เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผมเห็นประกาศจากทางมหาวิทยาลัยแจ้งว่า จะมีการจัดอุปสมบทหมู่เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา จัดโดยสมาคมนิสิตเก่าคณะสังคมศาสตร์ร่วมกับคณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ โดยจะจัดอุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหาร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เมื่อดูจากช่วงเวลาที่จัดแล้ว (25 มิย – 9 กค) มันน่าสนใจสำหรับผมมาก เพราะว่าเป็นช่วงเวลาที่ผมว่างจากการสอนพอดี รวมทั้งบวชฟรีด้วย ผมเลยสมัครเข้าร่วมโครงการนี้ด้วย เลยได้ข้อคิดจากการบวชครั้งนี้และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการจะบวชในพรรษาที่จะถึงนี้ เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้องตามธรรมวินัย ก็ลองอ่านดูละกันนะครับ
1. สิ่งแรกสุดที่ผู้บวชใหม่จะต้องตอบคำถามให้ได้ก็คือ ตัวท่านเองทำไมถึงบวชครับ อาจจะบวชตามประเพณี บวชเพื่อต้องการศึกษาพระธรรมวินัย เพื่อสืบทอดพระศาสนา หรืออาจจะบวชเพื่อสั่งสมบารมีเพื่อหวังจะได้เห็นและเข้าถึงในอริยสัจ (ของผมเป็นข้อนี้) เหตุที่ต้องตอบคำถามนี้ให้ได้ก่อนก็เพื่อจะได้มีเป้าหมายในการปฏิบัติตัวระหว่างบวชเป็นพระภิกษุ เพราะถ้าบวชตามประเพณี อาจจะมีความรู้สึกเบื่อหน่ายในการบวช เพราะการเป็นพระไม่ใช่สบายครับ ต้องรักษาศีล ต้องลงโบสถ์ ต้องบิณฑบาต ต้องเรียนนักธรรมตรี (แต่บางวัดก็อาจจะไม่ได้เรียนระหว่างพรรษาถ้าหาอาจารย์ผู้สอนไม่ได้หรือหากว่าเจ้าอาวาสไม่ค่อยเข้มงวดมาก) ส่วนถ้าบวชด้วยสาเหตุอื่นโดยเฉพาะตั้งใจบวชเพื่อศึกษาหาความรู้ในพระพุทธศาสนาหรือบวชเพื่อหวังพ้นทุกข์ ท่านจะมีความสุขที่ได้บวชครับ
2. หลังจากที่ท่านตั้งใจบวชแล้ว ก่อนอื่นต้องหาวัดก่อนครับ วัดในประเทศไทยถ้าอยู่ในนิกายเถรวาทจะแบ่งได้ 2 ประเภทด้วยกันคือ วัดที่สังกัดธรรมยุติกนิกายและวัดที่สังกัดมหานิกาย ซึ่งในประเทศไทยจะมีวัดที่สังกัดมหานิกายมากกว่าธรรมยุตครับ วัดธรรมยุตจะบวชแบบเอสาหังเป็นหลัก ส่วนวัดมหานิกายจะมีการบวช 2 แบบคือแบบอุกาสะและหลายๆวัดก็บวชแบบเอสาหังเหมือนกับของธรรมยุตครับ (ผมบวชสองครั้งแรกก็บวชวัดสังกัดมหานิกายแต่สวดแบบเอสาหังครับ)
ส่วนท่านจะเลือกบวชวัดในสังกัดไหนนั้น ผมคิดว่าเอาที่สะดวกและคิดว่ามีวัตรปฏิบัติที่ดีที่ชอบดีกว่า จะสังกัดไหนมันเป็นเพียงสมมุติครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ธรรมยุต-มหานิกาย เป็นเพียงสมมติ
พระธรรมเทศนาโดย
พระธรรมวิสุทธิมงคล หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๕
ธรรมแท้เป็นเนื้อเดียวกัน..
