กองทัพฝรั่งเศสได้ขึ้นชื่อว่าเป็นกองทัพที่ทันสมัยน่าจะติด 1 ใน 10 ของ โดยประเทศนี้ได้สร้างชื่อเสียงมากมายในสงครามหลายๆครั้งที่ผ่านถึงแม้จะมีปัญหาตรงที่อาวุธของชาตินี้มักจะมีบริการหลังการขายที่ไม่ดีเท่าไหร่นัก แต่ก็ต้องยอมรับว่าอาวุธที่ผลิตโดยประเทศนี้ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงและล้ำสมัยเลยทีเดียว วันนี้ผมจะมาพูดถึงปืนไรเฟิลหลักที่ประจำการในกองทัพนี้มานานกว่า 40 ปีกันครับ
รูปทหารฝรั่งเศสกับปืน famas
การพัฒนา
ในช่วงทศวรรศที่ 1946-1950 ฝรั่งเศสเริ่มได้พัฒนาปืนไรเฟิลของตนเองแบบใหม่เพื่อมาแทนที่ mas 36 และ mas 49 ที่เริ่มล้าสมัยโดยฝรั่งเศสได้สนใจแนวคิดไรเฟิลรูปแบบ bullpub มาจากการพัฒนาปืน em 2 ของอังกฤษ เพราะในช่วงนั้นกระแสของปืน bullpub ถือว่าเริ่มมาแรงเพราะเป็นแนวคิด(ในตอนนั้น)ที่ถือว่าทันสมัยมากๆโดยย้ายชุดรังเพลิงทั้งหมดและกลไกเกือบทั้งหมดมาไว้ตรงพานท้ายปืน ซึ่งข้อดีของมันก็คือจะได้ปืนไรเฟิลที่มีขนาดสั้นกระทัดรัดแต่มีอำนาจและระยะหวังผลเท่าปืนไรเฟิลปกติแต่ขนาดสั้นกว่ามาก ผลก็คือความคล่องตัวและการพกพาปืนที่สะดวกขึ้นอย่างมาก แต่ถึงกระนั้นฝรั่งเศสก็ยังไม่สนใจแนวคิดของปืน bullpub มากนัก โดยในการพัฒนาปืนของตนเองนั้นฝรั่งเศสได้นำมาทดสอบกับกระสุนขนาด 7.92×33mm kurz แห่งกองทัพนาซี และ 7.62×33mm cabine แห่งกองทัพสหรัฐ และ 7.65×38mm ที่พัฒนาโดยตนเอง และกระสุนอีกหลายชนิด
รูปของกระสุนขนาด 7.92×33mm kurz

ประกอบในช่วงนั้นได้เกิดสงครามกู้อิสรภาพของเวียดนามเข้าพอดี โดยฝรั่งเศสได้เข้าทำสงครามเวียดนามเพื่อหวังไม่ให้เวียดนามแยกตัวออกจากฝรั่งเศส นั่นเองทำให้โครงการปืนเฟิลชนิดใหม่ฝรั่งเศสถูกเร่งลำดับความสำคัญมากขึ้นไปอีก เพราะปืนไรเฟิลเดิมของฝรั่งเศสอย่าง mas 36 ไม่อาจรับมือกับภัยคุกคามกับเหล่ากองทัพเวียดนามได้อย่างเพียงพอบวกกับปืนไรเฟิลรุ่นใหม่ที่ยิงได้ semi auto เพียงอย่างเดียวของฝรั่งเศสในตอนนั้นอย่าง mas 49 ก็เริ่มล้าสมัยอย่างรวดเร็วถึงแม้จะพึ่งประจำการได้ไม่นาน หลังจากการมาของหนึ่งในปืนไรเฟิลที่ดีที่สุดตลอดการอย่าง"ak47"
รูปของปืน mas 49

ทำให้โปรเจคปืนแบบถูกเร่งพัฒนาอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับกับภัยคุกคามจากประเทศมหาอำนาจอย่างโซเวียต และบทเรียนจากสงครามประกาศอิสรภาพของเวียดนาม ทำให้ฝรั่งเศสตัดสินใจนำปืน fn fal ที่ช่วงนั้นกำลังโด่งดังอย่างมากมาพัฒนาในฉบับของตนเองแล้วตั้งชื่อว่า FA-MAS Type 62
