๑๕ ค่ำเดือน ๘ วันอาสาฬหบูชา
วันที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมเทศนา หรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรก
เวียนเทียนวันพระใหญ่ หนึ่งปีมีสามครั้ง (+๑ วันอัฏฐมีบูชา) และในทุกๆ ครั้งผมจะหาสถานที่ถ่ายเวียนเทียนใหม่ๆ
และ ๑๕ ค่ำนี้สุดท้ายของปี แพลนเดิมที่วางไว้คือเก็บภาพบรรยากาศเวียนเทียนที่เชียงใหม่
แต่ด้วยวันอาสาฬหบูชาในเกือบทุกๆ ครั้งมักจะมีฝนพรำมาด้วยเสมอ
จึงทำให้ต้องมานั่งคิดใหม่ ว่าไปแล้วจะได้ภาพอย่างที่ต้องการหรือไม่
โอกาสที่จะเจอฝน (ค่อนข้างมากกว่า 60%)
โอกาสที่ฝนตกแล้วพิธีเวียนเทียนจะดำเนินต่อไป (ไม่แน่ใจ)
โอกาสที่ไปแล้วคนจะเยอะ (ไม่แน่ใจ)
โอกาสที่ไปแล้วมุมถ่ายภาพจะมี (ไม่แน่ใจ)
ค่าโดยสารไปกลับประมาณ 2,000บาท (ค่อนข้างแน่ใจ)
การไปเชียงใหม่รอบนี้อาจจะเจอฝน ส่วนพิธีเวียนเทียนก็ยังไม่ค่อยแน่ใจว่าจะมีหรือไม่ ภาพที่ต้องการ
เณรจุดเทียน เณรถือโคม เณรนั่งสมาธิ คนเวียนเทียน แสงเทียน แสงธูป เงาสะท้อน จะมี จะได้ อย่างที่ต้องการไหม ไม่แน่ใจเลยครับ
คิดอีกครั้ง คิดอีกที คิดอีกรอบ..ตัดสินใจยกเลิกการไปเก็บภาพเวียนเทียนที่เชียงใหม่ หาสถานที่เก็บภาพเวียนเทียนแถวบ้านแทน
แต่จะเป็นที่ไหน ดูเอาไว้สองที่ แต่หนึ่งในสองที่น่าจะเหมาะกว่า
ห้าโมงเย็นออกเดินทางไปยังสถานที่ (วันนี้มีงาน เต้นท์พิธี เต้นท์รับรองมีอยู่รอบด้าน มุมที่มองไว้ถูกบังพอสมควร)
แหงนหน้ามองดูท้องฟ้าค่อนข้างปิด ลมพัดแรง ดูจากทิศทางลมที่เมฆเคลื่อน เป็นทิศเดียวกับที่ฝนน่าจะมา
จนฟ้าเริ่มมืด พิธีการเริ่มต้น (ช่วงพิธีการขอข้ามนะครับ ไปสำรวจรอบๆ หามุมที่พ้นจากเต้นท์และแสงไฟสปอตไลต์)
ช่วงหนึ่งของการแสดง มีการแสงหนังใหญ่ จากวัดบ้านดอน จ.ระยอง เด็กๆ เตรียมการแสดงแล้วครับ
แสงไฟที่ส่องไปยังองค์พระที่ด้านหลังเพิ่งเปิด ต้องรออีกสักพักไฟถึงจะมีกำลังแรงพอที่จะส่องได้เห็นองค์พระทั้งหมด
ถ่ายบรรยากาศการแสดงค่อนข้างยาก จะให้ชัดที่เด็กๆ ก็จะไม่เห็นองค์พระด้านหลัง จะให้เห็นองค์พระด้านหลังด้วย เด็กๆ ก็จะไม่ชัด
ขอแบบครึ่งๆแล้วกันครับ
ระหว่างเด็กๆ กำลังแสดง ลมเริ่มพัดแรงขึ้น ต้นไม้รอบๆ ลู่ลม เมฆบนฟ้าเริ่มเป็นเมฆสีเทาขาวเคลื่อนเข้ามา พร้อมเม็ดฝนที่เริ่มโปรย
การแสดงยังคงแสดงกันต่อไป..
