พระพุทธเจ้าสอนเรื่องการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันโดยใช้ปัญญา ศีล สมาธิ มาทำงานร่วมกัน
เพราะความทุกข์นี้คือปัญหาที่ใหญ่หลวงที่สุดหรือเร่งด่วนที่สุด ที่เราจะต้องรีบแก้ไขหรือดับมันให้ได้ก่อนที่จะไปทำอย่างอื่น
แต่การที่จะศึกษาเพื่อให้เกิดปัญญาได้นั้น พระพุทธเจ้าได้วางหลักอจินไตยเอาไว้ ว่าไม่ควรสนใจเรื่อง ๔ เรื่อง เพราะเรื่องทั้ง ๔ นี้เป็นเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเพื่อดับทุกข์ อีกทั้งยังเป็นเรื่องที่จะทำให้เกิดความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ขึ้นมาได้โดยง่าย
อย่างเช่นเรื่องกรรมและผลของกรรมชนิดข้ามภพข้ามชาติ ที่เป็นความเชื่อเรื่องว่ามีอัตตา (ตัวตนที่แท้จริง) มาเวียนว่ายตายเกิดเพื่อมารับผลกรรมเก่า ตามคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ที่ตรงข้ามกับคำสอนเรื่องอนันตา (ไม่ใช่อัตตา) ของพระพุทธเจ้าที่ไม่มีเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดเพื่อมารับผลกรรม
เมื่อชาวพุทธมายึดถือเรื่องกรรมชนิดข้ามภพข้ามชาตินี้ว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเข้า จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าขึ้นมาทันที
เมื่อมีความเข้าใจผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ก็ย่อมไม่เกิดปัญญา (ความรอบรู้ในเรื่องที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงของธรรมาติหรือสัมมาทิฏฐิ)
เมื่อไม่มีปัญญา ก็ย่อมไม่สามารถปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้าได้
เมื่อไม่สามารถดับทุกข์ได้ ก็ย่อมที่จะประสบกับความทุกข์ (คือความเศร้าโศก ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความไม่สบายใจ เป็นต้น) อยู่ต่อไป
พระพุทธเจ้าสอนว่า เรื่องกรรมไม่ควรสนใจ แต่ชาวพุทธกลับยกย่องเรื่องกรรมเป็นคำสอนหลักของพุทธศาสนาไปเสียแล้ว
เพราะความทุกข์นี้คือปัญหาที่ใหญ่หลวงที่สุดหรือเร่งด่วนที่สุด ที่เราจะต้องรีบแก้ไขหรือดับมันให้ได้ก่อนที่จะไปทำอย่างอื่น
แต่การที่จะศึกษาเพื่อให้เกิดปัญญาได้นั้น พระพุทธเจ้าได้วางหลักอจินไตยเอาไว้ ว่าไม่ควรสนใจเรื่อง ๔ เรื่อง เพราะเรื่องทั้ง ๔ นี้เป็นเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเพื่อดับทุกข์ อีกทั้งยังเป็นเรื่องที่จะทำให้เกิดความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ขึ้นมาได้โดยง่าย
อย่างเช่นเรื่องกรรมและผลของกรรมชนิดข้ามภพข้ามชาติ ที่เป็นความเชื่อเรื่องว่ามีอัตตา (ตัวตนที่แท้จริง) มาเวียนว่ายตายเกิดเพื่อมารับผลกรรมเก่า ตามคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ที่ตรงข้ามกับคำสอนเรื่องอนันตา (ไม่ใช่อัตตา) ของพระพุทธเจ้าที่ไม่มีเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดเพื่อมารับผลกรรม
เมื่อชาวพุทธมายึดถือเรื่องกรรมชนิดข้ามภพข้ามชาตินี้ว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเข้า จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าขึ้นมาทันที
เมื่อมีความเข้าใจผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ก็ย่อมไม่เกิดปัญญา (ความรอบรู้ในเรื่องที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงของธรรมาติหรือสัมมาทิฏฐิ)
เมื่อไม่มีปัญญา ก็ย่อมไม่สามารถปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้าได้
เมื่อไม่สามารถดับทุกข์ได้ ก็ย่อมที่จะประสบกับความทุกข์ (คือความเศร้าโศก ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความไม่สบายใจ เป็นต้น) อยู่ต่อไป