โครงการตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
Food Bank แห่งแรกของภาคอีสาน : บ้านหนองหมากเฒ่า
"เมื่อพระบามย่างกรายไปทุกถิ่น
พลิกผืนดินอุดมสมบูรณ์ผล
เกิดโครงการฟาร์มตัวอย่างงานสร้างคน
ก่อชุมชนเข้มแข็งแรงศรัทธา"
ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ใช่ว่าจะมีเพียงความแห้งแล้งปกคลุมเสียจนมิสามารถทำการเกษตรได้ แม้จะอยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน แผ่นดินที่ได้ชื่อว่า มีความแห้งแล้งมากที่สุดในประเทศไทยก็ตาม
จากแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทำให้เกิดโครงการฟาร์มตัวอย่าง ตามแนวพระราชดำริขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งจ้างงาน เป็นแหล่งอาหารปลอดสารพิษให้แก่ชุมชน เป็นแหล่งให้ความรู้ทางด้านการเกษตร และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่สำคัญ เพื่อแก้ปัญหาให้กับราษฎรจำนวนมาก ที่ขาดความรู้ในการประกอบอาหาร เพื่อการดำรงชีพ ประสบปัญหาความยากจน ขาดแคลนที่ดินทำกิน นับเป็นความเมตตากรุณาต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้
โครงการฟาร์มตัวอย่าง ตามแนวพระราชดำริ เกิดขึ้นหลายแห่งในภาคอีสาน แต่มีแห่งหนึ่งที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก คือ โครงการฟาร์มตัวอย่าง หนองหมากเฒ่า ที่จังหวัดสกลนคร นับเป็น Food Bank แห่งแรกของภาคอีสาน ซึ่งได้ยึดเอาแนวทางพระราชดำริ ผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษ และทำเกษตรแบบผสมผสาน ลดการไถพรวน โดยมีการปลูกพืช 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ ปลูกผลไม้ที่ให้กินลูก เช่น มะพร้าว มะม่วง มะขาม ขนุน ลิ้นจี่ ลำไย ซึ่งเป็นไม้ยั่งยืน ปลูกไม้ป่าไว้ใช้สอย เช่น ไผ่ตามแนวรั้ว ไม้ยูคาลิปตัส ปลูกไม้เศรษฐกิจ เช่น ยางพารา ไม้สัก ซึ่งมีอายุยาว แต่สามารถแปรรูปเป็นมูลค่าสูงได้
สำหรับประโยชน์อย่างที่ 4 คือ ทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งสัมผัสได้จากบรรยากาศแห่งความร่มรื่นของแมกไม้เขียวขจี เมื่อเข้าสู่พื้นที่ของโครงการ การปลูกพืชแบบผสมผสาน ที่ต้นไม้แต่ละต้น ต่างพึงพาอาศัยกันตามกฎของธรรมชาติ ต้นไม้ที่ต้องการแสงแดดมาก ก็จะช่วยยังแดดให้ต้นต่ำที่ไม่ต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถเก็บผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง จากรุ่นสู่รุ่น โดยไม่ใช้รถไถดิน แต่เป็นการปลูกสุ่มๆ กันไว้แบบดั้งเดิม คล้ายๆ กับการปลูกผักสวนครัวหลังบ้าน และใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยแคมี
โดยจะมีการวางแผนจัดสรรว่าต้นไม้ชนิดใด จะให้ผลผลิตเวลาไหน เพื่อให้มีผลผลิต ออกมาสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีทั้งไก่ เป็ดอี้เหลียง หมูพันธ์จินหัว ปลาที่เลี้ยงอยู่ในหนองหมากเฒ่า ที่มีขนาดใหญ่กว่า 30 ไร่ มีการจับปลาแบบวิธีดั้งเดิม คือการใช้สุ่ม วางตาข่าย ซึ่งไม่ต้องสูบน้ำออกจากบ่อ สามารถจับปลาได้ทุกวัน