สายอาจารย์ชากับหลวงปู่มั่นนี้มันเป็นอันเดียวกันมาดั้งเดิม ตั้งแต่หลวงปู่มั่นเป็นอาจารย์สอนอาจารย์ของอาจารย์ชาอีกทีหนึ่ง อาจารย์เหล่านี้มาเป็นอาจารย์ของอาจารย์ชา แม้อาจารย์ชาเองก็เคยไปหนองผือเหมือนกัน ตอนที่เราอยู่ที่นั่น ท่านก็ไปพักอยู่นั้นหลายวัน ไปศึกษาอบรมอยู่กับพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น เราจึงถือเป็นอันเดียวกันหมด สายเดียวกันหมด เพราะเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่นด้วยกัน
คำว่าธรรมยุต-มหานิกายไม่มีสำหรับเราเอง แม้แต่พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นท่านก็ไม่มี จะเห็นได้มีฝ่ายธรรมยุต-มหานิกายซึ่งเป็นกรรมฐานด้วยกันมีอยู่นี้ก็เพราะหลวงปู่มั่นไม่ให้ญัตติ อาจารย์ของอาจารย์ชาเหล่านี้มีหลายองค์นะฝ่ายมหานิกาย อาจารย์ทองรัตน์ อาจารย์กินรี อาจารย์ไหนต่อไหน หลายองค์นะ มาเคารพเลื่อมใสในปฏิปทาของท่าน แล้วพร้อมกันอยากมาขอญัตติ และเป็นลูกศิษย์ของท่าน ท่านบอกว่า
"ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายแล้วญัตติแล้ว ท่านทั้งหลายมีพวกมาก ผลประโยชน์ก็จะไม่ขยายออกไป เพราะโลกถือสมมุติ" ท่านว่าอย่างนั้นนะ ท่านจึงออกคำสั่งว่า "ไม่ต้องญัตติ คำว่าธรรมยุต-มหานิกายเป็นชื่ออันหนึ่งต่างหาก ส่วนสุปฏิปนฺโน อุชุ ญาย สามีจิปฏิปนฺโน นี้เป็นพื้นฐานของศาสดาองค์เอกที่ประทานไว้ให้พระสงฆ์ปฏิบัติตัวอย่างนี้ เหล่านี้แลเป็นเนื้อเป็นหนังอันแท้จริง ไม่ได้เป็นอยู่กับธรรมยุต-มหานิกาย ”
3. เมื่อได้วัดที่จะบวชและจำพรรษาแล้ว ต้องหัดขานนาคให้คล่อง ไม่ผิดเพี้ยน ไม่ต้องให้พระคู่สวดว่านำให้ ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งจำเป็นครับ เดี๋ยวนี้มีคลิปสอนหัดขานนาคเยอะแยะไปหมด เปิดฟังบ่อยๆก็จะได้สำเนียงและการออกอักขระเอง ยิ่งถ้าบวชวัดสังกัดธรรมยุตก็ต้องสวดแบบมคธด้วย ซึ่งการออกเสียงในพยัญชนะบางตัวต้องออกเสียงแบบมคธครับ เช่น ท จะออกเสียง ด เช่น ทุติยัมปิ ก็ต้องออกเสียงเป็น ดุติยัมปิ หรือ พ ออกเสียงเป็น บ เช่น พุทโธ ก็ออกเสียงเป็น บุทโธ เป็นต้น
คำขานนาคบวชแบบเอสาหัง
คำขานนาคบวชแบบอุกาสะ
4. เตรียมอัฐบริขารให้พร้อมตั้งแต่เนิ่นๆ และให้ครบตามธรรมวินัย (ที่วัดมักจะมีเตรียมไว้ให้เป็นส่วนใหญ่ สอบถามกับทางพระพี่เลี้ยงก่อนเลยดีกว่า ถ้าไม่มีจะได้หาซื้อเองได้ทันเวลา) โดยเฉพาะไตรครองที่ต้องใช้นุ่งห่มวันบวช ทั้ง สบง จีวร สังฆาฏิ อังสะ ประคดเอว ผ้ารัดอก และผ้ากราบ (ส่วนเรื่องสีของไตรจีวร ต้องสอบถามกับทางวัดดูครับ แต่ละวัดจะมีรูปแบบสีของจีวรไม่เหมือนกัน จะได้ไม่เก้อเขินเวลาที่ต้องนุ่งห่มเวลาทำสังฆกรรมหรือทำกิจกรรมร่วมกับพระรูปอื่นๆ) และไตรอาศัย (ผมคิดว่ามีแต่สบง จีวร และอังสะก็พอครับ) รวมทั้ง บาตร เข็มกับด้าย เครื่องกรองน้ำ และมีดโกน (อันนี้แนะนำเลยว่าต้องใบมีดโกนยี่ห้อ feather เท่านั้นครับ) ส่วนของประกอบชิ้นอื่นๆเช่น ผ้าอาบ ตาลปัตร ย่าม รองเท้าแตะ อันนี้แล้วแต่เลยครับว่าจะถวายหรือเปล่า แต่ยังไม่จำเป็นเท่าอัฐบริขารซึ่งต้องมี ไม่งั้นบวชไม่ได้ครับ
