สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
เอามาให้อ่าน จะได้ไม่เกิดการเข้าใจผิด
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
(การคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง)
1. ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 132 ตอนที่ 6 ก เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา
2. มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป
3. สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ มีดังนี้
(1) คุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์และคุ้มครองสิทธิในข้อมูลที่เจ้าของลิขสิทธิ์ที่ใช้บริหารจัดการสิทธิของตนไม่ให้คนอื่นมาลบหรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่ชอบ เช่น การลบข้อมูลเกี่ยวกับชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ชื่อผู้สร้างสรรค์ ชื่อนักแสดง เป็นต้น โดยหากบุคคลใด ลบ หรือเปลี่ยนแปลง ข้อมูลดังกล่าว ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) คุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ปกป้องงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนเพื่อป้องกันการทำซ้ำหรือการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น พาสเวิร์ด (password) ที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ในการควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยหากบุคคลใดทำลายมาตรการทางเทคโนโลยีดังกล่าว โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ยินยอมถือว่ามีความผิดฐานละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี
(3) กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์การทำซ้ำชั่วคราว (Exception for Temporary Reproduction) เพื่อกำหนดให้ชัดเจนว่าการทำซ้ำชั่วคราวโดยความจำเป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียกดูงานอันมีลิขสิทธิ์ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากการดูภาพยนตร์ หรือฟังเพลงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการทำซ้ำงานเพลงหรือภาพยนตร์ดังกล่าวไว้ในหน่วยความจำ (RAM) ทุกครั้ง ด้วยความจำเป็นทางเทคนิคดังกล่าวทำให้ทุกครั้งที่มีการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้งานจะต้องทำซ้ำงานด้วยเสมอ การทำซ้ำลักษณะนี้เป็นการทำซ้ำชั่วคราว ที่ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
(4) เพิ่มเติมเรื่องการกำหนดข้อจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Liability Limitation of ISP) เพื่อให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น เจ้าของเว็บไซต์ Youtube ไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเอาไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากเว็บไซต์ ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องแสดงหลักฐานต่างๆ ต่อศาลอย่างเพียงพอ และเมื่อศาลได้มีคำสั่งให้เอาไฟล์ละเมิดออกจากเว็บไซต์แล้ว และเจ้าของเว็บไซต์ดำเนินการตามคำสั่งศาล เจ้าของเว็บไซต์ไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว
(5) เพิ่มข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์กรณีการจำหน่ายต้นฉบับหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ โดยนำหลักการระงับไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Exhaustion of Rights) มากำหนดให้ชัดเจนว่าการขายงานอันมีลิขสิทธิ์มือสองสามารถทำได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การขายภาพเขียน หนังสือ ซีดีเพลง ซีดีภาพยนตร์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี หากเป็นการขายซีดีภาพยนตร์จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดีทัศน์ด้วย มิฉะนั้น แม้ไม่ผิดตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ แต่อาจมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ได้
(6) เพิ่มเติมเรื่องสิทธิทางศีลธรรมของนักแสดง (Moral Right) เพื่อเพิ่มสิทธิให้นักแสดง มีสิทธิทางศีลธรรมเท่าเทียมกับสิทธิทางศีลธรรมของผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยนักแสดงมีสิทธิระบุชื่อตนในการแสดงที่ตนได้แสดง และห้ามไม่ให้บุคคลใดกระทำต่อการแสดงของตนจนทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ
(7) เพิ่มบทบัญญัติเรื่องค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (Punitive damages) โดยกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหาย ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่ามีการกระทำโดยจงใจหรือมีเจตนาให้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงสามารถเข้าถึงโดยสาธารณชนได้อย่างแพร่หลาย