ในช่วงปี 1962 แต่ถึงกรูปของ famas type 62

กระนั้นเจ้า famas type 62 ก็ไม่ได้เข้าประจำการในกองทัพ แต่ถึงกระนั้นฝรั่งเศสก็ได้ซื้อลิขสิทธิ์ปืน hk g3 และ hk 33(แบบเดียวกับกองทัพไทย)นำมาผลิตเองในประเทศโดยได้ศึกษากลไกการทำงานของ hk g3 และ hk 33 และลูกกระสุนแบบใหม่ในตอนนั้นอย่าง 5.56x45mm แต่ถึงจะซื้อมาผลิตเองผู้บัญชาการระดับสูงของฝรั่งเศสหลายคนกลับไม่ค่อยพอใจนักและมีคำถามมากมายเกี่ยวกับตัวปืนเนื่องจากมันเป็นปืนจากประเทศ"เยอรมัน"อดีตศัตรูเก่านั่นเอง ทำให้นายพล Marcel Bigeard ตัดสินใจไปเยี่ยมชมโรงงาน d'Armes de Saint-Étienne เพื่อสอบถามถึงความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาปืนไรเฟิลแบบใหม่เพื่อมาประจำการแทนเจ้า g3 และ hk 33 ที่ซื้อลิขสิทธิ์มา เพราะนายพลระดับสูงส่วนใหญ่ไม่ค่อยพอใจกับปืนสัญชาติเยอรมันมากนัก(ประมาณว่าไม่อยากให้มีอาวุธเยอรมันในกองทัพตัวเอง)
รูปของนายพล Marcel Bigeard

และนั่นเองทำให้โปรเจค famas เริ่มต้นขึ้นในปี 1967 โดยการพัฒนามีเป้าหมายเพื่อมาทดแทนปืน mas 36,mas 49.และ mat 49 ที่ล้าสมัย โดยทาง Paul Tellie เป็นหัวหน้าในการออกแบบครั้งนี้ ตัวปืนต้นแบบกระบอกถูกผลิตครั้งแรกในปี 1971 และถูกนำไปทดสอบในช่วงปี 1972-1973 และฝรั่งเศสตัดสินใจนำเข้าประจำการในปี 1978 โดยตัวปืนนั้นเป็นแบบ bullpub ซึ่งก็คือตัวปืนนั้นนำกลไกเกือบทั้งหมดไปใส่อยู่ตรงพานท้ายปืนโดยอยู่หลังด้ามจับปืน การทำปืนแบบ bullpub ข้อดีทำมีลำกล้องยาวเท่ากับปืนไรเฟิลทั่วไปแต่มีขนาดกระทัดรัดและสั้นกว่ามากและทำให้ตัวปืนนั้นมีระยะหวังผลเท่ากับปืนไรเฟิลปกติเพราะมีลำกล้องที่ยาวพอๆกันผลก็คือความคล่องตัว และสะดวกในการพกพามากขึ้น และปืนใช้ระบบปฏิบัติการแบบ Lever-delayed blowback ซึ่งถอดแบบและพัฒนามาจาก hk g3 โดยตัวปืนถูกตั้งชื่อว่า Fusil d'Assaut de la Manufacture d'Armes de Saint-Étienne (หรือชื่อภาษาอังกฤษ Assault Rifle from the Saint-Étienne Weapon Factory) หรือแปลไทยตรงๆว่า"ปืนไรเฟิลจู่โจมจากโรงงาน Saint-Étienne Weapon Factory" หรือมีชื่อเรียกสั้นๆว่า famas f1 แต่ถึงกระนั้นตัวปืนก็มีปัญหามากมายโดยตัวปืนนั้นขาดความน่าเชื่อถือทั้งในประสิทธิภาพและเรื่องความเป็นมิตรกับผู้ใช้ เช่น