5. ฝึกคุกเข่าและนั่งพับเพียบ เหตุที่ต้องฝึกเพราะว่าเวลาบวชจะใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน โดยเฉพาะช่วงที่พระอุปัชฌาย์ท่านเทศน์สอนก่อนให้กรรมฐาน เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ และช่วงพระสวดญัตติจตุตถกรรมวาจา และเมื่อเป็นพระแล้วก็ต้องลงโบสถ์สวดมนต์เช้า-เย็น และฟังปาติโมกข์ทุกๆ 15 วันด้วยครับ ส่วนวิธีการฝึก ก็ต้องลองหัดนั่งคุกเข่าและพับเพียบแล้วจับเวลาดู พยายามทำให้ได้นานกว่าครั้งก่อนๆทุกครั้งครับ ผมเองก็มีปัญหาเกี่ยวกับเข่าพอสมควร (ลูกสะบ้าตรงหัวเข่าไม่ค่อยดี เหตุเพราะต่อยมวยไทยและเล่นเทควันโด้สมัยหนุ่มๆ) ก็ต้องพยายามพอสมควร จนวันสุดท้ายก่อนสึกก็สามารถนั่งพับเพียบได้ค่อนข้างนานประมาณ 20 นาทีโดยไม่ต้องเปลี่ยนท่าเลย ฝึกบ่อยๆ กำลังขาจะค่อยๆแข็งแรงเองครับ
6. เวลาบวช ใจเย็นๆ สวดช้าๆ ถ้าสวดผิดก็ไม่ต้องตกใจ ให้สวดทวนใหม่ได้ และต้องออกเสียงชัดถ้อยชัดคำและถูกต้องตามอักขระวิธี พยายามเรียงลำดับการบวชก่อนหลังให้ถูก ตัวอย่างเช่นถ้าบวชแบบเอสาหัง ก็จะเริ่มด้วยเอสาหัง ภันเต… ตามด้วย อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง… ตามด้วย เกสา โลมา… ตามด้วย อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง… ตามด้วย พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ… แล้วก็สมาทานศีล 10 คือต้องเรียงลำดับก่อนหลังให้ดี ไม่งั้นอาจจะว่าข้ามขั้นตอนได้ครับ รวมทั้งเวลาขอในขั้นตอนต่างๆก็จะขอ 3 ครั้ง ทั้งทุติยัมปิและตติยัมปิด้วยครับ
7. หลังจากบวชเสร็จแล้ว อย่าลืมทำการอธิษฐานบริขารประเภทต่างๆ ทั้งไตรจีวรครอง บาตร ผ้าปูนั่ง ผ้าอาบน้ำ ผ้าบริขารอื่นๆที่เรียกว่าบริขารโจละ เช่น ผ้าเช็ดบาตร ย่าม เป็นต้น รวมทั้งอย่าลืมทำพินทุผ้าให้เสียสี และทำวิกัปจีวรกับสบงอาศัยด้วย ไม่เช่นนั้นถ้าถือครองผ้านี้เกิน 10 วันจะต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ได้ครับ แล้วก็ควรฝึกห่มจีวรให้คล่อง ฝึกทำหลายๆครั้งให้คุ้นเคย ส่วนวิธีห่มผ้าก็ต้องแล้วแต่วัด ถ้าเป็นวัดธรรมยุตก็จะห่มแบบลูกบวบม้วนแล้วหนีบทางรักแร้ด้านซ้าย ส่วนมหานิกายก็อาจห่มมังกรหรือห่มดองหรือบางวัดก็ห่มแบบลูกบวบก็มีครับ
วิธีห่มจีวรแบบต่างๆของมหานิกาย
วิธีห่มจีวรแบบธรรมยุต (ออกนอกวัด รวมทั้งบิณฑบาต)
วิธีห่มจีวรแบบธรรมยุต (เฉวียงบ่า)
