เมื่อเวลา 14.05น.วันที่ 28 ก.ค.2558 ที่ศูนย์แถลงข่าวตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในที่ประชุมครม.ถึงเรื่องภัยแล้ง ว่าวันนี้สถานการณ์ดีขึ้น มีปริมาณฝนตกและ น้ำไหลเข้าเขื่อนหลักในพื้นที่4เขื่อนหลักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวนมากขึ้น ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนมีมากกว่าน้ำที่ระบายออก และนายกฯระบุว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าวางใจในเรื่องนี้ ต้องมีมาตรการดูแลเรื่องของการรณรงค์สร้างการรับรู้รับทราบว่าทุกฝ่ายทุกส่วนต้องร่วมกันประหยัดน้ำ ไม่ใช่เฉพาะเกษตรกรเท่านั้นที่ต้องเชื่อมั่นในการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐ แต่ภาครัฐทุกหน่วยและประชาชนทั้งประเทศควรจะต้องช่วยเหลือกันในเรื่องนี้
"โดยเฉพาะมาตรการลดการใช้น้ำของหน่วยงานรัฐที่คณะกรรมการน้ำแห่งชาติเคยชี้แจงแล้วว่าในแนวทางที่ได้สำรวจตรวจสอบพบว่าหน่วยงานราชการในภาพรวมมีการใช้น้ำ 19% แล้วจึงมีแนวทางลดการใช้น้ำลงให้ได้ลงอีกอย่างน้อย10% และมีการนำมาชี้แจงว่าแนวทางในการลดการใช้น้ำเป็นอย่างไร เช่นการตรวจสอบการรั่วของน้ำ ตรวจสอบอุปกรณ์ไม่ให้มีจุดรั่วซึม และต้องรณรงค์สร้างจิตสำนึกในการประหยัดน้ำ ซึ่งจะแจกจ่ายมาตรการให้หน่วยงานต่างๆนำไปปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทาง"พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
สำหรับมาตรการประหยัดน้ำที่พล.ต.สรรเสริญกล่าวถึงนั้นครม.ได้เห็นชอบตามมติของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(กนช.)เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นมาตรการประหยัดน้ำระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากปริมาณการใช้น้ำประปาในกรุงเทพฯและปริมณฑลในครัวเรือนมีจำนวน 49% ภาคอุตสาหกรรม 32% ภาครัฐ 19% โดยที่ประชุมกนช.มีการตั้งเป้าหมายลดการใช้น้ำของหน่วยงานภาครัฐลงถึง 10 % สำหรับแนวทางการปฏิบัติเพื่อประหยัดน้ำอย่างเป็นระบบคือ
1.การจัดตั้ง “คณะทำงานปฏิบัติการประหยัดน้ำ” ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักและความร่วมมือจากบุคลากรทุกระดับและทุกฝ่าย โดยมีหัวหน้าส่วนราชการเป็นประธาน เพื่อสะท้อนถึงการให้ความสำคัญของการประหยัดน้ำในหน่วยงานภาครัฐ
2.จัดทำแผนปฏิบัติการประหยัดน้ำ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมติที่ประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในการประหยัดน้ำ โดยการลดปริมาณการใช้น้ำลงอย่างน้อย 10% เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้น้ำในปีงบประมาณปี 2557 โดยแผนแผนปฏิบัติการประหยัดน้ำควรมีความชัดเจนทั้งวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ขั้นตอน วิธีการ และ ระยะเวลาในการปฏิบัติ รวมถึงการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อเป็นแนวทางและกรอบ ให้บุคลากรของแต่ละหน่วยงานถือเป็นหลักปฏิบัติ ในการดำเนินการประหยัดน้ำให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนด
3.ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประหยัดน้ำ
4.จัดกิจกรรม รณรงค์ เสริมสร้างความเข้าใจเพื่อให้บุคลากรมีจิตสำนึกในการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า รวมถึงการส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมในการลดการสูญเสียน้ำที่ไม่จำเป็น
5.ติดตามประเมินผลเพื่อทราบความก้าวหน้า และทิศทางการดำเนินงานของแผนงาน เปรียบเทียบกับเป้าหมายและกรอบเวลาของแผน ทราบผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน พัฒนามาตรการประหยัดน้ำ ให้เข้มข้นขึ้นหรือยืดหยุ่นลงตามความเหมาะสม รวมถึงการวิเคราะห์ข้อจำกัดเพื่อหาทางแก้ไขมาตรการนั้น หรือการยกเลิกในกรณีที่ไม่เหมาะสมหรือไม่คุ้มค่า
ส่วนแนวทางปฏิบัติเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำที่ครม.ให้ความเห็นชอบตามที่กนช.เสนอ ได้แก่
1.สำรวจตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำอย่างง่าย เพื่อลดการสูญเสียน้ำอย่างเปล่าประโยชน์
2.รณรงค์สร้างจิตสำนึกในการประหยัดน้ำ
3.ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อนเมื่อต้องการล้างมือ เพราะการใช้สบู่ก้อนล้างมือจะใช้เวลามากกว่าการใช้สบู่เหลว ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมากกว่า แต่การล้างมือด้วยสบู่เหลวที่เข้มข้น ก็จะใช้น้ำมากกว่าการล้างมือด้วยสบู่เหลวที่ไม่เข้มข้น
4.ไม่ทิ้งน้ำดื่มที่เหลือในแก้วโดยไม่เกิดประโยชน์อันใด อาจนำไปใช้รดน้ำต้นไม้ ใช้ชำระพื้นผิวหรือใช้ชำระความสะอาดสิ่งต่างๆได้ เป็นต้น
5.ควรใช้เหยือกน้ำกับแก้วเปล่าในการบริการน้ำดื่ม ให้ผู้ที่ต้องการดื่มรินน้ำดื่มเอง และควรดื่มให้หมดทุกครั้ง
6. ล้างจานในภาชนะที่ขังน้ำไว้ จะประหยัดน้ำได้มากกว่าวีธีที่ปล่อยให้น้ำไหลจากก๊อกน้ำตลอดเวลา
7.การล้างรถยนต์ ไม่ควรใช้สายยางและเปิดน้ำให้ไหลตลอดเวลาขณะล้างรถ เพราะจะใช้น้ำมากถึง 400 ลิตร แต่ถ้าล้างด้วยน้ำและฟองน้ำในกระป๋อง หรือภาชนะบรรจุน้ำ จะลดการใช้น้ำได้มากถึง 300 ลิตร ต่อการล้างหนึ่งครั้ง และไม่ควรล้างรถบ่อยครั้งจนเกินไป เพราะนอกจากจะสิ้นเปลืองน้ำแล้ว ยังทำให้เกิดสนิมตัวถังได้ด้วย
8.นำหลักการ 3R คือการลดใช้น้ำ(Reduce) การใช้ซ้ำ(Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่(Recycle) มาปรับใช้ตามความเหมาะสมกับหน่วยงาน และแนวทางการปฏิบัติเพื่อการประหยัดน้ำ
ระยะยาว 1.รณรงค์ ส่งเสริม และปลูกฝังค่านิยมการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและรู้คุณค่า รวมทั้งสร้างพฤติกรรมการประหยัดน้ำ
2.ออกแบบและติดตั้งระบบน้ำให้สามารถใช้ประโยชน์จากการเก็บและจ่ายน้ำตามแรงโน้มถ่วงของโลก เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานไปสูบและจ่ายน้ำภายในอาคาร
3.กรณีที่อุปกรณ์ชำรุด จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ ควรพิจารณาจัดหาอุปกรณ์ที่ประหยัดน้ำทดแทน เช่น ก๊อกประหยัดน้ำ หัวฉีดประหยัดน้ำ เป็นต้น