ชิ้นส่วนพลาสติกที่ใช้ทำตัวปืนนั้นแตกร้าวง่ายเมื่อเจอความร้อนจากภายในรังเพลิงหลังจากยิงเพียงไปไม่นาน ตัวปืนมักจะมีอาการขัดลำเนื่องมาจากตัวปืนนั้นมักจะมีปัญหากับตัวกระสุน 5.56x45mm มาตรฐานนาโต้และซองกระสุนแบบ stanag แต่ในทางกลับถ้าใช้ซองกระสุนและกระสุนแบบ 5.56x45mm ที่พัฒนาโดยฝรั่งเศสเองตัวปืนแทบจะไม่เจอปัญหาใดๆเลย(พูดง่ายๆก็คือตัวปืนมันเรื่องมากใช้กระสุนและซองกระสุนร่วมกับชาติอื่นไม่ได้)
รูปปืน famas f1

ส่วนประกอบของ famas f1

จากรูป
1.แผ่นรองพานท้าย
2.พานท้ายปืน
3.แผ่นรองแก้ม โดยสามารถปรับไปทางซ้ายหรือทางขวาได้
4.ช่องคัดปลอกกระสุน
5.หมุดล็อคตัวปืน
6.ขาตั้ง
7.หูหิ้วปืน
8.คันกระชาก
9.ศูนย์เล็งสำหรับเครื่องยิงลูกระเบิด
10.ที่ติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิด
11.ปลอกลดแสง
12.ลำกล้อง
13.ปุ่มสำหรับปรับโหมดการยิง โดยปรับได้ 3 รูปแบบคือ safe mode,semi auto,full auto
14.ไกปืน
15.ปุ่มปลดแม็กกาซีน
16.แม็กกาซีนแบบ dummy เป็นชุดนิรภัยป้องกันการก่อเหตุในกรณีงานสำคัญต่างๆเช่นการเดินสวนสนาม หรือพวกงานพิธีใหญ่ เป็นต้น(ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณ in darkness มานะที่นี้)
17.เลขทะเบียนปืน
18.ปุ่มสำหรับโหมดยิงโดยเลือกได้ 2 โหมดคือ ยิงชุด 3 นัด,full auto(เป็นปืนที่แปลกมากเพราะมีปุ่มปรับการยิงถึง 2 ที่ในปืนเดียว ในขนาดที่ปืนชาวบ้านชาวช่องเขามีปุ่มปรับการยิงแค่ 1 ปุ่ม)
การปรับปรุงเพิ่มเติม
หลังจากปืนประจำการได้ไม่นานบริษัท GIAT Industries ก็ได้นำปืนมาพัฒนาเพิ่มเติมโดยเพิ่มไกปืนให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้สามารถสอดถุงมือเข้าไปได้ เปลี่ยนรูปแบบด้ามจับปืนและเพิ่ม cover ตรงด้ามจับปืนและเพิ่มส่วนผสมพลาสติกแบบใหม่มากขึ้นตรงกระโจมมือเพื่อความเบา โดยถูกตั้งชื่อใหม่ว่า famas g1 แต่ถึงกระนั้นตัวปืนกับไม่เคยผลิตออกมาจริงๆมีเพียงแต่ในแปลนพิมพ์เขียวเท่านั้น การพัฒนาเริ่มขึ้นอีกครั้งในปี 1994 โดยตัวปืนนั้นได้ถูกพัฒนาให้สามารถใส่ซองกระสุนแบบ stanag ได้(จากที่เมื่อก่อนใส่ไม่ได้เพราะซองกระสุนแบบ stanag นั้นชอบไปมีปัญหากับตัวกลไกปืน) โดยได้นำโปรเจคของ g1 ไปพัฒนาใส่ในไม่ว่าจะเป็น cover ตรงด้ามจับ ไกที่ใหญ่ขึ้นเพื่อที่สามารถสอดถุงมือเข้าไปได้ และเปลี่ยนด้ามจับแบบใหม่โดยได้ใช้ไฟเบอร์กลาสในการทำกระโจมมือแทนพลาสติกแบบเก่า เพื่อนำหนักที่เบาขึ้นโดยตัวปืนถูกออกแบบให้สามารถใช้กระสุนแบบ 5.56x45 mm m855 ของนาโต้ได้และได้เพิ่มรางสำหรับติดตั้งอุปกรณ์บนหูหิ้ว โดยฝรั่งเศสได้ตั้งชื่อปืนกระบอกนี้ว่า famas g2 โดยฝรั่งเศสได้นำ famas g2 ประจำการทดแทนปืน famas f1 ทั้งหมด
