อยากทราบรายละเอียด วิศวะเครื่องกล มช. คับ

ถ้าจะเรียนสาขาด้านยานยนต์นิมีมั้ยคับ แล้วต้องเรียนอย่างไรบ้าง มีลักษณะการเรียน งานเปนอย่างไรบ้าง

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ครับ ไม่ใช่ คับ

แต่ละ   คณะ   สาขา   ภาควิชา   เน้นคนละด้าน

น้อง   ต้องหาตัวเองให้พบ   ถนัดอะไร   ไม่ถนัดอะไร   บุคลิกภาพ   เป็น   อย่างไร   เรียนจบแล้วอยากทำงานเกี่ยวกับอะไรแล้วเลือกเรียนในสิ่งที่ใช่ทำในสิ่งที่ชอบแล้วจะมีความสุขในการเรียน

บางคนคิดว่า   ถนัด   พอมาเรียนจริง   ๆ   เรียน   ไม่ไหว   ไม่ได้   ทุก ปี   ทุก มหาวิทยาลัย   มี ย้าย   คณะ   สาขา   ภาควิชา

ภาษา   ใช้ในการเรียน   ต่อ   และ   การทำงาน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.cmu.ac.th
คณะวิศวกรรมศาสตร์   สาขา   ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล http://me.eng.cmu.ac.th/new/?page_id=118&lang=th
คณะวิศวกรรมศาสตร์   สาขา   ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า http://www.ee.eng.cmu.ac.th/
แนะนำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ https://www.youtube.com/watch?v=U9ossAwX45w

ขอแนะนำเพิ่ม   มหาวิทยาลัยศรีปทุม http://www.spu.ac.th
คณะวิศวกรรมศาสตร์   สาขา   ภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ http://www.spu.ac.th/engineer/courses/bachelors/automotive
คณะวิศวกรรมศาสตร์   สาขา   ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล http://www.spu.ac.th/engineer/courses/bachelors/mechanical
คณะวิศวกรรมศาสตร์   สาขา   ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า http://www.spu.ac.th/engineer/courses/bachelors/electronics
แนะนำคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม by VRZO https://www.youtube.com/watch?v=pSZcQwBQWqs

มหาวิทยาลัยรังสิต http://www.rsu.ac.th
คณะวิศวกรรมศาสตร์   สาขา   ภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ http://www.rsu.ac.th/engineer/en/course/AE.pdf
คณะวิศวกรรมศาสตร์   สาขา   ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล http://www.rsu.ac.th/engineer/en/course/Me.pdf
คณะวิศวกรรมศาสตร์   สาขา   ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า http://www.rsu.ac.th/engineer/en/course/EE.pdf
Review วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ม.รังสิต https://www.youtube.com/watch?v=dKrS6XYmGOM

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหหานคร   มหาวิทยาลัย   เอกชน   ดัง   คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร http://www.mut.ac.th
คณะวิศวกรรมศาสตร์   สาขา   ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล http://www.mut.ac.th/department.php?id=9
คณะวิศวกรรมศาสตร์   สาขา   ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า http://www.mut.ac.th/department.php?id=8
ม.มหานคร คณะวิศวกรรมศาสตร์ https://www.youtube.com/watch?v=Fefbc7nw5VU

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://www.tu.ac.th
คณะวิศวกรรมศาสตร์   สาขา   ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล http://www.me.engr.tu.ac.th/
คณะวิศวกรรมศาสตร์   สาขา   ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า http://www.ece.engr.tu.ac.th/
วอร์มน้องใหม่วิศวะ ลุยงานแรกพบ มธ. https://www.youtube.com/watch?v=Ffcr9MpYW_c

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.chula.ac.th
คณะวิศวกรรมศาสตร์   สาขา   ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล http://www.meweb.eng.chula.ac.th/
คณะวิศวกรรมศาสตร์   สาขา   ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า http://www.ee.eng.chula.ac.th/site/
วีดีโอแนะนำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://www.youtube.com/watch?v=yH1-GVya28Y

