วิกฤติ! ชายแดนใต้ต้องจัดเซฟตี้โซนสำหรับพระบิณฑบาต-ประชาชนตักบาตร หลังโดนบึ้มชุดรปภ.พระจนภิกษุมรณภาพเมื่อเช้า
http://www.isranews.org/south-news/other-news/item/40180-safety.html …
ฝ่ายปกครองได้ประสานกับฝ่ายทหารและตำรวจ กำหนดมาตรการใหม่ในการป้องกันเหตุรุนแรงที่เกิดกับพระภิกษุ และเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความปลอดภัย (รปภ.) ให้กับพระสงฆ์ขณะออกบิณฑบาต
การออกมาตรการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังมีเหตุลอบวางระเบิดทหารชุด รปภ.พระ ในเขตเทศบาลตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เมื่อช่วงเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม 2558 ทำให้พระภิกษุมรณภาพ 1 รูป บาดเจ็บ 1 รูป ขณะที่กำลังพลของทหารเสียชีวิต 1 นาย บาดเจ็บอีก 2 นาย และยังมีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บไปด้วยอีกหลายคน
นายกฤษฎา บุญราช อธิบดีกรมการปกครอง ว่าที่ปลัดกระทรวงมหาดไทยคนใหม่ ได้สั่งการไปยังนายอำเภอในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่เกิดสถานการณ์ความไม่สงบ โดยระบุว่าตามที่ได้มีเหตุรุนแรงกับพระภิกษุขณะบิณฑบาตในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ประกอบกับใกล้เทศกาลเข้าพรรษานั้น กรมการปกครองขอให้นายอำเภอในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจหมายเลข 2 ตัว (ฝ่ายทหารที่รับผิดชอบระดับอำเภอ) และผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอ (ฝ่ายตำรวจ) ได้หารือร่วมกันเพื่อพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาดังนี้
1.กำหนดเส้นทางเฉพาะเป็นเส้นทางปลอดภัย หรือ "เซฟตี้ โซน" ( Safety Zone) เพื่อให้พระภิกษุได้เดินบิณฑบาต และสามารถดูแลความปลอดภัยได้ทั้งพระภิกษุและประชาชนที่มาร่วมใส่บาตร โดยมีการวางกำลัง รปภ.และตรวจเส้นทางไว้ก่อน
2.ประสานงานเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ หรือเจ้าอาวาสวด เพื่อให้แจ้งพระลูกวัดทราบว่าเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางบิณฑบาต แล้วจัดกำลังอาสารักษษดินแดน (อส.) ไปรับพระภิกษุมายังเส้นทางดังกล่าว
3.ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบเพื่อมาทำบุญใส่บาตรในเส้นทางหรือเขตเซฟตี้โซนเท่านั้น
4.ในกรณีที่มีวัดอยู่รอบนอกตัวเมืองหรือนอกเขตเทศบาลเมือง เทศบาลนคร หรืออยู่ห่างไกล หรือมีวัดเพียง 1-2 แห่งภายในอำเภอ รวมทั้งมีพระภิกษุจำนวนน้อย หรือเมื่อได้ประเมินสถานการณ์แล้วเห็นว่าการดำเนินการตามมาตรการข้อ 1-3 อาจยังไม่ปลอดภัย ก็ให้ปรับเปลี่ยนเป็นให้พระประจำอยู่ที่วัด แล้วประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนให้เดินทางไปทำบุญตักบาตรที่วัดแทนก็ได้
สำหรับเหตุรุนแรงที่เกิดกับพระภิกษุ และเจ้าหน้าที่ชุด รปภ.พระ มีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศชต.ระบุว่า มีพระสงฆ์มรณภาพจากเหตุรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน รวม 19 รูป บาดเจ็บ 25 รูป (รวมเหตุระเบิดที่อำเภอสายบุรีล่าสุด เมื่อเช้าวันที่ 25 กรกฎาคม 2558 ด้วย)
ขณะที่รูปแบบการก่อเหตุรุนแรงที่กระทำต่อพระสงฆ์หรือชุดรปภ.พระสงฆ์ ส่วนใหญ่มากกว่า 22 ครั้ง เป็นการลอบวางระเบิด รองลงมาเป็นการลอบยิง 7 ครั้ง ทำร้ายด้วยวิธีอื่น 4 ครั้ง (เช่น ใช้ของมีคมฟัน) และวางเพลิง 1 ครั้ง
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วิกฤติ! ชายแดนใต้ ต้องจัดเซฟตี้โซน สำหรับพระบิณฑบาต-ประชาชนตักบาตร หลังโดนบึ้ม ชุด รปภ.
