ตาบอดสีอยากมีใบขับขี

กระทู้คำถาม
เนื่องจากเป็นคนตาบอดสีตั้งแต่เด็ก อาการก็คือ จะมองสีที่มันล้ำเลื่อมกันเป็นสีอื่น ยกตัวอย่างเช่น สีเขียว กับ สีเทา สีเหลือง กับสีเขียวอ่อน แต่แม่สี รู้เรื่อง ไม่มีปัญหา
สัญญานไฟจราจร รู้เป็นอย่างดี เคยไปทำใบขับขีมอเตอร์ไซด์อยู่2ครั้ง แต่สอบไม่ผ่านเพราะตกตรงชี้สีในช่องกลมๆเนี่ยและ
ไปไหนมาไหน ลำบากตอนผ่านด่านตรวจ ถูกกฏหมายทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น เรื่องวินัยการขับขี มวกกันน๊อก พร้อมเสมอออกบ้าน ขาดแต่บขับขี่ ต้องโดนปรับทุกครั้งที่ออกจากบ้านที่ละ 200-300 แต่พอถามคุณ ตร. ว่า จะทำยังงัยได้เพราะเราทำใบขับขี่ไม่ได้เพราะตาบอดสี เค้าก็บอก "ให้ไปเอาใบรับรองแพทย์มา" (เอามาทำมัยคือเราจ่ายค่าปรับไปแล้วอะ) โอเคไว้ครั้งต่อไป แต่พอไปถามหมอ เฉพาะทาง เค้าก็บอกว่า ให้ไปหาตำรวจ เอาใบรับรองแพทย์ไปด้วนะ เค้าก็บอกว่า ยังงัยก็ต้องเสียค่ารับอยู่ดีเพราะมันไม่มีกฏหมายรับรอง สรุปคือเราต้องเสียค่ารับตลอดไปหรือเปล่า เพราะไม่อยากทุจริตใบขับขี

ใครพอรู้ช่วยบอก แนะนำหน่อยคับ ลำบากมากครับ
ขอบคุณครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
คนตาบอดสีทำใบขับขี่ได้: เริ่ม2555มกราคม

ผม นายพันธุ์ทอง จันทร์สว่าง ขอชื่นชมประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อน สื่อดีดีที่นำเสนอและหน่วยงานนี้ครับ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ จาก เนื้อหาข่าวดีดี เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2554 นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์ รพ.พระนั่งเกล้า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากการพูดคุยกับผู้ป่วยโรคตาบอดสี และ ผศ.นพ.ศักดิ์ชัยวงศกิตติรักษ์ ประธานราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทยพบว่า ผู้ป่วยโรคตาบอดสีในปัจจุบันมีปัญหาที่ไม่สามารถสอบใบอนุญาตใบขับขี่รถยนต์ได้ เนื่องจากกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก มีข้อห้ามเอาไว้ ที่ผ่านมาผู้ป่วยโรคตาบอดสีเคยไปร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินกรณีที่ถูกลิดรอนสิทธิ และผู้ตรวจการแผ่นดินได้หารือมายังราชวิทยาจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย

นพ.ฐาปนวงศ์ กล่าวต่อว่า ทางราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทยได้ตอบข้อหารือในเรื่องนี้ ขณะเดียวกันได้ส่งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2554 แล้ว ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคตาบอดสีนั้นอุบัติการณ์ในผู้ชายพบประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในผู้หญิงพบ 0.5 เปอร์เซ็นต์ มีการประมาณการว่า ในนักเรียนชาย 1 ห้องจะมีคนที่ตาบอดสี 1 คน ส่วนนักเรียนหญิง 16 ห้องจะมีคนตาบอดสี 1 คน โรคนี้เป็นความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ไม่สามารถรักษาได้ และมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

นพ.ฐาปนวงศ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้อุบัติเหตุและสารเคมีอาจทำให้เกิดตาบอดสีได้แต่จะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น ในคนที่เป็นโรคตาบอดสีรุนแรงไม่สามารถที่จะแยกสีได้คือมองเห็นภาพเป็นสีขาวดำเท่านั้นซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่สามารถที่จะขับขี่รถยนต์ได้ แต่บางชนิดรุนแรงน้อยจึงไม่มีปัญหากับการใช้ชีวิตประจำวัน แต่อาจแยกสีเดียวกันที่มีความอ่อนแก่ใกล้เคียงกันไม่ได้ ดังนั้นคนกลุ่มนี้ก็ยังสามารถที่จะขับรถได้อยู่ จึงไม่ควรไปลิดรอนสิทธิของผู้ป่วย ยกเว้นการประกอบอาชีพบางอาชีพ เช่น นักบิน ร้อยสายไฟ กราฟิก ดีไซน์ ตรงนั้นยอมรับได้ แต่เรื่องใบขับขี่รถยนต์ไม่ควรห้าม

