ด้วยเหตุจำเป็น
ภาพที่ ราฮีม สเตอร์ลิ่ง ชูเสื้อ “สีฟ้า” ถูกเผยแพร่ออกไป มันเท่ากับว่าดีลมหากาฬที่คุกรุ่นมาตลอดซัมเมอร์ได้จบลงโดยสมบูรณ์
การซื้อขายนี้ไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมาย เพราะจากสตอรี่ที่ผ่านมาทั้งการปฎิเสธต่อสัญญาใหม่ รวมถึงการเรียกร้องขอย้ายทีม มันชัดเจนแจ่มแจ้งแล้วว่า ลิเวอร์พูล หมดท่าเยียวยาที่จะรั้งดาวเตะวัย 21 ปี
แมนฯ ซิตี้ คือทีมที่แสดงความจำนงว่าต้องการดึงตัวดาวเตะรายนี้ไปร่วมทีม แม้จะถูกปัดข้อเสนอถึง 2 ครา แต่ทุกอย่างมันรอเพียง “เวลา” ที่เหมาะสมเท่านั้นที่จะได้รายเซ็นต์ของ สเตอร์ลิง มาครอบครอง
ตัวนักเตะคือคนที่มีความสุขที่สุด เพราะได้ย้ายออกบ้านหลังเก่าที่ถูกมองว่า “เล็ก” เกินกว่าความทะเยอทะยานที่เขามี
ขณะที่ “หงส์แดง” อาจพูดได้ไม่เต็มปาก เพราะต้องมาเสียหนึ่งในนักเตะที่ดีที่สุดของทีม แต่ด้วยเงินก้อนโตถึง 49 ล้านปอนด์ ก็น่าจะเป็นการทำธุรกิจที่น่า “พอใจ”
ฝั่ง แมนฯ ซิตี้ ในสายตาของแฟนบอลทั่วไป อาจจะมองว่า "โง่" ที่ยอมทุ่มเงินขนาดนี้เพื่อนักเตะที่ต้องการย้ายออก รวมถึงเหลือสัญญากับต้นสังกัดอีกเพียงแค่ปีเดียว
แต่อย่างไรก็ตามเรื่องนี้มีปัจจัยเข้ามารองรับว่าทำไม "เรือใบสีฟ้า" จำต้อง "หน้ามืด" คว้าตัว ราฮีม สเตอร์ลิง มาในราคาที่เรียกว่าแพงเกินจริง
เหตุผลหลักที่เข้ามาบีบทาง ซิตี้ ก็คือเรื่องของการลงทะเบียนผู้เล่นกับทางพรีเมียร์ลีก ที่ระบุชัดว่าในทีมชุดใหญ่ 25 คนจะต้องมีนักเตะ "โฮมโกรน" อย่างน้อย 8 ราย
ตามกฎปัจจุบันผู้เล่นที่จะเป็น "โฮมโกรน" คือนักเตะที่ต้องมีชื่ออยู่กับสโมสรที้เป็นสมาชิกของสมาคมฟุตบอลอังกฤษหรือเวลส์ เป็นเวลา 36 เดือนก่อนที่อายุจะครบ 21 ปี
เช็กรายชื่อของ แมนฯ ซิตี้ เมื่อฤดูกาลก่อน นักเตะที่ถูกส่งลงทะเบียนเป็นนักเตะ "โฮมโกรน" ทั้ง 8 คนได้แก่ เดดริค โบยาต้า, กาเอล กลิชี่, จอห์น กุยเด็ตติ, โจ ฮาร์ท, แฟรงค์ แลมพาร์ด, เจมส์ มิลเนอร์, สกอตต์ ซิลแคลร์ และ ริชาร์ด ไรท์
ทว่ามาดูขุมกำลังในปัจจุบันชื่อของ เดดริค โบยาต้า, จอห์น กุยเด็ตติ, สกอตต์ ซิลแคลร์ และ เจมส์ มิลเนอร์ นั้นย้ายทีมไปแล้ว ส่วน แฟรงค์ แลมพาร์ด ก็หมดสัญญายืมตัว
นอกจากนี้ทางสมาคมฟุตบอลอังกฤษ มีแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงกฎใหม่ โดยนักเตะที่จะเป็น "โฮมโกรน" จะต้องมาอยู่กับสโมสรตั้งแต่อายุ 15 ปี หรืออยู่กับทีมครบ 3 ปีก่อนจะมีอายุ18 ปีบริบูรณ์
