เมื่อ "ทางม้าลาย" ในเมืองไทยเป็นแค่สีที่ทาบนท้องถนน!!


      ผมเห็นข่าวเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนทางม้าลายหลายๆเหตุการณ์ในเมืองไทยแล้วรู้สึกสลดใจ...คือ ในต่างประเทศหลายๆประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปนั้น กฏหมายเกี่ยวกับ "ทางม้าลาย" นั้นแรงมาก รถคันไหนไม่หยุดให้คนข้ามในทางม้าลายหรือมีการชนคนขณะข้ามม้าลาย มีโทษหนัก ทำให้คนที่ใช้รถใช้ถนนในต่างประเทศนั้นๆ จะระมัดระวังทางม้าลายเป็นพิเศษ เพียงแค่มีคนมาหยุดข้างทางตรงทางม้าลาย รถทั้งหลายก็ชะลอและหยุดให้คนข้ามไปก่อนเสมอ คนข้ามเองก็มั่นใจได้สำหรับการข้ามถนนบนทางม้าลาย....

     แต่ในเมืองไทยไม่ใช่แบบนั้น ทางม้าลายนั้นดูเป็นเพียงแค่การเอาสีมาทาบนถนน ให้รู้ว่าเออ บ้านกูก็มีทางม้าลายนะ ซึ่งคนจะข้ามทางม้าลายก็ต้องรอให้รถไม่มีถึงจะข้ามได้ ด้วยความที่แทบจะไม่มีรถคันไหนหยุดให้คนข้ามก่อน ซึ่งก็ไม่ต่างจากการข้ามถนนที่ไม่ใช่ทางม้าลาย อุบัติเหตุจึงเกิดขึ้นบ่อยๆ อย่างที่เราได้เห็นกันในเมืองไทยถึงขั้นมีคนเสียชีวิต มันใช่หรอคับ! กับการมาจบชีวิตในสิ่งที่ทำขึ้นมาเพื่อความปลอดภัยสำหรับการข้ามถนน ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่า กฏหมายในบ้านเรานั้นเอาผิดกับรถที่ไม่จอดให้คนข้ามหรือชนคนขณะข้ามทางม้าลายอย่างไร.....
      เลยอยากจะรณรงค์ให้เมืองไทยเพิ่มโทษหรือกฏหมายเกี่ยวกับทางม้าลายให้มากขึ้น เพื่อที่ว่าทางม้าลายจะไม่ได้เป็นแค่สีที่มาทาบนถนนแค่นั้น!!
     จะทำยังไงได้บ้างคับ ???? เพื่อนๆมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ยังไงบ้าง ???


ป.ล. ผมเอาที่มาของทางม้าลายมาฝากด้วยคับ

ที่มาของทางม้าลาย
สัญลักษณ์ของทางลายขาว-ดำ ที่มีไว้สำหรับให้คนข้ามถนน หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า 'ทางม้าลาย' นั้นแท้จริงแล้วในตอนแรกหาได้เป็นสีขาวกับสีดำอย่างที่เราเห็นในปัจจุบันไม่

เดิมทีแถบสีสัญลักษณ์ของทางคนข้ามนี้เคยเป็นสีน้ำเงินและสีเหลืองมาก่อน โดยมีการนำมาใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรก (หลังทำการทดลองใช้แล้ว) ตามท้องถนนของประเทศอังกฤษราว 1,000 จุด เมื่อปี ค.ศ.1949 เพื่อบ่งบอกให้ผู้ใช้รถใช้ถนนทราบว่าบริเวณดังกล่าวเป็นทางที่อนุญาตให้คน สามารถข้ามถนนได้

แต่ก่อนนั้น สัญลักษณ์ของทางข้ามนี้จะอยู่คู่กับ 'เสาโคมไฟสัญญาณบีลิสชา' ซึ่งถือกำเนิดมาก่อนหน้านี้แล้วตั้งแต่ปี 1934 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสัญญาณให้พาหนะที่สัญจรอยู่บนท้องถนนหยุดวิ่ง ชั่วขณะเพื่อให้คนที่อยู่สองข้างทางได้เดินข้ามถนนอย่างปลอดภัย โดยพาหนะต่างๆ จะหยุดก็ต่อเมื่อโคมไฟสัญญาณบีลิสชาซึ่งมีสีส้มส่องสว่างขึ้น

ต่อมา เลสลี ฮอร์น บีลิสชา รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมแดนผู้ดี ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มไอเดียนำโคมไฟสัญญาณดังกล่าวมาติดตั้งก็คิดว่าน่าจะมีการ เพิ่มสัญลักษณ์ที่เป็นแถบสีบนพื้นถนนบริเวณที่มีการติดตั้งโคมไฟสัญญาณเพื่อ ช่วยให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเห็นได้เด่นชัดมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ สัญลักษณ์ของทางข้ามที่มีแถบสีจึงถือกำเนิดขึ้น

จากนั้นก็มีการทดลองใช้สีขาว-แดง และสีขาว-ดำ ทาเป็นสัญลักษณ์ แล้วในปี ค.ศ.1951 สัญลักษณ์ของทางข้ามที่เป็นแถบสีขาว-ดำก็ถูกนำมาใช้คู่กับโคมไฟสัญญาณบีลิ สชาอย่างเป็นทางการครั้งแรก พร้อมกับได้รับการขนานนามว่า 'ทางม้าลาย' เนื่องจากมีลักษณะเหมือนลายของม้าลายนั่นเอง

ต่อมาอังกฤษได้นำไอเดียดังกล่าวไปใช้กับประเทศอาณานิคมของตัวเอง เช่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น ทางม้าลายจึงกลายเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก และกลายเป็นเครื่องหมายจราจรที่เป็นสากล

ที่มาข้อมูล kungsss.exteen.com
ที่มาภาพประกอบ doobybrain.com
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่