ท่านที่เคารพรักครับ ธรรมชาติของระบบการเมืองที่ผ่านมา คนระดับดอกเตอร์จบจากนอก ดูแคลน
จนต้องใช้คารมคมคายอธิบายให้ดูดี มีความชอบธรรมที่จำเป็นต้องร่างรัฐธรรมนูญมาให้มีอะไรใหม่แบบแปลกๆ
ด้วยความเชื่อของพวกเขาว่า จะทำให้การเมืองดีขึ้น และกีดกันนักการเมือง ปิดทางนักการเมืองหน้าเก่าๆ
ไปจนถึงทำให้ฝ่ายการเมืองอ่อนแอลง ไม่สามารถเป็นพรรคใหญ่ได้
แล้วดอกเตอร์ก็ใช้วาทะศิลป์อธิบายขยายความไปถึงขนาดว่า การจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันหลายๆพรรค เป็นเรื่องที่ดี
จนลืมมองความจริงไปว่า ทุกครั้งหลังการเลือกตั้ง นักการเมืองหน้าเก่า จะสอบตกเกือบสี่สิบเปอร์เซ็นต์
ด้วยกระบวนการคัดกรองจากสมองของประชาชนที่ตื่นตัวทางการเมืองอยู่แล้ว
คำว่าล้มช้าง เราจึงเห็นมาทุกครั้ง หลังผลการเลือกตั้งออกมา
สิ่งที่นักการเมืองกลัว จึงคือเสียงของประชาชน
ไม่ได้กลัวรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ว่าจะผ่านการร่างรัฐธรรมนูญมากี่ฉบับต่อกี่ฉบับ นักการเมืองอย่างบรรหาร เสนาะ ก็อยู่กันมาได้
ต่างก็วนเวียนแพ้ชนะกันมาทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชวน ชวลิต บรรหาร เสนาะ
ระบบการเมืองแบบปัจจุบันที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเลือกตั้งแบบเบอร์เดียว หรือยกพวง ทำให้ได้ชวน ได้ชวลิต ได้บรรหาร ได้ชาติชาย
ได้ท่านทักษิณ ได้คุณยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯ
แต่การเมืองแบบเก่าๆกว่าอีก นั่นแหละที่ทำให้ อภิสิทธิ์ได้ขึ้นมาเป็นนายกฯ
นักการเมืองหรือที่เรียกกันบ้านๆว่า ส.ส ซึ่งล้วนแล้วแต่มีสโลแกนว่า เรียกง่าย ใช้คล่อง ใจถึงพึ่งได้
คนของไทบ้าน หรือ ลูกในบ้าน หว่านในสวน หรืออะไรก็แล้วแต่ก็ว่ากันไป ตามลีลาของแต่ละคน
ส่วนมากพอผูกผ้าขาวม้าคาดพุง มือถือไมค์ น้ำลายแตกฟอง ส.ส ก็กลมกลืนกับชาวบ้าน
ไม่ว่าจะเปิบข้าวจากกะติ๊บก็ดูไม่ขัดเขิน หรือลงนาเกี่ยวข้าว ก็ดูทะมัดทะแมงไม่มีเก้ๆกังๆ เข้ากับชาวบ้านได้สนิทเนียน
เรื่องจะเห็นหน้าที ตอนมีหาเสียง มีเลือกตั้งนั้น ไม่มีนานแล้ว
เรื่องจะด่า จะตะคอกชาวบ้านนั้น ยิ่งไม่มีทาง ธรรมชาติมันบ่มเพาะไปในตัวมันเอง เพราะกลัวคะแนนเสียงตก กลัวสอบตกสมัยหน้า
เพราะเสียงของประชาชน คือเสียงสวรรค์ การเมืองปัจจุบันพัฒนาไปถึงจุดนี้แล้ว
นั่นคือทิศทางการเมือง ขึ้นอยู่กับผลงานและความนิยมจากประชาชน จึงได้คนอย่างท่านทักษิณและคุณยิ่งลักษณ์
แต่การเมืองแบบย้อนยุค เก่าถอยหลังลงไปมาก จะได้คนอย่างอภิสิทธิ์
ส.ส จึงตัดไม่ตาย ขายไม่ขาด งานบุญ งานบวช งานแต่งงาน งานศพ ทุกองคาพยพความเคลื่อนไหวของชาวบ้าน
ต่างก็มี ส.ส ไปมาหาสู่ ไปร่วมงาน ไปให้ความช่วยเหลือ มันหมายถึงน้ำใจ หมายถึงความผูกพัน มันหมายถึงอะไรต่อมิอะไรอีกหลายอย่าง
ประธานงานแต่ง ก็ ส.ส ประธานผ้ามหาบังสกุล ก็ ส.ส ประธานผ้าป่าสามัคคี ก็ ส.ส ประธานจัดแข่งกอล์ฟ ก็ ส.ส
จนเคยมีสโลแกนว่า คิดอะไรไม่ออก บอก ส.ส