8. ระวังเรื่องการครองผ้าโดยเฉพาะไตรจีวรครอง (สบง จีวร สังฆาฏิ) ต้องให้ไตรครองอยู่กับตัวและอย่าห่างกายก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ผมลองกะเวลาดูแล้วก็คือ ประมาณ 40 นาทีก่อนพระอาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งเวลาพระอาทิตย์ขึ้น คือเวลาที่ต้องไม่ให้ชุดครองห่างกายครับ (ไม่เกินระยะ 1 ศอก ที่เรียกว่าหัตถบาส) ซึ่งถ้าขาดครองก็ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ต้องทำการสละผ้าและมีวิธีที่ค่อนข้างจะยุ่ง ทางที่ดีก็คือ อย่าให้ผ้าครอง 3 ผืนนี้ห่างกายเป็นดีที่สุด จะเข้าห้องน้ำก็ต้องหิ้วเข้าไปด้วยครับ
9. สำหรับผู้ปฏิบัติกรรมฐาน ถ้าสมาทานธุดงค์ได้อย่างน้อย 1 ข้อหรือมากกว่า จะดีต่อการปฏิบัติมากจริงๆครับ
ธุคงควัตร 13
http://www.phuttha.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B9%8C/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B9%8C/%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B9%91%E0%B9%93
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้โดยส่วนตัว ผมสมาทานธุงค์ 6 ข้อทุกเช้าก่อนเดินบิณฑบาต ลองดูแล้วการปฏิบัติของผมเจริญก้าวหน้าดีขึ้นมาก เข้าสมาธิได้เร็วและลึกกว่าเดิม แต่การสมาทานนั้น อย่าทำเพื่อหวังอามิสใดๆ หรือหวังคนอื่นสรรเสริญเยินยอ หรือทำเพื่ออวดตัวเอง เพราะถ้าทำอย่างนั้นผมว่าไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการสมาทานธุดงค์ครับ
10. ออกบิณฑบาตต้องให้ได้อรุณ ว่าง่ายๆก็คือออกไปยืนกลางแจ้งแล้วลองก้มมองลายมือตัวเองว่าเห็นหรือไม่ ถ้าเห็นลายมือตัวเองชัดเจนก็แสดงว่าสามารถออกบิณฑบาตได้แล้วครับ เวลาเดินบิณฑบาต ให้เจริญกรรมฐานขณะก้าวเดินไปด้วย จะเป็นการฝึกสติไปในตัว และให้มองพื้นไปข้างหน้าซักระยะทางราวๆ 3-4 เมตร จะได้ดูด้วยว่าข้างหน้ามีอุปสรรคอะไรอยู่บ้าง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้โดยเฉพาะขี้หมา เวลาถือบาตร ให้เอามือข้างที่ถนัดกางนิ้วออกแล้วรองด้านใต้ของบาตร ส่วนอีกมือนึงจะเป็นมือที่ทำหน้าที่เปิดปิดฝาบาตร ระวังมือพระจะโดนมือโยมด้วยครับ เวลาโยมใส่บาตรก็ให้มองแต่อาหาร อย่าไปจ้องหน้าโยมนะครับ เสียมารยาท ถ้าเป็นไปได้พยายามอย่ารับอาหารเกินขอบปากบาตร ถ้าเกินก็ต้องรีบให้ลูกศิษย์เอาออก ไม่งั้นอาจจะอาบัติทุกกฏได้ครับ
11. เวลาฉันอาหารให้สำรวม ดูเฉพาะอาหารในจานหรือบาตรของตนเอง อย่าลืมศึกษาเพิ่มเติมในหมวดเสขิยวัตรหมวดโภชนปฏิสังยุตต์ด้วย
http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-sila_12.htm
