คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
1. การรักษาอุโบสถศีลต้องฉะเพราะที่วัดอย่างเดียวหรือไม่ ?
อุโบสถศีล หมายถึง ศีลที่รักษาโดยมีเขตแดนตามเวลา โดยจะรักษาที่ใดก็ได้
ดังตัวอย่างต่อไปนี้จากชาดก ชายผู้นี้รักษาอุโบสถศีลในโรงเก็บอาหารของที่บ้าน ไม่ได้ไปวัด
พระเจ้าอุทัย
.......ในอดีตกาล มีเศรษฐีท่านหนึ่งแห่งนครพาราณสี ชื่อว่า สุจิบริวาร ท่านเศรษฐีมีทรัพย์สมบัติ
มากมายนับได้ประมาณ ๘๐ โกฏิ ท่านเป็นผู้ที่มีความชื่นชมยินดีในการทำบุญ ทั้งยังชักชวน บุตร
ภรรยา และพวกพ้องบริวารทั้งหลายให้รักษาศีล ๕ เป็นปกติ ครั้นถึงวันพระ ก็จะชักชวนให้
รักษาอุโบสถศีล
ครั้งนั้น มีชายยากจนคนหนึ่ง ได้ไปขอรับจ้างทำงานในบ้านของเศรษฐี ซึ่งตามปกติแล้ว
ท่านเศรษฐีจะให้ลูกจ้างทุกคน ทำสัญญาตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงานว่าจะรักษาศีล แต่สำหรับ
ชายยากจนผู้นี้ ท่านเศรษฐีเพียงแต่กล่าวว่า
" เจ้าจงทำงานตามค่าจ้างของตนเถิด " โดยมิได้ให้ทำสัญญาเกี่ยวกับการรักษาศีลเลย
ชายหนุ่มผู้นี้เป็นคนว่าง่าย ตั้งใจทำงานทุกอย่างโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบากกาย
เขาจะออกไปทำงานแต่เช้าตรู่และกลับมาในเวลาเย็น
วันหนึ่งท่านเศรษฐีได้สั่งหญิงรับใช้ว่า " วันนี้เป็นวันอุโบสถ เธอจงจัดอาหารให้คนงาน
ในบ้านเราแต่เช้าตรู่ เมื่อเขาบริโภคอาหารกันแต่เช้า จะได้สมาทานรักษาอุโบสถศีล "
หญิงรับใช้ก็ได้ไปปฎิบัติตามคำสั่ง เมื่อคนในบ้านบริโภคอาหารเช้าแล้วได้อยู่รักษาอุโบสถศีล
ในที่พักของตนเอง ยกเว้นแต่ชายยากจนนั้นได้ออกไปทำงานแต่เช้า และไม่ทราบเรื่องวันอุโบสถ
เลย เขาทำงานตลอดทั้งวัน จนกระทั่งตะวันตกดินจึงกลับมา เมื่อหญิงรับใช้นำอาหารมาให้ เขา
ก็ถามด้วยความแปลกใจว่า " วันนี้ ผู้คนหายไปไหนกันหมด ทำไมไม่มีเสียงเอ็ดอึงเช่นเคย "
หญิงรับใช้ตอบว่า " เขาพากันรักษาอุโบสถศีลอยู่ในที่พักของตนกันหมด "
ชายผู้นั้นจึงรำพันว่า " ทุกๆ คนเขาเป็นผู้มีศีล หากตัวเราไม่มีศีล ย่อมไม่สมควรเลย "
เขาจึงไม่บริโภคอาหาร แต่เข้าไปถามท่านเศรษฐีว่า " นายครับ ผมจะอธิษฐานวันอุโบสถ
ในเวลานี้ได้ไหม จะถือว่าเป็นอุโบสถกรรมหรือไม่ครับ "
ท่านเศรษฐีตอบว่า " เจ้าไม่ได้อธิษฐานไว้ตั้งแต่ตอนเช้า จึงไม่นับว่าเป็นอุโบสถกรรมที่ครบ
ทั้งหมด แต่ก็ยังถือว่าเป็นอุโบสถกรรมครึ่งหนึ่ง "
ชายยากจนจึงตอบว่า " เพียงเท่านี้ก็ได้ครับ "
......เขาได้สมาทานศีล อธิษฐานอุโบสถ แล้วไปยังที่พักนอนรำพึงถึงศีลของตน
ครั้นเวลาล่วงมาถึงกลางดึกคืนนั้น ชายยากจนผู้ไม่ได้บริโภคอาหารเลยตลอดทั้งวัน ก็มี
อาการไม่สบาย เกิดลมขึ้นในท้อง แม้ท่านเศรษฐีจะนำเอาเภสัช ๕ ต่างๆ มาให้กินเขากลับตอบว่า
" ผมจะไม่ทำลายอุโบสถศีลของผม ผมสมาทานอุโบสถศีล โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน "
ในที่สุด เมื่อความเจ็บปวดรุนแรงขึ้น ชายผู้นั้นก็ไม่อาจครองสติได้ คนทั้งหลายเห็นว่า เขา
คงจะถึงแก่ความตายเป็นแน่ จึงนำตัวเขาออกมานอนนอกระเบียง
