ปมร้อนการเมือง :: ซื้อเรือดำน้ำกับความจำเป็น ?
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1436200512
เป็นความพยายามของกองทัพเรืออีกครั้งที่จะจัดซื้อเรือดำน้ำ โดยมีมติล่าสุดให้จัดซื้อจากจีน 3 ลำ วงเงินงบประมาณ 3.6 หมื่นล้านบาท
แม้ พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผบ.ทร. จะแถลงยืนยันถึงความโปร่งใส และราคาถูกเมื่อเทียบกับการจัดซื้อจากชาติอื่น
กระนั้นก็ยังเกิดเเสียงท้วงติงจากหลายฝ่ายถึงความเหมาะสมของการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์
ในขณะที่เศรษฐกิจประเทศซบเซา อีกทั้งกระแสโลกได้เปลี่ยนจากการสู้รบกันด้วยอาวุธมาสู่การแข่งขันด้านการค้าและการพัฒนาเทคโนโลยีไปแล้ว
ยุทธพร อิสรชัย รองอธิการบดี ม.สุโขทัยธรรมาธิราช
ปัญหาของรัฐบาลมีหลากหลายทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม การหามาตรการแก้ปัญหาจึงต้องมองอย่างรอบด้าน จัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง
ซึ่งจะพบว่าปัญหาเศรษฐกิจมีความจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขด้วยความรวดเร็วมากที่สุด เพราะเกี่ยวข้องกับปากท้องของประชาชนจำนวนมาก หากปล่อยไว้และเกิดบานปลายมากขึ้นอาจกลายเป็นแรงกระเพื่อมสำหรับรัฐบาลในที่สุด
การดำเนินนโยบายใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลก็ต้องชอบธรรม เรามีบรรทัดฐานมาตั้งแต่ปี 2540 แล้วว่า นโยบายทางการเมืองได้กลายเป็นของสาธารณะไปแล้ว การใช้จ่ายงบประมาณจึงต้องคำนึงถึงความชอบธรรมให้มากที่สุด
โดยเฉพาะรัฐบาลที่เข้ามาเพื่อแก้ปัญหาประเทศเพียงระยะเวลาหนึ่ง ต้องรับรู้ว่าไม่สามารถดำเนินนโยบายหรือใช้จ่ายงบประมาณได้กว้างขวางเท่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ที่ผ่านการหาเสียงนำเสนอนโยบายกับประชาชน
การใช้งบ 3.6 หมื่นล้านสำหรับเรือดำน้ำ 3 ลำ ด้วยเหตุผลความมั่นคง จึงน่าจะทำความเข้าใจใหม่ว่าความมั่นคงไม่ได้มีเฉพาะทางการทหาร แต่หมายรวมถึงความมั่นคงในความเป็นมนุษย์ ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างดีในทางสาธารณสุข และถูกนำมาพิจารณาผลักดันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในลำดับต้นๆ แทนที่จะเป็นทางการทหาร
หากพิจารณาอย่างรอบคอบต่อข้อตกลงเปิดประชาคมอาเซียนในสิ้นปี 2015 จะเห็นว่าการซื้ออาวุธไม่ตอบโจทย์ต่อการสร้างความมั่นคงร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ที่จำเป็นต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันมากกว่า
การเดินหน้าสู่หายนะทางเศรษฐกิจของกรีซ ที่พบว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้จ่ายงบเกินตัวอย่างไม่จำเป็น ไปใช้ซื้อยุทธภัณฑ์ทาง
การทหารจำนวนมากสูงสุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ทั้งที่กรีซไม่มีความจำเป็นสำหรับการสะสมอาวุธ
ก็น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้จ่ายเกินตัวที่อาจส่งผลกระทบกับสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตได้เช่นกัน
วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
การซื้อเรือดำน้ำจากจีนมีการตั้งข้อสังเกต ประเด็นแรก เข้าใจว่ากองทัพเรือต้องการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ให้ทันสมัย แต่ถ้าดูบริบทหลายประเทศการพัฒนาด้านความมั่นคงโดยเน้นไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหาร ก็จะไปเชื่อมโยงและมีผลต่อการเพิ่มศักยภาพด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ
เช่น จีนซื้ออาวุธจากรัสเซียก็มีการต่อยอดไปสู่การขายสินค้าให้ประเทศอื่นๆ สิงคโปร์ที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีทางทะเลก็ทำให้เกิดอุตสาหกรรมอู่ซ่อมเรือ ต่อเรือ ตามมา พัฒนาระบบโซนาร์ซึ่งเป็นการลงทุนร่วมกับเอกชน เมื่อลงทุนด้านหนึ่งแล้วจะมีผลในการเพิ่มศักยภาพต่อมิติรอบด้าน
ประเด็นต่อมา เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีแล้วประเทศมหาอำนาจหรือประเทศอื่นๆ ต่างมีนโยบายลดจำนวนพล เมื่อเพิ่มความสามารถการใช้เทคโนโลยีก็เพื่อลดการใช้ทรัพยากรมนุษย์ สร้างความสมดุลในการใช้งบประมาณไม่ให้สูงจนเกินไป
อีกประเด็นหนึ่ง เมื่อเราซื้อเรือดำน้ำมาแล้ว แน่นอนว่าเป็นเรื่องของการสร้างความมั่นคง บางข้อมูลถือเป็นความลับเปิดเผยไม่ได้ แต่ในภาวะเช่นนี้ การตรวจสอบในบางประเด็นเป็นเรื่องสำคัญ
อย่างเรือดำน้ำจีนที่เราซื้อเป็นเจ้าแรกด้วยงบประมาณที่สูง การสร้างความมั่นใจว่าเมื่อซื้อมาแล้วจะสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องอธิบายในระดับหนึ่งเพื่อให้สังคมเข้าใจ
และประเด็นสุดท้าย เกี่ยวข้องกับทางภูมิรัฐศาสตร์ ภายหลังรัฐประหารเรามีท่าทีที่เอนเอียงไปหาจีนมากขึ้น แต่อย่าลืมว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริกามีมายาวนานในทุกด้าน ต้องชั่งน้ำหนักและสร้างความสมดุลให้ดี สิ่งนี้อาจไปกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ในสภาวะทางสังคมที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ การส่งออก การลงทุน และขีดความสามารถในการบริโภคของประชาชนลดน้อยลง รวมถึงเรื่องภัยแล้ง เมื่อมีการลงทุนทางการทหารที่ใช้งบกว่า 3.6 หมื่นล้าน สังคมย่อมมีข้อสงสัย
อรรถจักร สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
ในช่วงที่ประเทศกำลังประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ การที่กองทัพเรือจะเสนอครม.ให้จัดซื้อเรือดำน้ำมูลค่าสูงถึง 3.6 หมื่นล้านบาทนั้นไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เมื่อดูสินค้าซึ่งมีคุณภาพระดับหนึ่งยิ่งไม่มีความจำเป็นใดๆ
ในเมื่อไทยและเพื่อนบ้านจะรวมตัวเป็นกลุ่มประชาคมอาเซียน ไทยควรเสนอตัวเป็นผู้นำทางด้านการทหารของอาเซียน เป็นฮับทางการทหาร โดยการประกาศเป็นประเทศแรกที่ไม่สะสมอาวุธ ซึ่งจะช่วยป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอาเซียนได้
ที่สำคัญจะช่วยประหยัดงบประมาณได้อีกมาก แต่หากนำงบประมาณไปจัดซื้อเรือดำน้ำอาจกระทบกับภายในประเทศ ที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจก็จะยิ่งล่าช้าออกไป
ทหารส่วนใหญ่มีวิธีคิดที่ไม่หลุดออกนอกกรอบ อาจคิดว่าการมีอาวุธทำให้รู้สึกปลอดภัยและเป็นที่หนึ่ง แต่เชื่อว่างานนี้รัฐบาลได้ไม่คุ้มเสีย ในความเป็นจริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องมีเรือดำน้ำเหมือนคนอื่น และขณะที่โลกต่อสู้กันด้วยการค้าเสรีแล้ว
หากรัฐบาล คสช.ยังดึงดันจะจัดซื้อเรือดำน้ำอาจทำให้รัฐบาลเสียเครดิตจากกลุ่มที่เคยรักทหารเปลี่ยนความรู้สึกได้ ส่วนคนที่รู้สึกไม่ชอบก็จะยิ่งรู้สึกเพิ่มมากขึ้น
อาจมีการตั้งข้อสังเกตและข้อสงสัยได้ว่าเป็นเรื่องทางการเมืองหรือไม่หากเราจัดซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีน เพราะขณะนี้มหาอำนาจทั้งสหรัฐ รวมทั้งประเทศในกลุ่มอียู ต่างมึนตึงกับเรา นอกจากเราให้สัมปทานจีนทำรถไฟแล้วยังจะซื้อเรือดำน้ำอีก
หากรัฐบาล คสช.อยากอยู่บริหารประเทศต่ออีกนิดควรถอยเรื่องนี้จะดีกว่า
ปมร้อนการเมือง :: ซื้อเรือดำน้ำกับความจำเป็น ?