สองนาทีถัดมา เม็ดฝนเริ่มใหญ่และมากขึ้น พิธิกรแจ้งว่าเนื่องจากสภาพฟ้าฝนในขณะนี้จำเป็นต้องตัดการแสดงบางชุดออกไป
ข้ามไปตอนศึกทศกัณฐ์ยกรบแทน ฝนเริ่มตกหนังและแรงขึ้นกว่าเดิม
และขณะนี้ผู้ชมด้านหลังได้เริ่มขยับลุกจากเก้าอี้ไปทีละคนสองคน พักเดียวก็เกือบหมด
(แอบเอากล้องมือถือออกมาถ่าย เห็นน้ำจากหลังคาไหลมาขนาดนี้ ฝนตกหนักมากครับ)
เด็กๆ ยังแสดงกันต่อจนจบ (ขอปรบมือให้เลยครับ ท่ามกลางสายฝนทีเดียว)
การแสดงจบลง ฝนเริ่มซาลงเล็กน้อย พอจะมีเวลาขยับไปด้านหน้าองค์พระ พิธีเวียนเทียนยังไม่เริ่ม
เพราะฝนยังตกอยู่ เบาบ้าง หนักบ้าง สลับกัน แต่ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุด พิธีกรกล่าวเชิญชวนให้สวมมนต์แทน
ส่วนผมเองก็หอบกล้องเดินอ้อมไปด้านหน้า รอเก็บภาพที่องค์พระ
ลมยิ่งพัดแรงขึ้น ฝนก็สาดเข้ามาในศาลา ลมที่แรงมาพร้อมความเย็นจนหนาว ตัวโดนฝนพรำๆ โดนลมแบบนี้หนาวเลยครับ
ยืนรอพักใหญ่เพื่อรอช่วงฝนซา จึงค่อยออกไปเก็บภาพ (ฝนไม่หยุดสนิท ยังลงเม็ดโปรยปรายตลอดครับ)
ถอดปลอกแขนที่ใส่ทั้งสองข้างมาปิดบังกล้องไว้พอช่วยได้ระดับหนึ่ง
ที่ด้านบนขององค์พระมีหมอกปกคลุมอยู่รอบๆ สวยมากครับ (ทั้งบริเวณโดยรอบไม่มีหมอก มีหมอกตรงจุดนี้บริเวณยอดขององค์พระ)
ย้ายไปอีกมุมที่ด้านหน้าองค์พระ
ละอองฝนที่พัดมากับลม เกาะหน้าเลนส์ค่อนข้างมาก ในภาพยังมองเห็นเม็ดฝน ขนาดเช็ดไปแล้วหลายรอบ ก็ยังไม่หมดครับ
ขยับมาใต้ต้นไม้บ้าง
ไอหมอกฟุ้งๆ บนยอดหน้าผา สวยจริงๆ ครับ
ฝนเริ่มซาลง ด้านบนเริ่มเดินเวียนเทียนกันแล้ว คิดว่าสมควรแก่เวลาเช่นกันครับ เพราะขณะนี้สองทุ่มกว่า และฝนก็อาจตกหนักลงมาอีกได้
เดินไปใกล้ๆ ต้องค่อยๆเดินครับ พื้นสนามเปียกแฉะค่อนข้างลื่น หันกล้องไปเก็บภาพมาหนึ่งภาพแบบไม่ทันได้ปรับค่าตั้งกล้องใหม่
(แสงไฟจากสปอตไลฟ์ที่แรงดีจริงๆ)
หันหลังกลับมาขอเก็บอีกหนึ่งมุม
ฝนเริ่มตกหนักอีกแล้ว เห็นควรว่าต้องพอสำหรับการเก็บภาพในคืนนี้ รีบคว้ากล้องกลับไปที่รถ
บรู๊ววววววว บรู๊ววว แหม่ๆๆ หมาน้อยเอ๊ย เห่าอย่างเดียวก็พอ เห่าอย่างเดียวไม่ว่าจะพากันหอนทำไมนี่
เข้าใจอยู่ว่าวันนี้คือวันพระ แต่ไม่ต้องหอนประสานเสียงขานรับกันขนาดนี้ก็ได้นะ ><'
ครับ...ครับบ ผมกำลังจะกลับแล้วครับ
ยกมือขึ้นไหว้บอกกล่าวลาเจ้าของสถานที่ ขอบคุณและขอขมาหากมีสิ่งใดล่วงเกิน
แม้ไม่ได้บรรยากาศเวียนเทียนแต่ได้ไฟสวยๆ จากองค์พระในวันพระใหญ่ ก็โอเคครับ
ครั้งนี้ได้มาเก็บภาพที่นี่ท่ามกลางสายฝนและไอหมอก อีกหนึ่งประทับใจคืนวันพระใหญ่ใกล้บ้าน
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม
สวัสดี
zoonvors
ปล.ข้อมูลด้านล่างนี้ ขอฝากหน่อยครับ รู้ๆ กันแล้ว แต่ก็เผื่อจะลืมกัน หนึ่งปีได้อ่านกันอีกสักรอบก็ยังดีครับ
* * * * * * **
วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ "วันอาสาหฬบูชา"
วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ ๒ เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหามานะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคยทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จนพระอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี
ทั้งนี้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เรียกกว่า "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากการปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหามานะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ
สำหรับใจความสำคัญของการปฐมเทศนามีหลักธรรมสำคัญอยู่ ๒ ประการ คือ
๑) มัชฌิาปฏิปทา หรือทางสายกลาง
