พร้อมยัง? นับถอยหลังอีก 30 วันข้างหน้า ค่าแท็กซี่สตาร์ทที่ 50 บาทนะจ๊ะ

ปรับค่าโดยสารรถแท็กซี่เริ่มต้น 50 บาท-ห้ามติดฟิล์มดำมืดใน 30 วัน

ราชกิจจานุเบกษา 29 ก.ค.58 เผยแพร่ กฎกระทรวง ว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๕ (๒) (๓) และ (๑๐) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๒ และมาตรา ๕ (๑๔) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๔๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ข้อ ๖ รถยนต์รับจ้างต้องไม่ติดตั้งระบบป้องกันการเปิดประตูรถจากภายในและกระจกกันลม ทุกด้านต้องเป็นกระจกที่โปร่งใสสามารถมองเห็นสภาพภายในรถและสภาพการจราจรภายนอกรถได้ชัดเจน และห้ามมิให้นําวัสดุอื่นใดมาติดหรือบังส่วนหนึ่งส่วนใดของกระจก เว้นแต่เป็นการติดเครื่องหมาย หรือเอกสาร ตามที่กฎหมายกําหนด หรือการติดวัสดุสําหรับบังหรือกรองแสงแดดที่กระจกกันลมด้านหน้าตามที่ กรมการขนส่งทางบกประกาศกําหนด”


ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๙ แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุก คนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๙ รถยนต์รับจ้างต้องมีและใช้เครื่องสื่อสารตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมตามแบบ หรือชนิดที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ หรือเครื่องสื่อสารประเภทอื่น ที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ”

ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐ แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๐

ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๔ แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ข้อ ๑๔ รถยนต์รับจ้างตามกฎกระทรวงนี้ ให้มีอายุการใช้งานได้ไม่เกินเก้าปี นับแต่วันที่รถยนต์นั้น จดทะเบียนครั้งแรก ในกรณีที่รถยนต์รับจ้างครบอายุการใช้งานตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าของรถมีหน้าที่ส่งคืนแผ่นป้าย ทะเบียนรถต่อนายทะเบียนและนําใบคู่มือจดทะเบียนรถมาแสดงต่อนายทะเบียนเพื่อบันทึกหลักฐาน การระงับทะเบียนหรือเปลี่ยนประเภทรถภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ครบอายุการใช้งาน”

ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๕ แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ข้อ ๑๕ ให้รัฐมนตรีมีอํานาจกําหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสําหรับรถยนต์รับจ้าง และค่าบริการอื่น ดังต่อไปนี้

(๑) ค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารให้กําหนดโดยถือเกณฑ์ระยะทาง ๒ กิโลเมตรแรกไม่เกิน ๕๐ บาท และกิโลเมตรต่อ ๆ ไป ไม่เกินกิโลเมตรละ ๑๒ บาท ในกรณีที่ไม่สามารถเคลื่อนที่หรือเดินรถต่อไปได้ ตามปกติวิสัยในอัตรานาทีละไม่เกิน ๓ บาท


(๒) ค่าบริการอื่น ให้กําหนด ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีการจ้างผ่านศูนย์บริการสื่อสารหรือระบบสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้รับจ้าง กําหนดได้ไม่เกิน ๕๐ บาท (ข) กรณีการจ้างจากท่าอากาศยานหรือสถานที่ที่กระทรวงคมนาคมประกาศกําหนด โดยรถยนต์รับจ้างนั้นจอดรอคนโดยสารอยู่ในสถานที่ดังกล่าว ณ จุดที่ได้จัดไว้เป็นการเฉพาะกําหนดได้ ไม่เกิน ๑๐๐ บาท การกําหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารและค่าบริการอื่นตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา การเรียกเก็บค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารให้เรียกเก็บตามจํานวนเงินรวมที่แสดงไว้ในมาตรค่าโดยสาร ส่วนในกรณีที่มีการเรียกเก็บค่าบริการอื่น ให้เรียกเก็บเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารที่แสดงไว้ ในมาตรค่าโดยสารดังกล่าว”

ข้อ ๗ รถยนต์รับจ้างที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้มีอายุ การใช้งาน ดังต่อไปนี้ (๑) รถยนต์รับจ้างที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๔ ถึงวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้มีอายุการใช้งานสิบสองปีนับแต่วันที่รถยนต์นั้นจดทะเบียนครั้งแรก (๒) รถยนต์รับจ้างที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ถึงวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้มีอายุการใช้งานต่อไปได้จนถึงวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘  อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

ที่มา : http://www.isranews.org/isra-news/item/40267-aa_40267.html

---------------------

พร้อมยังครับทุกท่าน?

ปล.ถ้าสัก 40 นี่ยังพอรับได้นะ คิดไงก้าวกระโดดแบบนี้หว่า?
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่