ซึ่งหากกฎนี้ผ่านมติจากทางพรีเมียร์ลีก เท่ากับว่า กาเอล กลิชี่ ก็จะหลุดจากนิยามของนักเตะ "โฮมโกรน" เพราะแบ็กซ้ายทีมชาติฝรั่งเศส ตอนที่โยกมาเล่นให้กับ อาร์เซนอล ตอนนั้นก็มีอายุ 18 ปีเข้าให้แล้ว
ดังนั้นเคสนี้ แมนฯ ซิตี้ ถือว่าต้องเจอปัญหาเข้าไปเต็มๆ โควต้า 8 คนที่เคยมีในซีซั่นก่อน พวกเขาเหลือนักเตะที่เข้าข่ายเพียงแค่ 2 ทำให้ซัมเมอร์นี้การเสริมทัพของทีมต้องมุ่งเป้าไปที่นักเตะ "โฮมโกรน"
เพราะถ้าหาซื้อเพิ่มไม่ได้ทาง "เรือใบสีฟ้า" ก็ต้องจำเป็นต้องดันดาวรุ่งจากอคาเดมี่ตัวเองเข้ามาเติมเต็มในโควต้าดังกล่าว ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าอนาคตของแต่ละคนจะลูกผีลูกคนแค่ไหน
ตัวที่ซื้อมาก็ต้องการันตีว่าสามารถใช้งานได้ทันที หากไปคว้าสุ่มสี่สุ่มห้าแล้วไม่ได้ดีกว่าดาวรุ่งที่มี มันก็ไม่ต่างอะไรกับการเสี่ยงที่ไร้ทิศทาง
ทว่าปัญหาโลกแตกมันอยู่นักเตะ “โฮมโกรน” เกรดดีๆ นั้นมีจำนวนค่อนข้างจำกัด ไล่เรียงชื่อเฉพาะในพรีเมียร์ลีกเวลานี้ก็แทบจะนับนิ้วนับหัวได้เลย
ดังนั้นการคว้าตัว สเตอร์ลิ่ง จึงเป็นดีลที่จำเป็น แพงแค่ไหนก็ต้องยอมจ่าย เพราะอย่างน้อยๆ ก็เป็นถึงแข้งทีมชาติอังกฤษ และผลงานใน 2 ปีที่ผ่านมาก็อยู่ในระดับที่ฝากผีฝากไข้ได้
ที่สำคัญ ราฮีม เพิ่งอายุ 21 ปี ระยะการใช้งานยังได้อีกยาวไกล หากปรับตัวกับทีมได้ลงตัวและสามารถพัฒนาฝีเท้าได้อย่างต่อเนื่อง ราคา 49 ล้านปอนด์ที่ทุ่มไปก็มีแววที่จะคุ้มค่า
แต่อย่างที่กล่าวไปข้างต้น การดึงตัว สเตอร์ลิ่ง เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของการเสริมทัพ แมนฯ ซิตี้ ยังขาดโควต้านักเตะ "โฮมโกรน" อีกอย่างน้อยๆ 4-5 ราย
"เรือใบสีฟ้า" จะต้องเดินหน้าล่านักเตะ "โฮมโกรน" เพิ่มอีก โดยในรายของ ฟาเบียน เดลฟ์ ที่เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายหลัก แม้เจ้าตัวอาจจะออกมาพูดแบบชัดถ้อยชัดคำว่าจะไม่ย้ายหนีแอสตัน วิลล่า
แต่ในความรู้สึกลึกๆ ผมเชื่อว่าดีลนี้ยังไม่จบ และแมนฯ ซิตี้ จะยังไม่ยอมยกธงง่ายๆ และก่อนที่ฤดูกาลจะเริ่มต้นก็น่าจะมีข่าวเชื่อมโยงกันอีกระลอกแน่ๆ
เช่นเดียวกับสตาร์ดังหลายอื่นๆที่เข้าข่ายไม่ว่าจะเป็น แจ็ค วิลเชียร์, รอสส์ บาร์คลี่ย์, จอน สโตนส์, ไซโด้ บาราฮิโน่ หรือแม้กระทั่ง แฮร์รี่ เคน ก็อาจะติดร่างแหโผล่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ได้เหมือนกัน
พูดอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่า มานูเอล เปเญกรินี่ จะไม่ซื้อนักเตะนอก "โฮมโกรน" เข้ามาเสริม นักเตะที่เป็นข่าวรายวันทั้ง เควิน เดอ บรอยน์ หรือ ปอล ป็อกบา ก็ยังมีความเป็นได้ที่จะเสริมเข้ามาสู่ทีม
แต่โควต้าพวกนี้ก็จะต้องไปสวมสิทธิ์ของ 17 แข้งเดิม หมายถึงว่าหากมีการซื้อมา ก็จำเป็นต้องขายออกไป เหมือนดั่งที่ แมนฯ ซิตี้ กำลังเร่งปล่อยนักเตะส่วนเกินอย่าง เอดิน เชโก้ และ สเตวาน โยเวติช อยู่ในเวลานี้
และในอนาคตกฎ "โฮมโกรน" จะยิ่งเข้มงวดขึ้นไปอีก จากแผนงานปัจจุบันของสมาคมฟุตบอลอังกฤษ จะมีการผลักดันจาก 8 ขึ้นมาสูงสุดที่ 12 คน โดยทะยอยปรับใช้เป็นเวลา 4 ปีเริ่มตั้งแต่ปี 2016
นั้นหมายความว่าสัดส่วนของการลงทะเบียนนักเตะนอก “โฮมโกรน” จากแต่เดิมเคยได้ 17 คน ก็จะถูกถอดถอนเหลือเพียงแค่ 13 ชีวิต
การหานักเตะ “โฮมโกรน” เข้ามาเติมเต็มว่ายากแล้ว แต่การเลือกซื้อ-ขายผู้เล่นต่างชาติก็จะเป็นอีกโจทย์ที่หินไม่แพ้กัน
ดูแล้วคงไม่ใช่แค่ แมนฯ ซิตี้ ทีมเดียวแน่ๆ ที่จะต้องมาปวดหัวกับกฎ "โฮมโกรน" ใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้
(สกู๊ป) ด้วยเหตุจำเป็น
ภาพที่ ราฮีม สเตอร์ลิ่ง ชูเสื้อ “สีฟ้า” ถูกเผยแพร่ออกไป มันเท่ากับว่าดีลมหากาฬที่คุกรุ่นมาตลอดซัมเมอร์ได้จบลงโดยสมบูรณ์
การซื้อขายนี้ไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมาย เพราะจากสตอรี่ที่ผ่านมาทั้งการปฎิเสธต่อสัญญาใหม่ รวมถึงการเรียกร้องขอย้ายทีม มันชัดเจนแจ่มแจ้งแล้วว่า ลิเวอร์พูล หมดท่าเยียวยาที่จะรั้งดาวเตะวัย 21 ปี
แมนฯ ซิตี้ คือทีมที่แสดงความจำนงว่าต้องการดึงตัวดาวเตะรายนี้ไปร่วมทีม แม้จะถูกปัดข้อเสนอถึง 2 ครา แต่ทุกอย่างมันรอเพียง “เวลา” ที่เหมาะสมเท่านั้นที่จะได้รายเซ็นต์ของ สเตอร์ลิง มาครอบครอง
ตัวนักเตะคือคนที่มีความสุขที่สุด เพราะได้ย้ายออกบ้านหลังเก่าที่ถูกมองว่า “เล็ก” เกินกว่าความทะเยอทะยานที่เขามี
ขณะที่ “หงส์แดง” อาจพูดได้ไม่เต็มปาก เพราะต้องมาเสียหนึ่งในนักเตะที่ดีที่สุดของทีม แต่ด้วยเงินก้อนโตถึง 49 ล้านปอนด์ ก็น่าจะเป็นการทำธุรกิจที่น่า “พอใจ”
ฝั่ง แมนฯ ซิตี้ ในสายตาของแฟนบอลทั่วไป อาจจะมองว่า "โง่" ที่ยอมทุ่มเงินขนาดนี้เพื่อนักเตะที่ต้องการย้ายออก รวมถึงเหลือสัญญากับต้นสังกัดอีกเพียงแค่ปีเดียว