(8) กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งริบหรือทำลายสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำละเมิด และสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง
สรุป สั้นๆ ง่ายๆ การแชร์อะไรต่างๆ ถ้าไปเอางานอันมีลิขสิทธิ์มาเผยแพร่ต่อ มันมีความผิดตามกฎหมายลิขสิทธิ์เดิมอยู่แล้ว แต่ฉบับแก้ไขใหม่ เป็นการทำให้กฎหมายเข้มข้นมากขึ้น และป้องกันปัญหาการละเมิดทางอินเทอร์เน็ตให้ดียิ่งขึ้น
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
(การคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง)
1. ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 132 ตอนที่ 6 ก เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา
2. มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป
3. สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ มีดังนี้
(1) คุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์และคุ้มครองสิทธิในข้อมูลที่เจ้าของลิขสิทธิ์ที่ใช้บริหารจัดการสิทธิของตนไม่ให้คนอื่นมาลบหรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่ชอบ เช่น การลบข้อมูลเกี่ยวกับชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ชื่อผู้สร้างสรรค์ ชื่อนักแสดง เป็นต้น โดยหากบุคคลใด ลบ หรือเปลี่ยนแปลง ข้อมูลดังกล่าว ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ
(2) คุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ปกป้องงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนเพื่อป้องกันการทำซ้ำหรือการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น พาสเวิร์ด (password) ที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ในการควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยหากบุคคลใดทำลายมาตรการทางเทคโนโลยีดังกล่าว โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ยินยอมถือว่ามีความผิดฐานละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี
(3) กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์การทำซ้ำชั่วคราว (Exception for Temporary Reproduction) เพื่อกำหนดให้ชัดเจนว่าการทำซ้ำชั่วคราวโดยความจำเป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียกดูงานอันมีลิขสิทธิ์ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากการดูภาพยนตร์ หรือฟังเพลงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการทำซ้ำงานเพลงหรือภาพยนตร์ดังกล่าวไว้ในหน่วยความจำ (RAM) ทุกครั้ง ด้วยความจำเป็นทางเทคนิคดังกล่าวทำให้ทุกครั้งที่มีการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้งานจะต้องทำซ้ำงานด้วยเสมอ การทำซ้ำลักษณะนี้เป็นการทำซ้ำชั่วคราว ที่ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
(4) เพิ่มเติมเรื่องการกำหนดข้อจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Liability Limitation of ISP) เพื่อให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น เจ้าของเว็บไซต์ Youtube ไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเอาไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากเว็บไซต์ ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องแสดงหลักฐานต่างๆ ต่อศาลอย่างเพียงพอ และเมื่อศาลได้มีคำสั่งให้เอาไฟล์ละเมิดออกจากเว็บไซต์แล้ว และเจ้าของเว็บไซต์ดำเนินการตามคำสั่งศาล เจ้าของเว็บไซต์ไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว
(5) เพิ่มข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์กรณีการจำหน่ายต้นฉบับหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ โดยนำหลักการระงับไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Exhaustion of Rights) มากำหนดให้ชัดเจนว่าการขายงานอันมีลิขสิทธิ์มือสองสามารถทำได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การขายภาพเขียน หนังสือ ซีดีเพลง ซีดีภาพยนตร์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี หากเป็นการขายซีดีภาพยนตร์จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดีทัศน์ด้วย มิฉะนั้น แม้ไม่ผิดตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ แต่อาจมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ได้
(6) เพิ่มเติมเรื่องสิทธิทางศีลธรรมของนักแสดง (Moral Right) เพื่อเพิ่มสิทธิให้นักแสดง มีสิทธิทางศีลธรรมเท่าเทียมกับสิทธิทางศีลธรรมของผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยนักแสดงมีสิทธิระบุชื่อตนในการแสดงที่ตนได้แสดง และห้ามไม่ให้บุคคลใดกระทำต่อการแสดงของตนจนทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ
(7) เพิ่มบทบัญญัติเรื่องค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (Punitive damages) โดยกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหาย ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่ามีการกระทำโดยจงใจหรือมีเจตนาให้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงสามารถเข้าถึงโดยสาธารณชนได้อย่างแพร่หลาย
(8) กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งริบหรือทำลายสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำละเมิด และสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง
สรุป สั้นๆ ง่ายๆ การแชร์อะไรต่างๆ ถ้าไปเอางานอันมีลิขสิทธิ์มาเผยแพร่ต่อ มันมีความผิดตามกฎหมายลิขสิทธิ์เดิมอยู่แล้ว แต่ฉบับแก้ไขใหม่ เป็นการทำให้กฎหมายเข้มข้นมากขึ้น และป้องกันปัญหาการละเมิดทางอินเทอร์เน็ตให้ดียิ่งขึ้น
ความคิดเห็นที่ 14
ผมอ่านแล้วสรุปมาให้ครับ (แบบนี้ถึงจะเรียกว่าการ rewrite ไม่ผิดลิขสิทธิ์ และอนุญาตให้เผยแพร่ได้ครับ)
คนเล่นเน็ต ไม่น่าเป็นห่วง แต่คนทำงานสายสื่อสารมวลชน หรือ ทำงานคลุกคลีกับ social network ถ้าไม่รู้จะทำงานลำบากครับ
1) ภาพถ่าย ถ้าถ่ายเองหรือจ้างคนอื่นถ่าย ลิขสิทธิ์ตกเป็นของเรา
2) หากนำภาพคนอื่นไปใช้ แล้วตัดลายน้ำหรือไม่ให้เครดิตเจ้าของ ถือว่าผิด
3) ข้อความที่ก๊อปจากชาวบ้านมา หากอ้างที่มา และใช้แบบ personal use ไม่ผิด แต่ถ้าใช้นิติบุคคล ถือว่าผิด
4) embed youtube มาใส่หน้าเว็บโดยตรงถือว่าผิด (ถ้าทำแค่เป็นภาพ thumbnail แล้ว link ไปที่ youtube เจ้าของโดยตรง ไม่ผิด)
5) ถ้านำคลิป youtube ไปใช้เชิงสาธารณะ (เช่น ทำรายการข่าว) ต้องเผยชื่อ username เจ้าของคลิป และเป็นคลิปที่ตั้ง public ไว้เท่านั้น (ถ้าเจ้าของตั้ง private ไว้ แล้วนำมาเผยแพร่ถือว่าผิด)
6) แชร์ภาพจาก fanpage อื่น มาที่ fanpage เรา เพื่อเรียกเรตติ้ง มีสิทธิ์ถูกฟ้อง เพราะแสวงหากำไร (แก้ได้ด้วยการผลิตเอง หรือขออนุญาตเจ้าของ / ก๊อปจาก google ก็มีสิทธิ์โดนฟ้อง)
7) ข่าวจากเว็บนอก มีที่มาอ้างอิง ไม่ผิด แต่บทความถือว่าผิดในกรณีแสวงหากำไร (แก้ได้ด้วยวิธี rewrite / copy-paste ถือว่าผิด)
*ขยายความข้อ 7 ให้ครับ ... ข่าว (news) คือ fact รายงานข้อเท็จจริง / บทความ (article) หรือ บทสัมภาษณ์ (interview) คือ ข้อคิดเห็น แบบนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนครับ ใช้วิธีการ rewrite หรืออ้างถึง (คล้ายๆ การทำวิทยานิพันธ์) จะปลอดภัยกว่า
สรุปง่ายๆ 4 บรรทัดแล้วจบ ...
1) ผลิตเอง หรือจ้างผลิต เราเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ / คนอื่นผลิต เราจะเอามาใช้ ต้องอ้างที่มา หรือ ขออนุญาตเจ้าของ
2) เอาของคนอื่นมาใช้ ถ้าเป็น personal use ต้องอ้างที่มาชัดเจน / ใช้ในเชิงแสวงหากำไร ต้องระบุที่มา+ขออนุญาตเจ้าของ
3) การ rewrite (เรียบเรียงใหม่) จากข้อความคนอื่น โดยอ้างที่มาเดิม สามารถทำได้
4) แชร์อะไรบนโลก social ให้แชร์จากต้นทาง ปลอดภัยสุด / ถ้ากดแชร์จากต้นทางไม่ได้ ใส่เครดิตให้เค้าด้วย
คนเล่นเน็ต ไม่น่าเป็นห่วง แต่คนทำงานสายสื่อสารมวลชน หรือ ทำงานคลุกคลีกับ social network ถ้าไม่รู้จะทำงานลำบากครับ
1) ภาพถ่าย ถ้าถ่ายเองหรือจ้างคนอื่นถ่าย ลิขสิทธิ์ตกเป็นของเรา
2) หากนำภาพคนอื่นไปใช้ แล้วตัดลายน้ำหรือไม่ให้เครดิตเจ้าของ ถือว่าผิด
3) ข้อความที่ก๊อปจากชาวบ้านมา หากอ้างที่มา และใช้แบบ personal use ไม่ผิด แต่ถ้าใช้นิติบุคคล ถือว่าผิด
4) embed youtube มาใส่หน้าเว็บโดยตรงถือว่าผิด (ถ้าทำแค่เป็นภาพ thumbnail แล้ว link ไปที่ youtube เจ้าของโดยตรง ไม่ผิด)
5) ถ้านำคลิป youtube ไปใช้เชิงสาธารณะ (เช่น ทำรายการข่าว) ต้องเผยชื่อ username เจ้าของคลิป และเป็นคลิปที่ตั้ง public ไว้เท่านั้น (ถ้าเจ้าของตั้ง private ไว้ แล้วนำมาเผยแพร่ถือว่าผิด)
6) แชร์ภาพจาก fanpage อื่น มาที่ fanpage เรา เพื่อเรียกเรตติ้ง มีสิทธิ์ถูกฟ้อง เพราะแสวงหากำไร (แก้ได้ด้วยการผลิตเอง หรือขออนุญาตเจ้าของ / ก๊อปจาก google ก็มีสิทธิ์โดนฟ้อง)
7) ข่าวจากเว็บนอก มีที่มาอ้างอิง ไม่ผิด แต่บทความถือว่าผิดในกรณีแสวงหากำไร (แก้ได้ด้วยวิธี rewrite / copy-paste ถือว่าผิด)
*ขยายความข้อ 7 ให้ครับ ... ข่าว (news) คือ fact รายงานข้อเท็จจริง / บทความ (article) หรือ บทสัมภาษณ์ (interview) คือ ข้อคิดเห็น แบบนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนครับ ใช้วิธีการ rewrite หรืออ้างถึง (คล้ายๆ การทำวิทยานิพันธ์) จะปลอดภัยกว่า
สรุปง่ายๆ 4 บรรทัดแล้วจบ ...