กบนอกกะลา ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร 1 1/4 https://www.youtube.com/watch?v=YCpKnO1YeaQ
กบนอกกะลา : กว่าจะเป็นวิศวกร 1 2/4 https://www.youtube.com/watch?v=Maw_OlY0BBU
กบนอกกะลา : กว่าจะเป็นวิศวกร 1 3/4 https://www.youtube.com/watch?v=U5jkvRjI4lc
กบนอกกะลา ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร 1 4/4 https://www.youtube.com/watch?v=n3yvtXVXaqQ
กบนอกกะลา ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร 2 1/4 https://www.youtube.com/watch?v=TCVa8QVWvms
กบนอกกะลา ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร 2 2/4 https://www.youtube.com/watch?v=1IrzM-rmbwk
กบนอกกะลา ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร 2 3/4 https://www.youtube.com/watch?v=WgYmbifMW4o
กบนอกกะลา ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร 2 4/4 https://www.youtube.com/watch?v=agomZpYzB0o

สาขา   ภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ เป็น แขนง สาขา   ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

ถามวิศวะ: วิศวกรรมเครื่องกล จุฬาฯ http://www.youtube.com/watch?v=IJ2-zo0FsA4

ถามวิศวะ: วิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาฯ http://www.youtube.com/watch?v=YjJe1KCeAkU

คณะวิศวกรรมศาสตร์
บุคลิกภาพของผู้เรียน
.ช่างคิด   ชอบประดิษฐ์   คิดค้นสิ่งต่าง   ๆ
.สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่   ๆ   โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีใหม่และนวัตกรรม
.ชอบคำนวณ   การวิเคราะห์ทางฟิสิกส์   และ   คณิตศาสตร์
.มีลักษณะความเป็นผู้นำ
.ความสามารถวางแผน   และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
.ยึดมั่นในหลักเหตุและผล

สาขาวิศวกรรมยานยนต์
วิศวกรรมยานยนต์เป็นสาขาวิชาที่มุ่งจัดการศึกษาให้บัณฑิตเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับ เทคโนโลยีทางวิศวกรรมในสาขาวิศวกรรมยานยนต์ และกลไกการทำงานของชิ้นส่วนยานยนต์  การนำเชื้อเพลิงและพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อการผลิตทางอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ โดยหน้าที่หลักของวิศวกรยานยนต์ เกี่ยวข้องกับ การคำนวณออกแบบ ควบคุมการผลิต  ค้นคว้า  วิเคราะห์  ทดสอบ  ดัดแปลง  เกี่ยวกับยานพาหนะ อีกทั้งสามารถอำนวยการใช้ระบบและอุปกรณ์เกี่ยวกับ เครื่องยนต์ต้นกำลัง อุปกรณ์ถ่ายเทความร้อน  ภาชนะใส่ก๊าซภายใต้ความดัน ระบบเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในยานยนต์

หลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตวิศวกรที่มีความรู้และปัญญา ที่สามารถประกอบอาชีพทางวิศวกรรมยานยนต์ได้อย่างมีประสิทธิผล  การศึกษาจะเน้นทั้งทางด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ นำไปสู่การวิเคราะห์วิจัยปัญหาทางวิศวกรรมอย่างถูกต้อง มีแนวคิด หลักการ และการประยุกต์ทางด้านเทคนิคต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด นอกเหนือจากความรู้ทางด้านวิชาการ และวิชาชีพแล้ว บัณฑิตทุกคนยังจะได้รับการอบรมให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความมานะอดทนและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ

โอกาสทางวิชาชีพ
(1)    วิศวกรยานยนต์ประจำโรงงาน วิศวกรอำนวยการผลิต วิศวกรควบคุมคุณภาพสินค้า วิศวกรควบคุมหรือซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลภายในโรงงานทางด้านอุตสากรรมยานยนต์