12. พระบวชใหม่จะต้องอ่านหนังสือนวโกวาทให้เข้าใจในศีลปาติโมกข์ 227 ข้อ (โดยเฉพาะปาราชิกและสังฆาทิเสส) ถ้าไม่เข้าใจก็ให้สอบถามกับพระเปรียญในวัด (อย่าตีความเอาเอง) รวมทั้งศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของอภิสมาจารเพื่อความงดงามในเพศสมณะด้วยครับ
13. พระจะกินหรือดื่มอะไรก็แล้วแต่ต้องรับประเคนทุกครั้ง รวมทั้งน้ำและยาด้วย (เดี๋ยวนี้น้ำดื่มต้องซื้อและผ่านการผลิต ไม่เหมือนน้ำดื่มสมัยก่อนที่สามารถรองน้ำฝนดื่มกินเองได้ ผมว่าเพื่อความปลอดภัย รับประเคนดีที่สุดครับ)
14. อย่าลืมฝึกสวดมนต์ให้คล่องๆ (ผมแนะนำหนังสือมนต์พิธีของพระครูอรุณธรรมรังษี) บททำวัตรเช้า-เย็น รวมทั้งบทสวดอนุโมทนาต่างๆที่จำเป็น เช่น ยถา, สัพพี, อัคคโต เว ปสันนานัง, เต อัตถลัทธา, รตนัตตยานุภาเวนะ เป็นต้น
ก็คิดว่าน่าจะได้ข้อคิดสำหรับพระบวชใหม่พอสมควร สุดท้ายก็ขอฝากให้พระบวชใหม่ต้องพึงสังวรก็คือ ศีลคือสิ่งที่ทำให้พระแตกต่างจากฆราวาส พระจะมีวัตรปฏิบัติที่งดงามได้ก็ด้วยศีล ตัวพระเองต้องรักษาศีลให้ดี แล้วก็ต้องศึกษาคำสอนของพระพุทธองค์ให้เข้าใจแล้วท่านจะสามารถนำคำสอนของพระพุทธองค์ไปปฏิบัติได้จริง
"มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา" สิ่งทั้งปวงมีใจเป็นผู้นำ มีใจเป็นใหญ่ ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ
ข้อคิดสำหรับพระบวชใหม่ (ประสบการณ์จากวัดบวรนิเวศวิหาร)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เมื่อดูจากช่วงเวลาที่จัดแล้ว (25 มิย – 9 กค) มันน่าสนใจสำหรับผมมาก เพราะว่าเป็นช่วงเวลาที่ผมว่างจากการสอนพอดี รวมทั้งบวชฟรีด้วย ผมเลยสมัครเข้าร่วมโครงการนี้ด้วย เลยได้ข้อคิดจากการบวชครั้งนี้และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการจะบวชในพรรษาที่จะถึงนี้ เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้องตามธรรมวินัย ก็ลองอ่านดูละกันนะครับ
1. สิ่งแรกสุดที่ผู้บวชใหม่จะต้องตอบคำถามให้ได้ก็คือ ตัวท่านเองทำไมถึงบวชครับ อาจจะบวชตามประเพณี บวชเพื่อต้องการศึกษาพระธรรมวินัย เพื่อสืบทอดพระศาสนา หรืออาจจะบวชเพื่อสั่งสมบารมีเพื่อหวังจะได้เห็นและเข้าถึงในอริยสัจ (ของผมเป็นข้อนี้) เหตุที่ต้องตอบคำถามนี้ให้ได้ก่อนก็เพื่อจะได้มีเป้าหมายในการปฏิบัติตัวระหว่างบวชเป็นพระภิกษุ เพราะถ้าบวชตามประเพณี อาจจะมีความรู้สึกเบื่อหน่ายในการบวช เพราะการเป็นพระไม่ใช่สบายครับ ต้องรักษาศีล ต้องลงโบสถ์ ต้องบิณฑบาต ต้องเรียนนักธรรมตรี (แต่บางวัดก็อาจจะไม่ได้เรียนระหว่างพรรษาถ้าหาอาจารย์ผู้สอนไม่ได้หรือหากว่าเจ้าอาวาสไม่ค่อยเข้มงวดมาก) ส่วนถ้าบวชด้วยสาเหตุอื่นโดยเฉพาะตั้งใจบวชเพื่อศึกษาหาความรู้ในพระพุทธศาสนาหรือบวชเพื่อหวังพ้นทุกข์ ท่านจะมีความสุขที่ได้บวชครับ
