ต้องยอมรับว่าสื่อมีอิทธิพลต่อการชี้นำสังคม แต่ส่ิงที่เรียนรู้จากสื่อทุกวันนี้มันเพี้ยนๆ ยังไงอยู่
ตัวอย่างเช่น
1. คำว่า "มีการ"
การใช้ภาษา ประโยคของภาษา ต้องมี-ประธาน- กริยาข-กรรม
ทุกวันนี้ คำกริยาในประโยค แทบกจะเหลือคำเดี่ยว คือ -มี + ..."
เกือบทุกที่ของคำกริยา นักข่าวจะใช้คำว่า "มีการ...." ลงไปทุกที่ เช่น
"พลตำรวจเอก .... ผบ. ตร. มีการลงมาพบผู้ประท้วง"
" เจ้าหน้าที่มีการออกไปตรวจสถานที่ที่ผู้ร้ายมีการนำระเบิดมาฝังไว้ ทำให้มีการระเบิด และมีการ..."
ปกติ คำนี้ จะใช้สำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบผู้กระทำ เช่น มีการปล้นธนาคาร มีการฆาตกรรม เกิดขึ้น
2. "ค่อนข้าง" ใช้กันเป็นปกติแม้ในที่ที่ไม่ควรใช้ โดยไม่สนใจความหมายของคำ
เช่น "ภัยแล้งปีนี้ ค่อนข้าง จะสาหัสมาก (ตกลงมัน-ค่อนข้าง หรือมันสาหัสมาก)
" คนขับ ค่อนข้างขับรถมาด้วยความเร็วสูง .... " ทั้งที่ในข่าว รถคันนี้นพุ่งข้ามเกาะ ไปชนรถฝั่งตรงข้ามพังถึงสี่คัน และคนขับต่ายคาที่ ยังเรียกว่า ค่อนข้าง (ข่าวเช้านี้เอง)
3. คำว่า "ประมาณ"
เช่น "มีคน..ประมาณ 2 คน" จำนวนแค่สองคน ต้องประมาณด้วยหรือ
4. แย่งกันพูด จนฟังไม่ได้ศัพท์
ทุกวันนี้หลายช่อง มักใช้ผู้ดำเนินรายการหลายคน และเวลาน้อย ทุกกคนจึงแย่งกันพูด พูดพร้อมกัน ตะโกนแข่งกัน โดยเฉพาะช่องข่าวเช้าช่องหนึ่งช่วงเวลาตี่สี่กว่าๆ
นี่เป็นความรู้สึกที่คนดูคนหนึ่ง ติงมาด้วยความเคารพ หรือถ้าจะมีช่องใด ตอบว่า -- ไม่ชอบก็ไปดูช่องอื่น-- (มีวิทยุสถานีหนึ่ง ตอบผู้ฟังอย่างนี้จริงๆ)
ภาษา - จากสื่อมวลชน
ตัวอย่างเช่น
1. คำว่า "มีการ"
การใช้ภาษา ประโยคของภาษา ต้องมี-ประธาน- กริยาข-กรรม
ทุกวันนี้ คำกริยาในประโยค แทบกจะเหลือคำเดี่ยว คือ -มี + ..."
เกือบทุกที่ของคำกริยา นักข่าวจะใช้คำว่า "มีการ...." ลงไปทุกที่ เช่น
"พลตำรวจเอก .... ผบ. ตร. มีการลงมาพบผู้ประท้วง"
" เจ้าหน้าที่มีการออกไปตรวจสถานที่ที่ผู้ร้ายมีการนำระเบิดมาฝังไว้ ทำให้มีการระเบิด และมีการ..."
ปกติ คำนี้ จะใช้สำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบผู้กระทำ เช่น มีการปล้นธนาคาร มีการฆาตกรรม เกิดขึ้น
2. "ค่อนข้าง" ใช้กันเป็นปกติแม้ในที่ที่ไม่ควรใช้ โดยไม่สนใจความหมายของคำ
เช่น "ภัยแล้งปีนี้ ค่อนข้าง จะสาหัสมาก (ตกลงมัน-ค่อนข้าง หรือมันสาหัสมาก)
" คนขับ ค่อนข้างขับรถมาด้วยความเร็วสูง .... " ทั้งที่ในข่าว รถคันนี้นพุ่งข้ามเกาะ ไปชนรถฝั่งตรงข้ามพังถึงสี่คัน และคนขับต่ายคาที่ ยังเรียกว่า ค่อนข้าง (ข่าวเช้านี้เอง)
3. คำว่า "ประมาณ"
เช่น "มีคน..ประมาณ 2 คน" จำนวนแค่สองคน ต้องประมาณด้วยหรือ
4. แย่งกันพูด จนฟังไม่ได้ศัพท์
ทุกวันนี้หลายช่อง มักใช้ผู้ดำเนินรายการหลายคน และเวลาน้อย ทุกกคนจึงแย่งกันพูด พูดพร้อมกัน ตะโกนแข่งกัน โดยเฉพาะช่องข่าวเช้าช่องหนึ่งช่วงเวลาตี่สี่กว่าๆ
นี่เป็นความรู้สึกที่คนดูคนหนึ่ง ติงมาด้วยความเคารพ หรือถ้าจะมีช่องใด ตอบว่า -- ไม่ชอบก็ไปดูช่องอื่น-- (มีวิทยุสถานีหนึ่ง ตอบผู้ฟังอย่างนี้จริงๆ)