รูปของ famas g2
รุ่นต่างๆ
1.famas commando รุ่นสำหรับหน่วยรบพิเศษโดยเฉพาะ โดยตัดลำกล้องให้เหลือเพียง 16 นิ้วโดยตัวปืนไม่สามารถติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดได้
2.famas sniper รุ่นสำหรับพลแม่นปืนโดยเฉพาะโดยตัวปืนถูกเพิ่มความยาวลำกล้องให้มีขนาด 24 นิ้ว โดยติดตั้งกล้องเล็งสำหรับการยิงระยะไกลโดยเฉพาะ
3.famas smg รุ่นสำหรับใช้เป็นปืนกลมือโดยเฉพาะโดยตัดลำกล้องให้สั้นลงเหลือเพียง 12.6 นิ้วเหมือนรุ่น commando ตัวปืนไม่สามารถติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดได้
รูป famas รุ่นต่างๆ
ข้อมูลโดยรวม
ขนาดกระสุน: 5.56x45 mm
ความยาวลำกล้อง: 19 นิ้ว(g2),24 นิ้ว(sniper),16 นิ้ว(commando),12.6 นิ้ว(smg)
เกลียวในลำกล้อง: 1/12 รอบ(f1),1/9 รอบ(g2)
น้ำหนัก: 3.6 kg(f1),3.8 kg(g2)
อัตราการยิง: 900-1100 นัด/นาที
ระยะหวังผล: 300 เมตร(f1),450 เมตร(g2)
ประเทศผู้ผลิต: ฝรั่งเศส
อ้างอิง
http://world.guns.ru/assault/fr/famas-e.html
https://en.wikipedia.org/wiki/FAMAS
http://www.militaryfactory.com/smallarms/detail-page-2.asp?smallarms_id=79
Famas ปืนไรเฟิลเมืองน้ำหอม
รูปทหารฝรั่งเศสกับปืน famas
การพัฒนา
ในช่วงทศวรรศที่ 1946-1950 ฝรั่งเศสเริ่มได้พัฒนาปืนไรเฟิลของตนเองแบบใหม่เพื่อมาแทนที่ mas 36 และ mas 49 ที่เริ่มล้าสมัยโดยฝรั่งเศสได้สนใจแนวคิดไรเฟิลรูปแบบ bullpub มาจากการพัฒนาปืน em 2 ของอังกฤษ เพราะในช่วงนั้นกระแสของปืน bullpub ถือว่าเริ่มมาแรงเพราะเป็นแนวคิด(ในตอนนั้น)ที่ถือว่าทันสมัยมากๆโดยย้ายชุดรังเพลิงทั้งหมดและกลไกเกือบทั้งหมดมาไว้ตรงพานท้ายปืน ซึ่งข้อดีของมันก็คือจะได้ปืนไรเฟิลที่มีขนาดสั้นกระทัดรัดแต่มีอำนาจและระยะหวังผลเท่าปืนไรเฟิลปกติแต่ขนาดสั้นกว่ามาก ผลก็คือความคล่องตัวและการพกพาปืนที่สะดวกขึ้นอย่างมาก แต่ถึงกระนั้นฝรั่งเศสก็ยังไม่สนใจแนวคิดของปืน bullpub มากนัก โดยในการพัฒนาปืนของตนเองนั้นฝรั่งเศสได้นำมาทดสอบกับกระสุนขนาด 7.92×33mm kurz แห่งกองทัพนาซี และ 7.62×33mm cabine แห่งกองทัพสหรัฐ และ 7.65×38mm ที่พัฒนาโดยตนเอง และกระสุนอีกหลายชนิด