ขณะนั้นเอง พระเจ้ากรุงพาราณสี ทรงทำประทักษิณพระนคร เสด็จผ่านมา ชายยากจนได้
เห็นพระราชา ก็เกิดความปรารถนาอยากจะได้ราชสมบัติเช่นนั้นบ้าง จากนั้นเขาก็สิ้นใจตาย
ด้วยผลจากการรักษาอุโบสถศีลเพียงครึ่งเดียวนั้น ทำให้เขาได้ไปเกิดในครรภ์ของพระอัครมเหสี
แห่งพระเจ้ากรุงพาราณสี เมื่อครบ ๑๐ เดือน ก็ประสูติ และได้รับการขนานพระนามว่า อุทัยกุมาร
เมื่อทรงเจริญวัยขึ้น ทรงศึกษาสำเร็จศิลปะทุกประการ และมีพระญาณระลึกชาติได้ พระองค์มัก
จะทรงรำพึงถึงเหตุการณ์ในชาติก่อน แล้วเปล่งอุทานว่า
" นี่คือผลแห่งกรรมเพียงเล็กน้อยของเรา "
ต่อมาเมื่อพระราชาบิดาสวรรคต พระองค์ก็ทรงครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ ทรง
พระนามว่า พระอุทัยราชา
การรักษาอุโบสถศีลเพียงครึ่งเดียว แม้จะดูเป็นการกระทำเพียงเล็กน้อย และเกิดขึ้นในช่วง
เวลาสั้นๆ แต่กลับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิตของชายผู้ยากจนเข็ญใจ เพราะการที่เขา
ได้มุ่งมั่น ตั้งใจ รักษาอุโบสถศีลโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันนั้น ได้ก่อให้เกิดกระแสบุญอันมหาศาล
ซึ่งสามารถบันดาลให้ความปรารถนาในวาระสุดท้าย ที่เปรียบเสมือนฝันอันแสนไกล ให้กลับ
กลายมาเป็นความจริงได้ในทันที
คำอุทานของพระอุทัยราชา และมหาสมบัติที่เกิดขึ้นนั้นย่อมยืนยันได้ว่า ผลแห่งการ
รักษาอุโบสถศีลนั้น ไม่มีคำว่าน้อยเลย
อ่านเรื่องทั้งหมดได้ใน คังคมาลชาดก
http://www.84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=271155
2. และจำเป็นต้องรักษาให้ครบพรรษาหรือไม่อย่างไรครับ ?
ขึ้นอยู่กับว่า จะรักษาอุโบสถศีลแบบใด
๑. ปกติอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเฉพาะวันที่กำหนดไว้ ในปัจจุบันนี้กำหนดเอาวันพระ คือวัน ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม
๒. ปฏิชาครอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันครั้งละ ๓ วัน คือถือเอาวันที่กำหนดไว้ในปกติอุโบสถ เป็นหลัก แล้วเพิ่มรักษาก่อนกำหนด ๑ วัน เรียกว่า วันรับ และหลังวันกำหนดอีก ๑ วัน เรียกว่า วันส่ง เช่นวัน ๘ ค่ำเป็นวันรักษาปกติอุโบสถ ผู้ที่จะรักษาปฏิชาครอุโบสถ ก็เริ่มรักษาตั้งแต่วัน ๗ ค่ำ ไปสิ้นสุดเอา เมื่อสิ้นวัน ๙ ค่ำ คือรักษาในวัน ๗ ค่ำ ๘ ค่ำและ ๙ ค่ำ รวม ๓ วัน ๓ คืน
๓. ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเป็นประจำทุกวันตลอดพรรษา ๓ เดือนอย่าง หนึ่ง ถ้าไม่อาจรักษาได้ตลอด ๓ เดือน ก็รักษาให้ตลอด ๑ เดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว คือรักษาใน กฐินกาล ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ อย่างหนึ่ง ถ้ายัง ไม่อาจรักษาได้ตลอด ๑ เดือน ก็รักษาเพียงครั้งละครึ่งเดือนหลังจากออกพรรษาแล้ว คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงสิ้นเดือน ๑๑ อีกอย่างหนึ่ง ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่า ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ
ส่วนตัว ผู้ตอบรักษาปาฏิหาริยอุโบสถศีลวันนี้เป็นวันที่ 2 แล้ว
อุโบสถศีล หมายถึง ศีลที่รักษาโดยมีเขตแดนตามเวลา โดยจะรักษาที่ใดก็ได้
ดังตัวอย่างต่อไปนี้จากชาดก ชายผู้นี้รักษาอุโบสถศีลในโรงเก็บอาหารของที่บ้าน ไม่ได้ไปวัด
พระเจ้าอุทัย
.......ในอดีตกาล มีเศรษฐีท่านหนึ่งแห่งนครพาราณสี ชื่อว่า สุจิบริวาร ท่านเศรษฐีมีทรัพย์สมบัติ
มากมายนับได้ประมาณ ๘๐ โกฏิ ท่านเป็นผู้ที่มีความชื่นชมยินดีในการทำบุญ ทั้งยังชักชวน บุตร
ภรรยา และพวกพ้องบริวารทั้งหลายให้รักษาศีล ๕ เป็นปกติ ครั้นถึงวันพระ ก็จะชักชวนให้
รักษาอุโบสถศีล
ครั้งนั้น มีชายยากจนคนหนึ่ง ได้ไปขอรับจ้างทำงานในบ้านของเศรษฐี ซึ่งตามปกติแล้ว
ท่านเศรษฐีจะให้ลูกจ้างทุกคน ทำสัญญาตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงานว่าจะรักษาศีล แต่สำหรับ
ชายยากจนผู้นี้ ท่านเศรษฐีเพียงแต่กล่าวว่า
" เจ้าจงทำงานตามค่าจ้างของตนเถิด " โดยมิได้ให้ทำสัญญาเกี่ยวกับการรักษาศีลเลย
ชายหนุ่มผู้นี้เป็นคนว่าง่าย ตั้งใจทำงานทุกอย่างโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบากกาย
เขาจะออกไปทำงานแต่เช้าตรู่และกลับมาในเวลาเย็น
วันหนึ่งท่านเศรษฐีได้สั่งหญิงรับใช้ว่า " วันนี้เป็นวันอุโบสถ เธอจงจัดอาหารให้คนงาน
ในบ้านเราแต่เช้าตรู่ เมื่อเขาบริโภคอาหารกันแต่เช้า จะได้สมาทานรักษาอุโบสถศีล "
หญิงรับใช้ก็ได้ไปปฎิบัติตามคำสั่ง เมื่อคนในบ้านบริโภคอาหารเช้าแล้วได้อยู่รักษาอุโบสถศีล
ในที่พักของตนเอง ยกเว้นแต่ชายยากจนนั้นได้ออกไปทำงานแต่เช้า และไม่ทราบเรื่องวันอุโบสถ
เลย เขาทำงานตลอดทั้งวัน จนกระทั่งตะวันตกดินจึงกลับมา เมื่อหญิงรับใช้นำอาหารมาให้ เขา
ก็ถามด้วยความแปลกใจว่า " วันนี้ ผู้คนหายไปไหนกันหมด ทำไมไม่มีเสียงเอ็ดอึงเช่นเคย "
หญิงรับใช้ตอบว่า " เขาพากันรักษาอุโบสถศีลอยู่ในที่พักของตนกันหมด "
ชายผู้นั้นจึงรำพันว่า " ทุกๆ คนเขาเป็นผู้มีศีล หากตัวเราไม่มีศีล ย่อมไม่สมควรเลย "
เขาจึงไม่บริโภคอาหาร แต่เข้าไปถามท่านเศรษฐีว่า " นายครับ ผมจะอธิษฐานวันอุโบสถ
ในเวลานี้ได้ไหม จะถือว่าเป็นอุโบสถกรรมหรือไม่ครับ "
ท่านเศรษฐีตอบว่า " เจ้าไม่ได้อธิษฐานไว้ตั้งแต่ตอนเช้า จึงไม่นับว่าเป็นอุโบสถกรรมที่ครบ
ทั้งหมด แต่ก็ยังถือว่าเป็นอุโบสถกรรมครึ่งหนึ่ง "
ชายยากจนจึงตอบว่า " เพียงเท่านี้ก็ได้ครับ "
......เขาได้สมาทานศีล อธิษฐานอุโบสถ แล้วไปยังที่พักนอนรำพึงถึงศีลของตน
ครั้นเวลาล่วงมาถึงกลางดึกคืนนั้น ชายยากจนผู้ไม่ได้บริโภคอาหารเลยตลอดทั้งวัน ก็มี
อาการไม่สบาย เกิดลมขึ้นในท้อง แม้ท่านเศรษฐีจะนำเอาเภสัช ๕ ต่างๆ มาให้กินเขากลับตอบว่า
" ผมจะไม่ทำลายอุโบสถศีลของผม ผมสมาทานอุโบสถศีล โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน "
ในที่สุด เมื่อความเจ็บปวดรุนแรงขึ้น ชายผู้นั้นก็ไม่อาจครองสติได้ คนทั้งหลายเห็นว่า เขา
คงจะถึงแก่ความตายเป็นแน่ จึงนำตัวเขาออกมานอนนอกระเบียง
ขณะนั้นเอง พระเจ้ากรุงพาราณสี ทรงทำประทักษิณพระนคร เสด็จผ่านมา ชายยากจนได้