"การที่ผู้ป่วยโรคตาบอดสีไม่สามารถสอบใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้ โดยเอาสีของสัญญาณไฟจราจรเพียง 3 สีมาบังคับ เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง จริงอยู่ตาบอดสีที่พบมากแบบสีแดง และเขียว แต่ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถเรียนรู้ได้แต่กำเนิด อย่างตอนเหยียบเบรกเขาก็สามารถสังเกตจากความจ้าของไฟเบรกท้ายรถได้ ไม่เป็นปัญหา อีกทั้งในการขับขี่รถยนต์เขาอาจจะไม่จำเป็นต้องอยู่คันหน้าตอนติดไฟแดง อาจจะอยู่คันหลังมันก็ไม่มีอันตรายอะไร ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่จะมีการแก้ไขกฎกระทรวงเพื่อเรื่องจะได้จบ ผมขอวิงวอนไปยังรัฐบาลใหม่ โดยเฉพาะ รมว.คมนาคม รับทราบปัญหาและแก้ไขเรื่องนี้ เพราะราชวิทยาลัยได้ให้ความเห็นเรื่องนี้ไปตั้งแต่เดือน มิ.ย.แล้ว" จักษุแพทย์ รพ.พระนั่งเกล้า กล่าว

นพ.ฐาปนวงศ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคควรจะหันมาใส่ใจในเรื่องนี้บ้าง มิใช่ไปสนใจในเรื่องไม่เป็นเรื่อง แต่พอเรื่องสำคัญกลับเพิกเฉย ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกรมการขนส่งทางบก คนไข้ หรือราชวิทยาควรมานั่งพูดคุยกันเพื่อให้เรื่องนี้จบเพราะผู้ป่วยโรคตาบอดสีที่ไม่รุนแรงสามารถขับรถยนต์ได้และไม่เป็นอันตราย และอยากเรียกร้องให้ผู้ป่วยออกมาเรียกร้องสิทธิตรงนี้ หรืออาจจะให้ความเห็นในโลกไซเบอร์ก็ได้

ด้าน ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ก่อนที่ทางผู้ตรวจการแผ่นดินจะหารือมายังราชวิทยาลัยนั้น ทางราชวิทยาลัยเคยให้ข้อมูลกับกรมการขนส่งทางบกไปแล้วว่า คนที่ตาบอดสีสามารถที่จะขับขี่รถยนต์ได้ อีกทั้งหลายประเทศก็ได้อนุญาต ทั้งนี้ประมาณ 5-6 เดือนก่อนเคยไปที่กรมการขนส่งทางบกก็ได้รับแจ้งว่ากำลังมีการรวบรวมข้อมูลอยู่แต่กระบวนการของราชการอาจมีขั้นตอนดังนั้นเรื่องอาจจะช้าบ้าง "ผมคิดว่าผู้ป่วยตาบอดสีชนิดไม่รุนแรงสามารถขับรถยนต์ได้ ยกเว้นที่รุนแรงจริง ๆ เขาก็จะมีปัญหาตาพล่ามัวทำให้ไม่สามารถขับขี่รถยนต์ได้ ดังนั้นหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องทางราชวิทยาลัยก็ยินดีที่จะส่งผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา" ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย กล่าว

ส่วน นายเทียรโชติ จงพีร์เพียร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กล่าวว่า ขณะนี้ ขบ. ได้ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การทดสอบดูสีในการสอบใบขับขี่รถยนต์ใหม่ โดยกำหนดให้ใช้ไฟเสมือนจริงกับไฟจราจรที่มีสีเขียว สีเหลืองและสีแดง โดยจะมีผลตั้งแต่เดือน ม.ค. 2555 เป็นต้นไป จากเดิมที่ใช้ไฟหลายสี หลังจากที่มีประชาชนที่อยู่ในกลุ่มตาบอดสีได้ร้องเรียนเข้ามาจำนวนมากว่าต้องการมีใบอนุญาตใบขี่รถยนต์ ขณะเดียวกันได้สอบถามไปยังแพทยสภาโดยได้รับการยืนยันว่า ขบ. สามารถปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การทดสอบได้

ขณะที่ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ พบว่า มีผู้ป่วยโรคตาบอดสีมาโพสต์ข้อความจำนวนมากว่า รู้สึกอัดอั้นตันใจที่โดนลิดรอนสิทธิตรงนี้และวิงวอนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งแก้ไขปัญหาด้วย.-