รูปของกระสุนขนาด 7.92×33mm kurz
ประกอบในช่วงนั้นได้เกิดสงครามกู้อิสรภาพของเวียดนามเข้าพอดี โดยฝรั่งเศสได้เข้าทำสงครามเวียดนามเพื่อหวังไม่ให้เวียดนามแยกตัวออกจากฝรั่งเศส นั่นเองทำให้โครงการปืนเฟิลชนิดใหม่ฝรั่งเศสถูกเร่งลำดับความสำคัญมากขึ้นไปอีก เพราะปืนไรเฟิลเดิมของฝรั่งเศสอย่าง mas 36 ไม่อาจรับมือกับภัยคุกคามกับเหล่ากองทัพเวียดนามได้อย่างเพียงพอบวกกับปืนไรเฟิลรุ่นใหม่ที่ยิงได้ semi auto เพียงอย่างเดียวของฝรั่งเศสในตอนนั้นอย่าง mas 49 ก็เริ่มล้าสมัยอย่างรวดเร็วถึงแม้จะพึ่งประจำการได้ไม่นาน หลังจากการมาของหนึ่งในปืนไรเฟิลที่ดีที่สุดตลอดการอย่าง"ak47"
รูปของปืน mas 49
ทำให้โปรเจคปืนแบบถูกเร่งพัฒนาอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับกับภัยคุกคามจากประเทศมหาอำนาจอย่างโซเวียต และบทเรียนจากสงครามประกาศอิสรภาพของเวียดนาม ทำให้ฝรั่งเศสตัดสินใจนำปืน fn fal ที่ช่วงนั้นกำลังโด่งดังอย่างมากมาพัฒนาในฉบับของตนเองแล้วตั้งชื่อว่า FA-MAS Type 62
ในช่วงปี 1962 แต่ถึงกรูปของ famas type 62
กระนั้นเจ้า famas type 62 ก็ไม่ได้เข้าประจำการในกองทัพ แต่ถึงกระนั้นฝรั่งเศสก็ได้ซื้อลิขสิทธิ์ปืน hk g3 และ hk 33(แบบเดียวกับกองทัพไทย)นำมาผลิตเองในประเทศโดยได้ศึกษากลไกการทำงานของ hk g3 และ hk 33 และลูกกระสุนแบบใหม่ในตอนนั้นอย่าง 5.56x45mm แต่ถึงจะซื้อมาผลิตเองผู้บัญชาการระดับสูงของฝรั่งเศสหลายคนกลับไม่ค่อยพอใจนักและมีคำถามมากมายเกี่ยวกับตัวปืนเนื่องจากมันเป็นปืนจากประเทศ"เยอรมัน"อดีตศัตรูเก่านั่นเอง ทำให้นายพล Marcel Bigeard ตัดสินใจไปเยี่ยมชมโรงงาน d'Armes de Saint-Étienne เพื่อสอบถามถึงความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาปืนไรเฟิลแบบใหม่เพื่อมาประจำการแทนเจ้า g3 และ hk 33 ที่ซื้อลิขสิทธิ์มา เพราะนายพลระดับสูงส่วนใหญ่ไม่ค่อยพอใจกับปืนสัญชาติเยอรมันมากนัก(ประมาณว่าไม่อยากให้มีอาวุธเยอรมันในกองทัพตัวเอง)
รูปของนายพล Marcel Bigeard