2. หลังจากที่ท่านตั้งใจบวชแล้ว ก่อนอื่นต้องหาวัดก่อนครับ วัดในประเทศไทยถ้าอยู่ในนิกายเถรวาทจะแบ่งได้ 2 ประเภทด้วยกันคือ วัดที่สังกัดธรรมยุติกนิกายและวัดที่สังกัดมหานิกาย ซึ่งในประเทศไทยจะมีวัดที่สังกัดมหานิกายมากกว่าธรรมยุตครับ วัดธรรมยุตจะบวชแบบเอสาหังเป็นหลัก ส่วนวัดมหานิกายจะมีการบวช 2 แบบคือแบบอุกาสะและหลายๆวัดก็บวชแบบเอสาหังเหมือนกับของธรรมยุตครับ (ผมบวชสองครั้งแรกก็บวชวัดสังกัดมหานิกายแต่สวดแบบเอสาหังครับ)
ส่วนท่านจะเลือกบวชวัดในสังกัดไหนนั้น ผมคิดว่าเอาที่สะดวกและคิดว่ามีวัตรปฏิบัติที่ดีที่ชอบดีกว่า จะสังกัดไหนมันเป็นเพียงสมมุติครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. เมื่อได้วัดที่จะบวชและจำพรรษาแล้ว ต้องหัดขานนาคให้คล่อง ไม่ผิดเพี้ยน ไม่ต้องให้พระคู่สวดว่านำให้ ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งจำเป็นครับ เดี๋ยวนี้มีคลิปสอนหัดขานนาคเยอะแยะไปหมด เปิดฟังบ่อยๆก็จะได้สำเนียงและการออกอักขระเอง ยิ่งถ้าบวชวัดสังกัดธรรมยุตก็ต้องสวดแบบมคธด้วย ซึ่งการออกเสียงในพยัญชนะบางตัวต้องออกเสียงแบบมคธครับ เช่น ท จะออกเสียง ด เช่น ทุติยัมปิ ก็ต้องออกเสียงเป็น ดุติยัมปิ หรือ พ ออกเสียงเป็น บ เช่น พุทโธ ก็ออกเสียงเป็น บุทโธ เป็นต้น
คำขานนาคบวชแบบเอสาหัง
คำขานนาคบวชแบบอุกาสะ
4. เตรียมอัฐบริขารให้พร้อมตั้งแต่เนิ่นๆ และให้ครบตามธรรมวินัย (ที่วัดมักจะมีเตรียมไว้ให้เป็นส่วนใหญ่ สอบถามกับทางพระพี่เลี้ยงก่อนเลยดีกว่า ถ้าไม่มีจะได้หาซื้อเองได้ทันเวลา) โดยเฉพาะไตรครองที่ต้องใช้นุ่งห่มวันบวช ทั้ง สบง จีวร สังฆาฏิ อังสะ ประคดเอว ผ้ารัดอก และผ้ากราบ (ส่วนเรื่องสีของไตรจีวร ต้องสอบถามกับทางวัดดูครับ แต่ละวัดจะมีรูปแบบสีของจีวรไม่เหมือนกัน จะได้ไม่เก้อเขินเวลาที่ต้องนุ่งห่มเวลาทำสังฆกรรมหรือทำกิจกรรมร่วมกับพระรูปอื่นๆ) และไตรอาศัย (ผมคิดว่ามีแต่สบง จีวร และอังสะก็พอครับ) รวมทั้ง บาตร เข็มกับด้าย เครื่องกรองน้ำ และมีดโกน (อันนี้แนะนำเลยว่าต้องใบมีดโกนยี่ห้อ feather เท่านั้นครับ) ส่วนของประกอบชิ้นอื่นๆเช่น ผ้าอาบ ตาลปัตร ย่าม รองเท้าแตะ อันนี้แล้วแต่เลยครับว่าจะถวายหรือเปล่า แต่ยังไม่จำเป็นเท่าอัฐบริขารซึ่งต้องมี ไม่งั้นบวชไม่ได้ครับ
5. ฝึกคุกเข่าและนั่งพับเพียบ เหตุที่ต้องฝึกเพราะว่าเวลาบวชจะใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน โดยเฉพาะช่วงที่พระอุปัชฌาย์ท่านเทศน์สอนก่อนให้กรรมฐาน เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ และช่วงพระสวดญัตติจตุตถกรรมวาจา และเมื่อเป็นพระแล้วก็ต้องลงโบสถ์สวดมนต์เช้า-เย็น และฟังปาติโมกข์ทุกๆ 15 วันด้วยครับ ส่วนวิธีการฝึก ก็ต้องลองหัดนั่งคุกเข่าและพับเพียบแล้วจับเวลาดู พยายามทำให้ได้นานกว่าครั้งก่อนๆทุกครั้งครับ ผมเองก็มีปัญหาเกี่ยวกับเข่าพอสมควร (ลูกสะบ้าตรงหัวเข่าไม่ค่อยดี เหตุเพราะต่อยมวยไทยและเล่นเทควันโด้สมัยหนุ่มๆ) ก็ต้องพยายามพอสมควร จนวันสุดท้ายก่อนสึกก็สามารถนั่งพับเพียบได้ค่อนข้างนานประมาณ 20 นาทีโดยไม่ต้องเปลี่ยนท่าเลย ฝึกบ่อยๆ กำลังขาจะค่อยๆแข็งแรงเองครับ