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1436200512
เป็นความพยายามของกองทัพเรืออีกครั้งที่จะจัดซื้อเรือดำน้ำ โดยมีมติล่าสุดให้จัดซื้อจากจีน 3 ลำ วงเงินงบประมาณ 3.6 หมื่นล้านบาท
แม้ พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผบ.ทร. จะแถลงยืนยันถึงความโปร่งใส และราคาถูกเมื่อเทียบกับการจัดซื้อจากชาติอื่น
กระนั้นก็ยังเกิดเเสียงท้วงติงจากหลายฝ่ายถึงความเหมาะสมของการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์
ในขณะที่เศรษฐกิจประเทศซบเซา อีกทั้งกระแสโลกได้เปลี่ยนจากการสู้รบกันด้วยอาวุธมาสู่การแข่งขันด้านการค้าและการพัฒนาเทคโนโลยีไปแล้ว
ยุทธพร อิสรชัย รองอธิการบดี ม.สุโขทัยธรรมาธิราช
ปัญหาของรัฐบาลมีหลากหลายทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม การหามาตรการแก้ปัญหาจึงต้องมองอย่างรอบด้าน จัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง
ซึ่งจะพบว่าปัญหาเศรษฐกิจมีความจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขด้วยความรวดเร็วมากที่สุด เพราะเกี่ยวข้องกับปากท้องของประชาชนจำนวนมาก หากปล่อยไว้และเกิดบานปลายมากขึ้นอาจกลายเป็นแรงกระเพื่อมสำหรับรัฐบาลในที่สุด
การดำเนินนโยบายใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลก็ต้องชอบธรรม เรามีบรรทัดฐานมาตั้งแต่ปี 2540 แล้วว่า นโยบายทางการเมืองได้กลายเป็นของสาธารณะไปแล้ว การใช้จ่ายงบประมาณจึงต้องคำนึงถึงความชอบธรรมให้มากที่สุด
โดยเฉพาะรัฐบาลที่เข้ามาเพื่อแก้ปัญหาประเทศเพียงระยะเวลาหนึ่ง ต้องรับรู้ว่าไม่สามารถดำเนินนโยบายหรือใช้จ่ายงบประมาณได้กว้างขวางเท่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ที่ผ่านการหาเสียงนำเสนอนโยบายกับประชาชน
การใช้งบ 3.6 หมื่นล้านสำหรับเรือดำน้ำ 3 ลำ ด้วยเหตุผลความมั่นคง จึงน่าจะทำความเข้าใจใหม่ว่าความมั่นคงไม่ได้มีเฉพาะทางการทหาร แต่หมายรวมถึงความมั่นคงในความเป็นมนุษย์ ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างดีในทางสาธารณสุข และถูกนำมาพิจารณาผลักดันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในลำดับต้นๆ แทนที่จะเป็นทางการทหาร
หากพิจารณาอย่างรอบคอบต่อข้อตกลงเปิดประชาคมอาเซียนในสิ้นปี 2015 จะเห็นว่าการซื้ออาวุธไม่ตอบโจทย์ต่อการสร้างความมั่นคงร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ที่จำเป็นต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันมากกว่า
การเดินหน้าสู่หายนะทางเศรษฐกิจของกรีซ ที่พบว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้จ่ายงบเกินตัวอย่างไม่จำเป็น ไปใช้ซื้อยุทธภัณฑ์ทาง
การทหารจำนวนมากสูงสุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ทั้งที่กรีซไม่มีความจำเป็นสำหรับการสะสมอาวุธ
ก็น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้จ่ายเกินตัวที่อาจส่งผลกระทบกับสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตได้เช่นกัน
วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
การซื้อเรือดำน้ำจากจีนมีการตั้งข้อสังเกต ประเด็นแรก เข้าใจว่ากองทัพเรือต้องการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ให้ทันสมัย แต่ถ้าดูบริบทหลายประเทศการพัฒนาด้านความมั่นคงโดยเน้นไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหาร ก็จะไปเชื่อมโยงและมีผลต่อการเพิ่มศักยภาพด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ
เช่น จีนซื้ออาวุธจากรัสเซียก็มีการต่อยอดไปสู่การขายสินค้าให้ประเทศอื่นๆ สิงคโปร์ที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีทางทะเลก็ทำให้เกิดอุตสาหกรรมอู่ซ่อมเรือ ต่อเรือ ตามมา พัฒนาระบบโซนาร์ซึ่งเป็นการลงทุนร่วมกับเอกชน เมื่อลงทุนด้านหนึ่งแล้วจะมีผลในการเพิ่มศักยภาพต่อมิติรอบด้าน
ประเด็นต่อมา เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีแล้วประเทศมหาอำนาจหรือประเทศอื่นๆ ต่างมีนโยบายลดจำนวนพล เมื่อเพิ่มความสามารถการใช้เทคโนโลยีก็เพื่อลดการใช้ทรัพยากรมนุษย์ สร้างความสมดุลในการใช้งบประมาณไม่ให้สูงจนเกินไป
อีกประเด็นหนึ่ง เมื่อเราซื้อเรือดำน้ำมาแล้ว แน่นอนว่าเป็นเรื่องของการสร้างความมั่นคง บางข้อมูลถือเป็นความลับเปิดเผยไม่ได้ แต่ในภาวะเช่นนี้ การตรวจสอบในบางประเด็นเป็นเรื่องสำคัญ
อย่างเรือดำน้ำจีนที่เราซื้อเป็นเจ้าแรกด้วยงบประมาณที่สูง การสร้างความมั่นใจว่าเมื่อซื้อมาแล้วจะสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องอธิบายในระดับหนึ่งเพื่อให้สังคมเข้าใจ
และประเด็นสุดท้าย เกี่ยวข้องกับทางภูมิรัฐศาสตร์ ภายหลังรัฐประหารเรามีท่าทีที่เอนเอียงไปหาจีนมากขึ้น แต่อย่าลืมว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอเมริกามีมายาวนานในทุกด้าน ต้องชั่งน้ำหนักและสร้างความสมดุลให้ดี สิ่งนี้อาจไปกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ในสภาวะทางสังคมที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ การส่งออก การลงทุน และขีดความสามารถในการบริโภคของประชาชนลดน้อยลง รวมถึงเรื่องภัยแล้ง เมื่อมีการลงทุนทางการทหารที่ใช้งบกว่า 3.6 หมื่นล้าน สังคมย่อมมีข้อสงสัย
อรรถจักร สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
ในช่วงที่ประเทศกำลังประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ การที่กองทัพเรือจะเสนอครม.ให้จัดซื้อเรือดำน้ำมูลค่าสูงถึง 3.6 หมื่นล้านบาทนั้นไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เมื่อดูสินค้าซึ่งมีคุณภาพระดับหนึ่งยิ่งไม่มีความจำเป็นใดๆ
ในเมื่อไทยและเพื่อนบ้านจะรวมตัวเป็นกลุ่มประชาคมอาเซียน ไทยควรเสนอตัวเป็นผู้นำทางด้านการทหารของอาเซียน เป็นฮับทางการทหาร โดยการประกาศเป็นประเทศแรกที่ไม่สะสมอาวุธ ซึ่งจะช่วยป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอาเซียนได้
ที่สำคัญจะช่วยประหยัดงบประมาณได้อีกมาก แต่หากนำงบประมาณไปจัดซื้อเรือดำน้ำอาจกระทบกับภายในประเทศ ที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจก็จะยิ่งล่าช้าออกไป
ทหารส่วนใหญ่มีวิธีคิดที่ไม่หลุดออกนอกกรอบ อาจคิดว่าการมีอาวุธทำให้รู้สึกปลอดภัยและเป็นที่หนึ่ง แต่เชื่อว่างานนี้รัฐบาลได้ไม่คุ้มเสีย ในความเป็นจริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องมีเรือดำน้ำเหมือนคนอื่น และขณะที่โลกต่อสู้กันด้วยการค้าเสรีแล้ว
หากรัฐบาล คสช.ยังดึงดันจะจัดซื้อเรือดำน้ำอาจทำให้รัฐบาลเสียเครดิตจากกลุ่มที่เคยรักทหารเปลี่ยนความรู้สึกได้ ส่วนคนที่รู้สึกไม่ชอบก็จะยิ่งรู้สึกเพิ่มมากขึ้น
อาจมีการตั้งข้อสังเกตและข้อสงสัยได้ว่าเป็นเรื่องทางการเมืองหรือไม่หากเราจัดซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีน เพราะขณะนี้มหาอำนาจทั้งสหรัฐ รวมทั้งประเทศในกลุ่มอียู ต่างมึนตึงกับเรา นอกจากเราให้สัมปทานจีนทำรถไฟแล้วยังจะซื้อเรือดำน้ำอีก
หากรัฐบาล คสช.อยากอยู่บริหารประเทศต่ออีกนิดควรถอยเรื่องนี้จะดีกว่า