1) ผลิตเอง หรือจ้างผลิต เราเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ / คนอื่นผลิต เราจะเอามาใช้ ต้องอ้างที่มา หรือ ขออนุญาตเจ้าของ
2) เอาของคนอื่นมาใช้ ถ้าเป็น personal use ต้องอ้างที่มาชัดเจน / ใช้ในเชิงแสวงหากำไร ต้องระบุที่มา+ขออนุญาตเจ้าของ
3) การ rewrite (เรียบเรียงใหม่) จากข้อความคนอื่น โดยอ้างที่มาเดิม สามารถทำได้
4) แชร์อะไรบนโลก social ให้แชร์จากต้นทาง ปลอดภัยสุด / ถ้ากดแชร์จากต้นทางไม่ได้ ใส่เครดิตให้เค้าด้วย
แสดงความคิดเห็น
//เพื่อนนักแชร์รูป ข่าว เนื้อหาทั้งหลาย "กฎหมายลิขสิทธิ์มาแล้ว" โปรดอ่านครับ มีผล 4 สิงหาคม 2558 !!!//
//เพื่อนนักแชร์รูป ข่าว เนื้อหาทั้งหลาย "กฎหมายลิขสิทธิ์มาแล้ว" โปรดอ่านครับ มีผล 4 สิงหาคม 2558 !!!//
ปัจจุบันการแชร์เนื้อหาสาระ การแชร์ข่าวผ่าน social network เช่น Line , facebook , youtube หรือแม้กระทั่ง การใช้ภาพและวีดีโอ จากทางอินเทอร์เน็ต หรือทาง Social Network นั้น ล้วนมีลิขสิทธิ์ หากคุณแชร์โดยไม่รู้กฎหมายลิขสิทธิ์ คุณก็มีสิทธิที่จะถูกฟ้องร้อง และอาจถูกทั้งจับคุกและปรับได้ ยิ่ง กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ 4 สิงหาคม 2558 นี้ด้วย
อาจารย์ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย และที่ปรึกษาด้านกฏหมาย กล่าวถึงกฎหมายลิขสิทธิ์ที่คนทำเว็บและผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ต้องระวัง ในงานสัมมนางานจิบกาแฟคนทำเว็บ ( Webpresso ) เรื่อง ตอบคำถามกับปัญหาคาใจบนโลกออนไลน์ ว่า….
” หากรูปใน facebook ถูก copy ไปใช้ในทางเชิงพาณิชย์ ในทางกฎหมาย ถ้าเราถ่ายเองหรือจ้างคนอื่นถ่าย ถือว่าภาพถ่ายนั้นเป็นลิขสิทธิ์ของเรา ทั้งนี้รูปที่มีปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นศิลปินดารา ที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
และ ในวันที่ 4 สิงหาคมนี้ กฎหมายลิขสิทธิจะมีผลบังคับใช้ หากคุณทำการหากคุณลบลายน้ำในรูป หรือทำการตัดครอปรูปโดย รูปนั้นไม่นำชื่อเจ้าของภาพ แล้วนำไปใช้ในเว็บตัวเอง หรือแชร์ทาง Social Network โดยไม่อ้างอิงเจ้าของตัวจริง มี โทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 2 แสนบาท ดังนั้น การ Copy รูปภาพบน facebook , youtube , instagram , twitter , flickr หรือจากเว็บอื่น ต้องให้ Credit ใส่ชื่อเจ้าของรูปอ้างอิงไว้ด้วย ”
กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ที่จะมีผลในวันที่ 4สิงหาคม 2558 นั้น มีเจตนารม คือ เวลาจะเอาผลงานของใครมา ต้องเอาชื่อคนนั้นมาใส่ด้วย
หากเป็นการ copy เนื้อหาบนหน้าเว็บ มาโพสต์ทาง facebook หรือเว็บเรา ผิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ?
