JODJUM: Archi Depot Tokyo, สถาปัตยกรรมผสมผสานวัฒนธรรมญี่ปุ่น

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

ติดตามเรื่องราวต่างๆเพิ่มเติมได้ที่
facebook: http://www.facebook.com/jodjumblog
blog(Eng): http://jodjum.tumblr.com

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

สวัสดีค่ะ.. คราวนี้กานต์จะพาไปชมงานด้านสถาปัตยกรรมกันบ้างเนอะ
งานนี้สถาปนิกชาวญี่ปุ่นเค้ารวมตัวกันทำ project การออกแบบสถาปัตยกรรมที่อนุรักษ์วัฒนธรรมของญี่ปุ่น
โดย project ยักษ์นี้ ได้เริ่มจากการนำงานออกแบบมาแสดงที่ triennale di Milano, มิวเซียมชื่อดังใจกลางเมืองมิลาน
มิวเซียมนี้เป็นที่โปรดที่นึงของกานต์เลยค่ะ เพราะจะมีการหมุนเวียนเปลี่ยน exhibition ที่น่าสนใจต่างๆมาแสดงเรื่อยๆ
บางวันก็จะมีงานแสดงดนตรีจากศิลปินชื่อดัง นอกจากนี้ยังมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่กานต์ชอบมานั่งพักผ่อน และ
picnic กับเพื่อนๆ ในวันว่าง เอาไว้ฉบับหน้าๆ กานต์จะนำรูปบริเวณรอบๆมิวเซียมมาแบ่งปันให้เพื่อนๆได้ชมกันนะคะ

exhibition ที่กานต์จะพาเพื่อนๆเข้าไปชมวันนี้มีชื่อว่า Archi Depot Tokyo

What . Archi Depot Tokyo
Where . La Triennale di Milano
When . 12.07.15

จากชื่องานก็บอกชัดเจนว่าเป็นงานออกแบบจากแดนอาทิตย์อุทัยนี่เอง
สถาปนิกชาวญี่ปุ่มได้รวมตัวกันออกแบบสถาปัตยกรรมและนำเสนอในรูปแบบของโมเดล
โดยแต่ละงานจะสื่อถึงความสัมพันธ์ระหว่าง สถาปัตยกรรม และความเป็นอยู่ของชุมชนพื้นเมืองประเทศญี่ปุ่น




Nepal Project, Shigeru BAN

บอกตามตรง ความรู้สึกแรกที่ได้รับขณะเดินเข้าไปในงานนี้คือ
"นี่เค้าจัดงานเสร็จหรือยังเนี่ย?" .. "เค้าเปิดให้เราชมหรือยัง? เราเข้าไปได้มั้ย?"
กานต์คิดในใจว่า ทำไมครั้งนี้ญี่ปุ่นเปลี่ยนไป จัดงานไม่เนี๊ยบเลย เหมือนจัดงานไม่เสร็จและยังไม่พร้อมโชว์
แต่พอกานต์เดินเข้าไป และหยุดอ่านตรงป้าย concept สักครู่หนึ่ง. . . อื้มมมม... เข้าใจแจ่มแจ้งเลยค่ะ
สถาปนิกญี่ปุ่นไม่ทำให้ผิดหวัง ตั้งใจสร้าง concept ของงานให้ออกมาเป็นรูปแบบคล้ายโกดังสินค้า
ที่โชว์ models สถาปัตยกรรมต่างๆ เหมือนเราได้เข้าไปในโกดัง เดินดูสินค้าไปเรื่อยๆ แตกต่างจากงานออกแบบทั่วๆไป
พอรู้ถึงแก่นความตั้งใจของผู้จัดงานเท่านั้นแหละ.. ชอบเลยค่ะ ฮ่าๆ
โดยการจัดวางงานต่างๆ ก็จะอยู่ในระดับไม่สูงกว่าระดับสายตา(ฝรั่ง) และบางจุดจะมีการ
ตกแต่งด้วยกล่องสินค้า เพื่อเพิ่มบรรยากาศและความรู้สึกให้เหมือนอยู่ในโกดังมากขึ้น




ภาพบรรยากศภายในงาน ภาพใต้ concept โกดังสินค้า

ภายในงาน ได้มีการโชว์งานออกจากสถาปนิกญี่ปุ่นและนักออกแบบหน้าใหม่ โดยโซนของนักออกแบบ
หน้าใหม่ไฟแรง จะถูกวางโชว์อยู่ตรงกลางงานเลยค่ะ ภาพข้างล่างนี้ก็เป็นหนึ่งในโซนนี้ค่ะ




Airport Project, Shigeru BAN

ส่วนในโซนที่เป็นโกดัง จะถูกวางด้วยงานของสถาปนิกมืออาชีพมากมาย โดยกานต์จะหยิบยก
บางงานที่กานต์ชื่นชอบมาอธิบายถึง concept และที่มากันนะคะ

เริ่มจากงานนี้แล้วกันเนอะ..