และนั่นเองทำให้โปรเจค famas เริ่มต้นขึ้นในปี 1967 โดยการพัฒนามีเป้าหมายเพื่อมาทดแทนปืน mas 36,mas 49.และ mat 49 ที่ล้าสมัย โดยทาง Paul Tellie เป็นหัวหน้าในการออกแบบครั้งนี้ ตัวปืนต้นแบบกระบอกถูกผลิตครั้งแรกในปี 1971 และถูกนำไปทดสอบในช่วงปี 1972-1973 และฝรั่งเศสตัดสินใจนำเข้าประจำการในปี 1978 โดยตัวปืนนั้นเป็นแบบ bullpub ซึ่งก็คือตัวปืนนั้นนำกลไกเกือบทั้งหมดไปใส่อยู่ตรงพานท้ายปืนโดยอยู่หลังด้ามจับปืน การทำปืนแบบ bullpub ข้อดีทำมีลำกล้องยาวเท่ากับปืนไรเฟิลทั่วไปแต่มีขนาดกระทัดรัดและสั้นกว่ามากและทำให้ตัวปืนนั้นมีระยะหวังผลเท่ากับปืนไรเฟิลปกติเพราะมีลำกล้องที่ยาวพอๆกันผลก็คือความคล่องตัว และสะดวกในการพกพามากขึ้น และปืนใช้ระบบปฏิบัติการแบบ Lever-delayed blowback ซึ่งถอดแบบและพัฒนามาจาก hk g3 โดยตัวปืนถูกตั้งชื่อว่า Fusil d'Assaut de la Manufacture d'Armes de Saint-Étienne (หรือชื่อภาษาอังกฤษ Assault Rifle from the Saint-Étienne Weapon Factory) หรือแปลไทยตรงๆว่า"ปืนไรเฟิลจู่โจมจากโรงงาน Saint-Étienne Weapon Factory" หรือมีชื่อเรียกสั้นๆว่า famas f1 แต่ถึงกระนั้นตัวปืนก็มีปัญหามากมายโดยตัวปืนนั้นขาดความน่าเชื่อถือทั้งในประสิทธิภาพและเรื่องความเป็นมิตรกับผู้ใช้ เช่น ชิ้นส่วนพลาสติกที่ใช้ทำตัวปืนนั้นแตกร้าวง่ายเมื่อเจอความร้อนจากภายในรังเพลิงหลังจากยิงเพียงไปไม่นาน ตัวปืนมักจะมีอาการขัดลำเนื่องมาจากตัวปืนนั้นมักจะมีปัญหากับตัวกระสุน 5.56x45mm มาตรฐานนาโต้และซองกระสุนแบบ stanag แต่ในทางกลับถ้าใช้ซองกระสุนและกระสุนแบบ 5.56x45mm ที่พัฒนาโดยฝรั่งเศสเองตัวปืนแทบจะไม่เจอปัญหาใดๆเลย(พูดง่ายๆก็คือตัวปืนมันเรื่องมากใช้กระสุนและซองกระสุนร่วมกับชาติอื่นไม่ได้)
รูปปืน famas f1
ส่วนประกอบของ famas f1
จากรูป
1.แผ่นรองพานท้าย
2.พานท้ายปืน
3.แผ่นรองแก้ม โดยสามารถปรับไปทางซ้ายหรือทางขวาได้
4.ช่องคัดปลอกกระสุน
5.หมุดล็อคตัวปืน
6.ขาตั้ง
7.หูหิ้วปืน
8.คันกระชาก
9.ศูนย์เล็งสำหรับเครื่องยิงลูกระเบิด
10.ที่ติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิด
11.ปลอกลดแสง
12.ลำกล้อง
13.ปุ่มสำหรับปรับโหมดการยิง โดยปรับได้ 3 รูปแบบคือ safe mode,semi auto,full auto
14.ไกปืน
15.ปุ่มปลดแม็กกาซีน
16.แม็กกาซีนแบบ dummy เป็นชุดนิรภัยป้องกันการก่อเหตุในกรณีงานสำคัญต่างๆเช่นการเดินสวนสนาม หรือพวกงานพิธีใหญ่ เป็นต้น(ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณ in darkness มานะที่นี้)
17.เลขทะเบียนปืน
18.ปุ่มสำหรับโหมดยิงโดยเลือกได้ 2 โหมดคือ ยิงชุด 3 นัด,full auto(เป็นปืนที่แปลกมากเพราะมีปุ่มปรับการยิงถึง 2 ที่ในปืนเดียว ในขนาดที่ปืนชาวบ้านชาวช่องเขามีปุ่มปรับการยิงแค่ 1 ปุ่ม)