เป็นข้อปฏบัติที่เป็นกลางๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ๒ อย่างหรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ
การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค
การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ต้องใช้ทางสายกลางซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
๑.สัมมาทิฆฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
๒.สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งทีดีงาม
๓.สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
๔.สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
๕.สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
๖.สัมมาวายะมะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
๗.สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
๘.สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่ มั่นคง ไม่ฟุ้งซ่าน
๒) อริยสัจ ๔
แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือบุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่
๑.ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด
๒.สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ
๓.นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา
๔. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญาหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ประการดังกล่าวข้างต้น
ทั้งนี้คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ ๒ แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ ๒ คำ คืออาสาฬหที่แปลว่า เดือน ๘ ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน ๘ หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน ๘
กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา
พิธีกรรมโดยทั่วไปที่นิยมกระทำในวันนี้คือ การทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล พังพระธรรมเทศนา และสวดมนต์ ในตอนคำจะมีการเวียนเทียนที่เป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยเรา ดังนั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรเข้าวัด เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยอีกทั้งยังเป็นการช่วยชะล้างจิตใจให้ปลอดโปร่งผ่องใส จะได้มีร่างกายและจิตใจที่พร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตต่อไป
[CR] เวียนเทียนสัตหีบ (๑๕ ค่ำเดือน ๘ วันอาสาฬหบูชา)
วันที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมเทศนา หรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรก
เวียนเทียนวันพระใหญ่ หนึ่งปีมีสามครั้ง (+๑ วันอัฏฐมีบูชา) และในทุกๆ ครั้งผมจะหาสถานที่ถ่ายเวียนเทียนใหม่ๆ
และ ๑๕ ค่ำนี้สุดท้ายของปี แพลนเดิมที่วางไว้คือเก็บภาพบรรยากาศเวียนเทียนที่เชียงใหม่
แต่ด้วยวันอาสาฬหบูชาในเกือบทุกๆ ครั้งมักจะมีฝนพรำมาด้วยเสมอ
จึงทำให้ต้องมานั่งคิดใหม่ ว่าไปแล้วจะได้ภาพอย่างที่ต้องการหรือไม่
โอกาสที่จะเจอฝน (ค่อนข้างมากกว่า 60%)
โอกาสที่ฝนตกแล้วพิธีเวียนเทียนจะดำเนินต่อไป (ไม่แน่ใจ)
โอกาสที่ไปแล้วคนจะเยอะ (ไม่แน่ใจ)
โอกาสที่ไปแล้วมุมถ่ายภาพจะมี (ไม่แน่ใจ)
ค่าโดยสารไปกลับประมาณ 2,000บาท (ค่อนข้างแน่ใจ)
การไปเชียงใหม่รอบนี้อาจจะเจอฝน ส่วนพิธีเวียนเทียนก็ยังไม่ค่อยแน่ใจว่าจะมีหรือไม่ ภาพที่ต้องการ
เณรจุดเทียน เณรถือโคม เณรนั่งสมาธิ คนเวียนเทียน แสงเทียน แสงธูป เงาสะท้อน จะมี จะได้ อย่างที่ต้องการไหม ไม่แน่ใจเลยครับ
