ถ้าโลกเท่าหินสี แล้วข้างนอกนั่นจะขนาดไหน

ตัวผมเองมีความสนใจในเรื่องดาราศาสตร์ อวกาศอยู่พอสมควร แต่ดันเรียนสาธารณสุข
วันนึงผมนั่งดูหินสีในมือ แล้วนึกถึง MIB ก็เลยอยากอธิบายให้เพื่อนฟังว่าอวกาศมันกว้างใหญ่ขนาดไหน เพื่อนอยากรู้เพราะกระแสเรื่องดาวพลูโต ก็เลยลองเปรียบเทียบเล่นๆว่าถ้าโลกเรามีขนาดเท่าหินสีในมือผม แล้วข้างนอกอวกาศหล่ะ จะเหลือแค่ไหน



หินสีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 เซนติเมตร
โลกเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 12,742.02 กิโลเมตร คิดเป็นเซนติเมตร ก็ต้องคูณ 1,000 ให้เป็นเมตร แล้วคูณ 100 ให้เป็นเซนติเมตร จะได้ 12742.02*1000*100 เท่ากับ 1,274,202,000 เซนติเมตร
เมื่อเป็นเช่นนั้น หินสีจะเล็กกว่าโลกประมาณ 1,274,202,000/0.5 เท่ากับ 2,548,404,000 เท่า
งั้นแสดงว่าถ้าทุกอย่างจะมีขนาดลดลง 2,548,404,000 เท่า ในหน่วยเซนติเมตร ถ้าเทียบว่าหินสีมีขนาดเท่ากับโลก

1.ดวงอาทิตย์เส้นผ่านศูนย์กลาง 1,391,980 กิโลเมตร คิดเป็นเซนติเมตร ก็ต้องคูณ 1,000 ให้เป็นเมตร แล้วคูณ 100 ให้เป็นเซนติเมตร จะได้ 1,391,980 *1000*100 เท่ากับ139,198,000,000 เซนติเมตร



เทียบกับหินสีแล้วดวงอาทิตย์จะมีขนาดผ่านศูนย์กลางเหลือเท่ากับ 139,198,000,000/2,548,404,000 หรือประมาณ 54.62 เซนติเมตร  
(ใหญ่กว่าลูกบาสไม่มาก)

2.ระยะทางจากโลกไปดาวพลูโตประมาณ 4,800,000,000 กิโลเมตร คิดเป็นเซนติเมตร ก็ต้องคูณ 1,000 ให้เป็นเมตร แล้วคูณ 100 ให้เป็นเซนติเมตร จะได้ 4,800,000,000 *1,000*100 เท่ากับ 480,000,000,000,000 เซนติเมตร



เทียบกับหินสีแล้วจะมีระยะทางเหลือเท่ากับ 480,000,000,000,000/2,548,404,000  ได้ประมาณ 188,353.18 เซนติเมตร
หรือเท่ากับประมาณ 1.88 กิโลเมตร (ใกล้เกินไปมั้ยอ่ะ)

ด้วยความเร็วของยาน  NH เฉลี่ยประมาณ 58,536 กิโลเมตร/ชั่วโมง คิดเป็นเซนติเมตร ก็ต้องคูณ 1,000 ให้เป็นเมตร แล้วคูณ 100 ให้เป็นเซนติเมตร
จะได้ 58,536*1000*100 เท่ากับ 5,853,600,000 เซนติเมตร/ชั่วโมง
แต่ถ้าลดขนาดตามหินสีความเร็วก็จะเหลือเท่ากับ 5,853,600,000/2,548,404,000  ได้ประมาณ 2.3 เซนติเมตร/ชั่วโมง

ถ้างั้น 1.88 กิโล คิดเป็นเซนติเมตร ก็ต้องคูณ 1,000 ให้เป็นเมตร แล้วคูณ 100 ให้เป็นเซนติเมตร จะได้ 1.88*1000*100
เท่ากับ 188,000 เซนติเมตร ใช้เวลาเดินทางด้วยความเร็วประมาณ 2.3 เซนติเมตร/ชั่วโมง
ก็จะเท่ากับ 188,000/2.3 เท่ากับ 81,739.13 ชั่วโมง / 24 ชั่วโมง เท่ากับ 3405.8 วัน / 365 วัน เท่ากับ 9.33 ปี  โอ้ว ใกล้เคียงกับเวลาจริงเลย

3.ก็เลยลองคิดต่อว่าถ้าไปทางช้างเผือกเราหล่ะจะมีขนาดไหน
ทางช้างเผือกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 100,000 ปีแสง



1 ปีแสงมีระยะทาง 9,460,730,220,120 กิโลเมตร 100,000 ปีแสงก็เท่ากับ 9,460,730,220,120 *100,000 จะได้เท่ากับ 946,073,022,012,000,000 กิโลเมตร  คิดเป็นเซนติเมตร ก็ต้องคูณ 1,000 ให้เป็นเมตร แล้วคูณ 100 ให้เป็นเซนติเมตร ก็จะ เท่ากับ 946,073,022,012,000,000*1,000*100
ประมาณ 94,607,302,201,200,000,000,000  เซนติเมตร

เทียบกับหินสีแล้วจะมีขนาดผ่านศูนย์กลางเหลือ 94,607,302,201,200,000,000,000 /2,548,404,000  หรือประมาณ 37,124,138,166,946.84 เซนติเมตร หรือคิดเป็นกิโลเมตรได้เท่ากับ 37,124,138,166,946.84 /100 ให้เป็นเมตร /1,000 ให้เป็นกิโลเมตร จะได้ประมาณ 371241381.70 กิโลเมตร หรือใหญ่กว่าโลกเราในตอนนี้ประมาณ 29,135.20 เท่าและใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ตอนนี้ประมาณ 266.70 เท่า ในขณะที่โลกเราเท่าหินสี  จักรวาลมันช่างกว้างใหญ่เหลือเกิน

ลองคิดไป ชักปวดหัว อธิบายไปแค่นี้ เพื่อนเริ่มงง คือสรุปแล้ว สิ่งที่ผมบอกเพื่อนไปนี่ ผมคิดถูกใช่มั้ยครับตามหลักคณิตศาสตร์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่