นักการเมืองบางคนกาแฟแก้วเดียวก็ไม่เคยเลี้ยงใคร นักการเมืองบางคนได้ฉายาว่าตู้เอทีเอ็มเคลื่อนที่
แล้วสภาพจังหวัดคนที่เลือกเข้ามา เป็นอย่างไร เราดูสุพรรณ เราดูตรัง เราดูบุรีรัมย์ เราก็จะเห็นถึงวิสัยทัศน์คนเหล่านั้นได้
สุเทพไม่ว่าจะรากเลือดจากกรณี สปก.4-01
บรรหารไม่ว่าจะกระอักโลหิต จากการโดนโจมตีในสภา
เนวิน ไม่ว่าคนกรุงเทพฯจะยี้ห้อย ร้อยยี่สิบเพียงใด แต่คนเหล่านี้ก็อบอุ่นทุกครั้งที่ลงเลือกตั้ง ในจังหวัดของแต่ละคน
นักการเมืองบางคนประกาศตัวมีอุดมการณ์ เชื่อมั่นในระบบรัฐสภา บางคนไม่ประกาศแมวอะไรเลย
บางคนประกาศว่า เป็นฝ่ายค้านแล้วอดอยากปากแห้ง แต่ก็อยู่กันมาได้แบบเกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลซดน้ำแกง
หลังเลือกตั้งที จัดตั้ง ครม. กันกลางอากาศ ผสมพันธ์กันได้มาทุกยุค ทุกสมัย
ไม่ว่าพรรคไหนๆ ต่างมี " อุดมการณ์ "พอๆกันคือ ต้องการสอบได้ ไม่อยากสอบตก พอสอบได้ ก็ต้องการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล
พอได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาลก็ต้องการเป็นรัฐมนตรี
นี่คือ " อุดมคติ " แบบพื้นฐาน แทบไม่แตกต่างกัน ไม่มีเทพ ไม่มีมาร อยู่ที่การสร้างภาพเท่านั้นเอง
และพอผ่านการเลือกตั้ง ความแตกต่างก็อยู่ที่สถานะ คือ ใครเป็นรัฐบาล ใครเป็นฝ่ายค้าน
และโดยมาตรฐานของระบบ ฝ่ายค้านมีหน้าที่ทำลายรัฐบาลให้เร็วที่สุด ในการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา
ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้านก็ต่างต้องมีงานทำในวาระ 4 ปี
ก็ระบบเดิมๆ มันเป็นแบบนี้ หาก นักการเมืองดี ประชาชนก็เลือก หากนักการเมืองไม่ดี ประชาชนก็ไม่เลือก
หากว่านี่คือความเลวร้าย จนต้องร่างรัฐธรรมนูญมาสกัดกั้น แล้วถามว่า ที่ต้องการให้รัฐบาลหน้า ร่วมกันหลายๆพรรค
มันก็เข้าอีหรอบเดิม คือรัฐบาลผสม ระบบเก่าไม่ใช่เหรอ ที่เก่ากว่าปัจจุบันนี้มาก
ลองคิดภาพพรรคประชาธิปัตย์โดนพรรคภูมิใจไทยขี่คอมาตลอด เพราะพึ่งคะแนนเสียงแบบปริ่มๆจากภูมิใจไทย
ก็จะเห็นภาพความอ่อนแอของการทำงาน ในการเมืองที่ย้อนยุคไปมาก
ความจริง ที่อยากให้มีรัฐบาลผสม ความจริงมันอยู่ที่ตรงนี้ครับ ตรงกับเหตุการณ์ในสมัยหนึ่ง ที่น่าจะใกล้เคียงความจริงที่สุด
นั่นคือหลังการเลือกตั้งครั้งหนึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงมากสุดถึง 100 ที่นั่ง
ในขณะนั้นนายพิชัย รัตตกุล เป็นหัวหน้าพรรค ถึงแม้จะได้คะแนนเสียงสูงสุด
นายพิชัยก็ไม่ได้รับความไว้วางใจให้เป็นนายกรัฐมนตรี
เพราะหัวหน้าพรรคการเมือง 3 พรรคคือ พรรคกิจสังคม พรรคชาติไทย และพรรคราษฎร
แถลงว่าควรเชิญคนกลางมาเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมาก
คนกลางเป็นที่เข้าใจกันดี ว่าคือใคร ก็ได้รับเชิญมาเป็นสมัยที่สาม
ในอนาคตเร็วๆนี้ หากพรรคการเมืองต้องอ่อนแอ ก็เพื่อรองรับการมาถึงของคนกลาง
หรือ เรียกใหม่ว่า คนนอก นั่นเองครับ