(2)    วิศวกรออกแบบ ทดสอบ งานทางด้านยานยนต์

(3)    วิศวกรควบคุมการติดตั้งระบบงานทางด้านยานยนต์

(4)    วิศวกรการขายหรืองานบริการทางด้านเทคนิคในอุตสาหกรรมยานยนต์ วิศวกรประจำทีมการแข่งขัน หรือฝ่ายจัดการแข่งขันทางด้านยานยนต์

(5)    อาจารย์ / นักวิชาการและนักวิจัยทางด้านวิศวกรรมยานยนต์

(6)    ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบริการทางด้านยานยนต์

งานอื่นที่เกี่ยวข้องกับทางวิศวกรรมยานยนต์และเครื่องกล เช่น วิศวกรประเมินราคา

สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
เป็นสาขาวิชาชีพหลักสาขาหนึ่งทางด้านวิศวกรรมศาสตร์
ที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ   โดยศึกษาการออกแบบ
และการควบคุมใช้งานระบบทางกลของ   เครื่องจักรอุปกรณ์
ยานยนต์   และระบบทางพลังงาน   เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
สูงสุดในการใช้งาน   โดยมุ่งเน้นสู่การเป็น   "Practical
Engineer"   ผู้เชี่ยวชาญและนักปฏิบัติ   ที่เป็นที่ต้องการของ
ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม   โดยมีแขนงความเชี่ยวชาญในด้าน
วิศวกรรมพลังงาน   วิศวกรรมยานยนต์   วิศวกรรมระบบ
ควบคุมอัตโนมัติ   วิศวกรรมออกแบบเครื่องจักรกล
และ   ระบบทางอาคาร   (เช่น   ระบบปรับอากาศ   ระบบท่อ
ระบบขนส่ง   ฯลฯ)

โอกาสทางวิชาชีพ
งานวิชาชีพหลักของสาขาวิศวกรรมเครื่องกล เกี่ยวข้องกับ การคำนวณออกแบบควบคุมการผลิต การค้นคว้า วิเคราะห์ ทดสอบ วางโครงการ อำนวยการติดตั้ง และอำนวยการใช้ระบบและอุปกรณ์ คือ เครื่องต้นกำลัง เครื่องใช้กำลัง อุปกรณ์ถ่ายเทความร้อน เครื่องกำเนิดไอน้ำ หรือไออย่างอื่นๆ เตาเผา ภาชนะใส่ก๊าซภายใต้ความดัน เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น และระบบท่อส่งของไหลภายใต้ความดันและของไหลอันตราย

ตัวอย่างตำแหน่งงานของวิศวกรเครื่องกล

-         วิศวกรออกแบบ-ติดตั้งระบบปรับอากาศ ระบบท่อประปา/สุขาภิบาล/ดับเพลิง ในอาคาร

-         วิศวกรออกแบบ หรือ ติดตั้ง ระบบทางกล ในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม

-         วิศวกร ออกแบบชิ้นส่วนทางกล ออกแบบผลิตภัณฑ์

-         วิศวกรวางโครงการ บริหารโครงการ

-         วิศวกรกระบวนการผลิต ในโรงงานอตสาหกรรม

-         วิศวกร ซ่อมบำรุง รักษาเครื่องจักร ในโรงงาน

-         วิศวกรควบคุมคุณภาพการผลิต

-         วิศวกร บริหารจัดการอาคาร

-         วิศวกรด้านวิเคราะห์ทุนในสถาบันทางการเงิน

-         วิศวกรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม

-         วิศวกรด้านอุตสาหกรรมพลังงาน หรือ พลังงานทางเลือก

-         วิศวกรด้านการขายผลิตภัณฑ์ ระบบทางวิศวกรรม

-         นักวิชาการ นักวิจัย นักพัฒนา ระบบทางกล เครื่องยนต์ ระบบพลังงาน

-         เป็นผู้ประกอบการ

-         ฯลฯ

ตัวอย่างสถานที่ทำงาน

-         โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท เช่น Toyota, TATA, CP, ปตท., ปูนซีเมนต์ไทย ฯลฯ