การปรับปรุงเพิ่มเติม
หลังจากปืนประจำการได้ไม่นานบริษัท GIAT Industries ก็ได้นำปืนมาพัฒนาเพิ่มเติมโดยเพิ่มไกปืนให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้สามารถสอดถุงมือเข้าไปได้ เปลี่ยนรูปแบบด้ามจับปืนและเพิ่ม cover ตรงด้ามจับปืนและเพิ่มส่วนผสมพลาสติกแบบใหม่มากขึ้นตรงกระโจมมือเพื่อความเบา โดยถูกตั้งชื่อใหม่ว่า famas g1 แต่ถึงกระนั้นตัวปืนกับไม่เคยผลิตออกมาจริงๆมีเพียงแต่ในแปลนพิมพ์เขียวเท่านั้น การพัฒนาเริ่มขึ้นอีกครั้งในปี 1994 โดยตัวปืนนั้นได้ถูกพัฒนาให้สามารถใส่ซองกระสุนแบบ stanag ได้(จากที่เมื่อก่อนใส่ไม่ได้เพราะซองกระสุนแบบ stanag นั้นชอบไปมีปัญหากับตัวกลไกปืน) โดยได้นำโปรเจคของ g1 ไปพัฒนาใส่ในไม่ว่าจะเป็น cover ตรงด้ามจับ ไกที่ใหญ่ขึ้นเพื่อที่สามารถสอดถุงมือเข้าไปได้ และเปลี่ยนด้ามจับแบบใหม่โดยได้ใช้ไฟเบอร์กลาสในการทำกระโจมมือแทนพลาสติกแบบเก่า เพื่อนำหนักที่เบาขึ้นโดยตัวปืนถูกออกแบบให้สามารถใช้กระสุนแบบ 5.56x45 mm m855 ของนาโต้ได้และได้เพิ่มรางสำหรับติดตั้งอุปกรณ์บนหูหิ้ว โดยฝรั่งเศสได้ตั้งชื่อปืนกระบอกนี้ว่า famas g2 โดยฝรั่งเศสได้นำ famas g2 ประจำการทดแทนปืน famas f1 ทั้งหมด
รูปของ famas g2
รุ่นต่างๆ
1.famas commando รุ่นสำหรับหน่วยรบพิเศษโดยเฉพาะ โดยตัดลำกล้องให้เหลือเพียง 16 นิ้วโดยตัวปืนไม่สามารถติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดได้
2.famas sniper รุ่นสำหรับพลแม่นปืนโดยเฉพาะโดยตัวปืนถูกเพิ่มความยาวลำกล้องให้มีขนาด 24 นิ้ว โดยติดตั้งกล้องเล็งสำหรับการยิงระยะไกลโดยเฉพาะ
3.famas smg รุ่นสำหรับใช้เป็นปืนกลมือโดยเฉพาะโดยตัดลำกล้องให้สั้นลงเหลือเพียง 12.6 นิ้วเหมือนรุ่น commando ตัวปืนไม่สามารถติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดได้
รูป famas รุ่นต่างๆ
ข้อมูลโดยรวม
ขนาดกระสุน: 5.56x45 mm
ความยาวลำกล้อง: 19 นิ้ว(g2),24 นิ้ว(sniper),16 นิ้ว(commando),12.6 นิ้ว(smg)
เกลียวในลำกล้อง: 1/12 รอบ(f1),1/9 รอบ(g2)
น้ำหนัก: 3.6 kg(f1),3.8 kg(g2)
อัตราการยิง: 900-1100 นัด/นาที
ระยะหวังผล: 300 เมตร(f1),450 เมตร(g2)
ประเทศผู้ผลิต: ฝรั่งเศส
อ้างอิง
http://world.guns.ru/assault/fr/famas-e.html
https://en.wikipedia.org/wiki/FAMAS
http://www.militaryfactory.com/smallarms/detail-page-2.asp?smallarms_id=79