จากเหมยถึงกาสะลอง จากโกวเล้งถึงคุณยิ่งลักษณ์ ( ประชาชน นักการเมือง คนกลาง คนนอก )
จนต้องใช้คารมคมคายอธิบายให้ดูดี มีความชอบธรรมที่จำเป็นต้องร่างรัฐธรรมนูญมาให้มีอะไรใหม่แบบแปลกๆ
ด้วยความเชื่อของพวกเขาว่า จะทำให้การเมืองดีขึ้น และกีดกันนักการเมือง ปิดทางนักการเมืองหน้าเก่าๆ
ไปจนถึงทำให้ฝ่ายการเมืองอ่อนแอลง ไม่สามารถเป็นพรรคใหญ่ได้
แล้วดอกเตอร์ก็ใช้วาทะศิลป์อธิบายขยายความไปถึงขนาดว่า การจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันหลายๆพรรค เป็นเรื่องที่ดี
จนลืมมองความจริงไปว่า ทุกครั้งหลังการเลือกตั้ง นักการเมืองหน้าเก่า จะสอบตกเกือบสี่สิบเปอร์เซ็นต์
ด้วยกระบวนการคัดกรองจากสมองของประชาชนที่ตื่นตัวทางการเมืองอยู่แล้ว
คำว่าล้มช้าง เราจึงเห็นมาทุกครั้ง หลังผลการเลือกตั้งออกมา
สิ่งที่นักการเมืองกลัว จึงคือเสียงของประชาชน
ไม่ได้กลัวรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ว่าจะผ่านการร่างรัฐธรรมนูญมากี่ฉบับต่อกี่ฉบับ นักการเมืองอย่างบรรหาร เสนาะ ก็อยู่กันมาได้
ต่างก็วนเวียนแพ้ชนะกันมาทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชวน ชวลิต บรรหาร เสนาะ
ระบบการเมืองแบบปัจจุบันที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเลือกตั้งแบบเบอร์เดียว หรือยกพวง ทำให้ได้ชวน ได้ชวลิต ได้บรรหาร ได้ชาติชาย
ได้ท่านทักษิณ ได้คุณยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯ
แต่การเมืองแบบเก่าๆกว่าอีก นั่นแหละที่ทำให้ อภิสิทธิ์ได้ขึ้นมาเป็นนายกฯ
นักการเมืองหรือที่เรียกกันบ้านๆว่า ส.ส ซึ่งล้วนแล้วแต่มีสโลแกนว่า เรียกง่าย ใช้คล่อง ใจถึงพึ่งได้
คนของไทบ้าน หรือ ลูกในบ้าน หว่านในสวน หรืออะไรก็แล้วแต่ก็ว่ากันไป ตามลีลาของแต่ละคน
ส่วนมากพอผูกผ้าขาวม้าคาดพุง มือถือไมค์ น้ำลายแตกฟอง ส.ส ก็กลมกลืนกับชาวบ้าน
ไม่ว่าจะเปิบข้าวจากกะติ๊บก็ดูไม่ขัดเขิน หรือลงนาเกี่ยวข้าว ก็ดูทะมัดทะแมงไม่มีเก้ๆกังๆ เข้ากับชาวบ้านได้สนิทเนียน
เรื่องจะเห็นหน้าที ตอนมีหาเสียง มีเลือกตั้งนั้น ไม่มีนานแล้ว
เรื่องจะด่า จะตะคอกชาวบ้านนั้น ยิ่งไม่มีทาง ธรรมชาติมันบ่มเพาะไปในตัวมันเอง เพราะกลัวคะแนนเสียงตก กลัวสอบตกสมัยหน้า
เพราะเสียงของประชาชน คือเสียงสวรรค์ การเมืองปัจจุบันพัฒนาไปถึงจุดนี้แล้ว
นั่นคือทิศทางการเมือง ขึ้นอยู่กับผลงานและความนิยมจากประชาชน จึงได้คนอย่างท่านทักษิณและคุณยิ่งลักษณ์
แต่การเมืองแบบย้อนยุค เก่าถอยหลังลงไปมาก จะได้คนอย่างอภิสิทธิ์
ส.ส จึงตัดไม่ตาย ขายไม่ขาด งานบุญ งานบวช งานแต่งงาน งานศพ ทุกองคาพยพความเคลื่อนไหวของชาวบ้าน
ต่างก็มี ส.ส ไปมาหาสู่ ไปร่วมงาน ไปให้ความช่วยเหลือ มันหมายถึงน้ำใจ หมายถึงความผูกพัน มันหมายถึงอะไรต่อมิอะไรอีกหลายอย่าง
ประธานงานแต่ง ก็ ส.ส ประธานผ้ามหาบังสกุล ก็ ส.ส ประธานผ้าป่าสามัคคี ก็ ส.ส ประธานจัดแข่งกอล์ฟ ก็ ส.ส
จนเคยมีสโลแกนว่า คิดอะไรไม่ออก บอก ส.ส