ผลผลิตในโครงการนี้ สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น แม่แต่หญ้าที่ขึ้นรกๆ ก็สามารถเก็บเกี่ยวไปขายเพื่เป็นอาหารสัตว์ได้ เมื่อผลผลิตออกมาทุกวัน ส่วนหนึ่งจะถูกส่งไปเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปภายในอาคารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ โดยประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ และอีกส่วนนึงก็เป็นการขายสด ซึ่งมีทีมงานคัดขนาดแตกแต่งให้ดูดี แล้วแพ็คเพื่อจำหน่ายทุกวัน โดยส่งไปขายที่ร้านค้าหน้าโครงการ ห้างสรรพสินค้า และนำออกไปขายตามชุมชนอื่นๆด้วย ซึ่งถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอย่างมีระบบ มีการจัดสรรอย่างลงตัว เพื่อให้ทุกคนได้มีอาชีพ มีรายได้เลี้ยงครอบครัวอย่างยั่งยืน โดยไม่ทำร้ายธรรมชาติ ขณะเดียวกัน ผลผลิตที่ได้จากโครงการต้องจำหน่ายในราคาที่ไม่แพง ตามพระราชดำริของพระองค์ท่าน
ในส่วนอาหารที่ได้จากฟาร์มตัวอย่าง จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ประเภทแรก คืออาหารสด ประเภทที่ 2 ชุดอาหาร คือการนำอาหารสดมาเพิ่มมูลค่าโดยการจัดเป็นชุดอาหาร เช่น ชุดต้มยำ ชุดลาบ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค ในการซื้อหลับไปทำกินเองที่บ้าน และประเภทที่ 3 คือ ผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นอาหารพร้อมบริโภค เช่น หมูแดดเดียว ไข่เค็ม และอื่นๆ อีกหลากหลาย ทำให้อาหารจากฟาร์มตัวอย่าง ได้รับผลตอบรับที่ดีมาก จนไม่เพียงพอสำหรับผู้บริโภค
จึงนับได้ว่าโครงการฟาร์มตัวอย่าง ตามแนวพระราชดำริ หนองหมากเฒ่า จังหวัดสกลนคร ประสบความสำเร็จในฐานะของการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถริเริ่ม วิถีชีวิตแบบพอเพียงให้กับประชาชน และเป็นสถานที่สร้างรากฐานพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้คนในชุมชน ส่งผลให้ชาวบ้านในระแวกนั้นมีความสุขเพราะมีอาชีพ มีรานได้ ตลอดจนพลิกฟื้นผืนแผ่นดินที่เคยแห้งแล้งให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นมาได้
Food Bank แห่งแรกของภาคอีสาน : บ้านหนองหมากเฒ่า
โครงการตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
Food Bank แห่งแรกของภาคอีสาน : บ้านหนองหมากเฒ่า
"เมื่อพระบามย่างกรายไปทุกถิ่น
พลิกผืนดินอุดมสมบูรณ์ผล
เกิดโครงการฟาร์มตัวอย่างงานสร้างคน
ก่อชุมชนเข้มแข็งแรงศรัทธา"
ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ใช่ว่าจะมีเพียงความแห้งแล้งปกคลุมเสียจนมิสามารถทำการเกษตรได้ แม้จะอยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน แผ่นดินที่ได้ชื่อว่า มีความแห้งแล้งมากที่สุดในประเทศไทยก็ตาม
จากแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทำให้เกิดโครงการฟาร์มตัวอย่าง ตามแนวพระราชดำริขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งจ้างงาน เป็นแหล่งอาหารปลอดสารพิษให้แก่ชุมชน เป็นแหล่งให้ความรู้ทางด้านการเกษตร และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่สำคัญ เพื่อแก้ปัญหาให้กับราษฎรจำนวนมาก ที่ขาดความรู้ในการประกอบอาหาร เพื่อการดำรงชีพ ประสบปัญหาความยากจน ขาดแคลนที่ดินทำกิน นับเป็นความเมตตากรุณาต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้
โครงการฟาร์มตัวอย่าง ตามแนวพระราชดำริ เกิดขึ้นหลายแห่งในภาคอีสาน แต่มีแห่งหนึ่งที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก คือ โครงการฟาร์มตัวอย่าง หนองหมากเฒ่า ที่จังหวัดสกลนคร นับเป็น Food Bank แห่งแรกของภาคอีสาน ซึ่งได้ยึดเอาแนวทางพระราชดำริ ผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษ และทำเกษตรแบบผสมผสาน ลดการไถพรวน โดยมีการปลูกพืช 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ ปลูกผลไม้ที่ให้กินลูก เช่น มะพร้าว มะม่วง มะขาม ขนุน ลิ้นจี่ ลำไย ซึ่งเป็นไม้ยั่งยืน ปลูกไม้ป่าไว้ใช้สอย เช่น ไผ่ตามแนวรั้ว ไม้ยูคาลิปตัส ปลูกไม้เศรษฐกิจ เช่น ยางพารา ไม้สัก ซึ่งมีอายุยาว แต่สามารถแปรรูปเป็นมูลค่าสูงได้
