ในเบื้องต้น ผู้ศึกษาควรทำความเข้าใจในคำต่อไปนี้ให้ถูกต้องเสียก่อน จึงจะเรียนเรื่องฉันท์ต่อไป คำที่ควรทราบมี ๔ คำคือ พยางค์ ,วรรค ,บาท ,และบท
พยางค์ ได้แก่ ถ้อยคำหรือคำพูดที่ปรากฏเป็นตัวหนังสือ และที่ไม่ปรากฏชัด เช่นคำว่า ไป ไหน มา เป็นคำโดด ๆ นับคำต่อคำ และคำรวมกัน เช่น ผดุง บำรุง ราชการ สัตยา เป็นคำผสม เรียกพยางค์ผสมบ้าง นับเอาตามจำนวนเสียงที่เปล่งออก ผดุง บำรุง นับเป็น ๒ คำ ราชการ สัตยา นับเป็น ๓ คำ ในกวีบางประเภท ราชการ และสัตยา นับเป็น ๒ คำได้ในบางกรณี แต่ในฉันท์นับเป็น ๓ คำอย่างเดียว
วรรค ได้แก่ พยางค์ที่รวมกันแล้ว นับจำนวนได้ครบตามที่กำหนด เรียกว่า “วรรค” แต่ละฉันท์กำหนดแตกต่างกัน รวม ๒ วรรคเป็นหนึ่งบาท รวม ๔ วรรคเป็นหนึ่งบทบ้าง รวม ๓ วรรคเป็นหนึ่งบทบ้าง
บาท ได้แก่ การรวม ๒ วรรค ในฉันท์ที่มี ๔ บาท รวม ๒ วรรคแล้วเป็น ๑ บาท รวมอีก ๒ บาทจึงเป็นหนึ่งบท ฉันท์ที่มี ๔ บาท มีชื่อเรียกในวงนักกวี คือ บาทเอกและบาทโท บาทคี่และบาทคู่ กับ บาทคี่และบาทขอน บาทคี่คือบาทที่ ๑ และที่ ๓ บาทคู่และบาทขอนคือบาทที่ ๒ และที่ ๔ ซึ่งในฉันท์ภาษามคธเรียกว่า วิสมบาท และสมบาท
บท ได้แก่ การรวมบาททั้งหลาย หรือรวมวรรคทั้งหลายเข้าเป็นบทตามฉันทลักษ์แล้ว ถือเป็นฉันท์บทหนึ่ง บางกรณีรวมหลายวรรคเข้าเป็นบท บางกรณีรวมหลายบาทเข้าเป็นบท.
คำว่า “ฉันท์” หมายถึงถ้อยคำที่ร้อยกรองโดยปราศจากข้อบกพร่อง กล่าวคือ ปิดเสียซึ่งโทษ จึงเป็นคำร้อยกรองชั้นสูง ที่ละเอียดและสำคัญกว่าบทกวีประเภทอื่น เพราะในฉันทลักษณ์ของฉันท์ไทย กำหนดไว้โดยละเอียดชัดเจน ทั้งเสียงหนักเสียงเบา (ครุ-ลหุ) ทั้งการสัมผัส กล่าวคือคำที่สำเร็จมาจากสระเสียงเดียวกัน อันเป็นการนับเสียงไว้ชัดเจน จำนวนคำจะขาดหรือจะเกินมิได้ ดังคำกวีประเภทอื่น
ฉันท์ที่นิยมเขียนกันที่จะขอยกมาเป็นตัวอย่าง คือ

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ จะมีแบบแผนเหมือนกับ กาพย์ยานี ๑๑ แต่เพิ่ม ครุ, ลหุ เข้าไป อินทรวิเชียร แปลว่า เพชรพระอินทร์ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอย่างเพชรของพระอินทร์ นิยมใช้แต่งข้อความที่เป็นบทชมหรือบทคร่ำครวญ และยังแต่งเป็นบทสวด หรือพากย์โขนด้วย
คำครุ
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น กา ตี งู กับคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ที่มีตัวสะกด เช่น นก บิน จาก รัง นอน และคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ซึ่งถึอว่าเป็นเสียงมีตัวสะกด
คำลหุ
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ติ มุ เตะ และคำที่ใช้พยัญชนะคำเดียว เช่น ก็ บ่ ณ ธ นอกจากนี้คำที่ประสมด้วย สระอำ บางทีก็อนุโลมให้เป็นคำลหุได้ เช่น ลำ
คำลหุ เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ ใช้เครื่องหมายเหมือนสระอุ แทน