ถ้าเป็นรายบุคคล เป็น facebook ใช้ส่วนตัว สามารถใช้ได้ ทั้งนี้ต้อง อ้างอิงแหล่งที่มา ใช้ส่วนตัว และ ไม่มีแสวงหาผลกำไร ถึงจะไม่ผิดลิขสิทธิ์
แต่ถ้าในกรณีนิติบุคคล ถือว่าไม่ได้ ถ้าเว็บไซต์คุณมีแบนเนอร์ หรือ facebook มีกิจกรรมชิงโชค ถือว่า ผิดลิขสิทธิ์
ถ้าเว็บไซต์ หรือ blog ของเรา นำ embed วีดีโอจาก youtube แปะใส่ในหน้าเว็บเราล่ะ ทำได้มั้ย ผิดหรือเปล่า?
embed ของ youtube ใส่หน้าเว็บเราเป็นสิงที่อันตราย เพราะลิขสิทธิ์ของเขา แต่อยู่ภายใต้เวบของเรา ซึ่งผิดลิขสิทธิ์
ดังนั้นวิธีแก้คือ ใส่ภาพนิ่งเป็นตัวอย่างภาพวีดีโอนั้น พร้อมกับทำลิงค์ไปยังวีดีโอเจ้าของคลิป อันนี้สามารถทำได้ ไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์
หากกลุ่มผู้ผลิตรายการทีวี ต้องการนำคลิป Youtube ไปใช้ควรทำอย่างไร ?
ต้องเผยชื่อ user youtube เจ้าของคลิปนั้น เพื่ออ้างอิง และคลิปที่ใช้ได้ต้องเผยแพร่แบบสาธารณะ
ถ้าเป็นคลิป youtube แบบ Private หรือแชร์ลิงค์เฉยๆที่ไม่ใช่สาธารณะนำมาใช้ ถือว่าผิดลิขสิทธิ์
กรณีแฟนเพจ facebook แชร์ภาพของ fanpage อื่น เพื่อเรียกเรตติ้ง มีความเสี่ยงถูกฟ้อง เพราะเรื่องแสวงหาผลกำไร
ดังนั้น หากไม่อยากโดนฟ้องเรื่องลิขสิทธิ์ภาพถ่าย ควรถ่ายเอง วาดเอง หรือขอจากเจ้าของรูปเอง ก็ใช้ได้ แต่ถ้าเอาจาก google อาจโดนฟ้องได้ และถูกเรียกเงินสูงด้วย
ถ้าแปลจากเว็บต่างประเทศ แล้วอ้างอิงให้แล้ว ผิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ?
ถ้าเป็นเนื้อหาข่าว ไม่ผิดลิขสิทธิ์ แต่ถ้าเป็นบทความอาจผิดลิขสิทธิ์ได้ ถ้าใช้ในเรื่องแสวงหาผลกำไร หรือใช้ในเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ การนำเนื้อหามารีไรท์เรียบเรียงใหม่ ถือว่าไม่ผิด แต่ถ้า copy paste แปลรายคำ ถือว่าผิดลิขสิทธิ์
ตัวอย่างเนื้อหาข่าวที่ไม่ผิดลิขสิทธิ์ เช่น เนื้อหาข่าวว่าเกิดอะไรขึ้น ข้อมูลทั่วไป ราคาหุ้น พยากรณ์อากาศ หนังฉายวันนี้ ราคาน้ำมัน ผลการแข่งขันฟุตบอล อันนี้ไม่เป็นลิขสิทธิ์ สามารถแชร์ หรือใช้ได้
แต่ถ้าเป็น พวกภาพข่าว รูป บทสัมภาษณ์ข่าว คอลัมน์ข่าว ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ หากนำไปใช้โดยไม่ขออนุญาตเจ้าของภาพ หรือเจ้าของคอลัมน์ อาจเสี่ยงถูกฟ้องในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ได้
กฎหมายลิขสิทธิ์เริ่ม 4 สิงหา คนเล่น Net ต้องระวัง!