" House M "
ได้ถูกออกแบบภายใต้ concept "โทโร่" ใครที่ชอบทานซูชิคงทราบดีว่าเป็นส่วนที่มันและอร่อยสุดๆของปลาทูน่า
สถาปนิกคนนี้ได้ใช้พื้นที่ในการออกแบบอย่างน่าสนใจ โดยเขาพยายามให้แต่ละด้านมีความเรียบคล้ายกับโทโร่
เขาออกแบบให้เหมือนกับว่า พื้นที่ทั้งหมดถูกใช้อยู่ภายใต้ชายคาบ้าน (ทั้งภายในและภายนอก)
ดังนั้นส่วนประกอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ราวตากผ้า, หรือแม้กระทั้งต้นไม้ จะถูกวางใกล้หน้าต่าง ภายใต้ space ที่เขากำหนด


House M, Kumiko INUI GEIDAI Inui Lab + office of cumin inui

“The Gymnasium in Shizuoka Prefecture Kusanagi Spot Complex”
โรงยิมนี้ ได้ถูกออกแบบโดยเน้นเรื่องของความแข็งแรง และความปลอดภัยมากที่สุด เพื่อป้องกันแผ่นดินไหว
จากภาพจะเห็นได้ว่า เขาออกแบบให้ฐานขยายกว้างกว่าด้านบน จึงทำให้การรับแรงกระจายสู่ฐาน โครงสร้างจึงแข็งแรงมากขึ้น


,Hiroshi NAITO

“ TOKYO BUDO - KAN ”
งานนี้ถูกออกแบบให้ผสมผสานกันระหว่างศิลปะ และวัฒนธรรม
โดยได้แรงบันดาลใจมาจากศิลปะการต่อสู้ของเอเชียกลาง ที่เรียกกันว่า "martial arts"


TOKYO BUDO - KAN, Kijo ROKKAKU

“ Aoyama Technical College 1990 ”
หากใครเคยไป Aoyama จะทราบเลยว่าเป็นโซนที่เก๋ไก๋ และเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมเจ๋งๆมากมาย
งานนี้เลยถูกออกแบบออกมารูปแบบดูแปลกตา และล้ำสมัยมากค่ะ


Makoto Sei WATANABE

“Brain Wave Architecture”
งานนี้ concept แปลกดีค่ะ เขาบอกว่ามาจากรอยหยักของสมอง เป็นการสะท้อนความผสมผสาน
ระหว่างความทรงจำ,ความรู้สึกของลูกค้า (heteronomy) และสัญชาตญาณความคิดสร้างสรรค์ของสถาปนิก (autonomy)


orisada MAEDA + team

“ Nagareyama Otakanomori Elementary and Junior High School,
Otakanomori Centre, Children’s Library ”

โรงเรียนประถม และห้องสมุดสำหรับเด็กงานนี้ ได้ถูกออกแบบเล่นกับ concept ในการใช้พื้นที่ต่างๆกับต้นไม้
โรงเรียนนี้ถูกเลือกให้ตั้งทำมุม 45 องศาของบล็อคผังเมือง เพื่อให้สอดคล้องทิศทางของแสงอาทิตย์และต่อต้านทิศทางลม
เขาพยายามจะใช้ประโยช์จากธรรมชาติแวดล้อมอย่างลม แสง และต้นไม้มาใช้ในงานนี้
ส่วนของโซนห้องเรียน เขาใช้กำแพงตัว L ในการจัดการพื้นที่การแบ่งห้องเรียน และ workspaces



Kazuhiro Kojima + Kazuko Akamatsu

นี่ก็เป็นงานบางส่วนที่น่าสนใจ ที่กานต์นำมาฝากกันค่ะ
หวังว่าคงถูกใจเพื่อนๆสายสถาปัตย์กันบ้างเนอะ สำหรับเพื่อนๆที่อยู่ในสาขาอื่น กานต์ก็หวังว่าจะได้รับประโยชน์กันไป
ไม่มากก็น้อยเช่นกันนะคะ เพราะกานต์เชื่อว่า การดูและสนใจงานออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบด้านไหน
ต่างก็เปิดโลกทรรศน์เรา และทำให้เราได้รับไอเดียดีดีที่สามารถนำมาปรับใช้ในงานสายอาชีพเราได้เสมอ

เหมือนเดิมค่ะ ขอออกตัวอีกครั้งว่ากานต์เป็นคนเขียนหนังสือไม่เก่ง และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่มีความตั้งใจอยากจะแชร์สาระดีดี
เกี่ยวกับงานออกแบบที่กานต์ได้รับและพบเจอระหว่างมาเรียนที่มิลาน ประเทศอิตาลี
ถ้าเพื่อนๆมีข้อเสนอแนะ ติชมยังไง บอกกันได้นะคะ กานต์ยินดีรับฟังและแก้ไขค่ะ : )

ขอบคุณข้อมูลจาก Archi Depot Tokyo, La Triennale di Milano

...
Follow ไอเดียเจ๋งๆ เพิ่มเติมได้ที่ JODJUM: Design and Travel >> https://www.facebook.com/jodjumDT/
Blog การท่องเที่ยงเชิงออกแบบ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อถ่ายทอดงานออกแบบที่สร้างสรรค์จากทั่วโลก โดยผ่านประสบการณ์การท่องเที่ยวของนักออกแบบคนหนึ่ง #JodjumDT
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่