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ผิดพลาดประการใดรบกวนท่านผู้รู้ครูอาจารย์แนะนำได้ครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก "ตำรากวีนิพนธ์วัดโมลี"


เมื่อฉันชวนเพื่อนเขียนฉันท์ ๑
พยางค์ ได้แก่ ถ้อยคำหรือคำพูดที่ปรากฏเป็นตัวหนังสือ และที่ไม่ปรากฏชัด เช่นคำว่า ไป ไหน มา เป็นคำโดด ๆ นับคำต่อคำ และคำรวมกัน เช่น ผดุง บำรุง ราชการ สัตยา เป็นคำผสม เรียกพยางค์ผสมบ้าง นับเอาตามจำนวนเสียงที่เปล่งออก ผดุง บำรุง นับเป็น ๒ คำ ราชการ สัตยา นับเป็น ๓ คำ ในกวีบางประเภท ราชการ และสัตยา นับเป็น ๒ คำได้ในบางกรณี แต่ในฉันท์นับเป็น ๓ คำอย่างเดียว
วรรค ได้แก่ พยางค์ที่รวมกันแล้ว นับจำนวนได้ครบตามที่กำหนด เรียกว่า “วรรค” แต่ละฉันท์กำหนดแตกต่างกัน รวม ๒ วรรคเป็นหนึ่งบาท รวม ๔ วรรคเป็นหนึ่งบทบ้าง รวม ๓ วรรคเป็นหนึ่งบทบ้าง
บาท ได้แก่ การรวม ๒ วรรค ในฉันท์ที่มี ๔ บาท รวม ๒ วรรคแล้วเป็น ๑ บาท รวมอีก ๒ บาทจึงเป็นหนึ่งบท ฉันท์ที่มี ๔ บาท มีชื่อเรียกในวงนักกวี คือ บาทเอกและบาทโท บาทคี่และบาทคู่ กับ บาทคี่และบาทขอน บาทคี่คือบาทที่ ๑ และที่ ๓ บาทคู่และบาทขอนคือบาทที่ ๒ และที่ ๔ ซึ่งในฉันท์ภาษามคธเรียกว่า วิสมบาท และสมบาท
บท ได้แก่ การรวมบาททั้งหลาย หรือรวมวรรคทั้งหลายเข้าเป็นบทตามฉันทลักษ์แล้ว ถือเป็นฉันท์บทหนึ่ง บางกรณีรวมหลายวรรคเข้าเป็นบท บางกรณีรวมหลายบาทเข้าเป็นบท.
คำว่า “ฉันท์” หมายถึงถ้อยคำที่ร้อยกรองโดยปราศจากข้อบกพร่อง กล่าวคือ ปิดเสียซึ่งโทษ จึงเป็นคำร้อยกรองชั้นสูง ที่ละเอียดและสำคัญกว่าบทกวีประเภทอื่น เพราะในฉันทลักษณ์ของฉันท์ไทย กำหนดไว้โดยละเอียดชัดเจน ทั้งเสียงหนักเสียงเบา (ครุ-ลหุ) ทั้งการสัมผัส กล่าวคือคำที่สำเร็จมาจากสระเสียงเดียวกัน อันเป็นการนับเสียงไว้ชัดเจน จำนวนคำจะขาดหรือจะเกินมิได้ ดังคำกวีประเภทอื่น
ฉันท์ที่นิยมเขียนกันที่จะขอยกมาเป็นตัวอย่าง คือ
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ จะมีแบบแผนเหมือนกับ กาพย์ยานี ๑๑ แต่เพิ่ม ครุ, ลหุ เข้าไป อินทรวิเชียร แปลว่า เพชรพระอินทร์ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอย่างเพชรของพระอินทร์ นิยมใช้แต่งข้อความที่เป็นบทชมหรือบทคร่ำครวญ และยังแต่งเป็นบทสวด หรือพากย์โขนด้วย
คำครุ
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น กา ตี งู กับคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ที่มีตัวสะกด เช่น นก บิน จาก รัง นอน และคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ซึ่งถึอว่าเป็นเสียงมีตัวสะกด
คำลหุ
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ติ มุ เตะ และคำที่ใช้พยัญชนะคำเดียว เช่น ก็ บ่ ณ ธ นอกจากนี้คำที่ประสมด้วย สระอำ บางทีก็อนุโลมให้เป็นคำลหุได้ เช่น ลำ
คำลหุ เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ ใช้เครื่องหมายเหมือนสระอุ แทน
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ผิดพลาดประการใดรบกวนท่านผู้รู้ครูอาจารย์แนะนำได้ครับ