6. เวลาบวช ใจเย็นๆ สวดช้าๆ ถ้าสวดผิดก็ไม่ต้องตกใจ ให้สวดทวนใหม่ได้ และต้องออกเสียงชัดถ้อยชัดคำและถูกต้องตามอักขระวิธี พยายามเรียงลำดับการบวชก่อนหลังให้ถูก ตัวอย่างเช่นถ้าบวชแบบเอสาหัง ก็จะเริ่มด้วยเอสาหัง ภันเต… ตามด้วย อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง… ตามด้วย เกสา โลมา… ตามด้วย อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง… ตามด้วย พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ… แล้วก็สมาทานศีล 10 คือต้องเรียงลำดับก่อนหลังให้ดี ไม่งั้นอาจจะว่าข้ามขั้นตอนได้ครับ รวมทั้งเวลาขอในขั้นตอนต่างๆก็จะขอ 3 ครั้ง ทั้งทุติยัมปิและตติยัมปิด้วยครับ
7. หลังจากบวชเสร็จแล้ว อย่าลืมทำการอธิษฐานบริขารประเภทต่างๆ ทั้งไตรจีวรครอง บาตร ผ้าปูนั่ง ผ้าอาบน้ำ ผ้าบริขารอื่นๆที่เรียกว่าบริขารโจละ เช่น ผ้าเช็ดบาตร ย่าม เป็นต้น รวมทั้งอย่าลืมทำพินทุผ้าให้เสียสี และทำวิกัปจีวรกับสบงอาศัยด้วย ไม่เช่นนั้นถ้าถือครองผ้านี้เกิน 10 วันจะต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ได้ครับ แล้วก็ควรฝึกห่มจีวรให้คล่อง ฝึกทำหลายๆครั้งให้คุ้นเคย ส่วนวิธีห่มผ้าก็ต้องแล้วแต่วัด ถ้าเป็นวัดธรรมยุตก็จะห่มแบบลูกบวบม้วนแล้วหนีบทางรักแร้ด้านซ้าย ส่วนมหานิกายก็อาจห่มมังกรหรือห่มดองหรือบางวัดก็ห่มแบบลูกบวบก็มีครับ
วิธีห่มจีวรแบบต่างๆของมหานิกาย
วิธีห่มจีวรแบบธรรมยุต (ออกนอกวัด รวมทั้งบิณฑบาต)
วิธีห่มจีวรแบบธรรมยุต (เฉวียงบ่า)
8. ระวังเรื่องการครองผ้าโดยเฉพาะไตรจีวรครอง (สบง จีวร สังฆาฏิ) ต้องให้ไตรครองอยู่กับตัวและอย่าห่างกายก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ผมลองกะเวลาดูแล้วก็คือ ประมาณ 40 นาทีก่อนพระอาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งเวลาพระอาทิตย์ขึ้น คือเวลาที่ต้องไม่ให้ชุดครองห่างกายครับ (ไม่เกินระยะ 1 ศอก ที่เรียกว่าหัตถบาส) ซึ่งถ้าขาดครองก็ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ต้องทำการสละผ้าและมีวิธีที่ค่อนข้างจะยุ่ง ทางที่ดีก็คือ อย่าให้ผ้าครอง 3 ผืนนี้ห่างกายเป็นดีที่สุด จะเข้าห้องน้ำก็ต้องหิ้วเข้าไปด้วยครับ
9. สำหรับผู้ปฏิบัติกรรมฐาน ถ้าสมาทานธุดงค์ได้อย่างน้อย 1 ข้อหรือมากกว่า จะดีต่อการปฏิบัติมากจริงๆครับ
