โรงหนังแต่ละชื่อ มันต่างกันยังไงครับ

SF
Major
EGV
SFX
Grand EGV

มันต่างกันยังไงครับ
- ขนาด
- ราคา
- หนัง
- บลาๆ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
ถ้าจะให้ละเอียดก็ต้องเท้าความถึงที่มาของแต่ละโรงก่อนอ่ะครับ

โรงหนังมัลติเพล็กซ์ยุคใหม่ที่มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ขายตั๋วต้องเริ่มต้นที่ EGV

EGV

มาจากคำว่า Entertain Golden Village International มาจากการร่วมทุนของบริษัท Entertain ของคุณวิชัย พูลวรลักษณ์ กับ Golden Harvest ของฮ่องกง และ Village Roadshow ของออสเตรเลีย

ในสมัยนั้นถือว่าล้ำสมัยมาก ที่มีการออกตั๋วโดยระบบคอมพิวเตอร์ และมีการนำเข้าเทคโนโลยีการฉาย THX ของจอร์จ ลูคัสในบ้านเรา
โดยเริ่มต้นสาขาแรกในห้างฟิวเจอร์พาร์คบางแค(ปัจจุบันคือซีคอนบางแค) โดยใช้ชื่อว่า EGV Bangkae 10
จนต่อมาได้ขยายสาขาไปทั่วกรุงเทพ


Major Cineplex

เป็นโรงที่เกิดมาเพื่อเป็นคู่แข่งกับ EGV โดยเฉพาะ ของคุณวิชา พูลวรลักษณ์(นามสกุลเดียวกับข้างบนนั่นแหละ เหอๆ)
โดยสร้างสาขาแรกขึ้นมาเพื่อตีกับ EGV ปิ่นเกล้า(ในตอนนั้น)ซึ่งอยู่ในห้างฯเซ็นทรัลปิ่นเกล้า โดยตั้งในพื้นที่ห้างฯเวลโกเก่าเพียงแต่อยู่คนละฝั่งถนน ซึ่งในขณะนั้น EGV ขยายได้หลายสาขาทั่วกรุงเทพแล้ว

แต่ด้วยกลยุทธ์ที่แก้ไขจุดอ่อนหลายๆอย่างของ EGV ซึ่งในขณะนั้น ลูกค้ายังไม่สามารถเลือกที่นั่งเองได้ และทำกลยุทธ์ด้านราคาที่ถูกกว่า
พร้อมทั้งมีระบบสมาชิก ที่สามารถลดราคาค่าตั๋วได้ในทันที (ในขณะที่ EGV ต้องทำการเติมเงินก้อนเข้าไปก่อน คล้ายๆกับบัตร M cash ในสมัยนี้ เพียงแต่นับยอดคงเหลือเป็นจำนวนที่นั่ง ไม่ใช่ยอดเงิน)
จึงทำให้ความนิยมของเมเจอร์ฯ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนสามารถเปิดสาขาสุขุมวิท(เอกมัย) และรัชโยธินได้ขึ้นมาในเวลาไม่กี่ปี

ข้อได้เปรียบอีกอย่างของเมเจอร์ฯ คือการแบ่งพื้นที่ศูนย์การค้าให้เช่าภายในอาคารโรงหนังเอง โดยภายใต้คอนเซ็ปต์ "เมืองแห่งภาพยนตร์" ซึ่งเพิ่มรายได้ให้อย่างมหาศาล (ต่างจาก EGV ที่ยังแค่เช่าพื้นที่บางส่วนของศูนยืการค้าเพื่อมาเป็นโรงหนัง)

จนต่อมาเครือเมเจอร์ฯ ได้ทำการควบรวมกิจการของ EGV เข้ามาอยู่ในชายคาเดียวกัน ทำให้โรงภาพยนตร์ EGV บางส่วนได้รีโนเวทเปลี่ยนชื่อเป็น Major Cineplex แต่ยังเหลือบางส่วนที่ยังคงชื่อเดิมไว้

ส่วนข้อแตกต่างระหว่าง Grand EGV กับ EGV คือ การเจาะกลุ่มตลาดลูกค้าที่ต่างกัน (ในสมัยที่ EGV ยังรุ่งเรือง) โดยกลุ่ม Grand ก็จะจับตลาดอย่างในสยามดิสคัพเวอรี่ และในซีคอนศรีนครินทร์ โดยการเพิ่มโรงฯแบบ First Class ซึ่งหรูหรากว่า และแน่นอนว่าราคาแพงกว่า (สมัยนั้น EGV บางแคยังไม่มีคำว่า Grand นำหน้า)

จนกระทั่งเครือเมเจอร์ฯได้ก่อตั้ง Paragon Cineplex ขึ้นมาในห้างฯที่(ดู)หรูหราอลังการดาวล้านดวงอย่าง พารากอน
จึงใช้ชื่อใหม่ๆเข้ามากำหนดกลุ่มลูกค้า Upper ไปจนถึง Hi-End อย่าง "เอสพลานาด ซีเนเพล็กซ์" หรือ "ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต" หรือ "เอ็มบาสซี ดิโพลแมทสกรีน" เพื่อสร้างมาตรฐานความหรูหรา(ตามศูนย์การค้า)ขึ้นไปอีก


เครือ SF Cineplex

โรงหนังเครือนี้มาจากสายหนังต่างจังหวัดทางภาคตะวันออก ที่รุกคืบเข้ามาในเมืองหลวง โดยเริ่มต้นที่ห้าง MBK ในชื่อ SF Cinema มาจากคำว่าสมานฟิลม์ ในขณะที่ EGV กับเมเจอร์ฯกำลังสู้กันอย่างดุเดือดทางห้างฯชานเมือง

ต่อมาเครือ SF ก็ได้ผุดแบรนด์ที่ชื่อว่า SFX ขึ้นมา ซึ่งข้อแตกต่างก็คือได้เพิ่มโรงหนังแบบ First Class เข้ามาด้วย
จนเมื่อห้างฯเซ็นทรัลเวิลด์เปิดเครือ SF จึงได้เข็น SFW เข้ามา เพื่อมาดึงลูกค้าคู่แข่งใกล้เคียงกันอย่าง Paragon Cineplex  

ส่วนเครือ SF ที่ความหรูยังไม่ถึงขั้นก็ Re-Branding เป็น SF Cinema City (SFC) แทน

จนต่อมาก็มีโรงที่อัพเกรดความหรูหราตามมาอย่าง Emprivé Cineclub ซึ่งพัฒนาจาก SFX เดิม มาอัพเกรดเป็นโรงที่มี First Class และ VIP ทั้งหมด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่