4.ติดตั้งAeratorหรืออุปกรณ์เติมอาการที่หัวก๊อกเพื่อช่วยเพิ่มอากาศให้แก่น้ำที่ไหลออกจากหัวก๊อกลดปริมาณการไหลของน้ำ ช่วยประหยัดน้ำ
ที่มา :
http://www.komchadluek.net/detail/20150728/210619.html
-----------------------------
พวกเรามาช่วยกันประหยัดน้ำด้วยการใช้สบู่เหลวกันนะครั๊บ
รบ.ประกาศ 8 มาตรการประหยัดน้ำ ‘ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อน-ล้างรถไม่ใช้สายยาง’
"โดยเฉพาะมาตรการลดการใช้น้ำของหน่วยงานรัฐที่คณะกรรมการน้ำแห่งชาติเคยชี้แจงแล้วว่าในแนวทางที่ได้สำรวจตรวจสอบพบว่าหน่วยงานราชการในภาพรวมมีการใช้น้ำ 19% แล้วจึงมีแนวทางลดการใช้น้ำลงให้ได้ลงอีกอย่างน้อย10% และมีการนำมาชี้แจงว่าแนวทางในการลดการใช้น้ำเป็นอย่างไร เช่นการตรวจสอบการรั่วของน้ำ ตรวจสอบอุปกรณ์ไม่ให้มีจุดรั่วซึม และต้องรณรงค์สร้างจิตสำนึกในการประหยัดน้ำ ซึ่งจะแจกจ่ายมาตรการให้หน่วยงานต่างๆนำไปปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทาง"พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
สำหรับมาตรการประหยัดน้ำที่พล.ต.สรรเสริญกล่าวถึงนั้นครม.ได้เห็นชอบตามมติของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(กนช.)เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นมาตรการประหยัดน้ำระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากปริมาณการใช้น้ำประปาในกรุงเทพฯและปริมณฑลในครัวเรือนมีจำนวน 49% ภาคอุตสาหกรรม 32% ภาครัฐ 19% โดยที่ประชุมกนช.มีการตั้งเป้าหมายลดการใช้น้ำของหน่วยงานภาครัฐลงถึง 10 % สำหรับแนวทางการปฏิบัติเพื่อประหยัดน้ำอย่างเป็นระบบคือ
1.การจัดตั้ง “คณะทำงานปฏิบัติการประหยัดน้ำ” ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักและความร่วมมือจากบุคลากรทุกระดับและทุกฝ่าย โดยมีหัวหน้าส่วนราชการเป็นประธาน เพื่อสะท้อนถึงการให้ความสำคัญของการประหยัดน้ำในหน่วยงานภาครัฐ
2.จัดทำแผนปฏิบัติการประหยัดน้ำ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมติที่ประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในการประหยัดน้ำ โดยการลดปริมาณการใช้น้ำลงอย่างน้อย 10% เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้น้ำในปีงบประมาณปี 2557 โดยแผนแผนปฏิบัติการประหยัดน้ำควรมีความชัดเจนทั้งวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ขั้นตอน วิธีการ และ ระยะเวลาในการปฏิบัติ รวมถึงการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อเป็นแนวทางและกรอบ ให้บุคลากรของแต่ละหน่วยงานถือเป็นหลักปฏิบัติ ในการดำเนินการประหยัดน้ำให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนด
3.ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประหยัดน้ำ
4.จัดกิจกรรม รณรงค์ เสริมสร้างความเข้าใจเพื่อให้บุคลากรมีจิตสำนึกในการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า รวมถึงการส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมในการลดการสูญเสียน้ำที่ไม่จำเป็น
