
(1) บางคนว่า A จะถูกตัดแต้มมากกว่า เพราะเหตุผลว่า
ค่า ratio ระหว่างวงเงินเครดิตที่มีกับหนี้ ของ A สูงถึง 40% ในขณะที่ B มีเพียง 2% เท่านั้น
และถ้ามองเฉพาะยอดหนี้คงค้างกันจริงๆ A ก็ยังมีมากกว่า B อีกด้วย
(2) บางคนว่า B จะถูกตัดแต้มมากกว่า เพราะเหตุผลว่า
ในเรื่องของจำนวนบัตรที่มีมาก เพราะมีโอกาสเกิดหนี้จากบัตรเหล่านั้นได้ตลอดเวลา
จึงคิดหนี้ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ไว้ที่ 10% ทุกใบก่อนเลย B = 90,000 (10% ของ 9 ใบที่เหลือ)
+ 20,000 (หนี้คงค้างปัจจุบันของบัตร 1ใบ) = 110,000 ในขณะที่ A มีหนี้เพียง 40,000 เท่านั้น
และมีโอกาสสร้างหนี้สูงสุดแค่ 1แสน ต่างจาก B ที่มีโอกาสสร้างหนี้ได้ถึง 1ล้าน!
ทฤษฎีของ (1) ใครมีบัตรมากๆ แต่หนี้น้อยๆสิดี อัตราส่วนหนี้มันจะยิ่งน้อยลง
หรือก็มองเฉพาะหนี้คงค้างที่มีไปเลย ว่ามีเท่าไหร่ก็ว่ากันไป ใครมีมากคิดเทียบกับ
รายได้ที่มี ยิ่งสูงก็ยิ่งเสียคะแนนตรงนี้ไป
ทฤษฎีของ (2) บัตรไหนไม่ใช้ก็ปิดๆไปเถอะ ถือให้น้อยที่สุด เยอะแบบนี้โดนหักแต้มกระจายเลย
เพราะคุณจะมีโอกาสสร้างหนี้ได้สูงกว่าได้ตลอดเวลา
----
ตกลงคือยังไงกันแน่ครับ... หรือแต่ละแบงค์พิจารณาไม่เหมือนกัน...
แต่ผมว่าเรื่องนี้มันค่อนข้างน่าจะเป็นมาตรฐานในการประเมินเลยนะ
เอาแค่ในประเทศเราก็ได้ครับ แบงค์ในไทยนี่แหละ ไม่ต้องอ้างถึงแบงค์ต่างประเทศนะครับ
มีเรื่องประมาณนี้อีกเรื่องครับ
เห็นเพื่อนๆใน pantip บางคนว่า ตัวเองสมัครบัตรเครดิตเพิ่ม ไม่ผ่าน อาจจะเป็นเพราะ
วงเงินที่ได้ปัจจุบันสูงมากแล้ว พอคิดทุกใบออกมาที่ 10% มันเกิน 40%-50% ของรายได้แล้ว ตนจึงไม่ผ่าน...
ซึ่งผมว่าไม่น่าจะใช่นะครับ เพราะ ตัวผมเองก็มีบัตรหลายใบครับ ทั้งบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด แต่ถ้าคิดที่ 10% ของทุกใบรวมกัน
มันเท่ากับ 100%+ ของรายได้ผมแล้วครับ ต่อให้แยกชนิดบัตรออกเป็น 2 ประเภทด้วยครับ (บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด)
ยิ่งถ้าคิดรวมนี่ 200%+ ของรายได้แล้วครับ
มีใครรู้จริงเรื่องนี้บ้างครับ อยากได้ความคิดเห็น หรือคำตอบที่ชัดเจน
ถ้ามันมีหลายใบแล้วไม่ดีจริงๆ ผมจะได้ไปปิดบัตรบ้างครับ
------
edit1 : เพิ่มรายละเอียดนิดหน่อยครับ ให้ชัดเจนมากขึ้น