สำหรับประโยชน์อย่างที่ 4 คือ ทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งสัมผัสได้จากบรรยากาศแห่งความร่มรื่นของแมกไม้เขียวขจี เมื่อเข้าสู่พื้นที่ของโครงการ การปลูกพืชแบบผสมผสาน ที่ต้นไม้แต่ละต้น ต่างพึงพาอาศัยกันตามกฎของธรรมชาติ ต้นไม้ที่ต้องการแสงแดดมาก ก็จะช่วยยังแดดให้ต้นต่ำที่ไม่ต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถเก็บผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง จากรุ่นสู่รุ่น โดยไม่ใช้รถไถดิน แต่เป็นการปลูกสุ่มๆ กันไว้แบบดั้งเดิม คล้ายๆ กับการปลูกผักสวนครัวหลังบ้าน และใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยแคมี
โดยจะมีการวางแผนจัดสรรว่าต้นไม้ชนิดใด จะให้ผลผลิตเวลาไหน เพื่อให้มีผลผลิต ออกมาสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีทั้งไก่ เป็ดอี้เหลียง หมูพันธ์จินหัว ปลาที่เลี้ยงอยู่ในหนองหมากเฒ่า ที่มีขนาดใหญ่กว่า 30 ไร่ มีการจับปลาแบบวิธีดั้งเดิม คือการใช้สุ่ม วางตาข่าย ซึ่งไม่ต้องสูบน้ำออกจากบ่อ สามารถจับปลาได้ทุกวัน
ผลผลิตในโครงการนี้ สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น แม่แต่หญ้าที่ขึ้นรกๆ ก็สามารถเก็บเกี่ยวไปขายเพื่เป็นอาหารสัตว์ได้ เมื่อผลผลิตออกมาทุกวัน ส่วนหนึ่งจะถูกส่งไปเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปภายในอาคารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ โดยประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ และอีกส่วนนึงก็เป็นการขายสด ซึ่งมีทีมงานคัดขนาดแตกแต่งให้ดูดี แล้วแพ็คเพื่อจำหน่ายทุกวัน โดยส่งไปขายที่ร้านค้าหน้าโครงการ ห้างสรรพสินค้า และนำออกไปขายตามชุมชนอื่นๆด้วย ซึ่งถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอย่างมีระบบ มีการจัดสรรอย่างลงตัว เพื่อให้ทุกคนได้มีอาชีพ มีรายได้เลี้ยงครอบครัวอย่างยั่งยืน โดยไม่ทำร้ายธรรมชาติ ขณะเดียวกัน ผลผลิตที่ได้จากโครงการต้องจำหน่ายในราคาที่ไม่แพง ตามพระราชดำริของพระองค์ท่าน
ในส่วนอาหารที่ได้จากฟาร์มตัวอย่าง จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ประเภทแรก คืออาหารสด ประเภทที่ 2 ชุดอาหาร คือการนำอาหารสดมาเพิ่มมูลค่าโดยการจัดเป็นชุดอาหาร เช่น ชุดต้มยำ ชุดลาบ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค ในการซื้อหลับไปทำกินเองที่บ้าน และประเภทที่ 3 คือ ผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นอาหารพร้อมบริโภค เช่น หมูแดดเดียว ไข่เค็ม และอื่นๆ อีกหลากหลาย ทำให้อาหารจากฟาร์มตัวอย่าง ได้รับผลตอบรับที่ดีมาก จนไม่เพียงพอสำหรับผู้บริโภค
จึงนับได้ว่าโครงการฟาร์มตัวอย่าง ตามแนวพระราชดำริ หนองหมากเฒ่า จังหวัดสกลนคร ประสบความสำเร็จในฐานะของการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถริเริ่ม วิถีชีวิตแบบพอเพียงให้กับประชาชน และเป็นสถานที่สร้างรากฐานพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้คนในชุมชน ส่งผลให้ชาวบ้านในระแวกนั้นมีความสุขเพราะมีอาชีพ มีรานได้ ตลอดจนพลิกฟื้นผืนแผ่นดินที่เคยแห้งแล้งให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นมาได้