ธุคงควัตร 13 http://www.phuttha.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B9%8C/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B9%8C/%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B9%91%E0%B9%93
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
10. ออกบิณฑบาตต้องให้ได้อรุณ ว่าง่ายๆก็คือออกไปยืนกลางแจ้งแล้วลองก้มมองลายมือตัวเองว่าเห็นหรือไม่ ถ้าเห็นลายมือตัวเองชัดเจนก็แสดงว่าสามารถออกบิณฑบาตได้แล้วครับ เวลาเดินบิณฑบาต ให้เจริญกรรมฐานขณะก้าวเดินไปด้วย จะเป็นการฝึกสติไปในตัว และให้มองพื้นไปข้างหน้าซักระยะทางราวๆ 3-4 เมตร จะได้ดูด้วยว่าข้างหน้ามีอุปสรรคอะไรอยู่บ้าง [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ เวลาถือบาตร ให้เอามือข้างที่ถนัดกางนิ้วออกแล้วรองด้านใต้ของบาตร ส่วนอีกมือนึงจะเป็นมือที่ทำหน้าที่เปิดปิดฝาบาตร ระวังมือพระจะโดนมือโยมด้วยครับ เวลาโยมใส่บาตรก็ให้มองแต่อาหาร อย่าไปจ้องหน้าโยมนะครับ เสียมารยาท ถ้าเป็นไปได้พยายามอย่ารับอาหารเกินขอบปากบาตร ถ้าเกินก็ต้องรีบให้ลูกศิษย์เอาออก ไม่งั้นอาจจะอาบัติทุกกฏได้ครับ
11. เวลาฉันอาหารให้สำรวม ดูเฉพาะอาหารในจานหรือบาตรของตนเอง อย่าลืมศึกษาเพิ่มเติมในหมวดเสขิยวัตรหมวดโภชนปฏิสังยุตต์ด้วย
http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-sila_12.htm
12. พระบวชใหม่จะต้องอ่านหนังสือนวโกวาทให้เข้าใจในศีลปาติโมกข์ 227 ข้อ (โดยเฉพาะปาราชิกและสังฆาทิเสส) ถ้าไม่เข้าใจก็ให้สอบถามกับพระเปรียญในวัด (อย่าตีความเอาเอง) รวมทั้งศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของอภิสมาจารเพื่อความงดงามในเพศสมณะด้วยครับ
13. พระจะกินหรือดื่มอะไรก็แล้วแต่ต้องรับประเคนทุกครั้ง รวมทั้งน้ำและยาด้วย (เดี๋ยวนี้น้ำดื่มต้องซื้อและผ่านการผลิต ไม่เหมือนน้ำดื่มสมัยก่อนที่สามารถรองน้ำฝนดื่มกินเองได้ ผมว่าเพื่อความปลอดภัย รับประเคนดีที่สุดครับ)
14. อย่าลืมฝึกสวดมนต์ให้คล่องๆ (ผมแนะนำหนังสือมนต์พิธีของพระครูอรุณธรรมรังษี) บททำวัตรเช้า-เย็น รวมทั้งบทสวดอนุโมทนาต่างๆที่จำเป็น เช่น ยถา, สัพพี, อัคคโต เว ปสันนานัง, เต อัตถลัทธา, รตนัตตยานุภาเวนะ เป็นต้น
ก็คิดว่าน่าจะได้ข้อคิดสำหรับพระบวชใหม่พอสมควร สุดท้ายก็ขอฝากให้พระบวชใหม่ต้องพึงสังวรก็คือ ศีลคือสิ่งที่ทำให้พระแตกต่างจากฆราวาส พระจะมีวัตรปฏิบัติที่งดงามได้ก็ด้วยศีล ตัวพระเองต้องรักษาศีลให้ดี แล้วก็ต้องศึกษาคำสอนของพระพุทธองค์ให้เข้าใจแล้วท่านจะสามารถนำคำสอนของพระพุทธองค์ไปปฏิบัติได้จริง
"มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา" สิ่งทั้งปวงมีใจเป็นผู้นำ มีใจเป็นใหญ่ ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