5.ติดตามประเมินผลเพื่อทราบความก้าวหน้า และทิศทางการดำเนินงานของแผนงาน เปรียบเทียบกับเป้าหมายและกรอบเวลาของแผน ทราบผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน พัฒนามาตรการประหยัดน้ำ ให้เข้มข้นขึ้นหรือยืดหยุ่นลงตามความเหมาะสม รวมถึงการวิเคราะห์ข้อจำกัดเพื่อหาทางแก้ไขมาตรการนั้น หรือการยกเลิกในกรณีที่ไม่เหมาะสมหรือไม่คุ้มค่า
ส่วนแนวทางปฏิบัติเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำที่ครม.ให้ความเห็นชอบตามที่กนช.เสนอ ได้แก่
1.สำรวจตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำอย่างง่าย เพื่อลดการสูญเสียน้ำอย่างเปล่าประโยชน์
2.รณรงค์สร้างจิตสำนึกในการประหยัดน้ำ
3.ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อนเมื่อต้องการล้างมือ เพราะการใช้สบู่ก้อนล้างมือจะใช้เวลามากกว่าการใช้สบู่เหลว ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมากกว่า แต่การล้างมือด้วยสบู่เหลวที่เข้มข้น ก็จะใช้น้ำมากกว่าการล้างมือด้วยสบู่เหลวที่ไม่เข้มข้น
4.ไม่ทิ้งน้ำดื่มที่เหลือในแก้วโดยไม่เกิดประโยชน์อันใด อาจนำไปใช้รดน้ำต้นไม้ ใช้ชำระพื้นผิวหรือใช้ชำระความสะอาดสิ่งต่างๆได้ เป็นต้น
5.ควรใช้เหยือกน้ำกับแก้วเปล่าในการบริการน้ำดื่ม ให้ผู้ที่ต้องการดื่มรินน้ำดื่มเอง และควรดื่มให้หมดทุกครั้ง
6. ล้างจานในภาชนะที่ขังน้ำไว้ จะประหยัดน้ำได้มากกว่าวีธีที่ปล่อยให้น้ำไหลจากก๊อกน้ำตลอดเวลา
7.การล้างรถยนต์ ไม่ควรใช้สายยางและเปิดน้ำให้ไหลตลอดเวลาขณะล้างรถ เพราะจะใช้น้ำมากถึง 400 ลิตร แต่ถ้าล้างด้วยน้ำและฟองน้ำในกระป๋อง หรือภาชนะบรรจุน้ำ จะลดการใช้น้ำได้มากถึง 300 ลิตร ต่อการล้างหนึ่งครั้ง และไม่ควรล้างรถบ่อยครั้งจนเกินไป เพราะนอกจากจะสิ้นเปลืองน้ำแล้ว ยังทำให้เกิดสนิมตัวถังได้ด้วย
8.นำหลักการ 3R คือการลดใช้น้ำ(Reduce) การใช้ซ้ำ(Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่(Recycle) มาปรับใช้ตามความเหมาะสมกับหน่วยงาน และแนวทางการปฏิบัติเพื่อการประหยัดน้ำ
ระยะยาว 1.รณรงค์ ส่งเสริม และปลูกฝังค่านิยมการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและรู้คุณค่า รวมทั้งสร้างพฤติกรรมการประหยัดน้ำ
2.ออกแบบและติดตั้งระบบน้ำให้สามารถใช้ประโยชน์จากการเก็บและจ่ายน้ำตามแรงโน้มถ่วงของโลก เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานไปสูบและจ่ายน้ำภายในอาคาร
3.กรณีที่อุปกรณ์ชำรุด จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ ควรพิจารณาจัดหาอุปกรณ์ที่ประหยัดน้ำทดแทน เช่น ก๊อกประหยัดน้ำ หัวฉีดประหยัดน้ำ เป็นต้น
4.ติดตั้งAeratorหรืออุปกรณ์เติมอาการที่หัวก๊อกเพื่อช่วยเพิ่มอากาศให้แก่น้ำที่ไหลออกจากหัวก๊อกลดปริมาณการไหลของน้ำ ช่วยประหยัดน้ำ
ที่มา : http://www.komchadluek.net/detail/20150728/210619.html
-----------------------------
พวกเรามาช่วยกันประหยัดน้ำด้วยการใช้สบู่เหลวกันนะครั๊บ