แต่อย่างไรก็ตามเรื่องนี้มีปัจจัยเข้ามารองรับว่าทำไม "เรือใบสีฟ้า" จำต้อง "หน้ามืด" คว้าตัว ราฮีม สเตอร์ลิง มาในราคาที่เรียกว่าแพงเกินจริง
เหตุผลหลักที่เข้ามาบีบทาง ซิตี้ ก็คือเรื่องของการลงทะเบียนผู้เล่นกับทางพรีเมียร์ลีก ที่ระบุชัดว่าในทีมชุดใหญ่ 25 คนจะต้องมีนักเตะ "โฮมโกรน" อย่างน้อย 8 ราย
ตามกฎปัจจุบันผู้เล่นที่จะเป็น "โฮมโกรน" คือนักเตะที่ต้องมีชื่ออยู่กับสโมสรที้เป็นสมาชิกของสมาคมฟุตบอลอังกฤษหรือเวลส์ เป็นเวลา 36 เดือนก่อนที่อายุจะครบ 21 ปี
เช็กรายชื่อของ แมนฯ ซิตี้ เมื่อฤดูกาลก่อน นักเตะที่ถูกส่งลงทะเบียนเป็นนักเตะ "โฮมโกรน" ทั้ง 8 คนได้แก่ เดดริค โบยาต้า, กาเอล กลิชี่, จอห์น กุยเด็ตติ, โจ ฮาร์ท, แฟรงค์ แลมพาร์ด, เจมส์ มิลเนอร์, สกอตต์ ซิลแคลร์ และ ริชาร์ด ไรท์
ทว่ามาดูขุมกำลังในปัจจุบันชื่อของ เดดริค โบยาต้า, จอห์น กุยเด็ตติ, สกอตต์ ซิลแคลร์ และ เจมส์ มิลเนอร์ นั้นย้ายทีมไปแล้ว ส่วน แฟรงค์ แลมพาร์ด ก็หมดสัญญายืมตัว
นอกจากนี้ทางสมาคมฟุตบอลอังกฤษ มีแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงกฎใหม่ โดยนักเตะที่จะเป็น "โฮมโกรน" จะต้องมาอยู่กับสโมสรตั้งแต่อายุ 15 ปี หรืออยู่กับทีมครบ 3 ปีก่อนจะมีอายุ18 ปีบริบูรณ์
ซึ่งหากกฎนี้ผ่านมติจากทางพรีเมียร์ลีก เท่ากับว่า กาเอล กลิชี่ ก็จะหลุดจากนิยามของนักเตะ "โฮมโกรน" เพราะแบ็กซ้ายทีมชาติฝรั่งเศส ตอนที่โยกมาเล่นให้กับ อาร์เซนอล ตอนนั้นก็มีอายุ 18 ปีเข้าให้แล้ว
ดังนั้นเคสนี้ แมนฯ ซิตี้ ถือว่าต้องเจอปัญหาเข้าไปเต็มๆ โควต้า 8 คนที่เคยมีในซีซั่นก่อน พวกเขาเหลือนักเตะที่เข้าข่ายเพียงแค่ 2 ทำให้ซัมเมอร์นี้การเสริมทัพของทีมต้องมุ่งเป้าไปที่นักเตะ "โฮมโกรน"
เพราะถ้าหาซื้อเพิ่มไม่ได้ทาง "เรือใบสีฟ้า" ก็ต้องจำเป็นต้องดันดาวรุ่งจากอคาเดมี่ตัวเองเข้ามาเติมเต็มในโควต้าดังกล่าว ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าอนาคตของแต่ละคนจะลูกผีลูกคนแค่ไหน
ตัวที่ซื้อมาก็ต้องการันตีว่าสามารถใช้งานได้ทันที หากไปคว้าสุ่มสี่สุ่มห้าแล้วไม่ได้ดีกว่าดาวรุ่งที่มี มันก็ไม่ต่างอะไรกับการเสี่ยงที่ไร้ทิศทาง
ทว่าปัญหาโลกแตกมันอยู่นักเตะ “โฮมโกรน” เกรดดีๆ นั้นมีจำนวนค่อนข้างจำกัด ไล่เรียงชื่อเฉพาะในพรีเมียร์ลีกเวลานี้ก็แทบจะนับนิ้วนับหัวได้เลย