คิดอีกครั้ง คิดอีกที คิดอีกรอบ..ตัดสินใจยกเลิกการไปเก็บภาพเวียนเทียนที่เชียงใหม่ หาสถานที่เก็บภาพเวียนเทียนแถวบ้านแทน
แต่จะเป็นที่ไหน ดูเอาไว้สองที่ แต่หนึ่งในสองที่น่าจะเหมาะกว่า
ห้าโมงเย็นออกเดินทางไปยังสถานที่ (วันนี้มีงาน เต้นท์พิธี เต้นท์รับรองมีอยู่รอบด้าน มุมที่มองไว้ถูกบังพอสมควร)
แหงนหน้ามองดูท้องฟ้าค่อนข้างปิด ลมพัดแรง ดูจากทิศทางลมที่เมฆเคลื่อน เป็นทิศเดียวกับที่ฝนน่าจะมา
จนฟ้าเริ่มมืด พิธีการเริ่มต้น (ช่วงพิธีการขอข้ามนะครับ ไปสำรวจรอบๆ หามุมที่พ้นจากเต้นท์และแสงไฟสปอตไลต์)
ช่วงหนึ่งของการแสดง มีการแสงหนังใหญ่ จากวัดบ้านดอน จ.ระยอง เด็กๆ เตรียมการแสดงแล้วครับ
แสงไฟที่ส่องไปยังองค์พระที่ด้านหลังเพิ่งเปิด ต้องรออีกสักพักไฟถึงจะมีกำลังแรงพอที่จะส่องได้เห็นองค์พระทั้งหมด
ถ่ายบรรยากาศการแสดงค่อนข้างยาก จะให้ชัดที่เด็กๆ ก็จะไม่เห็นองค์พระด้านหลัง จะให้เห็นองค์พระด้านหลังด้วย เด็กๆ ก็จะไม่ชัด
ขอแบบครึ่งๆแล้วกันครับ
ระหว่างเด็กๆ กำลังแสดง ลมเริ่มพัดแรงขึ้น ต้นไม้รอบๆ ลู่ลม เมฆบนฟ้าเริ่มเป็นเมฆสีเทาขาวเคลื่อนเข้ามา พร้อมเม็ดฝนที่เริ่มโปรย
การแสดงยังคงแสดงกันต่อไป..
สองนาทีถัดมา เม็ดฝนเริ่มใหญ่และมากขึ้น พิธิกรแจ้งว่าเนื่องจากสภาพฟ้าฝนในขณะนี้จำเป็นต้องตัดการแสดงบางชุดออกไป
ข้ามไปตอนศึกทศกัณฐ์ยกรบแทน ฝนเริ่มตกหนังและแรงขึ้นกว่าเดิม
และขณะนี้ผู้ชมด้านหลังได้เริ่มขยับลุกจากเก้าอี้ไปทีละคนสองคน พักเดียวก็เกือบหมด
(แอบเอากล้องมือถือออกมาถ่าย เห็นน้ำจากหลังคาไหลมาขนาดนี้ ฝนตกหนักมากครับ)
เด็กๆ ยังแสดงกันต่อจนจบ (ขอปรบมือให้เลยครับ ท่ามกลางสายฝนทีเดียว)
การแสดงจบลง ฝนเริ่มซาลงเล็กน้อย พอจะมีเวลาขยับไปด้านหน้าองค์พระ พิธีเวียนเทียนยังไม่เริ่ม
เพราะฝนยังตกอยู่ เบาบ้าง หนักบ้าง สลับกัน แต่ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุด พิธีกรกล่าวเชิญชวนให้สวมมนต์แทน
ส่วนผมเองก็หอบกล้องเดินอ้อมไปด้านหน้า รอเก็บภาพที่องค์พระ
ลมยิ่งพัดแรงขึ้น ฝนก็สาดเข้ามาในศาลา ลมที่แรงมาพร้อมความเย็นจนหนาว ตัวโดนฝนพรำๆ โดนลมแบบนี้หนาวเลยครับ
ยืนรอพักใหญ่เพื่อรอช่วงฝนซา จึงค่อยออกไปเก็บภาพ (ฝนไม่หยุดสนิท ยังลงเม็ดโปรยปรายตลอดครับ)
ถอดปลอกแขนที่ใส่ทั้งสองข้างมาปิดบังกล้องไว้พอช่วยได้ระดับหนึ่ง
ที่ด้านบนขององค์พระมีหมอกปกคลุมอยู่รอบๆ สวยมากครับ (ทั้งบริเวณโดยรอบไม่มีหมอก มีหมอกตรงจุดนี้บริเวณยอดขององค์พระ)
ย้ายไปอีกมุมที่ด้านหน้าองค์พระ
ละอองฝนที่พัดมากับลม เกาะหน้าเลนส์ค่อนข้างมาก ในภาพยังมองเห็นเม็ดฝน ขนาดเช็ดไปแล้วหลายรอบ ก็ยังไม่หมดครับ
ขยับมาใต้ต้นไม้บ้าง
ไอหมอกฟุ้งๆ บนยอดหน้าผา สวยจริงๆ ครับ
ฝนเริ่มซาลง ด้านบนเริ่มเดินเวียนเทียนกันแล้ว คิดว่าสมควรแก่เวลาเช่นกันครับ เพราะขณะนี้สองทุ่มกว่า และฝนก็อาจตกหนักลงมาอีกได้
เดินไปใกล้ๆ ต้องค่อยๆเดินครับ พื้นสนามเปียกแฉะค่อนข้างลื่น หันกล้องไปเก็บภาพมาหนึ่งภาพแบบไม่ทันได้ปรับค่าตั้งกล้องใหม่
(แสงไฟจากสปอตไลฟ์ที่แรงดีจริงๆ)
หันหลังกลับมาขอเก็บอีกหนึ่งมุม
ฝนเริ่มตกหนักอีกแล้ว เห็นควรว่าต้องพอสำหรับการเก็บภาพในคืนนี้ รีบคว้ากล้องกลับไปที่รถ
บรู๊ววววววว บรู๊ววว แหม่ๆๆ หมาน้อยเอ๊ย เห่าอย่างเดียวก็พอ เห่าอย่างเดียวไม่ว่าจะพากันหอนทำไมนี่
เข้าใจอยู่ว่าวันนี้คือวันพระ แต่ไม่ต้องหอนประสานเสียงขานรับกันขนาดนี้ก็ได้นะ ><'
ครับ...ครับบ ผมกำลังจะกลับแล้วครับ
ยกมือขึ้นไหว้บอกกล่าวลาเจ้าของสถานที่ ขอบคุณและขอขมาหากมีสิ่งใดล่วงเกิน
แม้ไม่ได้บรรยากาศเวียนเทียนแต่ได้ไฟสวยๆ จากองค์พระในวันพระใหญ่ ก็โอเคครับ