ฝ่ายปกครองได้ประสานกับฝ่ายทหารและตำรวจ กำหนดมาตรการใหม่ในการป้องกันเหตุรุนแรงที่เกิดกับพระภิกษุ และเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความปลอดภัย (รปภ.) ให้กับพระสงฆ์ขณะออกบิณฑบาต
การออกมาตรการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังมีเหตุลอบวางระเบิดทหารชุด รปภ.พระ ในเขตเทศบาลตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เมื่อช่วงเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม 2558 ทำให้พระภิกษุมรณภาพ 1 รูป บาดเจ็บ 1 รูป ขณะที่กำลังพลของทหารเสียชีวิต 1 นาย บาดเจ็บอีก 2 นาย และยังมีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บไปด้วยอีกหลายคน
นายกฤษฎา บุญราช อธิบดีกรมการปกครอง ว่าที่ปลัดกระทรวงมหาดไทยคนใหม่ ได้สั่งการไปยังนายอำเภอในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่เกิดสถานการณ์ความไม่สงบ โดยระบุว่าตามที่ได้มีเหตุรุนแรงกับพระภิกษุขณะบิณฑบาตในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ประกอบกับใกล้เทศกาลเข้าพรรษานั้น กรมการปกครองขอให้นายอำเภอในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจหมายเลข 2 ตัว (ฝ่ายทหารที่รับผิดชอบระดับอำเภอ) และผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอ (ฝ่ายตำรวจ) ได้หารือร่วมกันเพื่อพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาดังนี้
1.กำหนดเส้นทางเฉพาะเป็นเส้นทางปลอดภัย หรือ "เซฟตี้ โซน" ( Safety Zone) เพื่อให้พระภิกษุได้เดินบิณฑบาต และสามารถดูแลความปลอดภัยได้ทั้งพระภิกษุและประชาชนที่มาร่วมใส่บาตร โดยมีการวางกำลัง รปภ.และตรวจเส้นทางไว้ก่อน
2.ประสานงานเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ หรือเจ้าอาวาสวด เพื่อให้แจ้งพระลูกวัดทราบว่าเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางบิณฑบาต แล้วจัดกำลังอาสารักษษดินแดน (อส.) ไปรับพระภิกษุมายังเส้นทางดังกล่าว
3.ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบเพื่อมาทำบุญใส่บาตรในเส้นทางหรือเขตเซฟตี้โซนเท่านั้น
4.ในกรณีที่มีวัดอยู่รอบนอกตัวเมืองหรือนอกเขตเทศบาลเมือง เทศบาลนคร หรืออยู่ห่างไกล หรือมีวัดเพียง 1-2 แห่งภายในอำเภอ รวมทั้งมีพระภิกษุจำนวนน้อย หรือเมื่อได้ประเมินสถานการณ์แล้วเห็นว่าการดำเนินการตามมาตรการข้อ 1-3 อาจยังไม่ปลอดภัย ก็ให้ปรับเปลี่ยนเป็นให้พระประจำอยู่ที่วัด แล้วประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนให้เดินทางไปทำบุญตักบาตรที่วัดแทนก็ได้
สำหรับเหตุรุนแรงที่เกิดกับพระภิกษุ และเจ้าหน้าที่ชุด รปภ.พระ มีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศชต.ระบุว่า มีพระสงฆ์มรณภาพจากเหตุรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน รวม 19 รูป บาดเจ็บ 25 รูป (รวมเหตุระเบิดที่อำเภอสายบุรีล่าสุด เมื่อเช้าวันที่ 25 กรกฎาคม 2558 ด้วย)
ขณะที่รูปแบบการก่อเหตุรุนแรงที่กระทำต่อพระสงฆ์หรือชุดรปภ.พระสงฆ์ ส่วนใหญ่มากกว่า 22 ครั้ง เป็นการลอบวางระเบิด รองลงมาเป็นการลอบยิง 7 ครั้ง ทำร้ายด้วยวิธีอื่น 4 ครั้ง (เช่น ใช้ของมีคมฟัน) และวางเพลิง 1 ครั้ง
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------