เห็นพระราชา ก็เกิดความปรารถนาอยากจะได้ราชสมบัติเช่นนั้นบ้าง จากนั้นเขาก็สิ้นใจตาย
ด้วยผลจากการรักษาอุโบสถศีลเพียงครึ่งเดียวนั้น ทำให้เขาได้ไปเกิดในครรภ์ของพระอัครมเหสี
แห่งพระเจ้ากรุงพาราณสี เมื่อครบ ๑๐ เดือน ก็ประสูติ และได้รับการขนานพระนามว่า อุทัยกุมาร
เมื่อทรงเจริญวัยขึ้น ทรงศึกษาสำเร็จศิลปะทุกประการ และมีพระญาณระลึกชาติได้ พระองค์มัก
จะทรงรำพึงถึงเหตุการณ์ในชาติก่อน แล้วเปล่งอุทานว่า
" นี่คือผลแห่งกรรมเพียงเล็กน้อยของเรา "
ต่อมาเมื่อพระราชาบิดาสวรรคต พระองค์ก็ทรงครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ ทรง
พระนามว่า พระอุทัยราชา
การรักษาอุโบสถศีลเพียงครึ่งเดียว แม้จะดูเป็นการกระทำเพียงเล็กน้อย และเกิดขึ้นในช่วง
เวลาสั้นๆ แต่กลับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิตของชายผู้ยากจนเข็ญใจ เพราะการที่เขา
ได้มุ่งมั่น ตั้งใจ รักษาอุโบสถศีลโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันนั้น ได้ก่อให้เกิดกระแสบุญอันมหาศาล
ซึ่งสามารถบันดาลให้ความปรารถนาในวาระสุดท้าย ที่เปรียบเสมือนฝันอันแสนไกล ให้กลับ
กลายมาเป็นความจริงได้ในทันที
คำอุทานของพระอุทัยราชา และมหาสมบัติที่เกิดขึ้นนั้นย่อมยืนยันได้ว่า ผลแห่งการ
รักษาอุโบสถศีลนั้น ไม่มีคำว่าน้อยเลย
อ่านเรื่องทั้งหมดได้ใน คังคมาลชาดก
http://www.84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=271155
2. และจำเป็นต้องรักษาให้ครบพรรษาหรือไม่อย่างไรครับ ?
ขึ้นอยู่กับว่า จะรักษาอุโบสถศีลแบบใด
๑. ปกติอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเฉพาะวันที่กำหนดไว้ ในปัจจุบันนี้กำหนดเอาวันพระ คือวัน ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม
๒. ปฏิชาครอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันครั้งละ ๓ วัน คือถือเอาวันที่กำหนดไว้ในปกติอุโบสถ เป็นหลัก แล้วเพิ่มรักษาก่อนกำหนด ๑ วัน เรียกว่า วันรับ และหลังวันกำหนดอีก ๑ วัน เรียกว่า วันส่ง เช่นวัน ๘ ค่ำเป็นวันรักษาปกติอุโบสถ ผู้ที่จะรักษาปฏิชาครอุโบสถ ก็เริ่มรักษาตั้งแต่วัน ๗ ค่ำ ไปสิ้นสุดเอา เมื่อสิ้นวัน ๙ ค่ำ คือรักษาในวัน ๗ ค่ำ ๘ ค่ำและ ๙ ค่ำ รวม ๓ วัน ๓ คืน
๓. ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเป็นประจำทุกวันตลอดพรรษา ๓ เดือนอย่าง หนึ่ง ถ้าไม่อาจรักษาได้ตลอด ๓ เดือน ก็รักษาให้ตลอด ๑ เดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว คือรักษาใน กฐินกาล ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ อย่างหนึ่ง ถ้ายัง ไม่อาจรักษาได้ตลอด ๑ เดือน ก็รักษาเพียงครั้งละครึ่งเดือนหลังจากออกพรรษาแล้ว คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงสิ้นเดือน ๑๑ อีกอย่างหนึ่ง ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่า ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ
ส่วนตัว ผู้ตอบรักษาปาฏิหาริยอุโบสถศีลวันนี้เป็นวันที่ 2 แล้ว
แสดงความคิดเห็น
การรักษาอุโบสถศีล