ครั้งนี้ได้มาเก็บภาพที่นี่ท่ามกลางสายฝนและไอหมอก อีกหนึ่งประทับใจคืนวันพระใหญ่ใกล้บ้าน
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม
สวัสดี
zoonvors
ปล.ข้อมูลด้านล่างนี้ ขอฝากหน่อยครับ รู้ๆ กันแล้ว แต่ก็เผื่อจะลืมกัน หนึ่งปีได้อ่านกันอีกสักรอบก็ยังดีครับ
วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ "วันอาสาหฬบูชา"
วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ ๒ เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหามานะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคยทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จนพระอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี
ทั้งนี้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เรียกกว่า "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากการปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหามานะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ
สำหรับใจความสำคัญของการปฐมเทศนามีหลักธรรมสำคัญอยู่ ๒ ประการ คือ
๑) มัชฌิาปฏิปทา หรือทางสายกลาง
เป็นข้อปฏบัติที่เป็นกลางๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ๒ อย่างหรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ
การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค
การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ต้องใช้ทางสายกลางซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
๑.สัมมาทิฆฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
๒.สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งทีดีงาม
๓.สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
๔.สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
๕.สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
๖.สัมมาวายะมะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
๗.สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
๘.สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่ มั่นคง ไม่ฟุ้งซ่าน
๒) อริยสัจ ๔
แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือบุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่
๑.ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด
๒.สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ
๓.นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา
๔. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญาหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ประการดังกล่าวข้างต้น
ทั้งนี้คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ ๒ แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ ๒ คำ คืออาสาฬหที่แปลว่า เดือน ๘ ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน ๘ หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน ๘
กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา
พิธีกรรมโดยทั่วไปที่นิยมกระทำในวันนี้คือ การทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล พังพระธรรมเทศนา และสวดมนต์ ในตอนคำจะมีการเวียนเทียนที่เป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยเรา ดังนั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรเข้าวัด เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยอีกทั้งยังเป็นการช่วยชะล้างจิตใจให้ปลอดโปร่งผ่องใส จะได้มีร่างกายและจิตใจที่พร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตต่อไป