นักการเมืองบางคนกาแฟแก้วเดียวก็ไม่เคยเลี้ยงใคร นักการเมืองบางคนได้ฉายาว่าตู้เอทีเอ็มเคลื่อนที่
แล้วสภาพจังหวัดคนที่เลือกเข้ามา เป็นอย่างไร เราดูสุพรรณ เราดูตรัง เราดูบุรีรัมย์ เราก็จะเห็นถึงวิสัยทัศน์คนเหล่านั้นได้
สุเทพไม่ว่าจะรากเลือดจากกรณี สปก.4-01
บรรหารไม่ว่าจะกระอักโลหิต จากการโดนโจมตีในสภา
เนวิน ไม่ว่าคนกรุงเทพฯจะยี้ห้อย ร้อยยี่สิบเพียงใด แต่คนเหล่านี้ก็อบอุ่นทุกครั้งที่ลงเลือกตั้ง ในจังหวัดของแต่ละคน
นักการเมืองบางคนประกาศตัวมีอุดมการณ์ เชื่อมั่นในระบบรัฐสภา บางคนไม่ประกาศแมวอะไรเลย
บางคนประกาศว่า เป็นฝ่ายค้านแล้วอดอยากปากแห้ง แต่ก็อยู่กันมาได้แบบเกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลซดน้ำแกง
หลังเลือกตั้งที จัดตั้ง ครม. กันกลางอากาศ ผสมพันธ์กันได้มาทุกยุค ทุกสมัย
ไม่ว่าพรรคไหนๆ ต่างมี " อุดมการณ์ "พอๆกันคือ ต้องการสอบได้ ไม่อยากสอบตก พอสอบได้ ก็ต้องการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล
พอได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาลก็ต้องการเป็นรัฐมนตรี
นี่คือ " อุดมคติ " แบบพื้นฐาน แทบไม่แตกต่างกัน ไม่มีเทพ ไม่มีมาร อยู่ที่การสร้างภาพเท่านั้นเอง
และพอผ่านการเลือกตั้ง ความแตกต่างก็อยู่ที่สถานะ คือ ใครเป็นรัฐบาล ใครเป็นฝ่ายค้าน
และโดยมาตรฐานของระบบ ฝ่ายค้านมีหน้าที่ทำลายรัฐบาลให้เร็วที่สุด ในการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา
ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้านก็ต่างต้องมีงานทำในวาระ 4 ปี
ก็ระบบเดิมๆ มันเป็นแบบนี้ หาก นักการเมืองดี ประชาชนก็เลือก หากนักการเมืองไม่ดี ประชาชนก็ไม่เลือก
หากว่านี่คือความเลวร้าย จนต้องร่างรัฐธรรมนูญมาสกัดกั้น แล้วถามว่า ที่ต้องการให้รัฐบาลหน้า ร่วมกันหลายๆพรรค
มันก็เข้าอีหรอบเดิม คือรัฐบาลผสม ระบบเก่าไม่ใช่เหรอ ที่เก่ากว่าปัจจุบันนี้มาก
ลองคิดภาพพรรคประชาธิปัตย์โดนพรรคภูมิใจไทยขี่คอมาตลอด เพราะพึ่งคะแนนเสียงแบบปริ่มๆจากภูมิใจไทย
ก็จะเห็นภาพความอ่อนแอของการทำงาน ในการเมืองที่ย้อนยุคไปมาก
ความจริง ที่อยากให้มีรัฐบาลผสม ความจริงมันอยู่ที่ตรงนี้ครับ ตรงกับเหตุการณ์ในสมัยหนึ่ง ที่น่าจะใกล้เคียงความจริงที่สุด
นั่นคือหลังการเลือกตั้งครั้งหนึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงมากสุดถึง 100 ที่นั่ง
ในขณะนั้นนายพิชัย รัตตกุล เป็นหัวหน้าพรรค ถึงแม้จะได้คะแนนเสียงสูงสุด
นายพิชัยก็ไม่ได้รับความไว้วางใจให้เป็นนายกรัฐมนตรี
เพราะหัวหน้าพรรคการเมือง 3 พรรคคือ พรรคกิจสังคม พรรคชาติไทย และพรรคราษฎร
แถลงว่าควรเชิญคนกลางมาเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมาก
คนกลางเป็นที่เข้าใจกันดี ว่าคือใคร ก็ได้รับเชิญมาเป็นสมัยที่สาม
ในอนาคตเร็วๆนี้ หากพรรคการเมืองต้องอ่อนแอ ก็เพื่อรองรับการมาถึงของคนกลาง
หรือ เรียกใหม่ว่า คนนอก นั่นเองครับ