ดังนั้นการคว้าตัว สเตอร์ลิ่ง จึงเป็นดีลที่จำเป็น แพงแค่ไหนก็ต้องยอมจ่าย เพราะอย่างน้อยๆ ก็เป็นถึงแข้งทีมชาติอังกฤษ และผลงานใน 2 ปีที่ผ่านมาก็อยู่ในระดับที่ฝากผีฝากไข้ได้
ที่สำคัญ ราฮีม เพิ่งอายุ 21 ปี ระยะการใช้งานยังได้อีกยาวไกล หากปรับตัวกับทีมได้ลงตัวและสามารถพัฒนาฝีเท้าได้อย่างต่อเนื่อง ราคา 49 ล้านปอนด์ที่ทุ่มไปก็มีแววที่จะคุ้มค่า
แต่อย่างที่กล่าวไปข้างต้น การดึงตัว สเตอร์ลิ่ง เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของการเสริมทัพ แมนฯ ซิตี้ ยังขาดโควต้านักเตะ "โฮมโกรน" อีกอย่างน้อยๆ 4-5 ราย
"เรือใบสีฟ้า" จะต้องเดินหน้าล่านักเตะ "โฮมโกรน" เพิ่มอีก โดยในรายของ ฟาเบียน เดลฟ์ ที่เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายหลัก แม้เจ้าตัวอาจจะออกมาพูดแบบชัดถ้อยชัดคำว่าจะไม่ย้ายหนีแอสตัน วิลล่า
แต่ในความรู้สึกลึกๆ ผมเชื่อว่าดีลนี้ยังไม่จบ และแมนฯ ซิตี้ จะยังไม่ยอมยกธงง่ายๆ และก่อนที่ฤดูกาลจะเริ่มต้นก็น่าจะมีข่าวเชื่อมโยงกันอีกระลอกแน่ๆ
เช่นเดียวกับสตาร์ดังหลายอื่นๆที่เข้าข่ายไม่ว่าจะเป็น แจ็ค วิลเชียร์, รอสส์ บาร์คลี่ย์, จอน สโตนส์, ไซโด้ บาราฮิโน่ หรือแม้กระทั่ง แฮร์รี่ เคน ก็อาจะติดร่างแหโผล่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ได้เหมือนกัน
พูดอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่า มานูเอล เปเญกรินี่ จะไม่ซื้อนักเตะนอก "โฮมโกรน" เข้ามาเสริม นักเตะที่เป็นข่าวรายวันทั้ง เควิน เดอ บรอยน์ หรือ ปอล ป็อกบา ก็ยังมีความเป็นได้ที่จะเสริมเข้ามาสู่ทีม
แต่โควต้าพวกนี้ก็จะต้องไปสวมสิทธิ์ของ 17 แข้งเดิม หมายถึงว่าหากมีการซื้อมา ก็จำเป็นต้องขายออกไป เหมือนดั่งที่ แมนฯ ซิตี้ กำลังเร่งปล่อยนักเตะส่วนเกินอย่าง เอดิน เชโก้ และ สเตวาน โยเวติช อยู่ในเวลานี้
และในอนาคตกฎ "โฮมโกรน" จะยิ่งเข้มงวดขึ้นไปอีก จากแผนงานปัจจุบันของสมาคมฟุตบอลอังกฤษ จะมีการผลักดันจาก 8 ขึ้นมาสูงสุดที่ 12 คน โดยทะยอยปรับใช้เป็นเวลา 4 ปีเริ่มตั้งแต่ปี 2016
นั้นหมายความว่าสัดส่วนของการลงทะเบียนนักเตะนอก “โฮมโกรน” จากแต่เดิมเคยได้ 17 คน ก็จะถูกถอดถอนเหลือเพียงแค่ 13 ชีวิต
การหานักเตะ “โฮมโกรน” เข้ามาเติมเต็มว่ายากแล้ว แต่การเลือกซื้อ-ขายผู้เล่นต่างชาติก็จะเป็นอีกโจทย์ที่หินไม่แพ้กัน
ดูแล้วคงไม่ใช่แค่ แมนฯ ซิตี้ ทีมเดียวแน่ๆ ที่จะต้องมาปวดหัวกับกฎ "โฮมโกรน" ใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้