-         บริษัทออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้ง ระบบทางกลในอาคาร (ระบบปรับอากาศ ลิฟท์ ประปา) เช่น Jardines Engineering, Italian Thai, พฤษา ฯลฯ

-         บริษัทที่ปรึกษา ด้าน สิ่งแวดล้อม พลังงาน และ วิศวกรรมอื่นๆ

-         สถาบันทางการเงิน ที่ต้องการการวิเคราะห์ทางด้านทุน ที่เกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรม

-         บริษัท จำหน่ายอุปกรณ์ทางวิศวกรรมเครื่องกล

-         หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับด้านวิศวกรรม

สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อ
กระบวนการภาคอุตสาหกรรม   ด้านพลังงาน   และความเป็นอยู่
ในชีวิตประจำวัน   สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ามุ่งเน้นในการ
ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้   ความเชี่ยวชาญ   เพียบพร้อมทั้งด้าน
ทฤษฎี   ด้านระบบความคิด   และด้านปฏิบัติ   ตอบสนองต่อ
เทคโนโลยีสมัยใหม่   ทั้งในด้านระบบไฟฟ้ากำลัง   ระบบควบคุม
การวัด   ระบบอิเล็กทรอนิกส์   และการสื่อสารโทรคมนาคม
เป็นต้น   นอกจากนี้ยังเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์
ด้วยองค์ความรู้   ในศาสตร์แขนงต่าง   ๆ   ที่ใกล้เคียง   เพื่อให้ผู้เรียน
ได้สามารถเลือกศึกษาได้อย่างครบวงจร

สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า  เป็นสาขาวิชาชีพหนึ่งที่จำเป็นเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ  อุตสาหกรรมและความเจริญมั่นคงของประเทศ  แบ่งหลักสูตรเป็น  3  แขนงวิชาคือ

•           แขนงวิชาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง มุ่งเน้นการเรียนรู้เทคโนโลยีการส่งผ่านพลังงานไฟฟ้า การออกแบบระบบไฟฟ้ากำลัง การออกแบบสถานีจ่ายไฟฟ้า การกำเนิดและการควบคุมพลังงานไฟฟ้า การบำรุงรักษาระบบไฟฟ้ากำลังและระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม
•           แขนงวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร มุ่งเน้นการเรียนรู้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบสายอากาศ การสื่อสารข้อมูลและโครงข่ายคอมพิวเตอร์การสื่อสารไร้สาย การสื่อสารด้วยใยแก้วนำแสง การสื่อสารดาวเทียม ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบการสื่อสารไมโครเวฟ และระบบสายสื่อสัญญาณ
•           แขนงวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ มุ่งเน้นการเรียนรู้ระบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ การประยุกต์ใช้งานวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุมด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์

โอกาสทางวิชาชีพ
วิศวกรไฟฟ้าคือผู้ที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรมไฟฟ้าอย่างสมเหตุสมผลทางเศรษฐศาสตร์ งานของวิศวกรไฟฟ้าจึงเกี่ยวข้องกับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ และเชื่อมโยงกับการประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม นอกจากนี้งานของวิศวกรไฟฟ้ายังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกแบบ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ รวมทั้งการทดสอบผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน งานของวิศวกรรมไฟฟ้ายังมีโอกาสเกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรมในการดูแลระบบไฟฟ้าและกระบวนการผลิต ซึ่งต้องใช้การวิเคราะห์ทั้งทางด้านวิศวกรรม การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ประกอบการดำเนินงาน วิศวกรไฟฟ้ายังอาจทำงานที่เกี่ยวข้องกับการขายการตลาดสำหรับ อุปกรณ์ หรือ ระบบ ที่ต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมไฟฟ้าในการให้คำปรึกษาทางเทคนิกการใช้งาน ติดตั้ง และการวางแผนของระบบ

ตัวอย่างงานของวิศวกรไฟฟ้า

วิศวกรออกแบบ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่