ทั้งนี้มีที่มาที่ไป ในกรณีดังกล่าวนี้ โดย.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือเลขที่รจท.169/2553 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2553 แสดงความคิดเห็นกรณีสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน หารือกรณีประชาชนที่มีภาวะตาบอดสีร้องเรียนในเรื่องความไม่เหมาะสมของระเบียบกรมการขนส่งทางบก ที่ไม่ออกใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ให้แก่ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีทั้งนี้มีความเห็นว่า แม้ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีจะมองสีผิดไปจากคนปกติก็จริงแต่ยังมีความสามารถในการแยกสีไฟจราจรได้โดยไม่มีปัญหา แม้จะไม่ชัดมาก แต่ไฟจราจรก็มีช่องว่างและลำดับชัดเจน คือแดง เหลือง เขียว และมีความสว่างของไฟที่เหมาะสม ดังนั้นจึงเชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนน ซึ่งในประเทศแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา ก็อนุญาตให้บุคคลที่มีภาวะดังกล่าวสามารถขับขี่รถยนต์ได้เช่นกัน

"ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ฯเสนอให้กรมขนส่งทางบกตรวจวินิจฉัยผู้มีภาวะตาบอดสีได้ แต่ให้ใช้หลักการดูไฟเขียว เหลือง แดงเหมือนไฟจราจร ซึ่งทราบว่าผู้ตรวจการแผ่นดินได้เสนอข้อคิดเห็นไปยังกรมการขนส่งทางบก เพื่อให้พิจารณาปรับปรุงเกณฑ์และวิธีการทดสอบผู้ตาบอดสีแล้วแต่จนบัดนี้กรมการขนส่งทางบกก็ยังนิ่งเฉย" ผศ.นพ.ศักดิ์ชัยกล่าว และว่า จากประสบการณ์ ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีส่วนใหญ่ไม่เคยรู้ตัวว่าป่วย และสามารถขับรถได้ปกติ จนมาถึงช่วงที่ต้องตรวจคัดกรองเพื่อขอใบขับขี่จึงทราบ ดังนั้น เรื่องนี้จึงไม่ยุติธรรมกับผู้ที่มีภาวะดังกล่าว

ผศ.นพ.ศักดิ์ชัยกล่าวถึงสถานการณ์ของผู้ตาบอดสีในประเทศไทยว่า พบเพียงร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่สามารถขับขี่รถได้โดยอาศัยสัญชาตญาณการพึ่งพาตนเองในการแยกลำดับ ซึ่งเรียนรู้จากคนรอบข้าง แต่หากจะตรวจวัด ก็ควรวัดแค่ศักยภาพในการมองสีสัญญาณไฟจราจรคู่กับการเรียนรู้กฎจราจรด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ไม่ควรวัดละเอียดแบบการตรวจสายตาทั่วไป ซึ่ง ศ.ศรีราชาเจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้

ด้าน นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณจักษุแพทย์โรงพยาบาล (รพ.) พระนั่งเกล้าจ.นนทบุรี กล่าวว่า ในทางการแพทย์ตาบอดสีไม่สามารถรักษาหายขาดได้ จากการทบทวนงานการศึกษาของสหรัฐ พบว่าผู้ที่มีภาวะตาบอดสีส่วนใหญ่เป็นเพศชายพบได้ร้อยละ 8 ส่วนหญิง ร้อยละ 0.5 สำหรับสาเหตุของตาบอดสีนั้นมีหลายอย่างบางรายเกิดจากพันธุกรรม เนื่องจากเซลล์ประสาทชนิดหนึ่งในม่านตาซึ่งมีความไวต่อสีต่างๆ มีความบกพร่องหรือพิการ ทำให้ไม่สามารถที่จะมองเห็นบางสีได้ ตาบอดสีมีหลายชนิด ชนิดที่ทุกคนรู้จักโดยทั่วไปได้แก่ตาบอดสีที่มองสีเขียวกับสีแดงไม่เห็น(Red-Green blindness) ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถแยกสีแดงกับสีเขียวจากสีอื่นๆ ได้ดังนั้นคนตาบอดสีชนิดนี้จะมองเห็นสิ่งต่างๆ ในโลกเป็นสีน้ำเงิน สีเหลือง สีขาวสีดำ สีเทา และส่วนผสมของสีเหล่านั้นทั้งหมด บางรายแยกสีแดงและสีเขียวค่อนข้างลำบากโดยเฉพาะเวลาที่แสงไม่สว่างแต่ไม่ว่าจะเป็นตาบอดสีชนิดใด ล้วนจะมีสายตาหรือการมองเห็น (vision) ที่เป็นปกติ เพียงแต่ความสามารถในการแยกสีไม่ปกติเท่านั้น
"กรณีการขับรถนั้น ไม่ใช่ว่าทุกรายจะมีปัญหาเหมือนกัน บางรายถ้าอาการหนักถึงขั้นแยกช่องว่างไม่ออก และมีอาการมองสิ่งของเป็นสีขาว เทา ดำ แบบนี้ก็ไม่ควรให้ขับ แต่อาการจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของแพทย์ จึงอยากให้กรมการขนส่งแก้ไขหลักเกณฑ์ให้เหมาะสม อย่าเหมารวม" นพ.ฐาปนวงศ์กล่าว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่